อุกาสะ วันทามิ ภันเต แปลว่า

QUOTE

บทท่องคำขานนาค
(คำบาลี-แปล)
คำวันทาสีมา , คำวันทาพระประธาน
อุกาสะ วันทามิ ภันเต,
ข้าพระพุทธเจ้าขอวโรกาส กราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้า,
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
ขอพระองค์ได้อดโทษทั้งปวง แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
ข้าพระพุทธเจ้าสร้างบุญอะไรไว้ ขอพระองค์ผู้เป็นนายพึงอนุโมทนา,
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง,
พระองค์ทรงบำเพ็ญบุญอะไรไว้ พึงประทานแก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด,
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
ข้าพระพุทธเจ้า ขออนุโมทนาบุญ.
(นั่งคุกเข่า ประนมมือ กล่าวว่า)
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
ขอพระองค์ได้อดโทษทั้งปวง แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด,
(กราบ ๑ ครั้ง ประนมมือ กล่าวว่า)
อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง,
ข้าพระพุทธเจ้าขอวโรกาส ที่ได้พลั้งพลาดด้วย กาย วาจา ใจ,
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
ขอพระองค์ได้อดโทษทั้งปวง แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด,
( กราบ ๑ ครั้ง แล้วยืนขึ้น ประนมมือ กล่าวว่า)
วันทามิ ภันเต,
ข้าพระพุทธเจ้า กราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้า,
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
ขอพระองค์ได้อดโทษทั้งปวง แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
ข้าพระพุทธเจ้าสร้างบุญอะไรไว้ ขอพระองค์ผู้เป็นนายพึงอนุโมทนา
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง,
พระองค์ทรงบำเพ็ญบุญอะไร พึงประทานแก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
ข้าพระพุทธเจ้า ขออนุโมทนาบุญ
(นั่งคุกเข่า ประนมมือ กราบ ๓ ครั้ง)
คำขอบรรพชา
อุกาสะ วันทามิ ภันเต,
ขอโอกาส กระผมขอกราบไหว้ท่าน ขอรับ,
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
ขอท่านได้โปรดอดโทษทั้งปวง แก่กระผมด้วยเถิด ขอรับ,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
กระผมสร้างบุญอะไรไว้ ขอท่านผู้เป็นนายพึงอนุโมทนา,
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง,
ท่านบำเพ็ญบุญอะไรไว้ พึงให้แก่กระผมด้วยเถิด ขอรับ,
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ,
กระผม ขออนุโมทนาบุญ,
อุกาสะ การุญญัง กัตวา,
ขอโอกาส ขอท่านโปรดอนุเคราะห์,
ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต
ให้การบรรพชา แก่กระผมด้วยเถิด ขอรับ,
(นั่งคุกเข่า ประนมมือ กล่าวว่า)
อะหัง ภันเต , ปัพพัชชัง ยาจามิ.
ท่านขอรับ กระผมขอบรรพชา
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต , ปัพพัชชัง ยาจามิ.
ท่านขอรับ กระผมขอบรรพชา แม้ครั้งที่สอง
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต , ปัพพัชชัง ยาจามิ.
