ในการจับงานยาว ๆ ควร ใช้อุปกรณ์ ใด ของเครื่องกลึง ช่วย จับชิ้นงาน

ส่วนประกอบและหน้าที่ของเครื่องกลึง

ส่วนประกอบเครื่องกลึง

ในการจับงานยาว ๆ ควร ใช้อุปกรณ์ ใด ของเครื่องกลึง ช่วย จับชิ้นงาน

Show

1. ฐานเครื่องกลึง (Bed)

ฐานเครื่องผลิตขึ้นจากเหล็กหล่อสีเทา (Gray Cast lion) เพราะมีคุณสมบัติรับแรงสั่นสะเทือนได้ดี ทําหน้าที่รองรับส่วนประกอบทั้งหมดของตัวเครื่องกลึง
ส่วนที่มีความสําคัญที่สุดของฐานเครื่องคือรางเลื่อนและแท่นท้ายเครื่องเคลื่อนที่ไป – มาสะดวก
2. หัวเครื่องกลึง (Head Stock)
หัวเครื่องกลึง เป็นส่วนประกอบที่อยู่บนฐานเครื่องทางด้านซ้าย ภายในหัวเครื่องมีชุดเฟืองทดส่งกําลังสําหรับบังคับหัวจับที่จับชิ้นงาน หมุนด้วยความเร็วรอบระดับต่าง ๆ
ให้เหมาะสมกับความโตของชิ้นงาน ชนิดของวัสดุงาน และลักษณะการปฏิบัติงานกลึง
3. แท่นเลื่อน (Carriage)
แท่นเลื่อน เป็นชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ไป – มา ตามความยาวรางเลื่อน มีชุดเฟืองทดและคันบังคับ ทําให้แท่นเลื่อนทํางานในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ เช่น กลึงปาดหน้า กลึงปอกผิว
และตัดกลึงเกลียวได้อีกด้วย แท่นเลื่อนมีส่วนประกอบหลักคือ

    1) แท่นเลื่อนขวาง (Cross Slide) อยู่บนแท่นเลื่อน เคลื่อนตัวไปมาในแนวตั้งฉากกับรางเลื่อนทําหน้าที่ปรับป้อนมีดกลึงให้เคลื่อนตัวเข้าออก เพื่อตัดเฉือนวัสดุงานและกลึงปาดหน้าชิ้นงาน

     2) แท่นป้อมมีด (Compound Rest) อยู่บนแท่นเลื่อนขวาง โดยมีป้อมมีด (Tool Post)สําหรับจับยึดมีดกลึง สามารถปรับตั้งมุมให้เอียงสําหรับทําการกลึงเรียวได้ด้วย

4. ชุดยันศูนย์ท้าย (Tail Stock)ชุดยันศูนย์ท้ายแท่น ทําหน้าที่ประคองชิ้นงานหรือเจาะชิ้นงานโดยใช้อุปกรณ์อื่นช่วย ชุดยันศูนย์ท้ายสามารถเลื่อนไปมาได้บนรางเลื่อนแท่นกลึง

5. หน้าจานจับชิ้นงานการทํางานกลึง ลักษณะรูปร่างของงานมีหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสะดวก อุปกรณ์ที่ใช้ในการจับงานจึงมีด้วยกันหลายแบบ เช่น จับงานกลม จับงานเหลี่ยมและรูปทรงอื่น ๆ อุปกรณ์ที่ใช้จับงานในลักษณะต่าง ๆ มีดังนี้

         1) หน้าจานจับแบบฟันพร้อม หน้าจานจับแบบฟันพร้อม มีทั้ง 3 ฟันและ 4 ฟัน ส่วนใหญ่ใช้หน้าจาน 3 ฟัน ฟันจับงานหน้าจานเคลื่อนที่เข้าและออกได้พร้อมกัน
ในระยะทางเท่ากัน การจับงานในลักษณะนี้จึงเรียกว่า การจับงานแบบฟันพร้อมฟันหน้าจานแบบฟันพร้อมมี 2 แบบ คือ แบบฟันตรงและแบบฟันกลับ
ฟันหน้าจานแต่ละชุดหมายเลขตรงกัน จําแนกเป็น 3 เบอร์ คือ 1-2-3 การประกอบจะต้องทําความสะอาดที่ฟันหน้าจานแต่ละเบอร์ รวมทั้งทําความสะอาดที่ร่องของหน้าจานจับด้วย
จากนั้นจงประกอบ ฟันที่ 1 กับร่องหน้าจานหมายเลข 1 ก่อน และตามด้วยฟันที่ 2 และ 3 ตามลําดับ  ฟันหน้าจานที่ประกอบถูกต้อง ฟันทุกฟันจะห่างจากจุดศูนย์กลางเท่า ๆ กัน
จึงจะจับยึดชิ้นงานได้ศูนย์เดียวกันกับเพลาเครื่อง 

           2) หน้าจานแบบฟันอิสระ หน้าจานจับแบบฟันอิสระ เหมาะสําหรับการจับงานเหลี่ยมและงานที่ผิวไม่เรียบ ฟันจับแต่ละฟันจะเลื่อนเป็นอิสระ สามารถจับงานรูปทรง
ไม่สมมาตรได้แน่นและมั่นคง

