ตรา ราชสีห์ ใน กฎหมาย ตรา สาม ดวง เป็น ตรา ประจำ ตำแหน่ง ของ ใคร

 ประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ 1 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่า ที่มีมาแต่ครั้งโบราณ แล้วรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายขึ้นเมื่อ จุลศักราช 1166 ตรงกับ พ.ศ. 2347 โปรดให้เรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” ให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกสามชุด แต่ละชุดประทับตรา 3 ดวง คือ ตราพระราชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหนายก) 1 ตราพระคชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม) 1 และตราบัวแก้ว (สำหรับตำแหน่งโกษาธิบดี หมายถึงพระคลัง ซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการด้านต่างประเทศ) ไว้ทุกเล่มเก็บไว้ ณ ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง และศาลหลวงอีกชุดหนึ่ง

กฎหมายตราสามดวงนี้ ได้ใช้อาลักษณ์หลายท่านเขียนขึ้น โดยแยกเป็น “ฉบับหลวง” และ “ฉบับรองทรง” โดยสันนิษฐานว่า สำหรับฉบับหลวง ชุดหนึ่งเป็นสมุดไทย 41 เล่ม เมื่อรวม 3 ชุด จึงมีทั้งสิ้น 123 เล่ม แต่เท่าที่พบ ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 79 เล่ม โดยเก็บไว้ที่กระทรวงยุติธรรม 37 เล่ม และที่หอสมุดแห่งชาติ 41 เล่ม ส่วนอีก 44 เล่ม ไม่ทราบว่าขาดหายไปด้วยประการใด ส่วน ฉบับรองทรง นั้น ก็คือ กฎหมายตราสามดวงที่อาลักษณ์ชุดเดียวกับที่เขียนฉบับหลวง ได้เขียนขึ้น โดยเขียนในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยฉบับหลวง เขียนในปีฉลู จ.ศ.1167 (พ.ศ. 2348) ส่วนฉบับรองทรงเขียนขึ้นในปีเถาะ จ.ศ. 1169 (พ.ศ. 2350) ข้อแตกต่างระหว่าง ฉบับหลวง และฉบับรองทรง ก็คือ ฉบับรองทรงจะไม่มีตราสามดวงประทับไว้ และฉบับหลวงจะมีอาลักษณ์สอบทาน 3 คนส่วนฉบับรองทรงมีอาลักษณ์สอบทานเพียง 2 คน สำหรับกฎหมายตราสามดวง ฉบับรองทรงนี้ ปัจจุบันนี้พบเพียง 18 เล่ม โดยเก็บรักษาไว้ที่ หอสมุดแห่งชาติ 17 เล่มและที่พิพิธภัณฑ์อัยการไทย สำนักงานอัยการสูงสุด 1 เล่ม

