การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

1. Cyclosis เป็นการไหลเวียนภายในเซลล์ของโครงสร้างใด

    ก. คลอโรพลาสต์
    ข. ไมโทคอนเดรีย
    ค. ไซโทพลาซึม
    ง.
    ผลึกต่าง ๆ

2. โครงสร้างใดมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับ Amoeboid Movement และการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อ

    ก. Myofibril
    ข. Microtubule
    ค. Microfilament
    ง.
    Microfiber

3. จะพบการเคลื่อนไหวแบบอะมีบาได้ในเซลล์ชนิดใด

    ก. ราเมือก พอลเลนทิวบ์
    ข. ยีสต์ เม็ดเลือดขาว
    ค. ยูกลีนา วอร์ติเซลลา
    ง. เอนตามีบา แบคทีเรีย

4. การเคลื่อนไหวแบบ Amoeboid Movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วพบได้ในเซลล์พวกใด

    ก. เซลล์เม็ดเลือดแดง
    ข. เซลล์เม็ดเลือดขาว
    ค. พารามีเซียม
    ง. ยูกลีนา

5. การเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของ Sol กับ Gel เป็นการทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของโพรโทซัวชนิดใด

    ก. ยูกลีนา
    ข. พลาสโมเดียม
    ค. พารามีเซียม
    ง. อะมีบา

6. Flagella นอกจากจะพบในพวกยูกลีนาแล้วยังพบได้ในเซลล์ชนิดใด

    ก. เซลล์แบคทีเรีย
    ข. เซลล์สืบพันธุ์พืชชั้นต่ำ
    ค. เซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์
    ง. ถูกทุกข้อ

7. การที่ Cilia ทำงานประสานกันได้เพราะมีการติดต่อโดยทางใด

    ก. Nerve net
    ข. Co-ordinating Fiber
    ค. Co-ordinate Cell
    ง. Nerve Ganglion

8. การจัดตัวของ Microtubules ใน Cilia และ Flagella เป็นแบบใด

    ก. 9 + 0
    ข 9 + 2
    ค. 9 + 4
    ง. 9 + 6

9. การเคลื่อนที่ของพารามีเซียมโดยอาศัยการโบกพัดของโคนซีเลียจะหยุดเมื่อตัดสิ่งใดออก

    ก. Basal body
    ข. Kinetosome
    ค. Microtubule
    ง. ข้อ ก และ ข

10. การเคลื่อนไหวแบบที่เกิดจากการไหลของเอนโดพลาสซึมเรียกการเคลื่อนที่แบบนี้ว่าอะไร

    ก. การเคลื่อนไหวแบบอะมีบา (Amoeboid Movement )
    ข. การเคลื่อนไหวแบบพารามีเซียม ( Paramecium Movement )
    ค. การเคลื่อนไหวแบบยูกลีนา ( Eglenoid Movement )
    ง. การเคลื่อนไหวแบบไฮดรา ( Hydroid Movement )

บทที่ 1 การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
การเคลื่อนไหวโดยอาศัยการไหลของไซโทพลาซึม (Amoeboid Movement)
            ภายในไซโทพลาซึมมีไมโครฟิลาเมนต์ เป็นเส้นใยโปรตีนแอกทินและไมโอซิน ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ทำให้เอนโดพลาซึมไหลไปมาภายในเซลล์ได้และดันเยื่อหุ้มเซลล์ให้โป่งออกมาเป็นขาเทียม (pseudopoda) ทำให้อะมีบาเคลื่อนไหวได้ เรียกว่า การเคลื่อนไหวแบบอะมีบา (amoeboid movement)
            ไซโทพลาซึมในเซลล์อะมีบาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
                - ชั้นนอก (ectoplasm) มีลักษณะค่อนข้างแข็งและไหลไม่ได้
                - ชั้นใน (endoplasm) มีลักษณะเป็นของเหลวและไหลได้

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

            amoeboid movement และ pseudopoda คือ keyword สำคัญ สำหรับการสอบ โดยจะถามว่าเซลล์ใดสามารถเคลื่อนที่เเบบนี้ได้บ้าง นัั้นคือ เซลล์เม็ดเลือดขาว อะมีบา เป็นต้น

การเคลื่อนไหวโดยอาศัยแฟลเจลลัมหรือซิเลีย ซึ่งเป็นโครงสร้างเล็กๆ ที่ยื่นออกมาจากเซลล์สามารถโบกพัดไปมาได้ ทำให้สิ่งมีชีวิตเคลื่อนที่ไปได้
    แฟลเจลลัม (flagellum)
            - มีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ คล้ายหนวดยาวกว่าซิเลีย แฟลเจลลัมเป็นโครงสร้างที่พบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวบางชนิด เช่น ยูกลีน่า วอลวอกซ์

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด
    ซิเลีย (cilia)
            - มีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ ยื่นยาวออกจากเซลล์ของพืช หรือสัตว์เซลล์เดียว หรือเซลล์สืบพันธุ์ ใช้โบกพัดเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ภายในน้ำหรือของเหลว พบในพารามีเซียม พลานาเรีย

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

โครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของ cilia และ flagellum จะเป็น microtubule ที่มีโครงสร้าง 9+0 และ 9+2 ตามงตำแแหน่งที่มีการจัดวาง
การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

            1.  การเคลื่อนที่ของไส้เดือนเกิดจากการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อวงกลม และกล้ามเนื้อตามยาวหดตัวและคลายตัวเป็นระลอกคลื่นจากทางด้านหน้ามาทางด้านหลังทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปทางด้านหน้า ไส้เดือนมีกล้ามเนื้อ 2 ชุด คือ กล้ามเนื้อวงกลมรอบตัว อยู่ทางด้านนอก และกล้ามเนื้อตามยาว ตลอดลำตัวอยู่ทางด้านใน นอกจากนี้ไส้เดือนยังใช้เดือยซึ่งเป็นโครงสร้างเล็ก ๆ ที่ยื่นออกจากผนังลำตัวรอบปล้องช่วยในการเคลื่อนที่ด้วย

