บทบาทของพระภิกษุในฐานะพระนักเทศน์

                                              หน่วยที่4

ชาวพุทธคือ ผู้ที่เลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ประกอบด้วย นักบวช คือ 

ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา โดยเรียกรวมๆว่า พุทธบริษัท 4 ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 
              1. กลุ่มสงฆ์ แยกเป็น พระภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุณีสงฆ์
              2. กลุ่มคฤหัสถ์ แยกเป็นอุบาสก และอุบาสิกา
           ชาวพุทธทั้ง 2 กลุ่ม ต่างมีหน้าที่และบทบาทต่อพระพุทธศษสนาแตกต่างกัน ดังนี้

1. หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุในฐานะเป็นพระนักเทศน์ พระธรรมฑูต พระธรรมจาริก พระวิทยากร พระวิปัสสนาจารย์ และพระนักพัฒนา
                       ทั้งพระภิกษุและสามเณร มีบทบาทและหน้าที่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ดังนี้ 
              1.1   การศึกษาตามหลักไตรสิกขา คือ จะต้องศึกษาทั้ง 3 ด้าน
                       (1)  ศีล เป็นการศึกษาด้านพระวินัย (ศีล 227 ข้อ) ธรรมเนียม วัตรปฏิบัติ และมารยาทต่าง ๆ ของพระสงฆ์ เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและด้วยอาการสำรวมระวัง
                       (2)  สมาธิ เป็นการศึกษาด้านสมาธิ ฝึกเจริญวิปัสสนาเพื่อให้จิตสงบ
                       (3)  ปัญญา เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาด้านปัญญา โดยใช้ปัญญาคิดพิจารณาให้เข้าใจถึงสัจธรรมหรือความจริงของชีวิต รวมทั้งเป็ฯเครื่องมือดับทุกข์หรือแก้ไขปัญหาชีวิตต่าง ๆ 
              1.2   เป็นพระนักเทศน์ ได้แก่ พระภิกษุที่ปฏิบัติหน้าที่สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยการแสดงธรรม (เทศน์) และจะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นพระนักเทศน์ตามหลักสูตรของมหาเถรสมาคมแต่งตั้ง มี 2 ประเภท คือ 
                       (1)  พระนักเทศน์แม่แบบ หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมจากคณะกรรมการฝึกอบรมพระนักเทศน์ที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้ง 
เพื่อไปจัดอบรมพระนักเทศน์ประจำจังหวัด 
                       (2)  พระนักเทศน์ประจำจังหวัด หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมปฏิบัติหน้าที่เทศน์ภายในจังหวัดที่สังกัดหรือสถานที่ที่ทายกอาราธนา
นอกจากนั้น พระภิกษุทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถ ก็สามารถเป็นพระนักเทศน์ได้ โดยให้การสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และ
ต้องมีความรู้ทางด้านธรรมเป็นอย่างดียิ่ง

บทบาทของพระภิกษุในฐานะพระนักเทศน์

หน้าที่ชาวพุทธเเละมารยาทชาวพุทธ

ชาวพุทธมีหน้าที่มากมายหลายประการที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติเพื่อที่จะรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อทำนุบำรุงอุปถัมภ์สืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป

          1.1 หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุสามเณร

          พระนักเทศน์ได้แก่ พระภิกษุที่ปฏิบัติหน้าที่สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยการแสดงธรรม (เทศน์)และจะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นพระนักเทศน์ตามหลักสูตรของมหาเถรสมาคมแต่งตั้ง มี 2 ประเภท คือ1. พระนักเทศน์แม่แบบ หมายถึงพระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมจากคณะกรรมการฝึกอบรมพระนักเทศน์ที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้งเพื่อไปจัดอบรมพระนักเทศน์ประจำจังหวัด

2. พระนักเทศน์ประจำจังหวัดหมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมปฏิบัติหน้าที่เทศน์ภายในจังหวัดที่สังกัดหรือสถานที่ที่ทายกอาราธนา
นอกจากนั้นพระภิกษุทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถ ก็สามารถเป็นพระนักเทศน์ได้โดยให้การสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และ
ต้องมีความรู้ทางด้านธรรมเป็นอย่างดียิ่ง