ท่านขอรับ กระผมขอบรรพชา แม้ครั้งที่สาม
( สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ,
นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ , อิมัง กาสาวัง คะเหตวา,
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต , อะนุกัมปัง อุปาทายะ. )
ขอท่านโปรดอนุเคราะห์ รับผ้ากาสาวะนี้ ให้กระผมบวช
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นเครื่องสลัดออกจากทุกข์ทั้งปวงเถิด ขอรับ
(กล่าว ๓ หน)
( สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ,
นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ , เอตัง กาสาวัง ทัตวา,
ปัพพาเชถะ มัง ภันเต , อะนุกัมปัง อุปาทายะ. )
ขอท่านโปรดอนุเคราะห์ ให้ผ้ากาสาวะนั้น ให้กระผมบวช
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นเครื่องสลัดออกจากทุกข์ทั้งปวงเถิด ขอรับ
(กล่าว ๓ หน)
มูลกัมมัฏฐาน
เกสา, โลมา, นะขา, ทันตา, ตะโจ, (อนุโลม)
ผม,ขน,เล็บ,ฟัน,หนัง (ตามลำดับ)
ตะโจ, ทันตา, นะขา, โลมา, เกสา. (ปฏิโลม)
หนัง,ฟัน,เล็บ,ขน,ผม (ทวนลำดับ)
คำขอสรณคมน์ และศีล
อุกาสะ วันทามิ ภันเต,
ขอโอกาส กระผมขอกราบไหว้ท่าน ขอรับ,
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
ขอท่านได้โปรดอดโทษทั้งปวง แก่กระผมด้วยเถิด ขอรับ,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
กระผมสร้างบุญอะไรไว้ ขอท่านผู้เป็นนายพึงอนุโมทนา,
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง,
ท่านบำเพ็ญบุญอะไรไว้ พึงให้แก่กระผมด้วยเถิด ขอรับ,
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
กระผม ขออนุโมทนาบุญ,
อุกาสะ การุญญัง กัตวา
ขอโอกาส ขอท่านโปรดอนุเคราะห์,
ติสะระเณนะ สะหะ สีลานิ เทถะ เม ภันเต
ให้สรณคมน์ และศีล แก่กระผมด้วยเถิด ขอรับ,
(นั่งคุกเข่า ประนมมือ กล่าวว่า)
อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,
กระผมขอสรณคมน์ และศีล ขอรับ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,
กระผมขอสรณคมน์ และศีล แม้ครั้งที่สอง ขอรับ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ.
กระผมขอสรณคมน์ และศีล แม้ครั้งที่สาม ขอรับ
พระอาจารย์ กล่าวคำนมัสการพระรัตนตรัย ให้นาคธรรมทายาทกล่าวตาม ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
(กล่าว 3 หน)
พระอาจารย์ กล่าวว่า ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ "เธอ จงกล่าวตามเรา"
ให้นาคธรรมทายาท กล่าวรับว่า อามะ ภันเต " ขอรับ กระผม"
จากนั้นพระอาจารย์จะให้สรณคมน์ และศีล ให้นาคธรรมทายาทกล่าวตามทีประโยค ดังนี้
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
กระผม ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
กระผม ขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
กระผม ขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
กระผม ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
กระผม ขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
กระผม ขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
กระผม ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,
กระผม ขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉาม
กระผม ขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม
พระอาจารย์ กล่าวว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฎฐิตัง "ไตรสรณคมน์ จบแล้ว"
ให้สามเณรธรรมทายาท กล่าวรับว่า อามะ ภันเต "ขอรับ กระผม"
เมื่อรับไตรสรณคมน์จบถือได้ว่านาคธรรมทายาทได้เป็นสามเณรโดยสมบูรณ์
แต่สามเณรต้องรักษาศีล๑๐ ดังนั้นพระอาจารย์จะกล่าวนำให้สมาทานศีล ทีละตอน
ให้สามเณรกล่าวตาม ดังนี้
ศีล ๑๐
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
กระผม ขอสมาทานสิกขาบท งดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์
๒. อะทินนาทานา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
กระผม ขอสมาทานสิกขาบท งดเว้นจากการ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
๓. อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
กระผม ขอสมาทานสิกขาบท งดเว้นจากการ ประพฤติ ไม่ประเสริฐ ( เสพเมถุน )
๔. มุสาวาทา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
กระผม ขอสมาทานสิกขาบท งดเว้นจากการ พูดเท็จ
๕. สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี,
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
กระผม ขอสมาทานสิกขาบท งดเว้นจากการ ดื่มน้ำเมาคือสุรา และเมรัย
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
กระผม ขอสมาทานสิกขาบท งดเว้นจากการ บริโภคอาหาในเวลาวิกาล
๗. นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสสะนา เวระมะณี,
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
กระผม ขอสมาทานสิกขาบท งดเว้นจากการ ฟ้อนรำขับร้องประโคม
และดูการละเล่น
๘. มาลา คันธะ วิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ
วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
กระผม ขอสมาทานสิกขาบท งดเว้นจากการ
ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้
๙. อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี,
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
กระผม ขอสมาทานสิกขาบทงดเว้นจากการนอนบนที่นอนสูงที่นอนใหญ่
๑๐. ชาตะรูปะ ระชะตะ ปะฏิคคะหะณา เวระมะณี,
กระผม ขอสมาทานสิกขาบท งดเว้นจากการรับทอง และเงิน
พระอาจารย์ กล่าวนำว่า อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ.
