เศรษฐกิจที่สําคัญในสมัยสุโขทัยขึ้นอยู่กับอาชีพใด

สวัสดีทุกคน ! กลับมาพบกับอิ้งเเละเบลอีกเช่นเคย เป็นยังไงบ้างกับปีใหม่ที่ผ่านมา ? บอกเลยว่าพวกเราตื่นเต้นกับทุกๆวันในปีนี้มากๆ เเต่ละวันมีทั้งเรื่องดีเเละไม่ดี ยิ่งช่วงนี้โควิดระบาดอีกด้วย เศรษฐกิจจากที่กำลังจะดีขึ้น ก็กลายเป็นไม่ดีเอาซะเลย เเต่อย่างไรก้ตามด้วยความที่เศรษฐกิจมันเป็นเเบบนี้เเล้ว อาชีพหลายๆอาชีพก็ต้องตกงาน พวกเราสองคนก็เกิดสงสัยขึ้นว่า ในยุคสมัยก่อนผู้คนเขาประกอบอาชีพอะไรกันบ้างนะ โดยเฉพาะสมัยก่อนยุคสุโขทัยเเละยุคสุโขทัย ซึ่งเรารู้กันอยู่เเล้วว่าเจริญรุ่งเรืองมากๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ศาสนา พวกเราสองคนเลยไปศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจยุคสมัยก่อนสุโขทัยเเละยุคสุโขทัยมาว่ามันเป็นยังไง เเล้วจะเอามาเล่าให้เพื่อนๆชาวพันทิปฟังกันวันนี้เลย !!!  เเต่การที่เเอดจะเอาข้อมูลมาบอกทุกคนได้เนี่ย ไม่ใช่ว่าเเอดจะสามารถบอกได้ในทันทีเลย เเต่เราต้องมีการศึกษาหาข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะได้รับข้อเท็จจริงมากที่สุด !!! โดยเราจะใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ 5 ข้อนั่นเองง 

งั้นเราไปเรียนรู้กันเลยยยย let's goooo ~

วิธีการทางประวัติศาสตร์ คืออะไร ?

คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีต ว่าเกิดขึ้นและคลี่คลายอย่างไรซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์โดยมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน

1.กำหนดประเด็นศึกษา  - การประกอบอีกชีพและเศรษฐกิจในยุคก่อนสุโขทัยและสุโขทัย

2.การรวบรวมหลักฐาน - ชนชาติไทยได้ครอบครอง และมีความเจริญอยู่ก่อนแล้ว ในระหว่างระยะเวลานั้น เราเรียกตัวเองว่าอ้ายลาว หรือพวกมุง ประกอบกันขึ้นเป็นอาณาจักรใหญ่ ถึงสามอาณาจักรด้วยกันคือ 
1. อาณาจักรลุง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือบริเวณต้นแม่น้ำเหลือง (หวงโห)

2. อาณาจักรปา ตั้งอยู่ทางใต้ลงมาบริเวณพื้นที่ทางเหนือของมณฑลเสฉวน อาณาจักรปาจัดว่าเป็นอาณาจักรที่สำคัญกว่าอาณาจักรอื่น

3. อาณาจักรเงี้ยว ตั้งอยู่ทางตอนกลางของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง

ทั้งสามอาณาจักรนี้ มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ประชากรก็เพิ่มมากขึ้นจึงได้แผ่ขยายอาณาเขตออกมาทางทิศตะวันออกโดยมีแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นแกนหลักและมักประกอบอาชีพเกษตรกรรมและค้าขาย

ลักษณะเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย

ขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของราษฎร คือ การเกษตรกรรม หัตถกรรมและ ค้าขาย