            3) ลําดับงานเปลี่ยนหัวจับ
1) ตัดสวิตช์ใหญ่หรือคัต-เอาต์ของแท่นกลึง
2) เข้าเกียร์กันหัวจับหมุนเวลาคลายน็อต
3) ใส่ไม้รองใต้หัวจับ ป้องกันเหล็กกระแทก
4) คลายน็อตทุกตัว แล้วถอดหัวจับออก
5) งานประกอบทํากลับกันกับงานถอด ก่อนประกอบต้องทําความสะอาดหน้าสัมผัส
6) ขันน็อตทุกตัวแน่นแล้วลองเครื่อง หัวจับต้องหมุนไม่ส่าย

            4) จานพา
1) ก่อนจะสวมจานพา เข้ากับเกลียวของเพลาขับต้องแน่ใจว่าบนเกลียวทั้งสองสะอาด ปราศจากเศษโลหะและเศษผง แล้วหยดน้ํามันหล่อลื่นลงบนเกลียว 2-3 หยด เพื่อรักษา
ผิวเกลียวที่สัมผัสกันและช่วยให้ถอดออกง่ายอีกด้วย
2) ยึดห่วงพาหางตรงเข้ากับชิ้นงาน โดยรองกันชํารุดด้วยโลหะรอง
3) ปรับระยะสัมผัสพอดีเดือยพา แล้วขันสกรูห่วงพาให้แน่น
4) ทดลองเดินเครื่อง ตรวจความเรียบร้อย

           5) การเตรียมเขี้ยวยันศูนย์
                  1) เขี้ยวยันศูนย์ตาย (Dead Center) ยันศูนย์ชนิดนี้จะไม่หมุนไปพร้อมกับงาน และจะอยู่ที่แท่นท้ายเครื่องเท่านั้น ยันศูนย์ตายยังแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือแบบหน้าเว้าสําหรับใช้กับงาน
ที่ต้องการปาดหน้าให้เรียบตลอดถึง รูจุดศูนย์กลาง หรือชิ้นงานขนาดเล็ก
                  2) เขี้ยวยันศูนย์เป็น (Live Center) คือเขี้ยวยันศูนย์ที่หมุนไปพร้อมกับงาน ตามปกติจะอยู่ที่เพลาหัวเครื่องถ้าอยู่ที่ท้ายเครื่องจะต้องเป็นชนิดที่ทําให้หมุนได้

6. ดอกเจาะยันศูนย์
ดอกเจาะยันศูนย์ ทําด้วยเหล็กเครื่องมือและชุบผิวแข็ง ปลายทําเป็นรูปกรวยมุม 60 องศา การเจาะจะติดดอกเจาะยันศูนย์เข้ากับจําปา จับดอกสว่านที่ติดอยู่กับแท่นยันศูนย์
ในขณะเจาะรูที่ชิ้นงานควรเจาะช้า ๆหากเจาะเร็วเกินไป ปลายของดอกเจาะยันศูนย์อาจจะหักคาชิ้นงานได้ ซึ่งทําความยุ่งยากในการถอนเอาส่วนที่หักออกจากชิ้นงานมาก
ชิ้นงานควรหมุนด้วยความเร็วประมาณ 150 รอบ/นาที

