พัฒนาการของอาณาจักรโบราณในดินแดนไทย ภาคใต้

Skip to content

ภาคใต้ ซึ่งอยู่ในดินแดนแหลมมลายู เป็นถิ่นที่มีมนุษย์อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏหลักฐานเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ของสมัยนั้น และภาพเขียนสีตามถ้ำหลายแห่ง มนุษย์ในสมัยโบราณที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนทุกวันนี้ ได้แก่ พวกเซมัง และซาไก

ยุคต่อมามีหลักฐานทางโบราณคดีว่า มนุษย์ในดินแดนแถบนี้มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่กันเป็นชุมชน มีอารยธรรมเป็นของตนเองมาก่อน ตามคัมภีร์ของอินเดียกล่าวถึงสุวรรณทวีป และสุวรรณภูมิว่ามีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล และต่อมาในสมัยต้นพุทธกาลก็กล่าวถึงการติดต่อระหว่างดินแดนในย่านเอเชียอาคเนย์กับอินเดีย รวมถึงทางภาคใต้ของไทยด้วย อินเดียมาติดต่อค้าขายและเผยแพร่อารยธรรมในภูมิภาคนี้ก่อนชนชาติอื่น เช่น เผยแพร่ศาสนาฮินดู พุทธศาสนา ขนบประเพณีพราหมณ์ การปกครอง และประเพณีในราชสำนัก รวมทั้งศิลปกรรมต่าง ๆ

ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 5-6 จีนเริ่มมาติดต่อค้าขายกับเอเชียอาคเนย์ สมัยอาณาจักรฟูนัน ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรือง ราวพุทธศตวรรษที่ 6-10 มีศูนย์กลางอาณาจักรอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขง หรือบริเวณประเทศกัมพูชา และตอนใต้ของเวียตนามในปัจจุบัน ฟูนันมีอำนาจปกครองภาคใต้ไปตลอดแหลมมลายู แหลมมลายูในขณะนั้นมีแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญ ซึ่งปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุจีนคือ แคว้นตักโกละ แคว้นลังกาสุกะ แคว้นพานพาน และแคว้นตามพรลึงค์

ในราวปี พ.ศ. 1170 อาณาจักรฟูนันเสื่อมอำนาจลงตกอยู่ภายใต้อาณาจักรเจนละ แคว้นต่างๆ รวมทั้งในแหลมมลายูที่เคยอยู่ใต้อำนาจการปกครองของฟูนันได้เป็นอิสระ และมีบทบาทมากขึ้น อาณาจักรทวาราวดี ซึ่งอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทยก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้นเช่นกัน

แคว้นตักโกละ เป็นเมืองค้าขายตั้งอยู่บนฝั่งทะเลตะวันตกของแหลมมลายู เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พ่อค้าอินเดีย อาหรับ และจีนโบราณ ซึ่งมาเดินเรือค้าขายอยู่ในแถบนี้ เชื่อกันว่าเมืองนี้อยู่ที่ตะกั่วป่า (นักวิชาการบางท่านว่าน่าจะอยู่ที่ท่าเรือของจังหวัดตรัง คือแถบอำเภอปะเหลียน อำเภอกันตรังปัจจุบัน)

แคว้นลังกาสุกะ ก่อตั้งมาแต่โบราณอยู่ภายใต้อิทธิพลของฟูนันเป็นเวลานาน นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอ่าวไทย คือบริเวณจังหวัดปัตตานีปัจจุบัน

แคว้นพานพาน อยู่เหนือลังกาสุกะคือบริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานีปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดวัฒนธรรมอินเดียไปยังทวาราวดีด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 1100 จึงย้ายไปตั้งเมืองใหม่ ที่ตามพรลึงค์

แคว้นตามพรลึงค์ ตั้งอยู่เหนือลังกาสุกะขึ้นมา คือบริเวณนครศรีธรรมราชปัจจุบัน ตั้งขึ้นราวปี พ.ศ. 1100 สืบต่อจากพานพาน เป็นศูนย์กลางการค้าหลายสมัย ภายหลังตกอยู่ภายใต้อำนาจกัมพูชา และศรีวิชัย