เกษตรกรรรม เป็นอาชีพหลักของชาวสุโขทัย ได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวนและการเลี้ยงสัตว์ และยังเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสุโขทัย แต่ยังคงพึ่งพาฝนฟ้าและแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ดังนั้น การเพาะปลูกจึงทำได้เฉพาะในฤดูฝน ชาวสุโขทัยจึงมีการสร้างระบบชลประทานที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากสุโขทัยมีปัญหาความแห้งแล้งในฤดูแล้ง เพราะดินเป็นดินปนทรายทำให้ดินไม่อุ้มน้ำจึงมีการสร้างเขื่อนดินทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองสุโขทัย เขื่อนดินนี้เรียกว่า สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง สำหรับเก็บกักน้ำไว้ภายในหุบเขาและขนระบายน้ำเข้าไปใช้ภายในตัวเมืองรวมถึงบริเวณใกล้เคียงตัวเมือง นอกจากนี้ภายในตัวเมืองยังมีการขุดสระน้ำที่เรียกว่าตระพัง เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้สอย

อุตสาหกรรม ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมากของสุโขทัยคือ เครื่องสังคโลก มีแหล่งผลิตอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยสินค้าเครื่องสังคโลกที่ผลิต ได้แก่ ถ้วย โถ จาน ไห กระปุก นอกจากค้าขายกันภายในประเทศแล้วยังส่งออกไปขายต่างประเทศอีกด้วย เช่นมลายู ชวา บอร์เนียว และญี่ปุ่น ซึ่งจากการสำรวจทางโบราณคดีได้พบแหล่งเตาเผามากมาย โดยเฉพาะบริเวณทิศเหนือนอกกำแพงเมืองสุโขทัย น้ำโจน และเมืองศรีสัชนาลัยริมฝั่งแม่น้ำยม ที่รู้จักกันดี คือ เตาทุเรียงสุโขทัย เตาทุเรียงป่ายาง และเตาทุเรียงเกาะน้อย

การค้าขาย การค้าขายในสุโขทัยที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 แสดงให้เห็นว่ามีการค้าขายอยู่ 2 ประเภท คือการค้าขายภายในอาณาจักรและการค้าขายกับต่างประเทศ

การค้าภายในอาณาจักรเป็นการค้าแบบเสรี ประชาชนมีเสรีภาพในการค้าโดยไม่จำกัดชนิดของสินค้า มีตลาดเป็นศูนย์กลางการค้า เรียกว่า"ปสาน"ไว้สำหรับประชาชนจากถิ่นต่าง ๆ ที่เดินทางมาแลกเปลี่ยนสินค้ากัน การจัดให้มีถนนเป็นเส้นทางคมนาคมทางบก (ทางเกวียน) ถนนสายสำคัญมีชื่อเรียกว่า ถนนพระร่วง จากเมืองศรีสัชนาลัยผ่านสุโขทัยไปยังเมืองกำแพงเพชร นอกจากนี้ยังอาศัยแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางค้าขายที่สำคัญ การค้าขายระหว่างเมืองจะไม่มีการเก็บภาษีผ่านด่าน ที่เรียกว่า "จกอบ" ดังศิลาจารึก กล่าวว่า "เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง" ทำให้ประชาชนค้าขายได้อย่างเสรี

การค้าขายกับต่างประเทศ เช่นการค้ากับหงสาวดี ขอม มลายู ชวา ซึ่งสินค้าออกที่สำคัญได้แก่ เครื่องเทศและของป่า เช่น พริกไทย ไม้ฝางงาช้าง หนังสัตว์ ไม้หอม นอ- ส่วนสินค้าเข้าเป็นประเภทผ้าไหมเครื่องประดับ โดยเฉพาะผ้าไหมที่พ่อค้าจีนนำมาขายเป็นที่ต้องการของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ชั้นสูงและขุนนางสุโขทัย

3.การวิเคราะห์ตีความ และประเมิณหลักฐาน

3.1 การประเมิณภายนอก - หลักฐานที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นหลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ ซึ่งเป็นหลักฐานที่ผู้ไม่มีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ได้ศึกษาค้นคว้ารวบรวมขึ้นในภายหลัง

