มีเงินเข้าบัญชี ทุก วัน จะโดน ตรวจ สอบ มั้ ย

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกฎกระทรวง ให้สถาบันการเงินส่งข้อมูลธุรกรรมการเงินลูกค้าให้กรมสรรพากร โอนเกินปีละ 3,000 ครั้ง หรือ 2 ล้านขึ้นไปอาจเข้าข่ายต้องเสียภาษี

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ลงประกาศ กฎกระทรวง ฉบับที่ 255 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ โดยเป็นการกำหนดให้สถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินของรัฐ และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อีมันนี่) มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะในปีที่ล่วงมา ต่อกรมสรรพากร ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เริ่มครั้งแรกมีนาคม 2563

มีเงินเข้าบัญชี ทุก วัน จะโดน ตรวจ สอบ มั้ ย
ภาพจาก siamparagon.co.th

ทั้งนี้ หากบุคคลเข้าข่ายมีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ แบงก์ หรืออีมันนี่ จะต้องรายงานข้อมูล ดังนี้

1. เลขประจำตัวประชาชน เลขที่หนังสือเดินทาง เลขทะเบียนนิติบุคคล เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสิ่งอื่นที่ใช้ในการระบุตัวบุคคลของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ

2. ชื่อและชื่อสกุลของบุคคลธรรมดา ชื่อของห้างหุ้นส่วนสามัญ ชื่อของคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือชื่อนิติบุคคล

3. จำนวนครั้งของการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน

4. จำนวนเงินที่ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน

5. เลขที่บัญชีทุกบัญชีที่มีการฝากหรือรับโอนเงิน

สำหรับธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ ได้แก่ ได้แก่

1. การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้ง ขึ้นไปต่อปีต่อธนาคาร

2. การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดเงินรวม 2,000,000 บาทขึ้นไปต่อปีต่อธนาคาร

อย่างไรก็ดี เนื่องจากกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว กำหนดให้การรายงานข้อมูลครั้งแรกภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 ให้รายงานข้อมูลในปีที่ล่วงมาเฉพาะข้อมูลการฝากหรือรับโอนเงินที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันถัดจากวันที่กฎกระทรวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป

มีเงินเข้าบัญชี ทุก วัน จะโดน ตรวจ สอบ มั้ ย
มีเงินเข้าบัญชี ทุก วัน จะโดน ตรวจ สอบ มั้ ย
มีเงินเข้าบัญชี ทุก วัน จะโดน ตรวจ สอบ มั้ ย

สรรพากรเรียกพบ รู้ได้ยังไงว่ามีรายได้ …. คงไม่ใช่เรื่องปกติแน่หากทาง สรรพากรเรียกพบ ทำเอาผู้ถูกเรียกถึงกับกุมขมับกันเลยทีเดียว ว่าเราไปทำผิดอะไร หรือมีข้อสงสัยอะไร หรือแค่อาจจะเชิญไปเป็นพยานให้ข้อมูลเพิ่มเติมในบ้างเรื่องก็ได้ ดังนั้น เมื่อถูกเรียกพบต้องไปพบตามวันนัดหมายที่กำหนด เตรียมข้อมูล เอกสารต่างๆ ให้พร้อม

ถ้าหากเป็นการเรียกพบเพื่อชี้แจงเรื่องเงินได้ เช่น ขอพบเรื่องรายได้ที่ยื่นภาษีบุคคลธรรมดาขาดไป หรือตรวจสอบพบว่ามีรายได้แต่ไม่ได้ยื่นภาษี คำถามที่ตามมาคือ แล้วสรรพากร รู้ได้อย่างไรว่ามีรายได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ทางกรมสรรพากรสามารถตรวจสอบรายได้ได้หลายวิธีด้วยกัน

พนักงานประจำ

สำหรับพนักงานประจำที่ทางบริษัทมีการจ่ายเงินเดือนผ่านธนาคาร นอกจากเราจะต้องเป็นคนนำข้อมูลจากใบ 50 ทวิ (หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย) ซึ่งเป็นใบแจ้งรายได้ทั้งปีของเรา ที่ทางบริษัทออกให้ไปยื่นภาษีเงินได้แล้ว ทางบริษัทก็จะมีเอกสารชี้แจงเงินได้ของเราส่งทางกรมสรรพากรด้วยอีกทางหนึ่ง (ภงด.1, ภงด.1ก) จึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับสรรพากรในการตรวจสอบ

สถาบันการเงิน ผ่านระบบ E-PAYMENT

E-PAYMENT เป็นระบบที่สามารถโอนเงิน ชำระเงินผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านสมาร์ทโฟน และทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัตรเครดิต โดยรายได้จากการฝากหรือโอนเงินเข้าบัญชี ไม่ว่าจะผ่านช่องทางสมาร์ทโฟน บัตรเครดิต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลให้สรรพากร ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารภาครัฐ รวมถึงผู้ให้บริการด้านการเงินอื่นๆ อย่าง Payment Gateway, e-Wallet เช่น ทรูมันนี่ เอ็มเพย์ แรบบิทไลน์ เพย์ มีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรมการฝากหรือรับโอนเงิน ทั้งที่เสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา และที่จดทะเบียนนิติบุคคล หากถึงเงื่อนไขจะต้องส่งข้อมูลให้กับสรรพากรตรวจสอบการเสียภาษี ดังนี้

1.มีเงินเข้าบัญชี 3,000 ครั้งต่อปี โดยไม่ดูจำนวนเงินว่าแต่ละครั้งจะมีมูลค่าเท่าไร

2.มีเงินเข้าบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี และมีจำนวนเงินที่เข้าบัญชีรวมเกิน 2 ล้านบาทต่อปี โดยต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 อย่าง จึงจะถูกส่งข้อมูลธุรกรรมให้กับสรรพากร

โดยนับรวมเป็นรายปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีนั้นๆ ซึ่งรายการฝากและโอนเงินเข้าบัญชีที่นับเป็นเงินเข้าบัญชี ประกอบด้วย ยอดเงินฝากเข้าบัญชีทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเคาน์เตอร์หรือตู้ฝากเงิน  ยอดรับโอนเงินเข้าบัญชี ทั้ง Auto Transfer / Online / iBanking ยอดรับโอนเงินเข้าบัญชีจากเครื่องรูดบัตร โดยนับตามจำนวนครั้งที่รูด ยอดเงินฝากเช็คเข้าบัญชี ยอดเงินเข้าบัญชีจากดอกเบี้ย ยอดเงินเข้าบัญชีจากเงินปันผล

อย่างไรก็ตามแม้ว่าสถาบันการเงินจะส่งข้อมูลยอดเงินเข้าบัญชีให้แก่สรรพากร แต่ข้อมูลเหล่านี้ทางสรรพากรไม่สามารถนำมาเก็บภาษีได้ ต้องนำไปประมวลผลร่วมกับข้อมูลอื่นๆ ด้วย (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาษี E-PAYMENT ได้จากบทความ “ทางออก…คลินิกหมอฟัน รู้ทัน! ภาษี E-PAYMENT”)

ใช้ระบบ Big Data & Data Analytics

สรรพากรใช้ระบบ Big Data & Data Analytics เพื่อคัดกรองว่า ผู้ประกอบการใดบ้างจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหลีกเลี่ยงภาษี และกลุ่มใดจัดอยู่ในกลุ่มดี ยกตัวอย่างกรณีดังที่มีผู้ค้าออนไลน์โพสต์ผ่านเฟชบุ๊กของตนเอง ถึงเรื่องราวการถูกกรมสรรพากรส่งจดหมายแจ้งยื่นภาษีย้อนหลังปี พ.ศ.2563 ยอดรวมกว่า 90,000 บาท นั่นก็มาจากระบบนี้นั่นเอง

หรือตัวอย่างของการใช้ระบบ Data Analytic เช่น สรรพากรเชื่อมข้อมูลกับการไฟฟ้า การประปา ซึ่งหากพบว่าการใช้ไฟฟ้ากับการใช้น้ำประปาของเราใกล้เคียงกับคนที่ทำธุรกิจแบบเดียวกับเรา แต่เขาแจ้งรายได้สูงกว่า สรรพากรก็อาจสงสัยว่าเราแจ้งรายได้ไม่ครบถ้วนได้

