น้ำในร่างกายมีปริมาณ การ สูญ เสียออก นอก ร่างกายใน ช่อง ทาง หรือ รูป แบบ ใด น้อย ที่สุด

ดื่มน้ำน้อยเกินไป ส่งผลเสียกับร่างกายหรือไม่

น้ำในร่างกายมีปริมาณ การ สูญ เสียออก นอก ร่างกายใน ช่อง ทาง หรือ รูป แบบ ใด น้อย ที่สุด

Answer: ส่งผลสียต่อร่างกาย นื่องจากร่างกายมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักถึง 2 ใน 3 ทั้งในเลือดและในเซลล์ต่าง ๆ ในแต่ละวันร่างกายมีการขับถ่ายของเสียในรูปแบบต่าง ๆ ที่ทำไห้สูญเสียน้ำ ดังนั้น เราจำเป็นต้องดื่มน้ำชดเชย และควรดื่มน้ำในปริมาณที่ร่างกายต้องการ

  • คนทั่วไปควรดื่มน้ำอย่างน้อย วันละ 8-10 แก้ว
  • วันไหนที่อากาศร้อนชื้นและออกกำลังกาย แนะนำให้ดื่มน้ำเพิ่มขึ้น 1.5-2.5 แก้ว

ผลเสียต่อร่างกายหากดื่มน้ำไม่เพียงพอ

  • ไตทำงานหนักขึ้น และปัสสาวะมีสีเข้ม เพราะน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • มีโอกาสติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่างได้ง่าย
  • มีสารก่อนิ่วตกตะกอน อาจป็นเหตุของโรคนิ่วได้

กรณีผู้ป่วยมีโรครื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเกี่ยวกับปริมาณน้ำดื่มที่เหมาะสม

ข้อมูล ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2562

ที่มา : ศ.กิตติคุณ นพ.เกรียง ตั้งสง่า

น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งที่มีชีวิต มักมีผู้กล่าวไว้ว่าถ้าปราศจากน้ำก็ปราศจากสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปคนสามารถอดอาหารได้หลายสัปดาห์ แต่ถ้าอดน้ำจะเสียชีวิตภายใน 2–3 วัน การ ศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่าน้ำมีประโยชน์มากมายแก่ร่างกายของสิ่งมีชีวิต นอกเหนือจากคุณสมบัติที่เด่นที่สุดของโมเลกุลน้ำที่เป็นตัวทำละลายที่ดีและ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

น้ำเป็นองค์ประกอบของชีวิต

ร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 70 ในเลือดมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ92 ในสมองมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 85 ถ้า พิจารณาในแต่ละเซลล์จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 60 จริงๆแล้วน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญและจำเป็นของเซลล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเซลพืชเซลล์สัตว์ และเซลล์มนุษย์ ทุกเซลล์ล้วนประกอบด้วยน้ำทั้งนั้น ในเซลล์มนุษย์และเซลล์สัตว์มีน้ำประมาณ 2 ใน 3 ของน้ำหนักร่างกาย ในพืชบกมีน้ำประมาณร้อยละ 50–75 ถ้าเป็นพืชน้ำอาจมีน้ำมากกว่าร้อยละ 95 โดยน้ำหนัก

หน้าที่สำคัญที่สุดของน้ำ

คือ เป็นตัวกลางในการเกิดปฏิกิริยาเคมีทุกชนิดในกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย ปฏิกิริยาเคมีในร่างกายทุกชนิดต้องอาศัยน้ำ เซลล์จะไม่สามารถทำงานได้ถ้าไม่มีน้ำ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ กระบวนการการย่อยอาหาร กระบวนการดูดซึมอาหาร และกระบวนการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย น้ำที่เป็นของเหลวของเลือดทำหน้าที่ขนส่งอาหารและออกซิเจนให้แก่เซลล์ อีกทั้งนำของเสียและ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์มาขับถ่ายออกจากร่างกาย กระบวนการไหลเวียนเลือดและกระบวนการขับถ่ายของเสียในร่างกายไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าปราศจากสมดุลของสารน้ำในร่างกาย

