โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา คือ

                แนวปฏิบัติในการจัดหลักสูตรของโรงเรียนตังเอ็งกำหนดโครงสร้างหลักสูตรขั้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

ระดับการศึกษา

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดระดับการศึกษาเป็น 2 ระดับ ดังนี้

                1. ระดับประถมศึกษา  (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6)   การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงแรกของการศึกษาภาคบังคับมุ่งเน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการคิดพื้นฐาน  การติดต่อสื่อสาร  กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้น จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ         

2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3) เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัดและความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน มีทักษะในการคิดวิจารณญาณ  คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดำเนินชีวิต มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความดีงาม และมีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือการศึกษาต่อ    

การจัดเวลาเรียน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งโรงเรียนได้จัดเพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้น  โดยปรับให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษาและสภาพของผู้เรียน ดังนี้

                1. ระดับชั้นประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6)  จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละ ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง

                2. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3) จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียนวันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชา เท่ากับ 1 หน่วยกิต (นก.)

การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และเพิ่มเติม โรงเรียนได้ดำเนินการ ดังนี้

ระดับประถมศึกษา  ปรับเวลาเรียนพื้นฐานของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตามความเหมาะสม  มีเวลาเรียนรวมตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด  

ระดับมัธยมศึกษา  จัดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานเป็นไปตามที่กำหนดและสอดคล้องกับเกณฑ์การจบหลักสูตร

สำหรับเวลาเรียนเพิ่มเติม ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมภาษาจีน โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับความพร้อม จุดเน้นของสถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลักสูตร 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนดไว้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีละ 120 ชั่วโมง เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนวกิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้

           วันนี้ครูอ้อได้กลับจากการไปประชุมปฏิบัตการเพื่อพัฒนาระบบการนิเทศภายในด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยได้รับความรู้เรื่องหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตร แนวทางการนิเทศหลักสูตรสถานศึกษา     โดยมีวิทยากรที่ให้ความรู้ได้เก่งมากและเข้าใจมาก  คือ  รศ.ดร.พัชรี ศรีสังข์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ซึ่งสรุปได้ดังนี้

        หลักสูตรสถานศึกษา     เป็นแผนหรือแนวทางหรือข้อกำหนดของการจัดการศึกษาที่จะพัฒนาให้ ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ โดยให้แต่ละคนพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตน  และนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

        องค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย

        1. วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะอันพึงประสงค์

        2. โครงสร้างหลักสูตร  ซึ่งประกอบด้วย  กลุ่มสาระการเรียนรู้  ขอบข่ายสาระหลัก เวลาเรียน

            และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

       3. คำอธิบายรายวิชา  (โครงสร้างรายวิชา)

       4. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  (กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต)

       5. การจัดการเรียนรู้

       6. เกณฑ์การจบหลักสูตร/การผ่านช่วงชั้น

     ลักษณะสำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา

         1. ทุกองค์ประกอบของหลักสูตรต้องเชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้

         2. หน่วยการเรียนรู้เป็นหัวใจของหลักสูตร

         3. การจัดการเรียนรู้แต่ละหน่วยต้องให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐาน

         4. การวัดผลประเมินผล ควรประเมินการปฏิบัติ  (Performance Assessment)

         5. ชิ้นงาน/ภาระงานที่กำหนดควรเชื่อมโยงมาตรฐาน

         6. มีความยืดหยุ่นในกระบวนการ และขั้นตอนการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ ต้องเริ่มจากการวิเคราะห์

             มาตรฐานการเรียนรู้/ความสนใจของนักเรียน/สภาพปัญหาของชุมชน

                     วันนี้พอก่อนนะคะ แล้วจะสรุปมาให้เรียนรู้ในครั้งต่อไปนะค่ะ

                                        ครูอ้อ กศน.

โครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาคืออะไร

2. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกาหนดรายวิชาที่จัดสอน ในแต่ละปี/ ภาคเรียน ประกอบด้วยรายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนพร้อมทั้งจานวนเวลา เรียน หรือหน่วยกิตของรายวิชาเหล่านั้น (โครงสร้างเวลาเรียน และโครงสร้างหลักสูตรชั้นปี)

โครงสร้างหลักสูตรคืออะไร

โครงสร้างของหลักสูตร หมายถึง การกําหนดรูปแบบของการจัดเนื้อหาสาระ การกําหนด ขอบเขตหรือจํานวนความมากน้อยของสาระ รวมทั้งเวลาเรียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ได้กําหนดโครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน ดังนี้ (กรมวิชาการ. 2544 : 5-7)

โครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

ลักษณะของหลักสูตรที่ดี 1.หลักสูตรควรมีความคล้องตัว และสามารถปรับปรุงและยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี 2.หลักสูตรควรเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การเรียนการสอนได้บรรลุตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ 3.หลักสูตรควรได้รับการจัดทำหรือพัฒนาจากคณะบุคคลหลายฝ่าย

หลักสูตรสถานศึกษาหมายถึงอะไร

หลักสูตรสถานศึกษา เป็นหลักสูตรที่มีหุ้นส่วนการท างานร่วมกันของบุคคลภายใน สถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนที่มีการวางแผนและออกแบบหลักสูตร ที่ครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกด้านของสถานศึกษา การก าหนดคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของผู้เรียนจึงเป็นเป้าหมายของคุณภาพการศึกษา อันเป็นแนวทางการจัดกระบวนการ เรียนรู้ ...