3.2 การประเมิณผู้บันทึกหลักฐาน – หลักฐานที่กล่าวมาข้างต้นถูกรวบรวมมาจาก- https://sites.google.com/site/prawatisassukhothay/tirphumi-phrarwng เป็นเว็บไซต์ที่เขียนขึ้นโดย นางสาว เกศรินทร์ อำขำ และhttps://sites.google.com/site/history21105/sersthkic-khxng-xanacakr-sukhothay เขียนโดย  นางสาวสุพิชชา แก้วกำ คุณครูโรงเรียนพรเจริญวิทยา ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สมัยสุโขทัยแต่อย่างใด โดยจุดมุ่งหมายที่จัดทำเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนและให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุคสมัยก่อนสุโขทัยและในยุคสุโขทัย

3.3 การประเมิณตัวหลักฐาน - หลักฐานที่กล่าวมาข้างต้น เป็นหลักฐานฉบับพิมพ์ขึ้นภายหลัง ที่ผ่านการชำระแก้ไขแล้ว มีการใช้ภาษาสำนวนตามยุคปัจจุบัน คือเข้าใจง่าย ภาษาไม่ซับซ้อน อธิบายละเอียด นำเสนอข้อมูลอย่างครบถ้วนน่าสนใจ

3.4 การประเมิณภายใน - จากการตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐานกับข้อมูลจากหลักฐานร่วมสมัยฮื่น ๆ พบว่ามีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน สรุปใจความได้ว่า

การประกอบอีกชีพและเศรษฐกิจในยุคก่อนสุโขทัยและสุโขทัย มีลักษณะดังนี้

ยุคสมัยก่อนสุโขทัย - อาณาจักรลุง อาณาจักรปา และอาณาจักรเงี้ยว มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ประชากรก็เพิ่มมากขึ้น จึงได้แผ่ขยายอาณาเขตออกมาทางทิศตะวันออก โดยมีแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นแกนหลักและมักประกอบอาชีพเกษตรกรรมและค้าขาย

ยุคสมัยสุโขทัย - อาชีพหลักของราษฎร คือ การเกษตรกรรม หัตถกรรมและ ค้าขาย

เกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวสุโขทัย ได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน และการเลี้ยงสัตว์ และยังเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสุโขทัย

หัตถกรรม - ในสมัยสุโขทัยมีสิ่งประดิษฐ์ที่สนองความต้องการพื้นฐาน  ได้แก่  การทำเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อการดำรงชีวิต ได้แก่  งานเหล็ก  เช่น  มีด  ขวาน  จอบ  เสียม  เครื่องมือทำการเพาะปลูก  งานปั้น  เช่น  โอ่ง  ไห  หม้อ  และงานจักสาน เช่น  กระบุง  ตะกร้า  และของใช้เบ็ดเตล็ด  เป็นต้น  

อุตสาหกรรม -ผลผลิตทางด้าน อุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมากของสุโขทัยคือ เครื่องสังคโลก มีแหล่งผลิตอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัยสินค้าเครื่องสังคโลกที่ผลิต ได้แก่ ถ้วย โถ จาน ไห กระปุก เป็นต้น

4. การสรุปเเละเชื่อมโยงข้อเท็จจริง
ในยุคสมัยก่อนสุโขทัย อาชีพเกษตรกรรมถือเป็นอาชีพหลักของคนในยุคนั้น เพราะมีการอาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำหรือแม่น้ำแยงซีเกียง ต่อมาในยุคสมัยสุโขทัย อาชีพที่ยังเป็นอาชีพหลักของชาวสุโขทัยก็คืออาชีพเกษตรกรรมและยังมีบทบาทสำคัญเพิ่มเติมคือเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสุโขทัยอีกด้วย เพราะคนสุโขทัยรับประทานข้าวเป็นมื้อหลัก การทำนา ทำไร่ ทำสวนจึงเป็นอาชีพที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต ส่วนอาชีพอื่นๆเช่น ค้าขาย หัตถกรรม ก็เป็นอาชีพรองที่สำคัญไม่แพ้กัน การหัตถกรรมที่ชาวสุโขทัยทำขึ้นมาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันนั้นมีหลายอย่างมากมาย และหนึ่งในสิ่งอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของสุโขทัย หรือเครื่องสังคโลก ที่ได้มีการค้าขายเข้ามาช่วยทำให้การหัตถกรรมของชาวสุโขทัยได้มีการส่งออกการซื้อขายกันไปยังดินแดนแคว้นอื่นๆ เช่น จีน เป็นต้น