          พระธรรมทูต (อ่านว่า -ทำมะทูด)พระธรรมจาริก หมายถึงภิกษุที่เดินทางไปแสดงธรรมในที่ต่างๆทำหน้าที่เหมือนทูตทางธรรมหรือทูตของพระศาสนา

พระธรรมทูตเริ่มมีครั้งแรกเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจนมีพระสาวกมากรูปแล้วจึงส่งพระสาวกเหล่านั้นไปประกาศธรรมในทิศต่างๆโดยตรัสว่า "เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชุมชนเพื่ออนุเคราะห์แก่ประชุมชน" ดังนี้เป็นต้น

พระธรรมจาริกมีความหมายเดียวเช่นเดียวกันกับพระธรรมทูตแต่เป็นคำบัญญัติที่เกิดที่หลังคำว่าพระธรรมทูต

ปัจจุบันแบ่งพระธรรมทูตออกเป็น 2 ประเภทคือพระธรรมทูตในประเทศกับพระธรรมทูตต่างประเทศ

บทบาทของพระภิกษุในฐานะพระนักเทศน์

          1.2 การปฏิบัติตนตามหลักทิศเบื้องล่างในทิศ 6

ทิศเบื้องล่างลูกจ้างบุคคลที่ต่ำกว่าลูกจ้างเปรียบเสมือนทิศเบื้องล่าง ที่นายจ้างต้องแสดงความกตัญญูต่อลูกจ้างเพราะลูกจ้างทำกิจการงานต่างๆให้สำเร็จประโยชน์ในขณะเดียวกันลูกจ้างก็ต้องแสดงความกตัญญูต่อนายจ้างในฐานะของผู้อุปการะคุณ ดังนี้

หน้าที่ของนายจ้างพึงมีต่อลูกจ้าง

หน้าที่ลูกจ้างพึงมีต่อนายจ้าง

1.จัดงานให้ทำตามความเหมาะสม

 2.ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งาน

3.จัดให้มีสวัสดิการที่ดี

4.มีอะไรได้พิเศษมาก็แบ่งปันให้

5.ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจ ตามโอกาสอันควร

1.เริ่มทำงานก่อน

2.เลิกงานทีหลัง

3.เอาแต่ของที่นายให้

4.ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น

5.นำความดีของนายงานและกิจการไปเผยแพร่

2. หน้าที่ชาวพุทธ

          2.1 การปฏิสันถารที่เหมาะสมต่อพระภิกษุในโอกาสต่าง
          การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์ในที่สาธารณะเนื่องจากพระสงฆ์อยู่ในฐานะที่ควรเคารพของชาวพุทธชาวพุทธจึงควรเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์ดังต่อไปนี้

          1) เวลาพบปะในสถานที่ต่าง ๆเวลาพบปะพระสงฆ์ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ตามถนนบนรถโดยสาร หรือสถานที่ต่าง ๆ พึงปฏิบัติดังนี้
               1.1) แสดงความเคารพ ด้วยการประนมมือ (อัญชลี) ไหว้ (วันทา หรือนมัสการ) กราบ (อภิวาท)หรือลุกขึ้นยืนรับ (ปัจจุคมน์) ตามสมควรแก่โอกาสและสถานที่
               1.2) ไม่พึงนั่งบนอาสนะ (ที่นั่ง) เดียวกับพระภิกษุ ถ้าจำเป็นต้องนั่งก็พึงนั่งด้วยอาการเคารพสำรวม
               1.3) สำหรับสตรีจะนั่งบนม้ายาวหรือเก้าอี้ยาว เช่น ที่นั่งในรถโดยสาร รถไฟ เป็นต้นไม่ได้โดยเด็ดขาด แม้จะนั่งคนละมุมก็ตาม ในกรณีที่จำเป็นจะต้องมีบุรุษมานั่งคั่นกลางให้
               1.4) ในห้องประชุมที่มีพระสงฆ์เข้าร่วมด้วย เช่น ในการฟังปาฐกถา การบรรยายถึงจัดให้ท่านนั่งแถวหน้า ถ้าจัดที่นั่งให้สูงกว่าคฤหัสถ์ได้ยิ่งเป็นการดี
               1.5) บนเรือหรือบนรถโดยสาร เป็นต้น เมื่อเห็นพระภิกษุขึ้นมาพึงลุกให้ที่นั่งแก่ท่านด้วย