อาณาจักรศรีวิชัย หลังสิ้นอำนาจฟูนันแล้ว เจนละ หรือกัมพูชา ได้มีอำนาจสืบต่อมา ไม่ได้ขยายอำนาจแผ่ลงไปทางทะเลตอนใต้เหมือนฟูนัน ศรีวิชัยเดิมตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฟูนัน จึงได้แยกตัวออกเป็นอิสระ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 13 อาณาจักรศรีวิชัยมีอำนาจมากขึ้น มีศูนย์กลางหรือเมืองหลวงอยู่ที่เมืองปาเลมบัง ในเกาะสุมาตรา นักวิชาการหลายท่านลงความเห็นว่าน่าจะเป็นอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีปัจจุบัน

ศรีวิชัย ได้ขยายอาณาเขตออกไปยังชวาและปลายแหลมมลายูตลอดมาจนถึงเมืองไชยา (เหนือขึ้นไปเป็นอาณาเขตทวาราวดี) จากไชยาลงไปทางใต้ จึงปรากฏร่องรอยของศิลปสมัยศรีวิชัยอยู่เป็นอันมาก เป็นศิลปกรรมในพุทธศาสนามหายาน เช่น พระพิมพ์ดินดิบ พระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเป็นต้น ศรีวิชัย มีอำนาจสืบต่อมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 จึงเสื่อมอำนาจลง ตกอยู่ภายใต้อำนาจของชวา ในพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรไทยทางตอนเหนือ (สุโขทัย) เริ่มมีอำนาจขึ้น และต่อมาก็ได้ครอบครองดินแดนตลอดแหลมมลายู

บทความโดย ชัยวิวัฒน ลาไป
ข่าวรามคำแหง ปีที่ 34 ฉบับที่ 12 วันที่ 12-18 กรกฎาคม 2547

อาณาจักรทวารวดี  (พุทธศตวรรษที่ 11 - 16)

                         -   เป็นอาณาจักรที่มีหลักฐานแน่นอนแห่งแรกบนผืนแผ่นดินไทย สันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐม

                         -  หลักฐานสมัยทวารวดี  เช่น ธรรมจักรศิลา จุลประโทนเจดีย์ และฐานอาคารที่วัดพระเมรุ

                         -   ทวารวดีได้รับอิทธิพลอินเดีย เช่น การปกครองโดยกษัตริย์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนา

พัฒนาการของอาณาจักรโบราณในดินแดนไทย ภาคใต้

พัฒนาการของอาณาจักรโบราณในดินแดนไทย ภาคใต้


ธรรมจักรศิลา

                อาณาจักรละโว้  (พุทธศตวรรษที่ 12 - 18)

               -   ในช่วงแรกละโว้รับวัฒนธรรมจากอินเดีย เช่น แนวคิดเรื่องการปกครอง  โดยกษัตริย์มีการแบ่งชนชั้นทางสังคม

              -   มีการนับถือพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาทและมหายาน รวมทั้งความเชื่อเรื่องการนับถือบรรพบุรุษ และยกย่องสตรี

             -   มีอาชีพที่สำคัญ คือ การเกษตร และมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนต่างถิ่น

             -  สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 กษัตริย์ขอมได้ปกครองละโว้ในฐานะประเทศราช

             -   ขอมได้ส่งผู้แทนมาปกครองละโว้มีการบังคับใช้กฎหมายและระบบตุลาการ คือ ศาลสภา

            -   หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ขอมเสื่อมอำนาจ ทำให้อิทธิพลขอมในละโว้ ได้หมดตามไปด้วย

พัฒนาการของอาณาจักรโบราณในดินแดนไทย ภาคใต้

ปราสาทหินพิมาย   จังหวัดนครราชสีมา