หลักการ ทาง วิทยาศาสตร์ ของ กาลักน้ำ

ผู้ที่ค้นพบ “กาลักน้ำ” เป็นคนแรก คือ “คเทซิบิอัส”  ฮีโร่แห่ง อะเล็กซานเดรีย ราว 1,500 ปี ก่อนคริสตกาล โดยกาลักน้ำเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ของเหลวไหลได้อย่างต่อเนื่อง จากที่สูงไปสู่ที่ต่ำโดย ผ่านท่อ, หลอด นะคะ

.

เด็กๆ สังเกตได้จากเวลาที่เราล้างตู้ปลาที่บ้าน ซึ่งวิธีนี้ จะช่วยให้เราถ่ายเทของเหลวจากแหล่งหนึ่ง ไปอีกแหล่งหนึ่งได้อย่างง่าย ๆ แล้วไม่เปลืองเวลาด้วยค่ะ

.

.

เดี๋ยวเรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าอุปกรณ์และวิธีทดลอง มีขั้นตอนอะไรบ้าง

.

อุปกรณ์สามารถหาได้จาก ใน​บ้านของเด็กๆ นะคะ :

 

1. แก้วน้ำ/ภาชนะที่สำหรับใส่น้ำ

2. หลอดพลาสติก/สายยาง

 

วิธีทดลอง : การทำกาลักน้ำ

 

เริ่ม…..

 

1. ใส่น้ำเต็มแก้ว 1 ใบ อีกใบหนึ่งเป็นแก้วเปล่า

หลักการ ทาง วิทยาศาสตร์ ของ กาลักน้ำ

 

2. ใส่น้ำให้เต็มหลอด โดยการจุ่มหลอดให้จมลงในแก้วทั้งหลอด รอจนไม่มีฟองอากาศออกมาจากหลอด  แล้วใช้มือปิดปลายหลอดทั้งสองข้างเอาไว้ให้แน่นก่อน

หลักการ ทาง วิทยาศาสตร์ ของ กาลักน้ำ

 

3. วางแก้วที่มีน้ำเต็มแก้ว ให้อยู่สูงกว่าแก้วน้ำเปล่า และนำปลายหลอดข้างใดข้างหนึ่ง ใส่ลงไปในภาชนะที่ต้องการจะถ่ายเทน้ำออก

หลักการ ทาง วิทยาศาสตร์ ของ กาลักน้ำ

 

 

4. นำปลายหลอดอีกข้างหนึ่ง ใส่ไว้ในภาชนะที่ว่างเปล่า และจะต้องต่ำกว่าภาชนะที่จะถ่ายน้ำออก นะคะ แค่นี้เด็กๆ ก็จะสามารถถ่ายน้ำออกจากภาชนะได้อย่างง่ายดาย

 

หลักการ ทาง วิทยาศาสตร์ ของ กาลักน้ำ

 

 

หลักการของกาลักน้ำ : ใช้แรงดันของอากาศ เป็นตัวช่วยในการถ่ายเทของเหลวตามแรงโน้มถ่วง

.

สรุปผลการทดลอง : โดยปกติโมเลกุลของน้ำจะมีแรงยึดเหนี่ยวกัน และ มักจะไหลจากที่สูงลงมาที่ต่ำเสมอ เมื่อเราจุ่มหลอดลงไปในแก้ว น้ำก็จะไหลเข้ามาในหลอดแทนที่อากาศ และเมื่อเรางอปลายหลอด ที่มีน้ำอยู่ ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับในขวด  จึงเกิดแรงดันทำให้น้ำไหลอย่างต่อเนื่อง นั่นเอง

.

.

สนุกกันมั๊ย ค่ะ เด็ก ๆ สำหรับวิธีการทดลอง “กาลักน้ำ” สามารถนำไปในชีวิตประจำวันได้ค่ะ อย่างน้อยเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ ให้ช่วยล้างตู้ปลา พี่ก็หวังว่า เด็กๆ คงจะไม่ปฏิเสธการล้างตู้ปลา กัน นะคะ

"แก้วลักน้ำ" เกมการทดลองสนุก ๆ ที่จะพาคุณไปเรียนรู้เรื่อง แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล และความดันอากาศ รวมถึงหลักการของกาลักน้ำ โดยสามารถทำเล่นเองได้ที่บ้าน หรือจัดเป็นคาบเรียนออนไลน์ก็ได้เช่นกัน

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  1. แก้วน้ำทรงเตี้ยความสูงเท่ากัน 2 ใบ
  2. แก้วน้ำใหญ่ ๆ ทรงสูง 1 ใบ (ให้มีปริมาตรมากที่สุดในทุกใบ)
  3. หลอดดูดน้ำพลาสติก (จำนวนและรูปแบบเปลี่ยนแปลงได้)
  • หลอดธรรมดา 1 หลอด
  • หลอดแบบงอได้ 1 หลอด
  • หลอดแบบงอได้ นำมาตัดเป็น 2 แบบ ดังรูป (แบบยาวเท่ากัน 2 ด้าน และยาวไม่เท่ากัน)

Level 1 ขั้นเล่นสนุกและมั่ว

ขั้นแรก เริ่มจากเล่นเกมสนุก ๆ ที่ใช้แก้วน้ำสูงเท่ากัน 2 ใบ และหลอดที่ตัดไว้ 1 อัน ดังรูป นำแก้ว 2 ใบมาวางชิดกัน เติมน้ำให้เต็มเพียง 1 แก้ว แล้วให้นักเรียนทำยังไงก็ได้ ให้น้ำไหลผ่านหลอดจากแก้วที่มีน้ำเต็ม ไปยังแก้วที่ไม่มีน้ำอยู่เลย ลองให้เวลานักเรียนลองผิดลองถูกเองก่อนสัก 5 - 10 นาที

ขั้นที่สอง ให้นักเรียนศึกษาหลักการของกาลักน้ำ (กาลักน้ำ เป็นเครื่องมือง่าย ๆ ที่อาศัยแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของของเหลวเพื่อถ่ายเทของเหลวจากที่สูงลงไปสู่ที่ต่ำอย่างต่อเนื่องโดยผ่านตัวกลาง ซึ่งก็คือท่อ หลอด หรือสาย โดยที่จุดสูงสุดคือท่อตัวกลางนี้อยู่สูงกว่าระดับของเหลวทั้งสองข้าง โดยกาลักน้ำระบบใหญ่ ๆ อาจจะต้องใช้พลังงานในตอนเริ่มต้น เพื่อดึงของเหลวให้เต็มท่อ แต่ในระบบเล็ก ๆ อย่างเช่นการใช้หลอดแทนท่อนี้ เพียงแค่เติมน้ำให้เต็มหลอดก่อนก็เพียงพอ)

ขั้นที่สาม ให้นักเรียนลองกลับไปทำขั้นแรกอีกครั้ง แต่ตอนนี้นักเรียนจะรู้แล้วว่า ต้องทำให้น้ำเต็มหลอดก่อน โดยต้องอุดปลายไว้ไม่ให้น้ำไหลออกมา ก่อนที่จะจุ่มลงไปในแก้วน้ำ ซึ่งถึงตอนนี้ น้ำก็จะไหลไปยังอีกแก้วได้แล้ว

Level 2 ขั้นทดลองอย่างมีหลักการ

หลังจากรู้หลักการเบื้องต้นแล้ว ครูตั้งคำถามต่อว่า แล้วน้ำจะหยุดไหลเมื่อไหร่กันนะ? มันเกี่ยวกับความสูงของน้ำ ความสูงแก้ว ความยาวหลอด หรืออะไรกันแน่

ให้นักเรียนเริ่มทดลองไปเรื่อย ๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานต่าง ๆ รอบนี้ให้เวลามากหน่อย สัก 15 - 20 นาที โดยรอบนี้สามารถใช้อุปกรณ์ได้ทุกอย่างที่เตรียมมา ทั้งแก้วความสูงต่างกัน หลอดหลายแบบ จะเอาหลอดมาต่อกัน หรือยังไงก็ได้ โดยยังกำหนดให้ตั้งแก้วไว้ที่พื้นระดับเท่ากันอยู่

ซึ่งเมื่อทำไปเรื่อย ๆ จะเริ่มสังเกตเห็นว่า น้ำจะหยุดไหลเมื่อระดับความสูงของน้ำฝั่งต้นน้ำลดมาจนเท่าระดับปากหลอดด้านแก้วที่รับน้ำ แสดงว่าระดับน้ำฝั่งต้นน้ำ ต้องสูงกว่าปากท่ออีกฝั่งเสมอ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราลองให้นักเรียนเติมน้ำเข้าไปเพิ่มที่ฝั่งต้นน้ำอยู่ตลอด เพื่อให้มันสูงกว่าปากท่ออยู่เสมอ

ปรากฏว่า น้ำฝั่งรับกลับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนสุดท้าย เราสามารถทำให้น้ำเต็มแก้วได้ทั้งสองฝั่ง

การทดลองนี้ จะพิสูจน์หลักการที่ว่า ทำไมกาลักน้ำต้องกำหนดให้ปลายท่อนอกอ่างที่เราจะรับน้ำต้องอยู่ต่ำกว่าก้นอ่างฝั่งต้นน้ำนั่นเอง ซึ่งสามารถอธิบายด้วยหลักของ "ความดันอากาศ" ที่ระดับความสูงต่าง ๆ

Level 3 สร้างกาลักน้ำที่สมบูรณ์ด้วยอุปกรณ์ทั้งหมดที่เตรียมมา

หลังจากที่เราเข้าใจหลักการทั้งหมดแล้ว รอบนี้จะให้นักเรียนทำอย่างไรก็ได้ ให้น้ำไหลมาฝั่งที่รับให้เต็มแก้ว โดยที่เราไม่ต้องคอยเติมน้ำอยู่ตลอด

สุดท้ายการที่นักเรียนจะทำได้นั้น ต้องเข้าใจหลักการของ Level 1 และ 2 ที่เกิดจากการเรียนรู้ของนักเรียนเอง โดยเฉลยก็คือ นักเรียนต้องต่อหลอดให้ยาวขึ้น และยกระดับก้นแก้วฝั่งต้นน้ำให้สูงขึ้น เพื่อให้ปากท่อด้านนอกที่คอยรับน้ำอยู่ต่ำกว่าก้นแก้วฝั่งต้นน้ำนั่นเอง และอย่าลืมว่าต้องเติมน้ำให้เต็มหลอดก่อนเหมือนเดิมด้วย! รวมถึงปริมาตรแก้วฝั่งต้นน้ำต้องมากกว่าอีกแก้วที่คอยรับน้ำด้วยนะ ไม่งั้นน้ำก็จะไม่เต็ม/ล้นแก้วสักที

ข้อควรระวัง: โต๊ะเปียกแน่นอนครับ น้ำล้นแก้ว 555

อ้างอิงจาก rmutphysics.com/charud/scibook/physcis-for-everyday/physics-for-everydayuse-content/21-40/indexcontent35.htm อธิบายไว้ว่า

"กาลักน้ำดูดน้ำขึ้นมายังจุด  C  ได้ เนื่องจากระยะห่างระหว่างผิวน้ำในอ่าง  A  ถึงตำแหน่ง  C  น้อยกว่าจากตำแหน่ง  C  ถึงผิวน้ำในอ่าง  B  นั่นคือ  h1 < h2  แม้ว่าผิวน้ำในอ่าง  A  และ  B  จะได้รับแรงดันอากาศ ( แรงดันบรรยากาศ ) P0  เหมือนกัน แต่เนื่องจากแรงดันของของเหลวแปรผันโดยตรงกับความสูง ดังนั้นแรงดันภายในสายยางจากจุด  c  ไปยังจุด  b  จึงมากกว่าแรงดันจากจุด  c ไปยังจุด  a  ทำให้แรงดันในสายยางทั้งสองข้างไม่สมดุลกันดังนั้นน้ำจากอ่าง  A  จึงไหลลงไปในอ่าง  B  อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปลายสายยางข้างที่น้ำออก ยังคงอยู่ต่ำกว่าปลายสายยางข้างที่น้ำเข้าโดยไม่เป็นการฝืนกฎที่ว่าน้ำย่อมไหลสู่ที่ต่ำเสมอ"

กระบวนการหลัง ๆ จะค่อนข้างซับซ้อนหน่อยนะครับ จริง ๆ เล่นแค่ Level 1 นักเรียนก็สนุกมากแล้ว แต่ถ้าอยากให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด ก็ค่อย ๆ เพิ่มระดับความยากมาจน Level 3 ได้เลยครับ รับรองว่า นักเรียนเข้าใจคอนเซ็ปต์อย่างถ่องแท้แน่นอน

หลักการของ กาลักน้ำ เป็นอย่างไร

ประโยชน์ของกาลักน้ำ คือ ช่วยให้เราถ่ายเทของเหลวจากแหล่งหนึ่งไปอีกแหล่งหนึ่งได้อย่างง่าย ๆ และประหยัดมาก เช่น การดูดน้ำออกจากเขื่อนที่กำลังจะเต็ม โดยการใช้ท่อเหล็กขนาดใหญ่ หรือการดูดน้ำจากถังหนึ่งไปยังอีกถังหนึ่งโดยใช้ท่อพลาสติกเล็ก ๆ เป็นต้น การถ่ายน้ำจากตู้ปลา เป็นตัวอย่างของกาลักน้ำแบบง่าย ๆ

Siphon มีหน้าที่อะไรบ้าง

siphon (พหูพจน์ siphons) กาลักน้ำ (ชีววิทยา) อวัยวะในระบบทางเดินหายใจของแมลงบางชนิด เช่น ลูกน้ำ เหลือบ เป็นต้น มีลักษณะอย่างท่อ ทำหน้าที่ช่วยหายใจในขณะที่แมลงอยู่ในน้ำ

ทำไมถึงเรียกว่ากาลักน้ำ

รากศัพท์แก้ไข กา (“นกชนิดหนึ่งสีดำทั้งตัว”) +‎ ลัก (“ขโมย”) +‎ น้ำ (“สารชนิดหนึ่ง”)