สงคราม ครั้ง ที่ ๘ อะ แซ ห วุ่น กี้ ตี หัวเมือง เหนือ พ ศ ๒๓๑๘


ʧ�������駷�� 8
����������蹡���������ͧ�˹��
������ �.�. 2318ʧ�������駹�����֡�˭���觡��ҷء�������������͡�ا���������Ҫ�ҹ� ʧ�������駹�� ������蹡�����С�����¡ͧ�ͧ����� ����ǹ�餹���������͹���͹�������� ���ѹ��� ���仾��Ҩ���Ҫ�����ա����� ����˵ط����Դʧ�������駹�� �������;����ҡ�ا�����յ�����ͧ�¡�Ѻ������Т�鹹�� �����Ҿ��ҡ��ѧ�Դʧ��������Ѻ�չ ���������֡�չ ����ͻ���� �.�. 2314 �������ѧ�Ш֧���ԡ�è��ҵ����ͧ���ա �Դ�������ؾ�������Ѿ¡ŧ�Ҩҡ���ͧ��§���� ������Сѹ���������Ѿ¡����ҷҧ��ҹ���਴������ͧ�� �������ա�ا����������͹����ͤ��駵ա�ا�����ظ�� ���Դ�˵آѴ��ҧ���·�� 2 �ҧ �ҧ���ͧ��§���� ��¡仵����ͧ��§���������¡�͹ �ҧ���ͧ���е��оͷӷҧ��¡�ͧ�Ѿ �ǡ�ͭ���繡������������˭�� ��÷����ҵ����ͧ�¨֧���ѹ�������稵�����������ѧ����ç�������
���鹶֧�������� �.�. 2317 �������ѧ���ʴ�ŧ��¡�ѵ��ʹ����ȸҵ� ਴����Ǵҡͧ ������ͧ��ҧ��� ��й��������蹡���Һ�����ǡ�ͭ����������� �����ѧ�ͧ͡�Ѿ���ҷ������ҵ�������ͭ ������ͧ���е��� �������ѧ�зç�����������աͧ�Ѿ�˭������������ͧ���е������� �֧���Ѻ����ͺ��÷��е���§���� ���������蹡��Դ��ҹ����

������蹡���Ѻ�Ѻ��觢ͧ�������ѧ�С�Ѻ�Ҷ֧���ͧ���е������͹ 5 ������ �.�. 2318 �ͧ͡�Ѿ��ᤧ��˹�ͧ˹��¡�Ѻ件֧ ���ᨧ��÷��ͧ�Ѿ������������·� �¨Ѻ�ͧ�Ѿ���ͤ������� ��еվ����ա�ͧ�Ѿ˹��ᵡ�Ѻ��Թ仨ҡ�ҪЧ��� ��ᤧ��˹�ͧ�֧��ͧ˹ա�Ѻ�͡�

อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ

สงคราม ครั้ง ที่ ๘ อะ แซ ห วุ่น กี้ ตี หัวเมือง เหนือ พ ศ ๒๓๑๘

            ในปีมะเมีย พ.ศ. 2317  พระเจ้ามังระเสด็จมายกฉัตรยอดพระเกศธาตุ  ที่เมืองร่างกุ้ง เมื่อกลางเดือน 4 ขณะนั้น อะแซหวุ่นกี้ปราบปรามพวกมอญเสร็จสิ้นแล้ว  เป็นแต่ยังรอกองทัพพม่าที่เข้ามาตามครัวมอญ อยู่เมืองเมาะตะมะ  จึงได้ขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าอังวะที่เมืองร่างกุ้ง  พระเจ้ามังระเห็นว่า มีกองทัพใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเมาะตะมะแล้ว  จึงมอบการที่จะตีเมืองไทย ให้อะแซหวุ่นกี้คิดอ่านดำเนินการต่อไป  พอกองทัพตะแคงมรหน่องหนีไทยกลับไปถึง  อะแซหวุ่นกี้เห็นว่าไทยทำศึกเข้มแข็งกว่าเก่า  เห็นว่าแนวทางที่ใช้ครั้งก่อนไม่ได้ผล จึงคิดจะใช้แบบอย่างครั้งพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง  คือยกกองทัพใหญ่เข้ามาตีหัวเมืองเหนือ  ตัดกำลังไทยเสียชั้นหนึ่งก่อน  แล้วเอาเมืองเหนือเป็นที่มั่น ยกกำลังทั้งทางบก และทางเรือ ลงมาตีกรุงธนบุรีทางลำแม่น้ำเจ้าพระยา  จึงพักบำรุงรี้พลอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ  แล้วมีคำสั่งไปยังโปสุพลา โปมะยุง่วน ซึ่งถอยหนีไทยไปอยู่ที่เมืองเชียงแสน  ให้ยกกลับมาตีเมืองเชียงใหม่ให้ได้ ตั้งแต่ในฤดูฝน  แล้วให้เตรียมเรือรบ  เรือลำเลียง  และรวบรวมเสบียงอาหาร ลงมาส่งกองทัพอะแซหวุ่นกี้ ซึ่งจะยกเข้ามาในต้นฤดูแล้ง  โปสุพลา โปมะยุง่วน จึงรวบรวมกำลัง ยกลงมาตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือน 10 ปีมะแม พ.ศ. 2318