ความสำคัญกฎหมายตราสามดวง

  • กฎหมายตราสามดวงมีลักษณะเป็นกฎหมายของนักกฎหมาย (Juristenrecht) กล่าวคือ กฎเกณฑ์ส่วนใหญ่ของกฎหมายตราสามดวงโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพระธรรมศาสตร์ ที่มีลักษณะทั่วไปและมีฐานะสูงกว่าจารีตประเพณี มีการจัดระบบกฎหมายที่เป็นระบบและมีการใช้เหตุผลของนักกฎหมายปรุงแต่ง
  • กฎหมายตราสามดวงมีลักษณะที่เป็นกฎหมายธรรมชาติ ทุกคนแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย
  • ไม่มีการบัญญัติโดยแท้ บทกฎหมายใหม่นี้จึงเป็นผลงานของ นักกฎหมาย อันได้แก่ ศาลและพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นนักกฎหมายด้วย ไม่ใช่กฎหมาย ที่บัญญัติขึ้นด้วยเหตุผลทางเทคนิค โดยกระบวนการนิติบัญญัติอย่างปัจจุบัน
  • มีความนับถือตัวบทกฎหมาย เชื่อว่าไม่มีใครสามารถแก้กฎหมายได้เพราะกฎหมายไม่ใช่สิ่งที่คนสร้างขึ้น แม้แต่กษัตริย์ก็แก้ไม่ได้ หากเห็นว่ากฎหมายนั้นไม่เหมาะสมจะใช้การชำระสะสางไม่ใช่ยกร่างขึ้นใหม่หรือแก้ไขกฎหมายเดิม
  • ไม่ใช่ประมวลกฎหมายที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านเพราะเป็นที่รวมของบทกฎหมายที่ปรุงแต่งโดยนักกฎหมายและจารีตประเพณีที่สำคัญเท่านั้น การเรียกว่าประมวลกฎหมายตราสามดวงนั้นเป็นเพียงการใช้คำว่าประมวลเพื่อยกย่องเท่านั้น
  • เป็นกฎหมายที่ใช้เป็นคู่มือในการชี้ขาดตัดสินคดีเพราะเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาพิพากษาคดี และใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นหลัก ไม่ใช่กฎหมายที่เขียนขึ้นในลักษณะตำรากฎหมาย
    ตรา ราชสีห์ ใน กฎหมาย ตรา สาม ดวง เป็น ตรา ประจำ ตำแหน่ง ของ ใคร


โบราณนานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เราใช้ “คัมภีร์พระธรรมศาสตร์” เป็นกฎหมายในการตัดสินคดีความต่างๆ โดยได้รับรูปแบบกฎหมายนี้มาจากอินเดีย และใช้ต่อมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งได้เกิดคดีความเกี่ยวกับผัว-เมีย-ชู้ ขึ้นเรื่องหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้จึงทรงพบว่า กฎหมายที่บัญญัติไว้ในเรื่องนี้มีความผิดเพี้ยนไปจากความยุติธรรม สมควรจะต้องสังคายนากันใหม่

ทั้งนี้เรื่องมีอยู่ว่า อำแดงป้อม ภรรยาของ นายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ได้ยื่นฟ้องขอหย่าขาดจากนายบุญศรี นายบุญศรีได้ให้การกับศาลว่าตัวเองไม่มีความผิด แต่อำแดงป้อมนอกใจทำชู้กับ นายราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่า ตนก็ไม่ยอมให้หย่า แต่พระเกษมไกรสีห์ ผู้พิพากษาพิจารณาคดี ไม่พิจารณาคำให้การของตน ทั้งยังพูดจาแทะโลมอำแดงป้อม แล้วพิพากษาไม่เป็นธรรมให้อำแดงป้อมหย่าขาดจากตนได้ โดยคัดข้อความตัวบทกฎหมายมาให้ลูกขุนดู ซึ่งมีความว่า แม้ชายผู้สามีไม่มีความผิด หากหญิงเป็นภรรยาขอหย่า ให้หย่าขาดจากผัวเมียกันได้ นายบุญศรีจึงถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่หัว ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้พิพากษา

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ตรัสว่า หญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่าชาย ศาลพิพากษาให้หย่ากันได้นั้น หายุติธรรมไม่ จึงโปรดเกล้าฯให้นำตัวบทกฎหมายที่เก็บไว้ที่ศาลหลวงฉบับหนึ่ง ที่ข้างพระที่ในพระบรมมหาราชวังฉบับหนึ่ง และที่หอหลวงอีกฉบับหนึ่ง มาตรวจสอบ ปรากฏว่าทั้ง ๓ ฉบับมีข้อความตรงกันว่า

“ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชาย หย่าได้”

ทรงมีพระราชดำริว่า พระราชกำหนดบทพระอัยการนั้นฟั่นเฟือนวิปริตผิดไปเป็นอันมาก ด้วยคนโลภหลงหาความละอายบาปมิได้ ดัดแปลงแต่งตามชอบใจให้เสียความยุติธรรมของแผ่นดิน แม้จะเป็นพระราชอำนาจที่จะแก้ไขคำพิพากษานี้ได้ ก็ทรงถือว่าผู้พิพากษาตัดสินไปตามตัวบทกฎหมาย ไม่มีความผิด ที่ผิดคือกฎหมาย แต่ก็ไม่ควรไปแก้ตามอำเภอใจ