น้ำช่วยให้การขับถ่ายกากอาหารในลำไส้ใหญ่เป็นไปโดยสะดวก ความผิดปกติของการถ่ายอุจจาระเกิดขึ้นเนื่องจากขาดสมดุลของการดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่เซลล์ลำไส้ เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอุจจาระร่วงหลายชนิดสร้างสารพิษที่มีผลต่อกลไกการควบคุมสมดุลสารน้ำภายในลำไส้สาร พิษ รวมทั้งสารเคมีในร่างกายที่อาจเป็นพิษ ถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยอาศัยน้ำ เลือดทำหน้าที่ขนส่งสารเหล่านั้นไปทั่วร่างกายซึ่งสารนั้นละลายในน้ำตับเป็นอวัยวะสำคัญในการทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสารพิษด้วยกลไกทางเคมีมากมายหลายชนิด บางคนกล่าวเปรียบเทียบว่าตับเป็นโรงงานผลิตเอนไซม์ที่ทรงพลังมากกว่าโรงงานใดๆในโลก กระบวนการขับถ่ายสารพิษเกิดขึ้นร่วมกับการขับถ่ายทางปัสสาวะและอุจจาระน้ำ ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และช่วยรักษาระดับความเป็นกรดด่างของเลือดรวมทั้งของเหลวต่างๆ ในร่างกาย น้ำช่วยระบายความร้อนของร่างกายในรูปของเหงื่อ ซึ่งถือเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพยิ่ง

ร่างกายได้รับน้ำหลายทางด้วยกัน

  • น้ำดื่ม เครื่องดื่ม
  • น้ำที่เป็นส่วนประกอบในอาหาร
  • น้ำที่ได้จากการเผาผลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน

ปกติคนเราดื่มน้ำวันละประมาณ 1.5 – 2.0 ลิตร และได้รับจากเครื่องดื่มและอาหารทั้งภายในและภายนอกร่างกายอีกประมาณวันละ 1 – 2 ลิตร

ร่างกายสูญเสียน้ำ

  •  ผิวหนัง มีทั้งที่เรามองเห็นออกมาในรูปของเหงื่อ และน้ำที่ระเหยไปโดยที่เรามองไม่เห็น
  • ปอด โดยการหายใจออก
  • ทางอุจจาระ
  • ทางปัสสาวะ

รวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งร่างกายสูญเสียน้ำประมาณ 3–5 ลิตร ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณที่ได้รับปริมาณ ของน้ำในร่างกายคนไม่แน่นอน ขึ้นกับอายุ ปริมาณของไขมันในร่างกาย และกิจกรรมของแต่ละคน คนที่ทำงานหนักกลางแจ้งอาจสูญเสียน้ำ 5 – 12 ลิตรต่อวัน หรือคนที่มีโรคภัยไข้เจ็บก็อาจเสียสมดุลของน้ำในร่างกายได้ง่าย

กลไกควบคุมสมดุลของสารน้ำ

  •  สมองส่วนไฮโปทาลามัสทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสารน้ำในร่างกาย
  • เมื่อ ร่างกายมีการสูญเสียน้ำ สมองส่วนไฮโปทาลามัส ซึ่งมีศูนย์ควบคุมการกระหายน้ำ จะสั่งการให้เกิดการดื่มน้ำทดแทน โดยจะรู้สึกกระหายน้ำ และเมื่อมีการกลืนน้ำเข้าไปก็จะช่วยบรรเทาความกระหายได้อย่างรวดเร็ว
  • ถ้าร่างกายขาดน้ำประมาณ 3 วัน ก็จะทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับภาวะขาดน้ำเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

ลักษณะของน้ำดื่มที่ดี

  • น้ำดื่มที่ดีต้องปราศจากสารปนเปื้อนทางเคมีและสารอินทรีย์ต่างๆ อาทิเช่น เชื้อจุลินทรีย์ โลหะหนัก รวมทั้งสารเคมี
  • ประกอบด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ โปแตสเซียม แมกมีเซียม แคลเซียม เป็นต้น
  • โครง สร้างโมเลกุลขนาดเล็กช่วยให้แทรกซึมสู่เซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำพาสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งนำพาของเสียออกมาจากเซลล์ไปทิ้งได้
  • น้ำดื่มที่ดีควรมีความกระด้างของน้ำปานกลาง มีประจุไฟฟ้าสูงและเป็นสื่อนำความร้อนที่ดี
  • ความเป็นด่างอ่อนๆ โดยมีค่าความเป็นกรด-ด่างระหว่าง pH 7.25 – 8.50เพื่อช่วยกำจัดความเป็นกรดและของเสียในร่างกาย ช่วยทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะสมดุล
  • ควรมีปริมาณออกซิเจนเจือปนอยู่ด้วยสูง สามารถตรวจวัดค่าได้ประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อลิตรหรือมากกว่า

ลักษณะของน้ำดื่มบางชนิด

  • น้ำอ่อนเป็นน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุ
  • น้ำกลั่นเป็นน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ละลายอยู่เลย
  • น้ำดื่มบรรจุขวดที่อาจมีสารปนเปื้อนและไม่ได้มาตรฐาน ร้อยละ 25 ของน้ำดื่มบรรจุขวดนำน้ำประปามาใส่ขวด และปรับปรุงคุณภาพเล็กน้อยเท่านั้น
  • น้ำประปามี คลอรีนซึ่งช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่อาจจะก่อให้เกิดสารออกฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ซึ่งเกิดจากคลอรีนทำปฏิกิริยา กับสารอินทรีย์ในธรรมชาติซึ่งละลายอยู่ในน้ำ
  • น้ำอัดลมทำมาจากน้ำกลั่นหรือน้ำอ่อนที่ไม่มีแร่ธาตุ
  • น้ำหวานและน้ำผลไม้สำเร็จรูปเป็นน้ำตาลกับสีผสมน้ำ โดยแต่งกลิ่นธรรมชาติเข้าไปและอาจเติมวิตามินหรือแร่ธาตุปะปนอยู่บ้าง

นพ. วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ผู้ประพันธ์

น้ำในร่างกายมีปริมาณการสูญเสียออกนอกร่างกายในช่องทางหรือรูปแบบใดมากที่สุด

ร่างกายสูญเสียน้ำประมาณวันละ 1.5 ลิตร ส่วนใหญ่สูญเสียออกจากร่างกายทางไตในรูปของปัสสาวะ อย่างน้อยวันละ 600 มิลลิลิตร เพื่อขับของเสียออกจากร่างกาย ได้แก่ ยูเรีย แอมโมเนีย และกรดยูริก เป็นต้น น้ำบางส่วนระเหยออกทางผิวหนังที่ขับออกมาในรูปของเหงื่อ และระเหยเป็นไอน้ำออกมาทางลมหายใจออก

ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับและปริมาณน้ำที่สูญเสียออกจากร่างกายไม่สมดุลกันจะมีผลอย่างไร

ภาวะน้ำเกิน เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอาการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ออกไป หากเราทดแทนแค่น้ำโดยไม่ได้มีการทดแทนเกลือแร่กลับเข้าไปพร้อมๆ กัน ทำให้เกิดความไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย ยิ่งความเข้มข้นต่างกันมากน้ำก็ยิ่งเข้าไปสะสมภายในเซลล์มากขึ้น ทำให้เกิดภาวะเซลล์บวมขึ้น เซลล์สมองเป็นเซลล์ที่เร็วต่อการถูกกระตุ้น จึงแสดงอาการออกมา ...

ร่างกายสูญเสียน้ำทางไหนบ้าง

โดยปกติแล้วร่างกายของเราจะสูญเสียน้ำประมาณวันละ 2.5 ลิตรผ่านทางเหงื่อ ลมหายใจและการขับถ่าย แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ร่างกายสูญเสียน้ำในปริมาณมากเกินไป ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิด #ภาวะขาดน้ำได้ และส่วนใหญ่การใช้ชีวิตของมนุษย์ออฟฟิศแต่ละวัน มักจะใช้เวลาหมดกับการทำงาน จนลืมความสำคัญอย่างเช่น การดื่มน้ำ

ร่างกายได้รับปริมาณน้ำมากที่สุดโดยวิธีใดและสูญเสียน้ำออกไปมากที่สุดด้วยวิธีใด

ร่างกายได้รับน้ำ ปริมาณมากที่สุดจากเครื่องดื่ม 1,600 มิลลิลิตรและสูญเสียน้ำ ปริมาณมากที่สุด ออกไปกับปัสสาวะ 1,500 มิลลิลิตร ความรู้เพิ่มเติมสำ หรับครู น้ำ ในร่างกายแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ น้ำ ภายในเซลล์ (intracellular fluid ; ICF)

น้ำในร่างกายมีปริมาณการสูญเสียออกนอกร่างกายในช่องทางหรือรูปแบบใดมากที่สุด ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับและปริมาณน้ำที่สูญเสียออกจากร่างกายไม่สมดุลกันจะมีผลอย่างไร ร่างกายสูญเสียน้ำทางไหนบ้าง ร่างกายได้รับปริมาณน้ำมากที่สุดโดยวิธีใดและสูญเสียน้ำออกไปมากที่สุดด้วยวิธีใด การควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล เกี่ยวข้องกับสมองส่วนใด และฮอร์โมนชนิดใด ในร่างกายของมนุษย์มีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณกี่ส่วนใน 100 ส่วน เปอร์เซ็นต์ น้ำในร่างกาย ระบบใดในร่างกายที่ทำหน้าที่รักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุหรือสารอื่นๆ ในร่างกาย การ เดินทาง ของน้ำในร่างกาย