ใช้ www.rd.go.th

โดยทางสรรพากรได้เปิดเมนู “การแจ้งเบาะแส/ข้อมูลแหล่งภาษี” ไว้เพื่อให้ประชาชนช่วยกันตรวจสอบกิจการหรือธุรกิจที่เสียภาษีไม่ถูกต้อง

สุ่มตรวจ

โดยการสุ่มตรวจจากหน้าเว็บต่างๆ เช่น facebook ที่มีการโพสต์โชว์เงินโอนเข้า รายได้จากการขายสินค้าจำนวนมาก สรรพากรจะสุ่มตรวจบุคคลเหล่านี้ว่ามีรายได้แล้วได้มีการยื่นแบบฯ เสียภาษีบ้างหรือไม่  หากพบว่าไม่มีการยื่นแบบฯ หรือเสียภาษีเลย อาจถูกเรียกพบได้  

ดึงข้อมูลจากเว็บต่างๆ หรือ Web Scraping

สรรพากรนำเทคโนโลยีดึงข้อมูลจากเว็บเพจต่างๆ หรือ Web Scraping เข้ามาช่วยตรวจสอบกลุ่มผู้ค้าออนไลน์ ทั้งในรูปแบบที่ค้าขายปกติ และรูปแบบไลฟ์สดเพื่อขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น สรรพากรจะดึงข้อมูล ราคา และจำนวนสินค้าที่ขายได้ตามเว็บ e-commerce ทั้งหลาย เช่น Shopee, Lazada   

หรือรู้ข้อมูลของผู้จ่ายเงินได้ให้เรา อย่างเช่น เราขายของผ่านเว็บ e-commerce เช่น Shopee, Lazada  ทางเว็บ e-commerce จะหักค่าบริการในอัตราที่กำหนดจากยอดขายของเรา เช่น 20% หรือ 30% ของยอดขาย พร้อมกันนั้นทางเว็บ e-commerce ก็จะส่งใบกำกับภาษีให้กับเราและส่งให้สรรพากรด้วย

มีเงินเข้าบัญชี ทุก วัน จะโดน ตรวจ สอบ มั้ ย

ได้รับเป็นเงินสด ไม่ผ่านธนาคาร สรรพากร รู้ได้ยังไงว่ามีรายได้

ในกรณีที่เราได้รับเงินค่าจ้างเป็นเงินสดไม่ผ่านธนาคาร หรือรายได้จากช่องทางอื่นๆ ทางกรมสรรพากรก็ยังสามารถตรวจสอบได้ว่าเรามีรายได้ ซึ่งทางเว็บไซต์ iTAX ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า

มีเงินเข้าบัญชี ทุก วัน จะโดน ตรวจ สอบ มั้ ย

  • หากเราได้รับเงินค่าจ้างโดยทางบริษัทผู้ว่าจ้างได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อทางบริษัทผู้ว่าจ้างได้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องนำส่งเงินภาษีที่หักให้แก่กรมสรรพากร รวมถึงแจ้งข้อมูลของเรา (ในฐานะผู้ได้รับเงิน) ทั้งชื่อ เลขบัตรประชาชน/ เลขทะเบียนนิติบุคคล ไปในแบบที่นำส่งภาษีที่หักไว้ดังกล่าวด้วย นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทางสรรพากรทราบรายได้ของเรา
  • กรณีที่ผู้จ่ายเงินให้แก่เรา ถูกสรรพากรตรวจสอบเอกสาร ผู้ประกอบการจะต้องมีการนำส่งรายการบันทึกค่าใช้จ่ายของบริษัทให้กรมสรรพากร ซึ่งในบันทึกนั้นจะต้องมีการระบุค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้โดยละเอียด ส่งพร้อมเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง ประกอบด้วย
  1. เอกสารการรับเงินของผู้รับเงิน
  2. ใบกำกับภาษี หรือใบเสร็จรับเงินที่ระบุชื่อบุคคลอื่น เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้ว่า กิจการนั้นๆ เป็นผู้จ่ายเงินจริง
  3. ใบสำคัญจ่าย (Payment Voucher) พร้อมหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น หลักฐานการโอนเงิน, สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนในกรณีที่จ่ายเป็นเงินสด