จึงโปรดเกล้าฯให้ตั้งคณะชำระกฎหมายเก่าที่มีมาแต่โบราณกาลเสียใหม่ ใช้เวลา ๑๑ เดือนจึงแล้วเสร็จในปี ๒๓๔๗ ทรงตรวจดูด้วยพระองค์เองแล้วประทับตราไว้ ๓ ดวง คือตราราชสีห์ ประจำตำแหน่งสมุหนายก ตราคชสีห์ ประจำตำแหน่งสมุหกลาโหม และตราบัวแก้ว ประจำตำแหน่งพระคลัง ซึ่งตอนนั้นว่าการด้านต่างประเทศด้วย เรียกกันว่า “กฎหมายตราสามดวง”

กฎหมายตราสามดวงนี้ใช้ต่อมาถึง ๑๐๓ ปี จนถึงรัชกาลที่ ๕ จึงมีการปรับปรุงกฎหมายครั้งใหญ่อีก เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล ซึ่งสาเหตุที่มีการปรับปรุงกฎหมายครั้งนี้ ก็มาจากคดี ผัว-เมีย-ชู้ เป็นสาเหตุอีกเช่นกัน

คดีนี้เกิดขึ้นในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นข่าวใหญ่ดังสนั่นเมือง เมื่อมีผู้พบศพ กัปตันจอห์น สมิธ ชาวอเมริกันผู้มีหน้าที่นำร่อง ลอยอืดขึ้นมาในแม่น้ำเจ้าพระยา ตำรวจสอบสวนเรื่องนี้ไม่นานก็ทราบว่า ตัวการที่สังหารกัปตันสมิธก็คือ นางเชี่ยว เมียของกัปตันสมิธซึ่งมีลูกด้วยกัน ๔ คน และกำลังท้องคนที่ ๕ ซึ่งยังไม่รู้ว่าเป็นลูกใครแน่ โดยมี หมอนาค ชายชู้ และ อ้ายกลม กับ อีหัน ทาสผัวเมียเป็นผู้ร่วมมือ

กฎหมายลักษณะผัวเมียได้บัญญัติไว้ว่า

“หญิงที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อผัวและมีชู้ ถ้าชู้กระทำฆาตกรรมผัวโดยตีหรือแทง ท่านว่าให้หญิงนั้นและชายชู้ตายตกไปตามกัน ถ้าผัวไม่ถึงแก่ความตายได้รับบาดแผลและเจ็บป่วยลง ชู้จะถูกปรับเป็นสองเท่าของค่าปรับสำหรับความผิดร้ายแรงที่สุดของคดีผัวเมีย และจะเรียกปรับเพิ่มได้สำหรับบาดแผลและความเจ็บป่วยนั้น ส่วนเมียจะถูกประจานตามกฎหมาย”

และยังมีกฎหมายอาญาอีกบทกล่าวว่า หากผู้ใดว่าจ้างหรือวานให้ผู้อื่นใช้หอก ดาบ หรืออาวุธใดๆ ทำการตีหรือแทง ถ้าผู้ตีหรือแทงทำให้เกิดบาดแผลหรือเจ็บป่วย ผู้ว่าจ้างหรือผู้วานจะโดนใส่คาเครื่องทรมาน และทั้งสองจะถูกปรับตามกฎหมาย แต่ถ้าตีและแทงจนถึงแก่ความตาย คนต้นคิดและคนลงมือจะถูกประหารชีวิต ทั้งถูกริบทรัพย์ ช้าง ม้า วัว ควาย และทาส เป็นของหลวงด้วย