5. การนำเสนอข้อเท็จจริง
จากการวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่องการประกอบอาชีพเเละเศรษฐกิจสมัยก่อนสุโขทัยเเละหลังสุโขทัย จึงได้ข้อสรุปดังนี้ อาชีพเกษตรกรรมถือเป็นอาชีพหลักของทั้งสองยุค โดยการประกอบอาชีพก็มีความเชื่อมโยงกับเเหล่งที่อยู่อาศัย เช่น การอาศัยอยู่ริมเเม่น้ำเเยงซีเกียงยุคก่อนสุโขทัย ชาวสุโขทัยนิยมปลูกข้าว ดังนั้นเกษตรกกรมถือเป็นอาชีพที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนสมัยนั้นเป็นอย่างมาก นอกจากการเกษตรเเล้ว การหัตถกกรมก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญเช่นกัน ซึ่งเห็นได้ชัดจาก เครื่องสังคโลก ที่โด่งดังไปทั่วโลกเเละช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยได้เป็นอย่างดี 

เป็นยังไงบ้างทุกคนนนน ยุคสมัยก่อนสุโขทัยเเละหลังสุโขทัยนี่เจริญรุ่งเรืองมากจริง ๆเเอดสองคนอยากยัอนอดีตไปอยู่ในยุคนั้นเลยยย ทุกคนมีความเห็นว่ายังไงก็อย่าลืมเม้นดันด้วยน้าาา ปีใหม่นี้อย่าลืมดูเเลสุขภาพกันด้วยนะจ้ะะ เเล้วพบกับพวกเราสองคนใหม่ได้ทุกๆวัน อาทิตย์ เจอกัน!!

สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบใด

ด้านเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยระบบการเกษตรแบบพึ่งพา ธรรมชาติ

พืชมีความสําคัญต่อเศรษฐกิจในสมัยสุโขทัยอย่างไร

สำหรับพืชที่ปลูกมากและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของสุโขทัย ได้แก่ ข้าว ซึ่งมี ความสำคัญที่สุดและพืชอื่น ๆ รองลงมาได้แก่ มะพร้าว มะม่วง หมาก พลู และพืชจำเป็นอื่น ๆ อีก โดยที่พืชเหล่านี้ถ้าหากเหลือจากความต้องการในครอบครัวก็จะนำไปขายในตลาดที่เรียกว่า “ตลาดปสาน”

อาชีพในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

อาชีพของชาวสุโขทัยที่พอจะปรากฏหลักฐานให้ศึกษากันได้ มีดังนี้คือ อาชีพ ทำนา ทำสวน ทำไร่ จับสัตว์น้ำ เลี้ยงสัตว์ ผสมพันธุ์สัตว์ ขุดแร่ หาแร่ ร่อนแร่ การค้าขายและการ D หัตถกรรม

เศรษฐกิจในสมัยสุโขทัย มาจากอะไร *

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจของไทย 1.1 เศรษฐกิจไทยสมัยสุโขทัย สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจของกรุงสุโขทัย คือ ข้อความใน หลักศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่า "เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" พื้นฐานทางเศรษฐกิจการยังชีพของกรุงสุโขทัยอยู่ที่การเกษตร การค้า และการทำเครื่องสังคโลก