          2) การถวายภัตตาหารและปัจจัยที่สมควรแก่สมณะการถวายภัตตาหารและปัจจัยที่สมควรแก่สมณะ พึงปฏิบัติดังนี้
               2.1) เวลาใส่บาตร พึงถอดรองเท้าตักข้าวและอาหารใส่บาตรด้วยความเคารพแล้วย่อตัวลงไหว้


               2.2) เมื่อถวายอาหาร หรือเครื่องอุปโภคแก่พระภิกษุ พึงประเคน คือยกของให้ท่านภายในหัตถบาส” (ระยะบ่วงมือ คือ ห่างประมาณหนึ่งศอก)
               2.3) เมื่อนำของไปถวายพระภิกษุหลังเที่ยง ไม่พึงประเคนให้ท่าน ถึงวางไว้เฉย ๆ หรือให้ศิษย์วัดนำไปเก็บไว้ต่างหาก (การปฏิบัติเช่นนี้เพื่อมิให้ท่านละเมิดข้อบัญญัติว่าด้วยการสะสมอาหาร)
               2.4) เมื่อจะถวายปัจจัย (เงิน) ไม่พึงประเคนให้ท่านพึงถวายเฉพาะใบปวารณามอบเงินให้ไวยาวัจกรหรือศิษย์วัด ในกรณีที่ไม่มีไวยาวัจกรหรือศิษย์วัดพึงเอาปัจจัยใส่ซองใส่ลงในย่ามให้ท่านเอง
               2.5) เวลานิมนต์พระสงฆ์ไปฉันภัตตาหารที่บ้านตน ไม่พึงระบุชื่ออาหาร

               2.6)
ถ้าจะนิมนต์พระสงฆ์ไปรับสังฆทาน ไม่พึงเจาะจงภิกษุผู้รับเช่น ขอนิมนต์ท่านเจ้าคุณพร้อมพระสงฆ์อีกห้ารูปไป
รับสังฆทานเป็นต้น

          3) เวลาสนทนากับพระสงฆ์หรือฟังโอวาทการสนทนาหรือฟังโอวาทกับพระสงฆ์ ควรปฏิบัติดังนี้
               3.1) ใช้สรรพนามให้เหมาะสมคือใช้สรรพนามแทนผู้ชายว่า ผม, กระผมผู้หญิงใช้คำว่าดิฉัน


               3.2)
ใช้สรรพนามแทนท่านว่า พระคุณเจ้า, หลวงพ่อ, ท่านพระครู, ท่านเจ้าคุณ, ใต้เท้า, พระเดชพระคุณตามควรแก่กรณี
               3.3) เวลารับคำ ผู้ชายใช้คำว่า ครับ, ขอรับผู้หญิงใช้คำว่า ค่ะ, เจ้าค่ะ

               3.4)
เวลาพระท่านพูด พึงตั้งใจฟังโดยความเคารพไม่พึงขัดจังหวะหรือพูดแทรกขึ้นมาในระหว่างที่ท่านกำลังพูดอยู่
               3.5) เวลาท่านให้โอวาทหรืออวยพร พึงประนมมือฟังโดยเคารพ
               3.6) เวลารับไตรสรณคมน์ และรับศีล พึงว่าตามด้วยเสียงดัง ไม่พึงนั่งเงียบเฉย
               3.7) เวลาฟังพระสวด เช่น สวดเจริญพุทธมนต์ สวดศพ เป็นต้นพึงประนมมือฟังด้วยความเคารพ ไม่คุยกันหรือทำอย่างอื่นในระหว่างที่ท่านกำลังสวด

          พระสงฆ์คือผู้สละความสุขหรือวิธีการดำเนินชีวิตแบบฆราวาสเข้ารับการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นผู้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า นำมาเผยแผ่แสดงแก่พุทธศาสนิกชน เพราะฉะนั้นเราจึงควรประพฤติปฏิบัติต่อพระสงฆ์ให้ถูกต้องเหมาะสมตามมารยาทที่พึงปฏิบัติดังนี้

          การเดินสวนกับพระสงฆ์เมื่อเดินสวนกับพระสงฆ์ ควรหลีกติดข้างทางด้านซ้ายมือของพระสงฆ์ ยืนตรงเมื่อพระสงฆ์เดินผ่านหน้าให้น้อมตัวลงไหว้ หากท่านพูดด้วยควรประนมมือพูดกับท่านด้วยกิริยาอาการอันสำรวมหากท่านไม่พูดด้วยควรยกมือไหว้แล้วลดมือลง
เมื่อท่านเดินผ่านไป