ศาลจึงตัดสินให้เฆี่ยนจำเลยทั้งหมดคนละ ๓ ยก ยกละ ๓๐ ที แล้วเอาไปประหาร ส่วนอีเชี่ยวกำลังมีครรภ์ ท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดินจึงให้เลื่อนการเฆี่ยนและการประหารออกไปหลังคลอด

แม้ศาลจะลงโทษอีเชี่ยวว่าเป็นผู้หญิงชั่วช้าสามานย์คบชู้ฆ่าผัว แต่คนอเมริกันในกรุงเทพฯต่างเห็นใจนางที่ถูกผัวขี้เมาตบตีอย่างทารุณมาตลอด นางเคยนำเรื่องนี้ไปร้องต่อกงสุลอเมริกันมาหลายครั้ง กงสุลก็เรียกกัปตันสมิธไปตักเตือน แต่ก็ไม่เคยเปลี่ยนพฤติกรรม จนเปลี่ยนกงสุลอเมริกันมาแล้วถึง ๓ คน นางเคยร้องต่อทุกคน แต่ก็ไม่มีใครช่วยได้เลย ยังถูกผัวขี้เมาซ้อมเหมือนเดิมจนบีบคั้นจิตใจอย่างหนัก ชาวอเมริกันในกรุงเทพฯจึงร้องต่อกงสุลสหรัฐให้ช่วยนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่ว่า ลูกๆของนางรวมทั้งลูกของหมอนาคชายชู้ ซึ่งไม่ได้รู้เห็นกับเรื่องนี้ด้วย แต่ก็ต้องตกเป็นทาสหลวง และทรัพย์สินทั้งหมดต้องตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมาย

กงสุลอเมริกันก็ไม่กล้าก้าวล่วงศาลไทย จึงได้ประท้วงอย่างนิ่มๆ โดยขอบคุณทางการที่จับกุมผู้กระทำความผิดได้อย่างรวดเร็ว และตั้งคำถามขึ้นว่า สยามหรือสหรัฐอเมริกากันแน่ที่เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีกับภรรยากัปตันสมิธ เพราะนางได้แต่งงานกับคนอเมริกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ก็เพราะตอนนั้นสหรัฐอเมริกาก็มี “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” เหนือแผ่นดินสยามเหมือนกัน

เจ้าพระยาพระคลังซึ่งทำหน้าที่ด้านการต่างประเทศด้วย เลยตอบไปอย่างนิ่มนวลว่า ถ้ากงสุลอเมริกันเห็นว่าภรรยาหม้ายของกัปตันสมิธอยู่ในอำนาจของศาลอเมริกัน ก็ไม่ควรปล่อยให้ศาลสยามลงโทษนาง เพราะในสนธิสัญญามีอยู่ว่าถ้าคนในบังคับของกงสุลอเมริกันก่ออาชญากรรมรุนแรงมีโทษถึงขั้นประหารชีวิตตามกฎหมายสยาม จะไม่ถูกลงโทษที่สยาม ต้องส่งตัวให้กงสุลอเมริกันนำไปลงโทษในสหรัฐ

ท้ายสุดในหนังสือของเจ้าพระยาพระคลังได้วางหมากกลับไปอย่างสุภาพว่า

“ข้าพเจ้าของส่งตัวนางเชี่ยวมาให้ท่านตามสนธิสัญญา เพื่อส่งไปรับโทษตามแต่ที่ท่านผู้มีเกียรติจะเห็นสมควร”

กงสุลอเมริกันอ่านข้อความนี้แล้วก็อึ้ง เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะส่งตัวนางเชี่ยวไปลงโทษในอเมริกา จึงได้ตอบกลับมาว่า ขอให้ทางสยามรอการประหารนางไว้ก่อน จนกว่าทางกงสุลจะได้รับคำสั่งจากรัฐบาลสหรัฐ

ในที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐก็เสนอทางออกที่ประนีประนอมกันทั้งสองฝ่ายว่า