(กระผม ขอสมาทานสิกขาบท ๑๐ นี้ )
ให้สามเณรธรรมทายาท กล่าวตาม ดังนี้
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ. (กล่าว ๓ หน)
กระผมขอสมาทานสิกขาบท ๑๐ นี้
(กราบ ๓ ครั้ง แล้วยืนขึ้น ประนมมือ กล่าวว่า)
วันทามิ ภันเต,
กระผมขอกราบไหว้ท่าน ขอรับ,
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
ขอท่านได้โปรดอดโทษทั้งปวง แก่กระผมด้วยเถิด ขอรับ,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
กระผมสร้างบุญอะไรไว้ ขอท่านผู้เป็นนายพึงอนุโมทนา,
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง,
ท่านบำเพ็ญบุญอะไรไว้ พึงให้แก่กระผมด้วยเถิด ขอรับ,
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
กระผม ขออนุโมทนาบุญ.
(นั่งคุกเข่า ประนมมือ กราบ ๓ครั้ง)
คำขอนิสสัย
อุกาสะ วันทามิ ภันเต,
ขอโอกาส กระผมขอกราบไหว้ท่าน ขอรับ,
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
ขอท่านได้โปรดอดโทษทั้งปวง แก่กระผมด้วยเถิด ขอรับ,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
กระผมสร้างบุญอะไรไว้ ขอท่านผู้เป็นนายพึงอนุโมทนา,
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง,
ท่านบำเพ็ญบุญอะไรไว้ พึงให้แก่กระผมด้วยเถิด ขอรับ,
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
กระผม ขออนุโมทนาบุญ,
อุกาสะ การุญญัง กัตวา
ขอโอกาส ขอท่านโปรดอนุเคราะห์,
นิสฺสะยัง เทถะ เม ภันเต,
ให้นิสสัย แก่กระผมด้วยเถิด ขอรับ
(นั่งคุกเข่า ประนมมือ กล่าวว่า)
อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
กระผม ขอนิสสัย ขอรับ
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
กระผม ขอนิสสัย แม้ครั้งที่สอง ขอรับ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
กระผม ขอนิสสัย แม้ครั้งที่สาม ขอรับ
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ.
ขอท่านเป็นอุปัชฌาย์ ของกระผมเถิด ขอรับ
(กล่าว ๓ หน)
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า สามเณรกล่าวรับว่า
ปะฏิรูปัง สาธุ ภันเต
สมควร ดีละ ขอรับ
โอปายิกัง สาธุ ภันเต
ชอบแก่อุบาย ดีละ ขอรับ
ปาสาทิเกนะ สัมปาเทถะ สาธุ ภันเต
จงยังความปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยอาการ-
อันน่าเลื่อมใส ดีละ ขอรับ
จากนั้น ให้สามเณรกล่าวต่อไปว่า
อัชชะตัคเคทานิ เถโร, มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร.
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระเถระย่อมเป็นภาระของกระผม,
แม้กระผมย่อมเป็นภาระของพระเถระ.