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

            2. การเคลื่อนที่ของพลานาเรีย
                พลานาเรียเป็นสัตว์จำพวกหนอนตัวแบนอาศัยอยู่ในน้ำมีกล้ามเนื้อ 3 ชนิด คือ
                ● กล้ามเนื้อวง อยู่ทางด้านนอก
                ● กล้ามเนื้อตามยาว อยู่ทางด้านใน
                ● กล้ามเนื้อทแยง ยึดอยู่ระหว่างส่วนบนและส่วนล่างของลำตัว
                พลานาเรีย เคลื่อนที่โดยการลอยไปตามน้ำ หรือ คืบคลานไปตามพืชใต้น้ำโดยอาศัยกล้ามเนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาว ส่วนกล้ามเนื้อทแยงจะช่วยให้ลำตัวแบนบางและพลิ้วไปตามน้ำ ในขณะที่พลานาเรียเคลื่อนไปตามผิวน้ำ ซิเลียที่อยู่ทางด้านล่างของลำตัวจะโบกพัดไปมาช่วยเคลื่อนตัวไปได้ดียิ่งขึ้น

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด
            3. การเคลื่อนที่ของแมงกะพรุนแมงกะพรุน มีของเหลวที่ เรียกว่า มีโซเกลียแทรกอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อ ชั้นใน มีน้ำเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของลำตัวแมงกะพรุนเคลื่อนที่โดยการหดตัวของเนื้อเยื่อบริเวณขอบกระดิ่งและที่ผนังลำตัวสลับกันทำให้พ่นน้ำออกมาทางด้านล่างส่วนตัวจะพุ่งไปในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางน้ำที่พ่นออกมาการหดตัวนี้จะเป็นจังหวะทำให้ตัวแมงกะพรุนเคลื่อนไปเป็นจังหวะด้วย
การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

            4. การเคลื่อนที่ของหมึกหมึกเคลื่อนที่โดยการหดตัวของกล้ามเนื้อลำตัว พ่นน้ำออกมาจาก ไซฟอน ซึ่งอยู่ทางส่วนล่างของส่วนหัว ทำให้ตัวพุ่งไปข้างหน้าในทิศทางที่ตรงข้ามกับทิศทางของน้ำ นอกจากนี้ส่วนของไซฟอนยังสามารถเคลื่อนไหวได้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางของน้ำที่พ่นออกมา และยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางของการเคลื่อนที่ด้วย ส่วนความเร็วนั้น ขึ้นอยู่กับความแรงของการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำตัว แล้วพ่นน้ำออกมา หมึกมีครีบอยู่ทางด้านข้างลำตัว ช่วยในการทรงตัวให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เหมาะสม

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

            5. ดาวทะเล มีระบบการเคลื่อนที่ด้วยระบบท่อน้ำ ระบบท่อน้ำประกอบด้วย มาดรีโพไรต์สโตนแคเนล ริงแคแนล เรเดียลแคแนล ทิวบ์ฟีท แอมพูลลา ดาวทะเลเคลื่อนที่โดยน้ำเข้าสู่ระบบท่อน้ำดรีโพไรต์และไหลผ่านท่อวงแหวนรอบปากเข้าสู่ท่อเรเดียลแคแนลและทิวบ์ฟีท เมื่อกล้ามเนื้อที่แอมพูลลาหดตัวดันน้ำไปยังทิวบ์ฟีท ทิวบ์ฟีทจะยืดยาวออก ไปดันกับพื้นที่อยู่ด้านล่างทำให้เกิดการเคลื่อนที่ เมื่อเคลื่อนที่ไปแล้วกล้ามเนื้อของทิวบ์ฟีทจะหดตัวทำให้ทิวบ์ฟีทสั้นลง ดันน้ำกลับไปที่แอมพูลลาตามเดิม การยืดหดของทิวบ์ฟีท หลายๆ ครั้งต่อเนื่องกันทำให้ดาวทะเลเกิดการเคลื่อนที่ไปได้

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

            6. แมลง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่แมลงมีโครงร่างภายนอก ซึ่งเป็นสารพวกไคทินมีลักษณะเป็นโพรง เกาะกันด้วยข้อต่อซึ่งเป็นเยื่อที่งอได้ ข้อต่อข้อแรกของขากับลำตัวเป็นข้อต่อแบบ บอลแอนด์ซอกเก็ต ส่วนข้อต่อแบบอื่นๆ เป็นแบบบานพับ การเคลื่อนไหวเกิดจากทำงานสลับกันของ กล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ และเอ็กเทนเซอร์ ซึ่งเกาะอยู่โพรงไคทินนี้ โดย กล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ ทำหน้าที่ในการงอขา และกล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ ทำหน้าที่ในการเหยียดขาซึ่งการทำงานเป็นแบบแอนทาโกนิซึมเหมือนกับคนแมลงมีระบบกล้ามเนื้อเป็น 2 แบบ คือ
                - ระบบกล้ามเนื้อที่ติดต่อกับโคนปีกโดยตรง
                - ระบบกล้ามเนื้อที่ไม่ติดต่อกับปีกโดยตรง

การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
            1. การเคลื่อนที่ของปลาระบบกล้ามเนื้อ ที่ยึดติดอยู่ 2 ข้างของกระดูกสันหลังโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่งทั้งชุดเริ่มจากหัวไปหางและการพัดโบกของครีบหางทำให้ปลาเคลื่อนที่เป็นรูปตัว Sครีบต่างๆ ได้แก่ ครีบเดี่ยว เช่น ครีบหลังและครีบหางจะช่วยพัดโบกให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า และ ครีบคู่เช่น ครีบอก และ ครีบสะโพก ซึ่งช่วยในการพยุงตัวและเคลื่อนที่ลงในแนวดิ่ง

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

            2. การเคลื่อนที่ของนกนกมีกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขยับปีกที่แข็งแรงโดยกล้ามเนื้อนี้จะยึดอยู่ระหว่างโคนปีกกับกระดูกอก(keel or sternum) กล้ามเนื้อคู่หนึ่ง ทำหน้าที่เป็น กล้ามเนื้อยกปีก (levater muscle)คือ กล้ามเนื้อเพกทอราลิสไมเนอร์ (pectorlis minor)และกล้ามเนื้ออีกคู่มีขนาดใหญ่มาก ทำหน้าที่ในการหุบปีกลง (depresser muscle)คือ กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์ (pectorralis major)การบินโดยการกระพือปีกพบทั่ว ๆ ไป คือ จะกางปีกออกกว้างสุด แล้วกระพือไปข้างหน้าพร้อม ๆ กับกระพือลงข้างล่าง (คล้ายกับการว่ายน้ำท่าผีเสื้อ) จากนั้นจะลู่ปีกและยกขึ้นข้างบนพร้อม ๆ กับขยับไปทางหาง

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

การเคลื่อนที่ของคน

            1. ระบบโครงกระดูกและข้อต่อ
ระบบโครงกระดูกของคน
            ระบบโครงกระดูก หมายถึง กระดูกอ่อน(Cartilage) กระดูกแข็ง (Compact bone) ข้อต่อ(Joints)รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่มาเกี่ยวพัน ได้แก่ เอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon)เอ็นยึดข้อ (Ligament)หน้าที่ของระบบโครงกระดูก
                1. เป็นโครงร่าง ทำให้คนเราคงรูปอยู่ได้ นับเป็นหน้าที่สำคัญที่สุด
                2. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อลาย เป็น รวมทั้งพังผืด
                3. เป็นโครงร่างห่อหุ้มป้องกันอวัยวะภายใน ไม่ให้เป็นอันตราย เช่น กระดูกสันหลังป้องกัน ไขสันหลัง
                4. เป็นแหล่งเก็บแคลเซียมที่ใหญ่ที่สุด
                5. เป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ
                6. ช่วยในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะกระดูกยาวทำให้เราสามารถเคลื่อนไหวเป็นมุมที่กว้างขึ้น
                7. กระดูกบางชนิดยังช่วยในการนำคลื่นเสียง ช่วยในการได้ยิน เช่น กระดูกค้อน ทั่ง และ โกลน ซึ่งอยู่ในหูตอนกลาง จะทำหน้าที่นำคลื่นเสียงผ่ายไปยังหูตอนใน

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด
ข้อต่อ
            ข้อต่อ คือ ตำแหน่งที่กระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไปมาจรดกันโดยมีเนื้อเยื่อหรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มายึดให้ติดกันเป็นข้อต่ออาจเคลื่อนไหวได้มากหรือน้อย หรือไม่ได้เลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของข้อต่อนั้นๆแต่ประโยชน์ที่สำคัญคือ เพื่อป้องกันอันตรายต่อกระดูก และให้กระดูกที่มีความแข็งอยู่แล้ว สามารถเคลื่อนไหวหรือปรับผ่อนได้ตามสภาพและหน้าที่ของกระดูกที่อยู่ ณ ตำแหน่งนั้น ๆ
            กระดูกอ่อน จัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดพิเศษ ที่มีเมทริกซ์แข็งกว่าเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดอื่นๆ ยกเว้น กระดูกแข็งหน้าที่สำคัญ ของกระดูกอ่อน คือ รองรับส่วนที่อ่อนนุ่มของร่างกาย เนื่องจากผิวของกระดูกอ่อนเรียบ ทำให้การเคลื่อนไหวได้สะดวก ป้องกันการเสียดสีกระดูกอ่อนจะพบที่ปลายหรือหัวของกระดูกที่ประกอบเป็นข้อต่อต่างๆ และยังเป็น ต้นกำเนิดของกระดูกแข็งทั่วร่างกายความแตกต่างในแง่ของปริมาณและชนิดของ fiber ที่อยู่ภายใน matrix มีผลให้คุณสมบัติของกระดูกอ่อนแตกต่างกันไป ทำให้สามารถจำแนกชนิดของกระดูกอ่อนได้เป็น 3 ชนิด
            2. ระบบกล้ามเนื้อ
                กล้ามเนื้อแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

                1. กล้ามเนื้อลาย ( skeletal muscle ) เป็นกล้ามเนื้อชนิดเดียวที่ยึดเกาะกับกระดูก ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะเป็น ทรงกระบอกยาว เรียกว่า เส้นใยกล้ามเนื้อ ( muscle fiber ) ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมองเห็น เป็นแถบลาย สีเข้ม สีอ่อน สลับกันเห็นเป็นลายตามขวาง แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส การทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ ระบบประสาทโซมาติก (voluntary muscle) เช่น กล้ามเนื้อที่ แขน ขา หน้า ลำตัว เป็นต้น
                    กล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาวเหมือนเส้นใย เรียกว่า เส้นใยกล้ามเนื้อ ( muscle fiber ) อยู่รวมกันเป็น เซลล์แต่ละเซลล์ในเส้นใยกล้ามเนื้อจะมีหลายนิวเคลียสในเส้นใยกล้ามเนื้อแต่ละเส้นจะประกอบด้วยมัดของ เส้นใยฝอย หรือเส้นใยกล้ามเนื้อเล็ก ( myofibrils ) ที่มีลักษณะเป็นท่อนยาวเรียงตัวตามแนวยาว ภายในเส้นใยฝอยจะประกอบด้วยเส้นใยเล็กๆเรียกว่า ไมโอฟิลาเมนท์ ( myofilament )ไมโอฟิลาเมนต์ ประกอบด้วยโปรตีน 2 ชนิด คือ ไมโอซิน( myosin ) และแอกทิน ( actin ) ไมโอซินมีลักษณะเป็นเส้นใยหนาส่วนแอกทินเป็นเส้นใยที่บางกว่า การเรียงตัวของไมโอซินและแอกทิน อยู่ในแนวขนานกัน ทำให้เห็นกล้ามเนื้อเป็นลายขาวดำสลับกัน
                2. กล้ามเนื้อเรียบ ( smooth muscle ) เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่มีลาย ตามขวาง ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะแบนยาว แหลมหัวแหลมท้าย ภายในเซลล์มีนิวเคลียสอันเดียวตรงกลาง ทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ ระบบประสาทอัตโนวัติ ( involuntary muscle ) เช่น กล้ามเนื้อของอวัยวะภายในต่างๆ
                3. กล้ามเนื้อหัวใจ ( cardiac muscle ) เป็นกล้ามเนื้อของหัวใจโดยเฉพาะรูปร่างเซลล์ จะมีลายตามขวางและมีนิวเคลียสหลายอันเหมือนกล้ามเนื้อลายแต่แยกเป็นแขนงและเชื่อมโยงติดต่อกันกับเซลล์ข้างเคียงการทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรียบ

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

            กล้ามเนื้อไบเซพ (biceps) และกล้ามเนื้อไตรเซพ (triceps)ปลายข้างหนึ่งของกล้ามเนื้อทั้งสองยึดติดกับกระดูกแขนท่อนบน ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งยึดติดอยู่กับกระดูกแขนท่อนล่าง เมื่อกล้ามเนื้อ ไบเซพหดตัว ทำให้แขนงอตรง บริเวณข้อศอก ขณะที่แขนงอ กล้ามเนื้อไตรเซพจะคลายตัว แต่ถ้ากล้ามเนื้อไบเซพคลายตัวจะทำให้แขนเหยียดตรงได้ ซึ่งขณะนั้นกล้ามเนื้อไตรเซพจะหดตัว ดังนั้นกล้ามเนื้อไบเซพจึงเป็นกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ ส่วนกล้ามเนื้อไตรเซพ จะเป็นกล้ามเนื้อเอ็กซ์เทนเซอร์

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube


บทที่ 2 ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก

การรับรู้และการตอบสนอง

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด
การตอบสนองของสิ่งมีชีวิต
            โพรโทซัว เช่น พารามีเซียม ไม่มีเซลล์ประสาท แต่มีเส้นใยประสาทงานควบคุมการทำงานของซิเลีย
            ไฮดรา มีเซลล์ประสาทมาเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหประสาท เมื่อถูกกระตุ้นที่จุดหนึ่ง กระแสประสาทจะแผ่ออกทุกทิศทาง
            พลานาเรีย มีระบบประสาทแบบชั้นบันได มีปมประสาท หรือสมอง 2 ปม มีเส้นประสาทใหญ่ 2 เส้น ทอดขนานตามความยาว 2 ข้างลำตัว และมีเส้นประสาทตามขวาง
            ไส้เดือนดิน กุ้ง หอย และแมลง มีเส้นประสาทอยู่ทางด้านท้อง ตลอดลำตัว
            คนและสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีสมอง และไขสันหลัง และมีเส้นประสาทอยู่ด้านหลังลำตัว โดยอยู่ในช่องของกระดูกสันหลัง ระบบประสาทประกอบด้วยเซลล์ประสาท หรือนิวรอน
เซลล์ประสาท
            เซลล์ประสาทประกอบด้วยตัวเซลล์ และใยประสาท ตัวเซลล์เป็นส่วนของไซโทพลาซึมและนิวเคลียส ใยประสาทแบ่งเป็นเดนไดรต์กับแอกซอน เดนไดรต์เป็นใยประสาทนำกระแสประสาทเข้าตัวเซลล์ มีใยประสาทสั้นกว่า จำนวนมากกว่า แตกแขนงมากกว่า ส่วนแอกซอนนำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ มักมีใยประสาทเส้นเดียวและยาวมาก แอกซอนมีเยื่อไมอีลินที่สร้างจากเซลล์ชวันน์มาหุ้ม ถ้ามีเยื่อไมอีลินมาหุ้มหนาแน่นมาก เรียกว่า ใยประสาทที่มีเยื่อหุ้ม จะเห็นเป็นสีขาวเพราะเป็นสารไขมันและเป็นฉนวนไฟฟ้า
การแบ่งชนิดของเซลล์ประสาท
            แบ่งตามโครงสร้าง
                1. เซลล์ประสาทชั้นเดียว (unipolar neuron) มีแอกชอนออกจากตัวเซลล์เพียงเส้นเดียว พบในเซลล์ประสาทที่หลั่งฮอร์โมน และยังมีเซลล์ประสารทขั้วเดียวเทียม คือมีเส้นใยแยกจากตัวเซลล์เส้นเดียว แล้วจึงแยกเป็น 2 เส้นใย
                2. เซลล์ประสาทสองขั้ว มีใยประสาท 2 เส้นออกจากตัวเซลล์ พบที่เรตินาของลูกตา เซลล์ประสาทรับเสียงที่หู เซลล์ประสาทรับกลิ่นที่จมูก
                3. เซลล์ประสาทหลายขั้ว มีเดนไดรต์แยกออกจากตัวเซลล์มากมาย แต่มีแอกชอนเพียง 1 เส้นใย พบในเซลล์ประสาท ประสานงานและเซลล์ประสาทสั่งการที่สองและไขสันหลัง
แบ่งตามหน้าที่การทำงาน

                1. เซลล์ประสาทรับความรู้สึก รับความรู้สึกจากอวัยวะรับความรู้สึกส่งไปยังระบบประสาทส่วนกลาง และส่งมายังเซลล์ประสาทสั่งการ อาจจะผ่านเซลล์ประสาทประสาทงานหรือไม่ก็ได้ เดนไดรต์อยู่ที่ผิวหนัง ตา หู จมูก ลิ้น ตัวเซลล์อยู่ที่ปมประสาทรากบนของไขสันหลัง
                2. เซลล์ประสาทสั่งการ ตัวเซลล์อยู่ในไขสันหลัง นำกระแสประสาทจากสมองและไขสันหลังไปยังหน่วยปฏิบัติงาน เช่น กล้ามเนื้อหรือต่อม มักมีแอกซอนยาวกว่าเดนไดรต์
                3. เซลล์ประสาทประสานงาน จะเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทรับความรู้สึกกับเซลล์ประสาทสั่งการ มักมีแอกชอนยาวกว่าเดนไดรต์ และเป็นเซลล์ประสาทหลายขั้ว
การทำงานของเซลล์ประสาท
            การเกิดกระแสประสาท ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ประสาท เรียกว่าความต่างศักย์เยื่อหุ้มเซลล์หรือเมมเบรนโพเทนเซียล ขณะที่เซลล์ไม่ถูกกระตุ้น ค่าความต่างศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ปกติ เรียก เรสติงเมมเบรนโพเทนเซียล ถ้าเซลล์ถูกกระตุ้นมีกระแสประสาทเกิดขึ้น ค่าความต่างศักย์นั้นเรียกว่า แอกชันโพเทนเซียล

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

            ใยประสาทมีการลำเลียงประจุไฟฟ้า 2 แบบ คือ แบบ passive transport เป็นการแพร่ที่ไม่ใช่พลังงาน แพร่ผ่านช่องโปรตีนตัวพาที่เยื่อหุ้มเซลล์ประสาม ได้แก่ ช่องโซเดียว และ แบบ active transport เป็นการแพร่ผ่านช่องโปรตีนตัวพาที่ต้องใช้ ATP ผ่านช่อง sodium potassium pump ในสภาพที่ไม่มีกระแสประสาทเคลื่อนที่ ภายนอกเซลล์มีประจุไฟฟ้าบวก เนื่องจากมี Na+ จำนวนมากอยู่นอกเซลล์ ส่วนภายในเซลล์มีประจุลบเนื่องจากมี K+ จำนวนมาก และมีอินทรียสารพวกโปรตีนและกรดนิวคลีอีกต่าง ๆ ซึ่งมีประจุลบ

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

การถ่ายทอดกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาท
            เมื่อกระแสประสาทเคลื่อนมายังปลายแอกซอน ถุงบรรจุสารสื่อประสาทจเคลื่อนชิดเยื่อหุ้มเซลล์ที่เซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ แล้วปล่อยสารสื่อประสาทออกมาเข้าช่องไซแนปส์ แล้วรวมกับหน่วยรับสารสื่อประสาทที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ ทำให้ช่องโซเดียมเปิดออก เกิดดีโพลาไรเซชันที่เยื่อหุ้มเซลล์ประสาท กระแสประสาทจึงวิ่งไปสู่เซลล์ถัดไป
ศูนย์ควบคุมระบบประสาท
            คนและสัตว์ชั้นสูงมีศูนย์กลางของระบบประสาท ได้แก่ สมองและไขสันหลัง ซึ่งพัฒนามาจากเนื้อเยื่อชั้นนอกของเอ็มบริโอ แล้วพัฒนาเป็นหลอดประสาทหรือนิวรัลทิวบ์ เป็นท่อยาวไปอยู่ด้านหลังลำตัว ส่วนหน้าพองเป็นสมอง ส่วนท้ายเป็นไขสันหลังอยู่ในโพรงกระดูกสันหลัง
สมอง
            สมองมีเซลล์ประสาทประสานงานจำนวนมาก สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงมีเนื้อชั้นนอกเรียก เนื้อสีเทา เป็นที่รวมตัวเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีเยื่อไมอีลิน เนื้อชั้นในเรียก เนื้อสีขาว มีไขมันและใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม ซึ่งตรงกันข้ามกับไขสันหลังที่มีชั้นนอกเป็นเนื้อสีขาว และชั้นในเป็นเนื้อสีเทา สมองแบ่งเป็น
    สมองส่วนหน้า (fore brain หรือ prosencephalon) ประกอบด้วย
            – cerebrum เป็นสมองที่ใหญ่ที่สุด มีทั้งส่วนสั่งการที่ควบคุมการทำงานและส่วนรับความรู้สึก ในคนจะเห็นรอยหยักชัดเจนและมีมากกกว่าสัตว์ชั้นต่ำ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
            – thalamus เป็นศูนย์รวมและแยกกระแสประสาทไปยังสมองส่วนต่าง ๆ และศูนย์รับรู้และตอบสนองความเจ็บปวด
            – hypothalamus สร้างฮอร์โมนหลายชนิดไปควบคุมการสร้างฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและสร้างฮอร์โมนประสาท
            – olfactory bulb เป็นศูนย์กลางการดมกลิ่น แต่เจริญไม่ดีในคน
สมองส่วนกลาง (mid brain หรือ mesencephalon) ประกอบด้วย
            – optic lobe เกี่ยวกับการมองเห็น การเคลื่อนไหวนัยน์ตา และรับความรู้สึกจากหู จมูก มีขนาดเล็กสุดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
    สมองส่วนท้าย (hind brain หรือ rhombence[halon) ประกอบด้วย
            – pons เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่าง cerebrum กับ cerebellum และระหว่าง cerebellum กับไขสันหลัง ควบคุมการเคลื่อนไหวการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย กล้ามเนื้อที่ใบหน้า การหายใจ
            – medulla oblongateta อยู่ท้ายสุดติดกับไขสันหลัง เป็นศูนย์ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ศูนย์ควบคุมการหายใจ การหมุนเวียนเลือด ความดันเลือด การเต้นของหัวใจ การกลืน
            – cerebellum สมองส่วนท้ายทอย ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ต่อเนื่อง ตรงสมองส่วนกลาง พอนส์ และเมดัลลาออบลองกาตา 3 ส่วน รวมกันเรียกว่า ก้านสมอง ภายในก้านสมองพบกลุ่มเซลล์ประสาท และใบประสาทสมองซีกซ้ายควบคุมร่างกายซีกขวา ส่วนสมองซีกขวาควบคุมร่างกายซีกซ้าย
            เส้นประสาทสมอง คือ เส้นประสาทที่ออกจากสมองในปลา และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีเส้นประสาทสมอง 10 คู่ สัตว์เลื้อยคลาน นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีเส้นประสาทสมอง12 คู่
            เส้นประสาทสมองของคนมี 12 คู่ คู่ที่ 1, 2, 8 เป็น sensory nerve คู่ที่ 3, 4, 6, 11, 12 เป็น motor nerve คู่ที่ 5, 7, 9, 10 เป็น mixed nerve
การทำงานของระบบประสาท
    ระบบประสาทโซมาติก
            ระบบประสาทโซมาติกทำงานตามคำสั่งของสมองส่วนซีรีบรัมและไขสันหลัง เกิดกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับได้ คือ กล้ามเนื้อลายเป็นส่วนใหญ่ จึงมักอยู่ในอำนาจจิต
การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

            แต่ก็อาจมีการตอบสนองของกล้ามเนื้อลายที่เป็นกิริยารีเฟล็กซ์ โดยไม่ผ่านสมอง เพียงแต่ รับกระแสประสาทเข้าไขสันหลัง แล้วส่งคำสั่งออกไปยังอวัยวะหรือกล้ามเนื้อ เช่น กิริยารีเฟล็กซ์ที่หัวเข่า อาศัยเซลล์ประสาทเพียง 2 เซลล์ คือ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก และเซลล์ประสาทนำคำสั่ง
การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด
            รีเฟล็กซ์แอกชันบางกิริยาอาศัยเซลล์ประสาท 3 เซลล์ คือ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก นำกระแสประสาทเข้าสู่ไขสันหลังไปไซแนปส์กับเซลล์ประสาทประสานงาน และส่งคำสั่งออกทางเซลล์ประสาทนำคำสั่งไปยังหน่วยปฏิบัติงานวงจรการทำงานของกิริยารีเฟล็กซ์ เรียกว่ารีเฟล็กซ์อาร์ก
    ระบบประสาทอัตโนวัติ
            ระบบประสาทอัตโนวัติควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในที่บังคับไม่ได้ ได้แก่ กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ อวัยวะของทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ แบ่งเป็นระบบซิมพาเทติกและระบบพาราซิมพาเทติกที่ทำงานตรงข้ามกัน
            การทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ ประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึก ส่วนใหญ่อยู่ที่อวัยวะภายในหรือผิวหนัง โดยมีเซลล์ประสาทรับความรู้สึกรับกระแสประสาทผ่านรากบนของเส้นประสาทไขสันหลังเข้าสู่ไขสันหลัง แล้วจึงมีเซลล์ประสาทออกจากไขสันหลังไปไซแนปส์กับเซลล์ประสาทนำคำสั่งที่ปมประสาทอัตโนวัติ เซลล์ประสาทที่ออกจากไขสันหลังมาที่ปมประสาทอัตโนวัติ เรียกว่า เซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์และเซลล์ประสาทที่นำคำสั่งออกจากปมประสาทอัตโนวัติ เรียกว่า เซลล์ประสาทหลังไซแนปส์

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

            วงจรการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติต่างกันกับการทำงานของระบบโซมาติกที่ระบบประสาทอัตโนวัติ ประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึก เซลล์ประสาทรับความรู้สึก เซลล์ประสาทสั่งการหรือนำคำสั่ง และหน่วยปฏิบัติงาน การนำกระแสประสาทเป็นวงจรรีเฟล็กซ์แอกชันเช่นเดียวกับระบบประสาทโซมาติกแตกต่างกันที่ระบบประสาทอัตโนวัติมีเซลล์ประสาทนำคำสั่ง 2 เซลล์เสมอ คือ

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด
อวัยวะรับความรู้สึก
    นัยน์ตากับการมองเห็น
            ลูกนัยน์ตาประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ ชั้นสเคลอรา ชั้นคอรอยด์ และชั้นเรตินา
                - ชั้นสเคลอรา (sclera) หรือตาขาว อยู่นอกสุด ด้านหน้าโปร่งแสงและนูนออกมาเป็นกระจกตา การบริจาคดวงตาคือการบริจาคกระจกตา
                - ชั้นคอรอยด์ (choroid) มีหลอดเลือดและรงควัตถุจำนวนมาก ด้านหน้าเป็นม่านตา ที่มีสีต่างกันตามรงควัตถุ ตรงกลางม่านตาเป็นรูพิวพิล หรือรูม่านตา ให้แสงผ่านมากน้อยตามการหดตัวคลายตัวของม่านตา ถ้ามีแสงจ้าม่านตาจะคลายตัวในแนวรัศมี ทำให้รูพิวพิลปิดแคบ ถ้ามีแสงสลัวม่านตาจะหดตัวในแนวรัศมี ทำให้รูพิวพิลเปิดกว้าง ม่านตาเปรียบเหมือนไดอะแฟรมของกล้องถ่ายรูป
                ชั้นเรตินา (retina) มีเซลล์รูปแท่ง รับภาพขาวดำแม้ในที่แสงสว่างน้อย และเซลล์รูปกรวย รับภาพสีต้องมีแสงสว่างมากที่กึ่งกลางเรตินามีจุดโฟเวียรับภาพชัดเจนที่สุด เพราะมีเซลล์รูปกรวยมากกว่าบริเวณอื่น
            กลไกการมองเห็น ภายในเซลล์รูปแท่งมีสารสีม่วงแดง เรียกว่า โรดอพซิน ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของเรตินาล ซึ่งเป็นรูปอัลลีไฮด์ของวิตามินเอกับโปรตีนออพซิน สเมื่อโรดอพซินถูกแสงสว่างเรตินาลจะเปลี่ยนโครงสร้างจาก 11-cis retinal เป็น trans-retinal แล้วแยกออกจากออพซิน
หูกับการได้ยิน และรับความรู้สึกในการทรงตัว
            โครงสร้างหู แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
                - หูชั้นนอก เริ่มจากใบหู รูหู จนถึงเยื่อแก้วหู ใบหูมีกระดูกอ่อนค้ำจุน ในรูหูมีต่อมสร้างขี้ผึ้งป้องกันแมลงและต้านการติดเชื้อ เยื่อแก้วหูรับคลื่นเสียงและขยายความแรงคลื่นเสียงได้ 17 เท่า
                - หูชั้นกลาง ถัดจากเยื่อแก้วหู เป็นโพรงมีกระดูกหู 3 ชิ้น คือ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง กระดูกโกลน ยึดกันซึ่งไปต่อกับหูชั้นใน

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

                หูชั้นใน รับคลื่นเสียงจากกระดูกหู 3 ชิ้น เข้าสู่อวัยวะรูปหอยโข่งหรือคอเคลีย เข้าทางหน้าต่างรูปไข่ เข้าทางท่อของคอเคลียเข้าเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 เข้าสู่สมอง
            ภายในหลอดคอเคลียแบ่งเป็น 3 ห้อง ซึ่งมีของเหลวบรรจุอยู่ แต่ในห้องสกาลามีเดีย หรือcochlear duct มี Organ of Corti (อวัยวะรับฟังเสียง) ที่มี hair cell เรียงเป็นแถว hair cell มีขนรับความรู้สึก ซึ่งจะสร้างความรู้สึกไปยัง cochlear nerve และส่งไปยังเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 ในสมอง
            อีกด้านของหูชั้นในมี semicircular canal รับการทรงตัว เป็นหลอดครึ่งวงกลม 3 อันตั้งฉากกัน ที่โคนหลอดพองโป่งเป็น ampulla ที่มีของเหลวและ hair cell อยู่ เมื่อเอียงศีรษะของเหลว
จะดัน hair cell ให้เคลื่อนที่, ampulla ทุกอันไปยึดกับถุง utricle ที่มีของเหลวบรรจุอยู่และมีก้อนหินปูน otolith ซึ่งเคลื่อนที่ตามการเคลื่อนที่ของศีรษะจึงไปกระตุ้น hair cell ที่อยู่ใกล้, แล้ว utricle ไปต่อกับกกระเปาะ saccule ซึ่งภายในมีของเหลวและ hair cell ด้วย ดังนั้น hair cell จึงรับรู้การทรงตัวจากการเคลื่อนที่ของขน ทำให้เกิดดีโพลาไรเรซันและเกิดกระแสประสาทส่งไปสมอง
จมูกกับการดมกลิ่น
            ในจมูกมีเซลล์รับกลิ่น รวมกันเป็น olfactory bulb ส่งกระแสประสาทเข้าเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 ส่งกระแสประสาทเข้าสู่เซรีบรัมส่วนดมกลิ่น
ลิ้นกับการรับรส
            ลิ้นมีตุ่มรับรส ที่ประกอบด้วยเซลล์รับรส อยู่บริเวณต่าง ๆ เพื่อรับรสหวาน เค็ม เปรี้ยว และขม แล้วแปลงเป็นกระแสประสาทส่งเข้าเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 และ 9 ไปยังศูนย์รับรสในเซรีบรัม (การศึกษาปัจจุบันพบว่า บริเวณรับรสหวาน เค็ม เปรี้ยว ขม ไม่ได้จำเพาะอยู่แต่ละบริเวณ เช่น ปลายลิ้น โคนลิ้น แต่กระจายอยู่ทั่วไปบนลิ้น)
ผิวหนังและการรับความรู้สึก
            ผิวหนังรับความรู้สึก เช่น แรงกด ความร้อน ความเย็น ความเจ็บปวด โดยมีปลายประสาท ชนิดต่าง ๆ ปลายประสาทรับความเจ็บปวดและรับสัมผัสอยู่ใกล้หนังกำพร้า ส่วนปลายประสาทรับแรงกด ความร้อน ความเย็น อยู่ในชั้นหนังแท้

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube


บทที่ 3 ระบบต่อมไร้ท่อ

การเคลื่อนที่แบบ amoeboid movement นอกจากพบในอะมีบาแล้วยังพบได้ในเซลล์พวกใด

            ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ สร้างและหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลืองไปยังเป้าหมาย คือ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อบางชนิดสร้างฮอร์โมน ออกมาร่วมทำงาน หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท เรียกว่า neuroendocrine system เช่น ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต้น
ลักษณะโครงสร้างของและหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ
            โดยทั่วไป ประกอบด้วย สองส่วนหลักคือ
                1. Parenchyma (เนื้อต่อม) ประกอบด้วย เซลล์เนื้อผิวชนิดที่ เรียกว่า secretory cells และเป็นเซลล์สำคัญที่สร้างฮอร์โมน ซึ่งเซลล์เหล่านี้ อาจเรียงตัวเป็นกลุ่ม (clumps) ขดเป็นกลุ่ม (cord) หรือแผ่น (plates) โดยมีเส้นเลือดฝอยชนิด fenestrated หรือ sinusoid capillaries และเส้นน้ำเหลือง จำนวนมากแทรก เพื่อทำหน้าที่หล่อเลี้ยง และลำเรียงฮอร์โมน ออกจากเนื้อต่อมเข้าสู่วงจรไหลเวียน ของกระแสเลือดไปกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ ตามเป้าหมาย (target organs) ที่อยู่ในร่างกาย
                2. Stroma (โครงร่างพยุงเนื้อต่อม) ประกอบด้วย เนื้อประสานโดยให้เป็นเปลือกหุ้ม และโครงร่างให้เซลล์ของเนื้อต่อมเกาะ ในต่อมไร้ท่อบางชนิดพบมีส่วน ของเปลือกหุ้มยื่นเข้าไปแบ่งเนื้อต่อม ออกเป็นส่วน เรียกว่า Trabaeculae
        ต่อมไร้ท่อแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
            1. ต่อมที่พบอยู่เดี่ยว ได้แก่
                I. ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland หรือ Hypophysis) มีเปลือกหุ้มที่ประกอบด้วย เนื้อประสาน เนื้อต่อมแบ่งย่อยออกเป็น 4 ส่วนคือ
                    1. Pars Anterior (Pars distalis) ส่วนนี้มีลักษณะคล้ายต่อมประกอบด้วย เซลล์ 2 ชนิดคือ
                        a) Chromophils เป็นเซลล์ที่ชอบติดสี แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด (ศึกษาจากการ ย้อมด้วย H&E )
                            1. Acidophils เซลล์ชนิดนี้ cytoplasm ติดสีชมพู พบส่วนใหญ่บริเวณ – ส่วนกลางของ pars distalis
                            2. Basophils เป็นเซลล์ที่ 
cytoplasm ติดสีน้ำเงินเข้มและมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์ ชนิดแรก พบบ่อยบริเวณรอบนอกของ pars distalis
                        b) Chromophobe เป็นเซลล์ที่ไม่ชอบติดสี มีขนาดเล็กที่สุดเล็ก ภายใน cytoplasm ไม่บรรจุ granules มักพบเป็นกลุ่มเห็นแต่เฉพาะนิวเคลียส
                    2. Pars Intermedia มีลักษณะเป็นกลุ่มของถุงน้ำ (colloid-filled follicles) เปลือกของถุงน้ำดาดด้วยเซลล์ชั้นเดียวขนาดเล็กติดสีน้ำเงินเข้ม
                    3. Pars Nervosa and Infundibular Stalk ส่วนนี้มีลักษณะ เหมือนเนื้อประสาท เซลล์ที่พบใน pars nervosa คือ pituicytes มีลักษณะคล้าย neuroglial cells (เซลล์พยุงของเซลล์ประสาท) นอกจากนั้นพบ unmyelinated nerve fibers ที่มีบริเวณส่วนปลาย ขยายออกและบรรจุ neurosecretions ที่เรียกว่า Herring bodies
                    4. Pars Tuberalis ส่วนนี้ประกอบด้วยเซลล์ทรงลูกเต๋าที่เรียงตัว ม้วนเป็นขด อาจจะพบมีลักษณะเป็นถุงน้ำที่บรรจุ colloi
                II. ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) มีเปลือกหุ้มและยื่นให้เป็น septa แทรก เข้าไปในเนื้อต่อม เซลล์ของเนื้อต่อมมีลักษณะเป็น colloid-filled follicles โดยเปลือกหุ้ม ถุงน้ำ ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิดคือ
                    1. Follicular cells เป็น simple cuboidal epithelium (ส่วนใหญ่) สร้างและหลั่ง iodine-containing hormone T3 และ T4
                    2. Parafollicular cells (clear cells) แทรกอยู่กับ follicular cells สร้างและหลั่ง Calcitonin
                III. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) มีเปลือกหุ้มและ septa ลักษณะ ของพวกเซลล์เรียงตัวเป็นแผ่น ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด
                        1. Chief cells พบจำนวนมาก พวกเซลล์มีขนาดเล็กแต่มีนิวเคลียสค่อนข้างใหญ่
                        2. Oxyphils พบจำนวนน้อย พวกเซลล์มีขนาดใหญ่ cytoplasm ติดสีกรด (ชมพู) และ มักอยู่กันเป็นกลุ่มๆIV. ต่อมหมวกไต (Suprarenal หรือ Adrenal gland) มีเปลือกหุ้มเนื้อต่อม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน เพราะมีแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน คือ
                            1. Cortex เนื้อต่อมส่วนนอกกำเนิดมาจาก mesodermal cells แบ่งย่อย ออกเป็น 3 บริเวณตามลักษณะของขนาด รูปร่าง และการเรียงตัวของพวกเซลล์ โดยมีเส้นเลือดฝอยชนิด sinusoidal capillaries แทรกได้แก่
                                a) Zona Glomerulosa พบอยู่ใต้เปลือกที่หุ้มการเรียงตัวของเซลล์ มี ลักษณะขดเป็นกลุ่ม คล้าย glomerulus ของเนื้อไต
                                b) Zona Fasciculata พบอยู่ถัดลงมา เนื้อต่อมส่วนนี้หนาที่สุด เซลล์รียงตัว เป็นแท่ง และมีลักษณะรูปทรงลูกเต๋า ภายในเซลล์ใสบางครั้งเรียกเซลล์ชนิดนี้ว่า spongiocyte
                                c) Zona Reticularis พบอยู่ด้านในสุดของเนื้อต่อมส่วนนอก ประกอบด้วย เซลล์ขนาดเล็ก ติดสีเข้ม และต่อเนื่องกันคล้ายร่างแห
                            2. Medulla เนื้อต่อมส่วนในสุดมีแหล่งกำเนิดมาจาก neural crest cells ประกอบด้วยเซลล์ขนาดใหญ่ ภายใน cytoplasm บรรจุ granules เรียกเซลล์ชนิดนี้ว่า chromaffin cells นอกจากนั้นยังพบ autonomic ganglion cells ขนาดใหญ่ ลักษณะสำคัญของเนื้อต่อมส่วนนี้คือพบว่ามี เส้นเลือดดำขนาดใหญ่บรรจุอยู่
                V. ต่อมไพเนียล (Pineal gland) เปลือกที่หุ้มมาจาก pia mater มี septa แทรกในเนื้อต่อม ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิดคือ
                    1. Pinealocytes เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียสขนาดใหญ่
                    2. Neuroglial cells เป็นเซลล์ขนาดเล็กมีนิวเคลียสติดสีเข้มกว่าเซลล์ชนิดแรก ลักษณะสำคัญในเนื้อต่อมไพเนียลคือพบ Brain Sand (corpora arenacea) มีลักษณะเป็น calcified accretions ติดสีม่วงเข้ม
            2. พวกเซลล์ต่อมไร้ท่อที่กระจัดกระจายหรือเป็นกลุ่ม โดยพบอยู่ร่วมกับพวกเซลล์ต่อมมีท่อ หรือร่วมกับอวัยวะอื่นของร่างกาย เช่น Islets of Langerhans of pancreas,Interstitial cells of Leydig in testis และ APUD cells (Amine Precursor Uptake and Decarboxylation) ซึ่งกลุ่มเซลล์ชนิดหลังสุดประกอบด้วย hormone-secreting cells สร้างและหลั่ง สารเคมีที่มีโครงสร้างคล้าย peptides และ active amines สารเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนหรือ neuro- transmitters พบเซลล์เหล่านี้ กระจัดกระจายแทรกในเนื้อผิว ที่ดาดในท่อทางเดินอาหาร ทางเดินลมหายใจ ในระบบไตและทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น APUD cells มีบางตัวกำเนิดมาจาก neuroectoderm เซลล์ในกลุ่มนี้บางตัว สามารถสาธิตให้เห็นในบทที่เกี่ยวกับ อวัยวะเหล่านั้น ยกเว้นพวก APUD cells เพราะส่วนใหญ่บ่งชี้ได้ ต้องย้อมสีพิเศษ หรือศึกษาในระดับ กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน
ประเภทของต่อมไร้ท่อ
            ต่อมไร้ท่อสามารถจำแนกตามความสำคัญของฮอร์โมนที่ต่อมสร้างได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
                1. ต่อมไร้ท่อที่จำเป็นต่อชีวิต (essentail endocrine gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ถ้าร่างกายขาดหรือต่อมถูกทำลายอาจจะทำให้ตายได้ ได้แก่ ต่อมพาราไทรอย ต่อมหมวกไตชั้นนอก ไอส์เลตของตับอ่อน
                2. 
ต่อมไร้ท่อที่ไม่จำเป็นต่อชีวิต (non-essentail endocrine gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่สร้างฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อร่างกายหรือต่อมไร้ท่ออื่นๆ น้อย ถ้าร่างกายขาดจะไม่ถึงตายแต่จะแสดงลักษณะผิดปกติบางประการ ได้แก่ ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไตชั้นนอก ต่อมไพเนียล ต่อมไทมัส อินเตอร์สติเชียลเซลล์ ฟอลลิเคิล คอร์พัสลูเทียม

วิดีโอ YouTube


อ้างอิง