สงคราม ครั้ง ที่ ๘ อะ แซ ห วุ่น กี้ ตี หัวเมือง เหนือ พ ศ ๒๓๑๘

            พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงดำรัสให้มีตราสั่งเจ้าพระยาสุรสีห์  ให้ยกกองทัพเมืองเหนือ ขึ้นไปช่วยเมืองเชียงใหม่  ให้เจ้าพระยาจักรีคุมกองทัพกรุงธนบุรีหนุนขึ้นไป  มอบภารกิจให้ตีพม่าถอยจากเชียงใหม่แล้ว  ให้เลยตามขึ้นไปตีเอาเมืองเชียงแสน ไม่ให้พม่ามาอาศัยอีกต่อไป 
โปสุพลา โปมะยุง่วน  ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ ก่อนที่กองทัพไทยจะยกขึ้นไปถึง ครั้งได้ข่าวว่ากองทัพไทยยกขึ้นไป  ก็ถอยหนีกลับไปตั้งอยู่ที่เชียงแสน  แต่พงศาวดารพม่าว่าโปสุพลา ถอยกลับไปเมืองพม่าทางเมืองนาย  หวังจะเข้ามาสมทบกับอะแซหวุ่นกี้  แต่มาไม่ทันทัพอะแซหวุ่นกี้ 
ครั้นถึงเดือน 11 ปีมะแม  อะแซหวุ่นกี้ก็ให้กะละโบ่ กับมังแยยางู  ผู้เป็นน้องชาย คุมกำลัง 20,000 คน  เป็นกองทัพหน้า ยกออกจากเมืองเมาะตะมะ  อะแซหวุ่นกี้คุมกำลัง 15,000 คน เป็นกองทัพหลวง  ตามมากับตะแคงมรหน่อง และเจ้าเมืองตองอู  เข้ามาทางด่านแม่ละเมา เข้ามาเมืองตาก  มาถึงบ้านด่านลานหอย ตรงมาเมืองสุโขทัย  ให้กองทัพหน้าตั้งอยู่ที่บ้านกงธานี  ริมน้ำยมใหม่  ส่วนอะแซหวุ่นกี้ตั้งพักอยู่ที่เมืองสุโขทัย 
ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ ตั้งทัพอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  เมื่อได้ข่าวว่าพม่ายกกองทัพใหญ่ เข้ามาทางด่านแม่ละเมา  ก็รีบยกทัพกลับมาทางเมืองสวรรคโลก  เมืองพิชัย  ครั้นมาถึง เมืองพิษณุโลกจึงปรึกษากันถึงการสู้ศึก เจ้าพระยาจักรีเห็นว่าพม่ายกมาเป็นกองทัพใหญ่  กำลังฝ่ายไทยทางเมืองเหนือ มีน้อยกว่าทางพม่าอยู่มาก  จึงควรตั้งรับศึกในเมืองพิษณุโลก  คอยกองทัพกรุงธนบุรียกขึ้นไปช่วย ด้วยเมืองพิษณุโลกอยู่ทางลำแม่น้ำแควใหญ่ (แม่น้ำน่าน) ใช้เรือขึ้นล่องกับหัวเมืองข้างใต้ได้สะดวก  แต่เจ้าพระยาสุรสีห์อยากจะยกไปตีพม่าก่อน  จึงรวบรวมกองทัพหัวเมือง ให้พระยาสุโขทัย  พระยาอักขรวงศ์เมืองสวรรคโลก และพระยาพิชัย เป็นกองหน้า  ยกไปรบพม่าที่บ้านกงธานี  เจ้าพระยาสุรสีห์ยกตามไปตั้งอยู่ที่บ้านไกรป่าแฝก  พม่ายกมาตีกองทัพพระยาสุโขทัยแตกถอยมา  แล้วยกติดตามมาถึงค่ายเจ้าพระยาสุรสีห์  สู้รบกันอยู่สามวัน  เห็นว่าพม่ามีกำลังมากกว่ามากนัก  เกรงว่าจะโอบล้อมกองทัพไว้ จึงถอยกลับมาเมืองพิษณุโลก