ดังนั้น ถึงแม้จะได้รับเป็นเงินสดและไม่ได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ก็ยังมีโอกาสที่สรรพากรจะเห็นข้อมูลรายได้ของเราและสามารถทราบว่าเรามีรายได้นั่นเอง

มีเงินเข้าบัญชี ทุก วัน จะโดน ตรวจ สอบ มั้ ย

สรุป

สรรพากรรู้ข้อมูลรายได้ของประชาชนไทยได้จากหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นผ่านข้อมูลที่ธนาคาร หรือสถาบันการเงินเป็นผู้ส่งให้ ใช้ระบบ Data analytics รู้ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ที่มีผู้มาแจ้งเบาะแส เจ้าหน้าที่เข้าสุ่มตรวจสอบ ข้อมูลจาก Web Scraping หรือแม้แต่รับรู้รายได้ของเราผ่านทางลูกค้าหรือผู้จ่ายเงินให้เรา

ดังนั้น หากเราคิดว่าไม่อยากเสียภาษี และเลือกไม่ยื่นภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเมื่อเวลาผ่านไปและมีสรรพากรมาตรวจสอบ (สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้นานสุดถึง 10 ปี) นอกจากภาษีที่ต้องชำระ อาจจะมีภาระค่าปรับที่ทำให้เราต้องเสียมากกว่าค่าภาษีไปอีกเยอะ

วิธีป้องกันปัญหาไม่อยากให้สรรพากรเรียกพบที่ดีที่สุดคือ เข้าใจถึงเรื่องภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา และวางแผนภาษีเพื่อให้ประหยัดภาษีได้อย่างถูกกฎหมาย และยื่นภาษีให้ถูกต้องครบถ้วนนั่นเองค่ะ (อ่านเพิ่มเติมบทความ “รู้ก่อนวางแผน ภาษีแม่ค้าออนไลน์ ยังไงให้เป๊ะ!“)

เงินเข้าบัญชีเท่าไรถึงโดนตรวจสอบ

กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ เริ่มบังคับใช้แล้ว มีผลให้สถาบันทางการเงินต้องรายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรมเฉพาะให้แก่กรมสรรพากร โดยบัญชีจะต้องมีเงื่อนไขคือ มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป หรือมียอดฝากหรือโอนเงินทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี และมียอดเงินรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป

โอนเงินเข้าออก บ่อย เป็นไร ไหม

โดย The Bangkok Insight Editorial Team 25 ธันวาคม 2562. 33,578. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกฎกระทรวง ให้สถาบันการเงินส่งข้อมูลธุรกรรมการเงินลูกค้าให้กรมสรรพากร โอนเกินปีละ 3,000 ครั้ง หรือ 2 ล้านขึ้นไปอาจเข้าข่ายต้องเสียภาษี

สรรพากร รู้ได้ ยัง ไง เงินเข้าบัญชี ไหน

1.มีเงินเข้าบัญชี 3,000 ครั้งต่อปี โดยไม่ดูจำนวนเงินว่าแต่ละครั้งจะมีมูลค่าเท่าไร 2.มีเงินเข้าบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี และมีจำนวนเงินที่เข้าบัญชีรวมเกิน 2 ล้านบาทต่อปี โดยต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 อย่าง จึงจะถูกส่งข้อมูลธุรกรรมให้กับสรรพากร

ธนาคารจะส่งข้อมูลบัญชีแบบไหนให้กรมสรรพากรบ้าง

สถาบันจะนับจำนวนธุรกรรมรวมกันทุกบัญชีที่เกิดขึ้นภายใน 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. ของทุกปี นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ จำนวนครั้งการฝาก/รับโอนเงิน ตั้งแต่ 3000 ครั้งขึ้นไปต่อปี จำนวนครั้งการฝาก/รับโอนเงิน ตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไป และต้องมียอดรวมมากกว่า 2,000,000 บาทต่อปี