(กล่าว ๓ หน)
(กราบ ๓ ครั้ง แล้วยืนขึ้น ประนมมือ กล่าวว่า)
วันทามิ ภันเต,
กระผมขอกราบไหว้ท่าน ขอรับ,
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
ขอท่านได้โปรดอดโทษทั้งปวง แก่กระผมด้วยเถิด ขอรับ,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
กระผมสร้างบุญอะไรไว้ ขอท่านผู้เป็นนายพึงอนุโมทนา,
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง,
ท่านบำเพ็ญบุญอะไรไว้ พึงให้แก่กระผมด้วยเถิด ขอรับ,
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.
กระผม ขออนุโมทนาบุญ.
(นั่งคุกเข่า ประนมมือ กราบ ๓ ครั้ง)
บทให้พร
อนุโมทนารัมภคาถา
ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาคร ให้บริบูรณ์ได้ ฉันใด
ทานที่ท่านอุทิศให้แล้ว แต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จ ประโยชน์ แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วได้ ฉันนั้น
ขออิฏฐิผล ที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว จงสำเร็จโดยเร็วพลัน
ขอความดำริทั้งปวง จงเต็มที่ เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ
เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี ฯ
สามัญญานุโมทนาคาถา
ความจัญไรทั้งปวง จงบำราศไป โรคทั้งปวง (ของท่าน) จงหายไป
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน
ความจัญไรทั้งปวง จงบำราศไป โรคทั้งปวง (ของท่าน) จงหายไป
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน
ความจัญไรทั้งปวง จงบำราศไป โรคทั้งปวง (ของท่าน) จงหายไป
อันตรายอย่ามีแก่ท่าน ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน
ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติกราบไหว้
มีปกติอ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญเป็นนิตย์
โภชนทานานุโมทนาคาถา
ผู้มีอายุปัญญา ให้อายุ ให้กำลัง ให้วรรณะ ให้ปฏิภาณ
ผู้มีปัญญาให้ความสุข ท่านย่อมประสพสุข
บุคคลให้อายุ พละ วรรณะ สุขะ และปฏิภาณ
บังเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้นๆ ดังนี้แลฯ
มงคลจักรวาฬน้อย
ด้วยอานุภาพของพระรัตนตรัย ด้วยเดชของพระรัตนตรัย
ทุกข์ โรคภัย และเวรทั้งปวง ความโศก ศัตรู และอุปัทวะทั้งหลาย
ทั้งอันตรายทั้งหลายเป็นเอนก จงพินาศไป
ความมีชำนะ ความสำเร็จ ทรัพย์ ลาภ ความสวัสดี ความมีโชค ความสุข กำลัง
สิริ อายุ และวรรณะ โภคะ ความเจริญ และความเป็นผู้มียศ
และอายุยืน ๑๐๐ ปี และความสำเร็จกิจในความเป็นอยู่ จงมีแก่ท่าน
ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทพดาทั้งปวง จงรักษาท่าน
ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทพดาทั้งปวง จงรักษาท่าน
ด้วยอำนาจแห่งพระธรรม ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทพดาทั้งปวง จงรักษาท่าน
ด้วยอำนาจแห่งพระสงฆ์ ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
คำบอกบริขาร
พระอุปัชฌาย์บอกว่า สามเณรกล่าวรับว่า
อะยันเต ปัตโต (นี้บาตรของเธอ) อามะ ภันเต (ขอรับ กระผม)
อะยัง สังฆาฏิ (นี้ผ้าสังฆาฏิ) อามะ ภันเต (ขอรับ กระผม)
อะยัง อุตตะราสังโฆ (นี้ผ้าอุตตราสงค์) อามะ ภันเต (ขอรับ กระผม)
อะยัง อันตะระวาสะโก (นี้ผ้าอันตรวาสก) อามะ ภันเต (ขอรับ กระผม)
คำถามอันตรายิกธรรม
พระอุปัชฌาย์บอกว่า สามเณรกล่าวรับว่า