สงคราม ครั้ง ที่ ๘ อะ แซ ห วุ่น กี้ ตี หัวเมือง เหนือ พ ศ ๒๓๑๘

            อะแซหวุ่นกี้  แบ่งกำลังให้อยู่รักษาเมืองสุโขทัย 5,000 คน  แล้วคุมกำลังพล 30,000 คน ยกตามมาถึงเมืองพิษณุโลก ในเดือนอ้าย ข้างขึ้น  ให้ตั้งค่ายรายล้อมเมืองทั้งสองฟากแม่น้ำ  เจ้าพระยาทั้งสองก็จัดการป้องกันเมืองเป็นสามารถ  เมืองพิษณุโลกนั้นแนวปราการตั้งทั้งสองฟาก เอาลำน้ำไว้กลาง  จึงให้ทำสะพานเรือกข้ามแม่น้ำสองแห่ง  สำหรับส่งกำลังไปมาให้ช่วยเหลือกันได้  กำลังที่อยู่รักษาเมืองพิษณุโลก ประมาณว่าไม่เกิน 10,000 คน  อะแซหวุ่นกี้ออกเลียบค่าย เที่ยวตรวจหาชัยภูมิทุกวัน  เจ้าพระยาสุรสีห์คุมพลออกโจมตี แต่ต้องถอยกลับมา  เจ้าพระยาจักรีคุมพลออกโจมตีบ้าง พม่าต้องถอยหนีกลับเข้าค่ายหลายครั้ง

สงคราม ครั้ง ที่ ๘ อะ แซ ห วุ่น กี้ ตี หัวเมือง เหนือ พ ศ ๒๓๑๘

            อะแซหวุ่นกี้ยกย่องฝีมือ เจ้าพระยาจักรี  วันหนึ่งจึงนัดเจรจากัน เมื่อพบกันแล้วได้สอบถามอายุกัน ปรากฎว่า เจ้าพระยาจักรีอายุ 30 ปีเศษ  อะแซหวุ่นกี้อายุ 72  ปี  อะแซหวุ่นกี้สรรเสริญเจ้าพระยาจักรีว่า รูปก็งาม  ฝีมือก็เข้มแข็ง สามารถสู้รบกับตนได้ ขอให้รักษาตัวไว้  ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์  ต่อไปภายหน้าพม่าจะตีเมืองไทยไม่ได้อีกแล้ว 
ฝ่ายกรุงธนบุรี ได้ข่าวว่า อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพใหญ่เข้ามาทางหัวเมืองเหนือ  และขณะเดียวกัน ก็จะยกมาจากเมืองตะนาวศรี เข้ามาทางใต้อีกด้วย  จึงมีดำรัสสั่งให้เกณฑ์กองทัพ ให้เจ้ารามลักษณ์หลานเธอ ซึ่งเป็นกรมขุนอนุรักษ์สงคราม คุมกำลังออกไปรักษาเมืองเพชรบุรี  คอยป้องกันพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านสิงขร  แล้วพระเจ้ากรุงธนบุรีก็เสด็จยกทัพหลวง มีกำลังพล 12,000 เศษ  ออกจากกรุงธนบุรี เมื่อวันอังคาร แรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะแม  ขึ้นไปรับศึกที่ยกมาทางหัวเมืองเหนือ