“เราอาจก่อให้เกิดความยุติธรรมทางอาญาได้ โดยการประกาศว่า ภรรยาหม้ายที่ต้องโทษของกัปตันสมิธได้ตายจากโลกไปตามกฎมาย ทิ้งให้บุตรมีสิทธิ์บริบูรณ์ในทรัพย์สมบัติของบิดา เสมือนว่าบิดามารดาได้ตายด้วยเหตุธรรมดาทั่วไป”

คดีนี้จึงจบลงที่นางเชี่ยวได้คลอดลูกสาวอีกคนในเรือนจำ และถูกจองจำอยู่ ๓ ปีก็ได้รับการปล่อยตัวให้ “ตายจากโลกไปตามกฎหมาย” ไม่มีใครได้ข่าวคราวของนางอีก ส่วนลูกทั้ง ๕ คนก็ได้รับการยอมรับเป็นพลเมืองของสหรัฐ และเป็นทายาทโดยชอบธรรมในทรัพย์สินมรดกประมาณ ๓ พันดอลลาร์

คดีนี้นับเป็นเหตุสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ากฎหมายสยามนั้นไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ปรับปรุงกฎหมายไทยให้มีความเหมาะสมและทันสมัยมากขึ้น อันจะนำไปสู่การขอยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตได้ในที่สุด จึงโปรดเกล้าฯให้ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างประมวลกฎหมายขึ้นในปี ๒๔๔๐ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นองค์ประธาน โดยนำกฎหมายอันเป็นที่นิยมในต่างประเทศหลายประเทศมาดัดแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของเมืองไทย และประกาศใช้ในวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๕๑ เป็นผลให้กฎหมายตราสามดวงที่ใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ต้องยุติลง

กฎหมายอันเป็นกฎกติกาของสังคม ถือได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทุกคนจะต้องเคารพและปฏิบัติตาม เพื่อความสงบสุขของสังคม แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่แก้ไขไม่ได้ หากต้องแก้ด้วยปัญญาและเหตุผล ไม่ใช่แก้ตามอำเภอใจ พระเจ้าแผ่นดินในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ยังไม่ทรงกระทำ ที่สำคัญต้องเป็นความเห็นชอบของคนส่วนใหญ่ในสังคมนั้น

ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่งของใคร

กระทรวงมหาดไทยก็ได้ใช้ตราพระราชสีห์เป็นตราเครื่องหมายประจำกระทรวงมหาดไทยมาจนถึงปัจจุบัน โดยได้อนุโลมใช้ตราประจำตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั่นเอง

กฎหมายตรา 3 ดวง ใช้สําหรับทําอะไร

เป็นกฎหมายที่ใช้เป็นคู่มือในการชี้ขาดตัดสินคดีเพราะเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาพิพากษาคดี และใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นหลัก ไม่ใช่กฎหมายที่เขียนขึ้นในลักษณะตำรากฎหมาย

ตราราชสีห์คืออะไร

ตราพระราชสีห์ เป็นตราสำหรับตำแหน่งสมุหนายก ตราประทับมีทรงกลม ภายในเป็นภาพราชสีห์งดงาม ห้อมล้อมด้วยลายไทยอันอ่อนช้อย – ตราพระคชสีห์ เป็นตราสำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม ตามประทับมีทรงกลมเช่นเดียวกัน ภายในเป็นภาพคชสีห์ หากมองเผินๆ ก็จะมีรูปร่างคล้ายกับภาพราชสีห์นั่นเอง แต่จะมีฐานรองด้านล่างด้วย

ใครเป็นคนตั้งกฎหมายตราสามดวง

คือ ประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ 1 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่าที่มีมาแต่ครั้งโบราณ แล้วรวบรวมเป็นปบีบีกันหนาเล่นขึ้นเมื่อจุลศักราช 1166 ตรงกับ สมุหนายก) 1 ตราพระคชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม) 1 และตราบัวแก้ว (สำหรับตำแหน่งโกษาธิบดี หมายถึงพระคลัง ซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการ ...