กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 มีผลบังคับใช้กับกระทรวงใด

กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 มีผลบังคับใช้กับกระทรวงใด

Advertisement

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 มีผลบังคับใช้กับกระทรวงใด

กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 มีผลบังคับใช้กับกระทรวงใด

กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 มีผลบังคับใช้กับกระทรวงใด

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่แนวทางในการดำเนินการตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ ไม่สอดคล้องกับหลักการประกันคุณภาพการศึกษาที่แท้จริง จึงส่งผลให้การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอกไม่สัมพันธ์กัน เกิดความซ้ำซ้อนและคลาดเคลื่อนจากการปฏิบัติ ทำให้ไม่สะท้อนความเป็นจริงและเป็นการสร้างภาระแก่สถานศึกษาและบุคลากรในสถานศึกษา ตลอดจนหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่กำกับดูแล และหน่วยงานภายนอกเกินความจำเป็น สมควรปรับปรุงระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อให้มีกลไกการปฏิบัติที่เอื้อต่อการดำเนินการตามมาตรฐานการศึกษาของแต่ละระดับ และเกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

ดาวน์โหลดราชกิจจานุเบกษา

สาระสำคัญของกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561

1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561

2. ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553

3. การประกันคุณภาพการศึกษา  ยังคงหมายถึงการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณะชนว่าสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล

4. บทบาทของโรงเรียน

          4.1 จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา

          4.2 จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

          4.3 ดำเนินการตามแผนที่กำหนด

          4.4 จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

          4.5 ติดตามผลการดำเนินการ

          4.6 จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเป็นประจำทุกปี

5. บทบาทของหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา

          5.1 ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะนำสถานศึกษา

          5.2 จัดส่งรายงานของสถานศึกษาพร้อมประเด็นที่ต้องการ ให้มีการประเมินจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษาแห่งนั้น ได้แก่ สมศ. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอก

          5.3 ติดตามผลการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

6. บทบาทของ สมศ.

          6.1 จัดให้บุคคลหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก สมศ.ดำเนินการประเมินและติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

          6.2 จัดส่งรายงานผลการประเมินและการติดตามตรวจสอบให้แก่สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

สาระสำคัญ กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561

กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ออกตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีสาระสำคัญดังนี้

1. กฎกระทรวงฉบับนี้ประกาศใช้เป็นการทั่วไป โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 11 ก วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561

2. กฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ ได้ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับเดิม (กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553)

3. การประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย
    3.1 การประเมินและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา
    3.2 มีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาจัดขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชน ว่าสถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล

4. สถานศึกษามีหน้าที่ จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ดังนี้
    4.1 กำหนดมาตรฐานการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนด
    4.2 จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้
    4.3 จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
    4.4 ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
    4.5 จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเป็นประจำทุกปี 5. หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา มีหน้าที่ ดังนี้
    5.1 ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะนำสถานศึกษา เพื่อให้การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษามีประสิทธิภาพและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    5.2 รับรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
    5.3 จัดทำประเด็นที่ต้องการให้มีการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบ โดยรวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสีย
    5.4 จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง (ตามข้อ 5.3) พร้อมกับประเด็นที่จัดทำไว้ (ตามข้อ 5.4) ให้แก่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เพื่อใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอก
    5.5 เมื่อ สมศ. ได้ดำเนินการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และจัดส่งรายงานพร้อมข้อเสนอแนะให้แก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลแล้ว จะต้องติดตามผลการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 6. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. มีหน้าที่ ดังนี้
    6.1 ดำเนินการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
    6.2 จัดทำรายงานผลการประเมินและการติดตามตรวจสอบ พร้อมข้อเสนอแนะ
ทั้งนี้ สมศ. อาจมอบหมายบุคคลหรือหน่วยงาน ให้ดำเนินการประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาได้
    6.3 จัดส่งรายงานและข้อเสนอแนะ (ตามข้อ 6.2) ให้แก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูและ เพื่อให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป

#นักเรียนกฎหมาย

30 กรกฎาคม 2561

ที่มา 
1. กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
2. เว็บไซต์ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)