กุฏฐัง (โรคเรื้อน) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
คัณโฑ (โรคฝี) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
กิลาโส (โรคกลาก) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
โสโส (โรคม่องคร่อ - โรคหืด) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
อะปะมาโร (โรคลมบ้าหมู) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
มะนุสโสสิ๊ (เธอเป็นมนุษย์หรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
ปุริโสสิ๊ (เธอเป็นชายหรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
ภุชิสโสสิ๊ (เธอเป็นไทมิใช่ทาสหรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
อะนะโณสิ๊ (เธอไม่มีหนี้หรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
นะสิ๊ ราชะภะโฏ (เธอไม่ใช่ราภัฏหรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ
(บิดามารดาเธอนุญาตแล้วหรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊
(เธออายุครบยี่สิบปีแล้วหรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง
(บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
กินนาโมสิ อะหัง ภันเต .... นามะ
(เธอชื่ออะไร) (กระผมชื่อ.........ขอรับ)
โก นามะ เต อุปัชฌาโย อุปัชฌา โย เม ภันเต, อายัสมา ... นามะ
(พระอุปัชฌาย์เธอชื่ออะไร) (พระอุปัชฌาย์ของกระผมชื่อ.....ขอรับ)
คำขออุปสมบท
สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ,
กระผม ขอการอุปสมบทต่อสงฆ์
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ ยกกระผมขึ้นสู่ความเป็นภิกษุด้วยเถิดขอรับ
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ,
กระผม ขอการอุปสมบทต่อสงฆ์ แม้ครั้งที่สอง
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ ยกกระผมขึ้นสู่ความเป็นภิกษุด้วยเถิดขอรับ
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ,
กระผม ขอการอุปสมบทต่อสงฆ์ แม้ครั้งที่สาม
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ ยกกระผมขึ้นสู่ความเป็นภิกษุด้วยเถิดขอรับ
(กราบ ๓ ครั้ง)
อธิบายศัพท์
กรรมวาจา
คำประกาศกิจในท่ามกลางสงฆ์ การสวดประกาศ แบ่งเป็น ๒ คือ ญัตติ ๑
อนุสาวนา ๑
กรรมวาจาจารย์
พระอาจาย์ ผู้สวดกรรมวาจาประกาศ ในท่ามกลางสงฆ์
ในการอุปสมบท
กรวดน้ำ
ตั้งใจอุทิศบุญกุศล ให้แก่ผู้ล่วงลับ พร้อมไปกับหลั่งรินน้ำเป็น
เครื่องหมาย และเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่ตั้งใจอุทิศนั้นให้แน่วแน่;
เริ่มรินน้ำ เมื่อพระองค์หัวหน้าเริ่มสวดยถา รินน้ำหมดพร้อมกับ
พระหัวหน้าสวดยถาจบ และพระทั้งหมด เริ่มสวดพร้อมกัน
จากนั้นวางที่กรวดน้ำลง ประนมมือรับพรต่อไป;
คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า "อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ" ขอส่วนบุญนี้
จงสำเร็จแก่....(ออกชื่อผู้ล่วงลับ) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด
จะต่ออีกก็ได้ว่า "สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย " ขอญาติทั้งหลาย จงสุขเถิด
กาสาวะ
ผ้าย้อมฝาด, ผ้าเหลืองสำหรับพระ
กาสาวพัสตร์
ผ้าที่ย้อมด้วยรสฝาด, ผ้าย้อมน้ำฝาด, ผ้าเหลืองสำหรับพระ
ฉายา
ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้แกผู้บวชเป็นภาษาบาลี เรียกว่า ชื่อฉายา ที่เรียกเช่นนี้
เพราะเดิมเมื่อเสร็จการบวชแล้ว ต้องมีการวัดฉายา คือเงาแดด ด้วยการสืบเท้าว่าเงาหด
หรือเงาขยายแค่ไหน ชั่วกี่สืบเท้า การวัดเงาด้วยเท้านั้นเป็นมาตราวัดเวลา เรียกว่า บาท
เมื่อวัดแล้วจดเวลาไว้และจดสิ่งอื่นๆ เช่น ชื่อพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์
จำนวนสงฆ์ ทั้งภาษาไทย และมคธลงในนั้นด้วย ชื่อใหม่ที่จดลงตอนวัดฉายานั้น
จึงเรียกว่า ชื่อฉายา
ญัตติ
คำเผดียงสงฆ์, การประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน, วาจานัด
ญั_________ตติจตุตถกรรม
กรรมมีญัตติเป็นที่สี่ ได้แก่สังฆกรรมที่สำคัญมีการอุปสมบท เป็นต้น
ซึ่งเมื่อตั้งญัตติแล้ว ต้องสวดอนุสาวนาคำประกาศขอมติ ถึง ๓ หน เพื่อสงฆ์
คือที่ชุมนุมนั้นจะได้มีเวลาพิจารณาหลายเที่ยว ว่าจะอนุมัติหรือไม่
ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา
การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม
ได้แก่วิธีอุปสมบทที่สงฆ์เป็นผู้กระทำอย่างที่ใช้อยู่ใน
ปัจจุบัน โดยภิกษุประชุมครบองค์กำหนด ในเขตชุมนุมที่เรียกว่า สีมา
กล่าววาจาประกาศ เรื่องความที่จะรับคนนั้นเข้าหมู่
และได้รับความยินยอมของหมู๋ภิกษุทั้งปวงผู้เข้าร่วมประชุมเป็น
สงฆ์นั้น; พระราธะ เป็นบุคคลแรกที่ได้รับอุปสมบทอย่างนี้
ตจปัญจกกัมมัฏฐาน
กัมมัฏฐานทีหนังเป็นคำรบห้า, กัมมัฏฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่
๕ เป็นอารมณ์ คือ กัมมัฏฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนของร่างกาย ๕ อย่าง คือ ผม
ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยความเป็นปฏิกูล หรือความเป็นสภาวะอย่างหนึ่งๆ ตามที่มัน
เป็นของมันไม่เอาใจเข้าไปผูกพัน แล้วคิดวาดภาพใฝ่ฝันตามอำนาจ
กิเลส เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า (กัมมัฏฐานเบื้องต้น)
ไตรจีวร
จีวรสาม, ผ้าสามผืนที่พระวินัยอนุญาต ให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัวคือ ๑. สังฆาฏิ
ผ้าทาบ ๒. อุตราสงค์ ผ้าห่ม เรียกสามัญในภาษาไทยว่า จีวร ๓. อันตรวาสก ผ้านุ่ง
เรียกสามัญว่า สบง
ไตรสรณคมน์
การถึงสรณะสาม, การถึงรัตนสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
ไทยธรรม
ของควรให้, ของทำบุญต่างๆ, ของถวายพระ
ธมกรก
กระบอกกรองน้ำของพระสงฆ์
นาค
ผู้ประเสริฐ ; ใช้เป็นคำเรียกคนที่กำลังจะบวชนิมนต์เชิญ หมายถึง การเชิญพระ
เชิญนักบวช
บรรพชา
การบวช (แปลว่า เว้นความชั่วทุกอย่าง) หมายถึงการบวชทั่วไป,การบวชอันเป็น
บุรพประโยคแห่งอุปสมบท, การบวชเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา
หมายความว่า
บวชเป็นพระภิกษุ เช่น เสด็จออกบรรพชา อัครสาวกบรรพชา เป็นต้น ในสมัยต่อมาจนถึง
ปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึงบวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า อุปสมบท
โดยเฉพาะเมื่อใช้ควบกันว่า บรรพชาอุปสมบท)
บริขาร
เครื่องใช้สอยของพระในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบงจีวร สังฆาฏิ บาตร
มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองน้ำ นิยมเรียกรวมว่า อัฐบริขาร
(บริขาร ๘)
บาตร
ภาชนะของนักบวชสำหรับรับอาหาร เป็นอย่างหนึ่งในบริขาร๘ ของภิกษุ
บิณฑบาต
อาหารที่ใส่ลงในบาตรพระ, อาหารถวายพระ, ในภาษาไทยใช้ในความหมายว่า
รับของใส่บาตร เช่นที่ว่า พระไปบิณฑบาต คือ ไปรับอาหารที่เขาจะใส่ลงในบาตร
เบญจางคประดิษฐ์
การกราบด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕
อย่างลงกับพื้นคือกราบเอาเข่าทั้งสองและศรีษะ(หน้าผาก) จดลงกับพื้น
ประคด
ผ้าใช้คาดเอวหรือคาดอกสำหรับพระ (เรียกประคดอก ประคดเอว)
มีอย่างคือประคดแผ่น ๑ ประคด ไส้สุกร
ประเคน
ส่งของถวายพระภายในหัตถบาส, ส่งให้ถึงมือ; องค์แห่งการประเคนมี ๕ คือ
๑. ของไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป พอคนปานกลางคนเดียวยกได้
๒. ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส คือห่างประมาณศอกหนึ่ง
๓. เขาน้อมของนั้นเข้ามาให้
๔.น้อมให้ด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือโยนให้ก็ได้
๕.ภิกษุรับด้วยกายก็ได้ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้
(ถ้าผู้หญิงประเคน ใช้ผ้ากราบหรือผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดรับ)
ศีล
ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย,
ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม,
การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ,
ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว,
ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ;
มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา
สงฆ์
หมู่, ชุมนุม
1.หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ๔
บุรุษบุทคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ
หมู่แห่งภิกษุ หรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒), ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์
อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์
2.ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป
ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง
ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง
สังฆาฏิ
ผ้าทาบ, ผ้าคลุมกันหนาวที่พระใช้ทาบบนจีวร เป็นผ้าผืนหนึ่งในสามผืนที่เรียกว่า
ไตรจีวร
สีมา
เขตกำหนดความพร้อมเพรียงของสงฆ์, เขตชุมนุมของสงฆ์, เขตชุมนุมของสงฆ์,
เขตที่สงฆ์ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่อยู่ภายในเขตนั้นจะต้งอทำสังฆกรรมร่วมกัน
แบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่คือ ๑. พัทธสีมา แดนที่ผูก ได้แก่ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้น
๒.อพัทธสีมา แดนที่ไม่ได้ผูก ได้แก่เขตจที่ทางบ้านเมืองกำหนดไว้แล้วตามปกติของเขา
หรือที่มีอย่างอื่นในทางธรรมชาติเป็นเครื่องกำหนด
สงฆ์ถือเอาตามกำหนดนนั้นไม่วางกำหนดขึ้นเองใหม่
โสโส
โรคมองคร่อ (มีเสมหะแห้งอยู่ในลำหลอดปอด)
หัตถบาส
บ่วงมือ คือที่ใกล้ตัวชั่วคนหนึ่ง (นั่งตัวตรง) เหยียดแขนออกไป จับตัวอีกคนหนึ่งได้
ท่านว่าเท่ากับช่วงศอกคืบ(สองศอกกับหนึ่งคืบหรือสองศอกครึ่ง)
วัดจากส่วนสุดด้านหลังของผู้เหยียดมือออกไป (เช่นถ้ายืน วัดจากส้นเท้า, ถ้านั่ง
วัดจากสุดหลังอวัยวะที่นั่ง) โดยนัยนี้ ท่านว่า นั่งห่างกันได้ไม่เกิน ๑ ศอก
อนุโมทนา
1.ความยินดีในตาม, ความยินดีด้วย, การพลอยยินดี, การแสดงความเห็นชอบ;
เห็นด้วย, แสดงความชื่นชมหรือซาบซึ้งเห็นคุณค่าแห่งการกระทำของผู้อื่น(บัดนี้
บางทีใช้ในความหมาย
คล้ายคำว่าขอบคุณ) 2.ในภาษาไทย นิยมใช้สำหรับพระสงฆ์ หมายถึงให้พร