          การเดินผ่านพระสงฆ์หากพระสงฆ์ยืนอยู่ให้น้อมตัวลงไหว้ แล้วเดินก้มตัวหลีกไป หากพระสงฆ์นั่งอยู่ให้คลานลงมือทั้งสองข้างเมื่อถึงตรงหน้าพระสงฆ์ให้ก้มลงกราบหรือประนมมือไหว้ตามที่สถานที่จะเอื้ออำนวยแล้วคลานลงมือผ่านไป

          การเดินตามพระสงฆ์ ให้เดินตามหลังพระสงฆ์โดยเยื้องไปทางซ้ายของท่าน ระยะห่างประมาณ 2-3 ก้าวและเดินด้วยอาการสำรวมกิริยาให้เรียบร้อย
การสนทนากับพระสงฆ์เมื่อกำลังสนทนากับพระสงฆ์ ควรประนมมือในขณะที่พูดกับท่าน ไม่ควรพูดล้อเล่น พูดคำหยาบและเรื่องไร้สาระรวมทั้งไม่พูดสนทนากับท่านในที่ลับตาสองต่อสองเพราะเป็นการผิดวินัยของพระสงฆ์และก่อให้เกิดข้อครหาแก่บุคคลทั่วไป

          2.2 การปฏิสันถารตามหลักปฏิสันถาร 2
          
คำว่า ปฏิสันถารได้แก่ การต้อนรับแขกผู้มาถึงถิ่น, อาการเครื่องเผื่อแผ่, การต้อนรับปราศรัย มี 2 ประการได้แก่

          1. อามิสปฏิสันถาร การปฏิสัณฐานด้วยอามิสได้แก่การต้อนรับด้วยปัจจัยสี่อย่างใดอย่างหนึ่งพอเหมาะพอควรแก่แขกผู้มาหาโดยความสุภาพเรียบร้อยสิ่งที่มนุษย์เกิดช่องว่างระหว่างกันและกันก็คือเรื่องเกี่ยวกับปัจจัย 4 ได้แก่อาหารการบริโภค เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มรวมเครื่องประดับต่างๆ เข้าด้วย ที่อยู่อาศัยรวมยวดยานพาหนะต่างๆ เข้าด้วยยารักษาโรคมรวมเครื่องสุขภัณฑ์ต่างๆ เข้าด้วย ความเป็นอยู่ของมนุษย์เราไม่เหมือนกันบางคนอยู่ในสกุลหรือภูมิประเทศได้เปรียบอาจมีปัจจัย 4 เหล่านี้ใช้อย่างเหลือเฟือส่วนคนที่อยู่ในสกุลหรือภูมิประเทศอันเสียเปรียบอาจมีปัจจัย 4 เหล่านี้น้อยหรือหาไม่ได้เลย ถ้ามนุษย์เราไม่มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันเข้าทำนองที่ว่า คนรวยก็รวยเหลือล้น คนจนก็จนเหลือหลายทำให้เกิดช่องว่างระหว่างมนุษย์ด้วยกันอย่างมากมายจนกลายเป็นแบ่งชนชั้นแตกแยกบาดหมาง ไม่มีทางประนีประนอมกันได้ เกิดการยื้อแย่งแข่งขันเบียดเบียนปล้นสดมภ์เข่นฆ่ากันอย่างกว้างขวาง หาความสงบสุขไม่ได้ ฉะนั้นคนรวยจึงต้องสงเคราะห์เกื้อกูลคนจนด้วยปัจจัย 4 ตามสมควรอย่าเป็นคนคับแคบเสวยสุขอยู่แต่ผู้เดียว อย่าเป็นคนเห็นแก่ตัวเอารัดเอาเปรียบคนจนอยู่ทุกท่า แบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา จะเข้าตำราที่ว่ายิ่งรวยก็ยิ่งคับแคบ ยิ่งรวยก็ยิ่งงก ยิ่งรวยก็ยิ่งเห็นแก่ตัวยิ่งรวยก็ยิ่งเอาเปรียบคนอื่นถ้าสังคมมีบุคคลประเภทนี้มากความสงบสุขจะมีไม่ได้เลย

