สิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญ

        เด็ก ป.3 ประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญอัตโนมัติ จากกระดาษลังรีไซเคิล ใช้พลังงานถ่ายไฟฉายขนาด AA 2 ก้อน มีแรงบันดาลใจจากอยากช่วยครูนับเหรียญ

สิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญ

จากกรณีที่ ด.ช.ภูรวิช ทองสุขศรี นักเรียนชั้น ป.3 โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จ.ปทุมธานี สามารถผลิตเครื่องแยกเหรียญอัจฉริยะขึ้น โดยประดิษฐ์ขึ้นมาจากกระดาษลังรีไซเคิล มีสวิตช์ควบคุมมอเตอร์ และพลังงานที่ใช้นั้นใช้ถ่ายไฟฉายอัลคาไลน์ ขนาด AA 2 ก้อน

       

ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2561 เว็บไซต์ Workpoint News รายงานว่า ด.ช.ภูรวิช เปิดเผยว่า แรงบันดาลใจที่ทำมาจากการเข้าไปสหกรณ์ แล้วเห็นครูกำลังคัดแยกเหรียญ จึงคิดเครื่องนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือครู

ด้าน อ.ธัญญารัตน์ สายใหม่ อาจารย์ประจำวิชาเทคโนโลยีและพลังงาน กล่าวว่า จุดเริ่มต้นงานนี้มาจากการประดิษฐ์เครื่องบินจากไม้ไอติมที่มีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ จากนั้นให้ประดิษฐ์ชิ้นงานจากวัสดุเหลือใช้ คือ เครื่องไมโครเวฟพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นงานที่ทุกคนทำเหมือนกันหมด

ต่อมา ตนได้ให้โจทย์การออกแบบชิ้นงานที่มีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ โดยออกแบบอย่างอิสระ จน ด.ช.ภูรวิช ได้ออกแบบเครื่องแยกเหรียญมาในที่สุด

สิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญ

  อย่างไรก็ตาม ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก ต่างระบุว่า เครื่องแยกเหรียญดังกล่าว เคยมีการทำมาแล้วในต่างประเทศ


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

สิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญ

***หมายเหตุ : แก้ไขข้อมุลล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2561 เวลา 00.17 น.

ข้อมูลผลงานนวัตกรรม-

• รายละเอียดของผลงานนวัตกรรม

ประเภทสิ่งประดิษฐ์ : สิ่งประดิษฐ์ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต ปี 2558

การจัดทำสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ “เครื่องแยกเหรียญ” นั้นจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักการกลไกการคัดแยกเหรียญได้อย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับการแยกเหรียญแบบนับ ซึ่งปกติเมื่อนำเหรียญ ขนาดเหรียญ 10 บาท 5 บาท 2 บาท 1 บาท อย่างละ 10 เหรียญมารวมกัน แล้วทำการแยก จะใช้เวลานั้นการคัดแยกเป็นเวลา 5 – 10 นาที ซึ่งทำให้เสียเวลาในการคัดแยกเป็นจำนวนมาก เมื่อพิจารณาโดยใช้แนวความคิดพร้อมการทดลองสร้างสิ่งประดิษฐ์ เครื่องแยกเหรียญ แล้วทำการทดลอง นำเหรียญ ขนาดเหรียญ 10 บาท 5 บาท 2 บาท 1 บาท อย่างละ 10 เหรียญมารวมกันแล้วทำการแยก โดยอาศัยหลักการสั่นสะเทือนให้เหรียญไหลตามช่องขนาดของเหรียญ ผลปรากฏว่า ใช้เวลาในการคัดแยกเพียง 1 นาที ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าแบบแรก

อาจารย์ที่ปรึกษา
1. นางสาว รัตติยา วานิชกลาง
2. นาย เจษฎา พุกสวัสดิ์
3. นาย สุรพงศ์ อับดุลเล๊าะ
4. นาย อนิรุทธิ์ ซัง
5. นาย ศุภชัย แก้ววิลัย

ผู้ประดิษฐ์
1. นาย กฤตกร พุ่มพวง

• ความร่วมมือที่แสวงหา :

ถ่ายทอดเทคโนโลยี, เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

• วันที่เผยแพร่ผลงาน :

15 กันยายน 2564

• ระดับความพร้อมของนวัตกรรม :

TRL-7 นำผลงานไป ทดลองใช้แล้ว

• ความต้องการในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ :

Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น

• ราคาของผลงานนวัตกรรม :

ยังไม่ได้กำหนดราคา

สถานที่เยี่ยมชมผลงานนวัตกรรม+

ข้อมูลกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา+

รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+

เครื่องแยกเหรียญ

สิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญ

• ราคาของผลงานนวัตกรรม : ยังไม่ได้กำหนดราคา


• จุดเด่นของผลงานนวัตกรรม :

สิ่งประดิษฐ์สามารถแยกเหรียญขนาดเหรียญ 10 บาท 5 บาท 2 บาท 1 บาท 1ได้สิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญ ที่ประหยัดเวลาในการคัดแยกเหรียญ ขนาดเหรียญ 10 บาท 5 บาท 2 บาท 1 บาท 2ได้ประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญ ที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด ที่มีต้นทุนต่ำ 3ได้ประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญ ขนาดเหรียญ 10 บาท 5 บาท 2 บาท 1 บาท ที่สามารถแยกเหรียญก่อนนำฝากธนาคารได้สะดวกและรวดเร็ว


สิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญ

• ชื่อเจ้าของข้อมูล : สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา


• ประเภทผลงานนวัตกรรม :

ผลงานนวัตกรรม

• หมวดหมู่นวัตกรรม :

ชุมชน/สังคม


• ระดับนวัตกรรม :

TRL-7 นำผลงานไป ทดลองใช้แล้ว

• ความร่วมมือที่แสวงหา :

ถ่ายทอดเทคโนโลยี, เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

• ความต้องการจำหน่าย :

Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น


วันที่เผยแพร่: 15 กันยายน 2564

|

ผู้เยี่ยมชม: 148

สิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญ

Advertisement

สิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญ

นักเรียนชั้น ป.3 โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประดิษฐ์ “เครื่องแยกเหรียญอัจฉริยะ” จากสิ่งของเหลือใช้  

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 8 ต.ค. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Tanyarat Saimai ได้โพสต์คลิปสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 “เครื่องแยกเหรียญอัจฉริยะ” เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ที่ผ่านมา มีประชาชนชื่นชมและให้ความสนใจจำนวนมาก

โดยมีข้อความว่า “มาค่ะ รับแยกเหรียญ ร้อยละ 20 บาท โดย ด.ช.ภูรวิช ทองสุขศรี วิชาเทคโนโลยีและพลังงาน ป.3 โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตำบลคลองหก อำเภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ซึ่งภายในคลิปเป็นภาพการใช้งานเครื่องแยกเหรียญอัจฉริยะ โดยประดิษฐ์ขึ้นมาจากกระดาษลังรีไซเคิล มีสวิตช์ควบคุมมอเตอร์ เป็นอุปกรณ์ขับเคลื่อนวงล้อนำเหรียญเลื่อยขึ้นไปยังราง จากนั้นเหรียญจะเคลื่อนที่ตามร่องไปยังช่องว่างที่มีขนาดแตกต่างกัน แยกเป็นขนาดเหรียญ 1 บาท 2 บาท 5 บาท และ 10 บาท เรียงจากเหรียญที่มีขนาดเล็กไปยังเหรียญที่มีขนาดใหญ่กว่า

เมื่อคัดแยกแล้วเหรียญจะตกไปยังกล่องรับเหรียญด้านล่าง สามารถเลื่อนเป็นลิ้นชักนำเหรียยออกมาได้ ซึ่งเครื่องแยกเหรียญอัจฉริยะใช้ถ่านไฟฉายอัลคาไลน์ ขนาด AA กำลังไฟ 1.5 โวลต์ จำนวน 2 ก้อน เพื่อเป็นพลังงานให้กับมอเตอร์

จากการสอบถาม ด.ช.ภูรวิช ทองสุขศรี หรือน้องภู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 กล่าวว่า เนื่องจาก อาจารย์ธัญญารัตน์ สายใหม่ อาจารย์ประจำวิชาเทคโนโลยีและพลังงาน ได้ให้คิดประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ โดยมีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ

ด.ช.ภูรวิช ได้เล่าถึงเเรงบันดาลใจว่า เนื่องจากได้เข้าไปในสหกรณ์เพื่อที่จะซื้อน้ำดื่ม และเห็นคุณครูกำลังคัดแยกเหรียญอยู่ จึงคิดประดิษฐ์ชิ้นงานนี้ขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือคุณครู มีคุณพ่อช่วยเหลือ เมื่อประดิษฐ์มาแล้วครูชมว่าเยี่ยม

โดยส่วนตัวแล้วมีความชื่นชอบในสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมใหม่ๆ อนาคตอยากเป็นทหาร นอกจากช่วยปกป้องประเทศแล้วยังสามารถประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้อีกด้วย

สิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญ

ส่วน อาจารย์ธัญญารัตน์ สายใหม่ อาจารย์ประจำวิชาเทคโนโลยีและพลังงาน กล่าวว่า ชิ้นงานนี้มาจากการริเริ่มการประดิษฐ์เครื่องบินจากไม้ไอติมที่มีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ ต่อจากนั้นได้ประดิษฐ์ชิ้นงานจากวัสดุเหลือใช้คือเครื่องไมโครเวฟพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งทุกคนได้ทำ และประประดิษฐ์ขึ้นมาเหมือกันหมด

หลังจากนั้นคุณครูจึงให้โจทย์ว่า ต้องมีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบและใช้วัสดุเหลือใช้นำมาประดิษฐ์ชิ้นงาน โดยให้นักเรียนมีอิสระในการออกแบบ

ดร.รสริน เจิมไธสง ผอ.โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า เพื่อดึงความเป็นนวัตกรของเด็ก ทางโรงเรียนจึงมีรูปแบบการเรียนการสอนที่เรียกว่า ids stem model โดยมีสถานการณ์ให้นักเรียนได้สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ของแต่ละระดับชั้น

สิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญ

ในส่วนของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีโจทย์และสถานการณ์เพื่อให้เด็ ได้นำสิ่งของเหลือใช้ รวมกับความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ เเละวิศวกรรมศาสตร์ มาประดิษฐ์ชิ้นงานตามความความคิดสร้างสรรค์ของตน

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...