หน้าที่การทำงานเครื่องกลึง

1.ฐานเครื่อง (Base)เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุดของเครื่อง จะอยู่กับพื้นโรงงานโดยมีฐานรองเครื่องรองรับอยู่เพื่อสะดวกในการปรับระดับ ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของเครื่อง เครื่องขนาดใหญ่ทำด้วยเหล็กหล่อจะทำให้เครื่องมั่นคงไม่สั่นสะเทือน ถ้าเป็นเครื่องขนาดเล็กอาจจะทำด้วยเหล็กเหนียว2.แท่นเครื่อง (Bed  Ways)เป็นส่วนที่ยึดติดอยู่บนฐานเครื่อง  ทำด้วยเหล็กหล่อ  ทำหน้าที่รองรับชุดหัวเครื่อง  ชุดท้ายแท่น  และชุดแท่นเลื่อน  ที่สันบบนแท่นเครื่องจะมีลักษณะเป็นรูปตัววีคว่ำ  เพื่อใช้เป็นรางเลื่อนให้ชุดแท่นเลื่อน  และชุดท้ายแท่นเลื่อนไปมา3.ชุดหัวเครื่อง  (Heab  Stock)   อยู่ตรงด้านซ้ายของเครื่อง  ภายในประกอบด้วยชุดเฟืองทดใช้สำหรับเปลี่ยนความเร็วรอบ  และเปลี่ยนอัตราป้อนกลึง  เพื่อส่งกำลังไปยยังแกนเพลาและชุดเฟืองขับต่างๆ เพื่อกลึงอัตโนมัติ และกลึงเกลียว4. แกนเพลาเครื่องกลึง(Spindle)  มีลักษณะเป็นเพลากลม  ภายในเป็นรูกลวงเป็นเรียวมาตรฐานมอส  เพื่อใช้ประกอบกับยันศูนย์เพื่อใช้กลึงยันศูนย์หัวเครื่องและศูนย์ท้ายแท่นแกนเพลาเครื่องกลึงใช้ประกอบกับหัวจับแบบต่างๆ  เช่น  สามจับและสี่จับ  การจับยึดมีหลายวิธีดังนี้  คือ  การจับยึดด้วยเกลียว  (Thread)  การจับยึดด้วยเรียว  (Taper  Key)  การจับยึดด้วยลูกเบี้ยว  (Cam-LocK) และการจับยึดด้วยเกลียวร้อยยึด (Bolted)5. ชุดท้ายแท่น  (Tail  Stock)  อยู่ตอนท้ายของแท่นเครื่อง   สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้บนแท่นเครื่อง  ชุดท้ายแท่นประกอบด้วย  2  ส่วน  คือ  ส่วนและส่วนล่าง  เพื่อใช้สำหรับปรับเยื้องศูนย์เพื่อกลึงเรียว5.1 ส่วนล่างของท้ายแท่น  จะว่างบนแท่นเลือน  จะมีตัวจับยึดให้อยู่กับที่เลวาใช้งานเพื่อป้องกันท้ายแท่นเคลื่อนที่  ช่วงหลังจะมีขีดสเกลไว้ให้ดูเวลาปรับเยื้องศูนย์เวลากลึงเรียว  แต่ไม่ละเอียดพอในการปฏิบัติงานจริงจะต้องใช้นาฬิกาวัดด้วย5.2 ส่วนบนของท้ายแท่น  ประกอบด้วยแกนเพลา  สามารถเคลื่อนที่เข้าออกได้ด้วยแขนหมุน  เพื่อใช้ป้อนยันศูนย์งาน  หรือป้อนดอกสว่านเจาะงาน  ที่แกนเพลาจะมีขีดบอกระยะ  ภายในแกนเพลาจะเป็นรูเรียวมาตรฐานมอส  เพื่อใช้จีบยึดยันศูนย์  จับยึดหัวจับดอกสว่าน  หรือดอกสว่านก้านเรียว6. ชุดแท่นเลือน (Carriagw)  อยู่บนแท่นเครื่องที่ซ้ายขวาบนแท่นเครื่องเพื่อใช้ในการกลึงปอกงาน สามารภเคลื่อนที่มือและอัตโนมัติ ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ6.1 อานม้า  (Saddle)  เป็นส่วนที่ว่างอยู่บนสันตัววีคว่ำบนแท่นเลือน เพื่อบังคับการเคลื่อนที่ซ้ายขวา จะมีรูปร่างเหมือนตัวอักษร Hบนอานม้าจะมีแท่นตัดขวางวางอยู่6.2  Apron เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของแท่นเลื่อนจะยึดติดอยู่บนอานม้า  บน Apron  จะมีแขนหมุนกลึงปอก  คันโยกกลึงอัตโนมัติ  คันโยกสำหรับกลึงเกลียว (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); 7. แท่นตัดขวาง  (Cross  Slioss)   จะวางอยู่บนอานม้าสามารถเคลื่อนที่ไปในแนวขวางบนอานม้าเพื่อใช้กลึงปาดหน้า  ด้ายการป้อนด้วยมือหรือป้อนด้ายอัตโนมัติ8.  Compound Rest   เป็นชิ้นส่วนที่ยึดอยู่บนแท่นตัดขวางสามารถตั้งองศาเพื่อกลึงเป็นมุมเรียวต่างๆ ได้ ส่วนบนจะมี Compound Rest หรือ Top Slide อยู่9. ป้อมมีด (Tool Post)  ยึดติดอยู่บน  Compound Rest  เป็นตัวจับยึดด้ามมีดหรือจับยึดมีดกลึงโดยตรงในกรณีใช้มีดกลึงแบบไม่ต้องใช้ด้ามมีดจับยึด  คือมีดกลึงมีขนาดตั้งแต่ 3/8 นิ้ว  ขึ้นไปปัจจุบันนิยมใช้ป้อมมีดแบบเทอเรต  สามารถจับมีดกลึงได้ทั้ง 4 ด้าน สามารถเปลี่ยนมีดได้เร็ว10.  มอเตอร์  (Motor)  เป็นตัวส่งกำลังไปยังชุดเฟืองทดเพื่อใช้ส่งกำลังไปตำแหน่งต่างๆ มีทั้งใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ  220 โวลต์และ 380 โวลต์11. ชุดเฟืองทดส่งกำลังขับเคลื่อน  เป็นชุดที่ส่งกำลังไปยังชุดขับเคลื่อนเพื่อกลึงอัตโนมัติหรือเพื่อกลึงเกลียว12. แขนโยกปรับความเร็ว  ปรับอุปกรณ์ทีใช้โยกเปลี่ยนเฟืองเพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการเปลี่ยนความเร็วรอบ  ความเร็วในการป้อนกลึงงาน ทำให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});