          รวม ความว่าอามิสสปฏิสันถาร หมายถึง การให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันการต้อนรับปราศรัยด้วยใช้พัสดุสิ่งของเหมาะแก่ความต้องการ โดยควรแก่ฐานะของแขกผู้มาหา

         2. ธัมมปฏิสันถารการปฏิสันถารด้วยธรรมได้แก่ การต้อนรับด้วยพูดจาปราศรัยด้วยคำพูดที่สุภาพอ่อนโยน และคำพูดที่อ่อนหวานและประกอบด้วยประโยชน์
มนุษย์เรายามประสบเคราะห์กรรมมีทุกข์โศกโรคภัยต่างๆย่อมต้องการที่พึ่งทางใจ หากเราไม่อยู่ในฐานะที่จะช่วยเหลือได้ทางปัจจัย 4 เพราะเราก็อยู่ในสภาพเดียวกับเขา แต่เรามีกำลังใจดีกว่าเขา รู้วิธีแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีกว่าเขาเราจะนิ่งเฉยดูความเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์โดยไม่ช่วยเหลืออะไรเลยนั้นไม่ได้ที่ถูกต้องใช้ธรรมเป็นเครื่องปลุกปลอบใจเขาและข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิตให้เขาอยู่รอดปลอดภัยพ้นจากเคราะห์กรรมต่างๆนั้น

          การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างนี้ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า ปฏิสันถารแปลว่า การอุดรูรั่วต่างๆ ระหว่างตนกับคนอื่นก่อให้เกิดสามัคคีธรรมขึ้นระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกันลบล้างรอยแตกแยกความร้าวฉานให้หมดสิ้นไป มีความคิดเห็นตรงกันแม้จะมีฐานะต่างกันก็อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสงบสุข

บทบาทของพระภิกษุในฐานะพระนักเทศน์

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

                การขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ     การขยายตัวของเทคโนโลยีสา รสนเทศ        เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มีการ...

บทบาทของพระภิกษุในฐานะพระนักเทศน์

  • บทบาทของพระภิกษุในฐานะพระนักเทศน์

    การขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ     การขยายตัวของเทคโนโลยีสา รสนเทศ        เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มีการ...

  • บทบาทของพระภิกษุในฐานะพระนักเทศน์

    ความหมายของจริยธรรม คำว่าจริยธรรมมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอีกหลายคำ บางค...

พระธรรมทูต มีบทบาทและหน้าที่ต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร

พระธรรมทูตสายต่างประเทศจึงมีหน้าที่ในการเผยแผ่พระศาสนาให้แก่อุบาสกอุบาสิกาหรือ พุทธศาสนิกชนไทยในต่างประเทศ รวมถึงชาวต่างประเทศให้ได้รับประโยชน์และความสุขจากการได้ฟัง พระธรรมค าสอนในพระพุทธศาสนา และสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวท้องถิ่นเพื่อให้สามารถ ท าหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาต่อจากพระธรรมทูตไทยได้ซึ่งบทบาทหน้าที่ ...

พระภิกษุสามเณรมีบทบาทหน้าที่อย่างไร

บรรพชิต ในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษา ปฏิบัติธรรม เผยแผ่คาสอน สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติ

พระภิกษุสงฆ์ที่ทำหน้าที่แสดงธรรมเรียกว่าอะไร

พระธรรมทูตเริ่มมีครั้งแรกเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจนมีพระสาวกมากรูปแล้วจึงส่งพระสาวกเหล่านั้นไปประกาศธรรมในทิศต่างๆ โดยตรัสว่า "เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชุมชน เพื่ออนุเคราะห์แก่ประชุมชน" ดังนี้เป็นต้น

พระวิปัสสนาจารย์มีบทบาทสำคัญในด้านใด

พระวิปัสสนาจารย์ คือครูผู้สอน วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง พระภิกษุที่สอน การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามค าสอน พระพุทธศาสนา มีหน้าที่หลัก คือการอธิบาย ให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้รู้จักวิปัสสนากรรมฐาน คือ การเข้าไปเห็น หรือรู้ถึงธรรมชาติที่แท้จริงของ ชีวิต ๓ ประการ อันได้แก่ ๑. อนิจจัง ความ ไม่เที่ยง คือความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ๒. ...