เช่นเรียกคำให้พรของพระสงฆ์ว่าคำอนุโมทนา
อนุศาสน์
การสอน, คำชี้แจง; คำสอนที่อุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์บอกแก่ภิกษุใหม่
ในเวลาอุปสมบทเสร็จประกอบด้วย นิสัย ๔ และอกรณ๊ยกิจ๔ นิสสัย คือ
ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง ได้แก่ ๑.เที่ยวบิณฑบาต ๒.นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
๓.อยู่โคนไม้ ๔.ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า (ท่านบอกไว้เป็นทางแสวงหาปัจจัย๔
พร้อมทั้งอติเรกลาภของภิกษุ),อกรณียกิจ กิจที่ไม่ควรทำ หมายถึง กิจที่บรรพชิตทำไม่ได้ มี
๔ อย่างได้แก่ ๑.เสพเมถุน ๒.ลักของเขา ๓.ฆ่าสัตว์
(ที่ให้ขาดจากความเป็นภิกษุหมายเอาฆ่ามนุษย์) ๔.พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน
อโหสิกรรม
กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก ได้แก่กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่เลิกให้ผล
เหมือนพืชที่หมดยาง เพาะปลูกไม่ขึ้นอีก (ข้อ๔ ในกรรม๑๒)
อันตรายิกธรรม
ธรรมอันกระทำอันตราย คือ เหตุขัดขวางต่าง ๆ เช่น เหตุขัดขวางต่าง ๆ เช่น
เหตุขัดขวางการอุปสมบท ๘ อย่างมีการเป็นโรคเรือน เป็นต้น
อุปัชฌาย์, อุปัชฌายะ
"ผู้เพ่งโทษน้อยใหญ่" หมายถึงผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์เป็นทั้งผู้นำเข้าหมู่ และเป็นผู้ปกครองคอยดูแลและชอบ
ทำหน้าที่ฝึกสอนอบรมให้การศึกษาต่อไป; อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณี เรียกว่าปวัตตินี.
บรรณานุกรม
สมเด็จพระสังฆราช, ( ).วิธีบรรพชา อุปสมบท. กรุงเทพฯ :
การศานา,
พระราชวรมุนี, (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ :
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๒๘__

ถ้าจะอ่านต้องติดตั้ง Acrobat Reader ครับ

อุกาสะ วันทามิ ภันเต แปลว่าอะไร

(1) อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต (ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าขอไหว้, ขอท่านได้โปรดขมาโทษทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด) (2) อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย (ท่านเห็นว่านั่นเป็นอาบัตินะขอรับ) คำว่าอุกาส” แปลตามศัพท์ว่า “ดังข้าพเจ้าขอโอกาส” ทำให้เข้าใจว่าเป็นคำเดียวกับ “โอกาส” นั่นเอง

คำว่าอุกาสะแปลว่าอะไร

อุกาสะ แปลว่า ขอโอกาส อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ.

สัพพังแปลว่าอะไร

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ - แปล หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกิน ต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ทุกๆพระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี

การบวชแบบ อุกาสะ กับ เอสาหังต่างกันอย่างไร

การบวชพระที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบด้วยกัน คือ แบบอุกาสะ และแบบเอสาหัง โดยคำว่า "อุกาสะ" แปลว่า ขอโอกาส ส่วนคำว่า "เอสาหัง" แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ในประเทศไทย การบวชพระแบบอุกาสะนั้น จะใช้กันในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเป็นแบบเดิมที่ใช้กันมาแต่โบราณกาล ส่วนการบวชพระแบบเอสาหัง จะใช้ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย โดยการประยุกต์ ...