อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ unfccc

Search มาตรฐานและกฎระเบียบ

ประเทศเกี่ยวข้อง

สหภาพยุโรป,อังกฤษ,สหรัฐอเมริกา,จีน,ออสเตรเลีย,ญี่ปุ่น,ไทย,อื่นๆ

สาขาอุตสาหกรรมสินค้า

อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์,อุตสาหกรรมสารเคมีและเคมีภัณฑ์,อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค บริโภค,อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้,อุตสาหกรรมของเล่น,อุตสาหกรรมยางล้อ,อุตสาหกรรมถุงมือยาง,อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ,อุตสาหกรรมแก้วและกระจก,อุตสาหกรรมเซรามิก,อุตสาหกรรมอาหาร,อุตสาหกรรมอื่นๆ,อุตสาหกรรมพลังงาน,อุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence :AI),อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่,อุตสาหกรรมหุ่นยนต์,อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์,อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร,อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ,อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป,อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ,อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ,อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ,อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

วันที่บังคับใช้

21-03-1994

ขอบข่าย

สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

สรุปรายละเอียดสำคัญ

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) มีวัตถุประสงค์สูงสุด คือ การรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศของโลกให้คงที่และอยู่ในระดับที่ไม่รบกวนระบบภูมิอากาศและปลอดภัยจากการแทรกแซงจากกิจกรรมของมนุษย์

อนุสัญญา UNFCCC ระบุไว้อีกด้วยว่า การควบคุมให้ได้ระดับดังกล่าว ต้องมีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เพื่อให้ระบบนิเวศสามารถปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้อย่างเหมาะสม และเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการผลิตอาหารของโลกไม่ถูกคุกคาม รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสามารถดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน

แหล่งข้อมูล: http://www.tgo.or.th/2015/thai/content.php?s1=9&s2=175

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ unfccc

โลโก้ UNFCCC (อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ)

ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:UNFCCC_Logo.svg

                อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (อังกฤษ: United Nations Framework Convention on Climate Change หรือย่อเป็น UNFCCC หรือ FCCC) เป็นอนุสัญญา "กรอบการทำงาน" ที่จำเป็นต้องมีวิธีการทางกฎหมายในการสนับสนุน (เช่นพิธีสารต่างๆ) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีเป้าหมายแบบไม่ผูกมัด  ซึ่งเรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือเท่ากับระดับ พ.ศ. 2533 ภายใน พ.ศ. 2543 แต่จากที่ได้ประเมินในปี พ.ศ. 2538 พบว่าเป้าหมายโดยสมัครใจนี้ไม่เพียงพอ ดังนั้นใน พ.ศ. 2538 ประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญากรอบการทำงานแห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งกระบวนการในการเจรจาเพื่อพิธีสารที่มีเป้าหมายผูกมัดและกำหนดเวลา "ในฐานะเป็นเรื่องเร่งด่วน" ซึ่งเป็นที่มาของ พิธีสารเกียวโต ซึ่งได้รับความเห็นพ้องในเดือนธันวาคม 2540 และในที่สุดมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ในการประชุมประจำปีของอนุสัญญาฯ เรียกว่า การประชุมสมัชชาภาคี (Conference of Parties; COPS) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมคือ เจ้าหน้าที่รัฐบาล นักวิ่งเต้นจากภาคอุตสาหกรรม กรีนพีซ และอีกหลายๆ กลุ่ม ฝ่ายต่างๆ

               หลักการและสาระสำคัญของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

               วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

               คือรักษาความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เพื่อให้ระบบนิเวศน์ธรรมชาติสามารถปรับตัวได้ และเพื่อเป็นการประกันว่าจะไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร และการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนแต่ไม่ได้กำหนดระดับ หรือปริมาณก๊าซที่จะรักษาปริมาณไว้เป็นตัวเลขที่แน่นอน

               หลักการของอนุสัญญาฯ

               อนุสัญญาฯมีหลักการที่สำคัญดังนี้

               1. "หลักการป้องกันไว้ก่อน" ภายใต้หลักการป้องกันไว้ก่อนนั้น กิจกรรมที่มีโอกาสจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพภูมิอากาศจะต้องมีการจำกัดหรือห้ามดำเนินการ ถึงแม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นสาเหตุดังกล่าวก็ตาม เนื่องจากหากรอให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนเทคนิคการวิเคราะห์พัฒนาที่จะทำให้พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนแล้ว ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอาจจะสายเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ หลักการนี้จึงให้โอกาสในการควบคุมกิจกรรมที่มีความเสี่ยงอย่างเนิ่นๆ เช่น การกำหนดให้มีการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับการปล่อย ณ ปี พ.ศ. 2533 ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2543

               2. "หลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง" ทุกประเทศภาคีอนุสัญญาฯ มีพันธกรณีในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอนุสัญญาฯ แบ่งประเทศภาคีต่างๆออกเป็น สองกลุ่มใหญ่ คือ ประเทศในภาคผนวกที่ 1 (Annex I countries) กับกลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (Non Annex I countries)

               3. "หลักการสื่อสารด้านข้อมูลข่าวสาร" ประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความโปร่งใส ภายใต้ข้อตกลงที่ว่าต้องมีการจัดทำ รายงานแห่งชาติภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (National Communication under United Nations Framework Convention on Climate Change) ซึ่งมีเงื่อนไขในเรื่องของความสมบูรณ์ของเนื้อหา และระยะเวลา ที่แตกต่างกันระหว่างประเทศในภาคผนวก I และนอกภาคผนวก I

               4. "หลักการให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยกว่า" เนื่องจากประเทศที่กำลังพัฒนามีโอกาสเสี่ยงต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสูง ดังนั้นหลักการนี้ต้องการให้ประเทศพัฒนาแล้วให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ให้ความสะดวก สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งทางด้านการเงินและเทคโนโลยี กับประเทศกำลังพัฒนาและความช่วยเหลือนี้ต้องเป็นส่วนเพิ่มเติมจากความช่วยเหลือระหว่างประเทศที่ให้อยู่เดิม ปัจจุบัน อนุสัญญาฯ ได้ใช้กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกเป็นกลไกหนึ่ง ในการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วดำเนินนโยบายถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สะอาดให้กับประเทศกำลังพัฒนา

               การดำเนินการในประเทศไทย

               ประเทศไทยได้เห็นความสําคัญของปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change, UNFCCC) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 จนเป็นผลให้อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อ 28 มีนาคม 2538 และลงนามให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นพิธีสารภายใต้อนุสัญญาฯ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ unfccc

ที่มา:http://www.navy.mi.th/pnbase/information_center/doc/e9852/985207.doc

                เหตุผลที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เนื่องจาก

                • เป็นปัญหาระหว่างประเทศที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ

               • ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

               • เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ unfccc

ที่มา:http://www.navy.mi.th/pnbase/information_center/doc/e9852/985207.doc

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ unfccc