แหล่งก๊าซธรรมชาติ บนบก แห่ง แรก ของ ประเทศไทย อยู่ ที่ จังหวัด

สาธารณสุข

แหล่งเอราวัณ จุดเปลี่ยนสู่ความมั่นคงทางพลังงานของไทย

21 พ.ค. 2561 เวลา 13:37 น.12.3k

 

ขณะนี้ รัฐบาลกำลังประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมประมูลสิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในสองแหล่งปิโตรเลียมกลางอ่าวไทยคือเอราวัณและบงกช ที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยรัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแหล่งดังกล่าว จากระบบสัมปทาน เป็นระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) ที่รัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการซื้อขายก๊าซธรรมชาติและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ผลิตได้จากแหล่งก๊าซฯ นี้อย่างใกล้ชิด และแบ่งปันผลกำไรระหว่างกันนับเป็นเรื่องที่น่าจับตามองยิ่งเพราะมีผลต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศโดยตรง

แหล่งเอราวัณ ซึ่งมีบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นผู้รับสัมปทาน คือแหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย ความสำเร็จของการเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติที่เอราวัณเมื่อกว่า 36 ปีที่แล้ว นับเป็นจุดเปลี่ยนสู่ความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทยโดยก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตสำคัญแห่งนี้นอกจากจะถูกนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าให้ทุกคนได้ใช้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นยังนำไปเป็นวัตถุดิบให้แก่ภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งยังเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจอีกหลายแขนงที่ต่อยอดมาจากก๊าซธรรมชาติ ก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับคนไทยและประเทศไทยเปิดศักราชการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเจริญให้รุดหน้า สู่ความโชติช่วงชัชวาล

เปลี่ยนความท้าทายสู่ความโชติช่วงชัชวาล

อย่างไรก็ตาม การสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เห็นได้จากต้องใช้ระยะเวลาในการสำรวจขุดค้นหาแหล่งก๊าซฯ นับจากได้รับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมแปลงในอ่าวไทยในปี 2511 เป็นเวลาถึง 5 ปี กว่าจะเจอก๊าซฯ ครั้งแรกในปี 2516 และต้องใช้เวลาอีก 8 ปี กว่าจะสามารถผลิตและซื้อขายในเชิงพาณิชย์ได้เป็นครั้งแรกในปี 2524  โดยต้องมีการวางท่อก๊าซธรรมชาติใต้น้ำยาว 425 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุดในโลกขณะนั้น เพื่อส่งก๊าซฯจากแหล่งเอราวัณเข้าสู่โรงแยกก๊าซที่จังหวัดระยอง

ต่อมา เมื่อเริ่มกระบวนการผลิตไประยะหนึ่งแล้ว จากเดิมที่คาดหวังว่าแหล่งกักเก็บก๊าซธรรมชาติแห่งนี้ จะต่อเนื่องกันเป็นแอ่งขนาดใหญ่ กลับพบว่าปริมาณก๊าซธรรมชาติในแหล่งเอราวัณมีน้อยกว่าที่คาดคะเนไว้ และโครงสร้างแหล่งกักเก็บก๊าซมีลักษณะเป็นกระเปาะเล็กๆ จำนวนมาก อยู่กระจัดกระจายกันไป อันเป็นผลจากการเคลื่อนตัวของชั้นหินใต้พื้นพิภพ ดังนั้น จึงต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาแหล่งเอราวัณ ให้เหมาะสมกับลักษณะธรณีวิทยาของอ่าวไทยดังกล่าว ด้วยวิธีการติดตั้งเป็นแท่นหลุมผลิตก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก กระจายออกไปในตามตำแหน่งของหลุมหรือกระเปาะกักเก็บก๊าซฯ ทั้งหลายนั้น แล้วส่งก๊าซธรรมชาติผ่านทางท่อใต้น้ำ มารวมกันยังแท่นผลิตกลาง ซึ่งนับว่าไม่ง่ายเลยที่จะนำทรัพยากรก๊าซธรรมชาติที่มีค่านี้ ขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้

ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เชฟรอนประเทศไทย ผู้ดำเนินการในแหล่งเอราวัณ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยี ฝึกอบรมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ และนำประสบการณ์จากการดำเนินการในประเทศต่างๆ ทั่วโลกมาพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยลดปัญหาและความเสี่ยงในการสำรวจและขุดเจาะ ช่วยลดระยะเวลาในการทำงานลง แต่ได้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวอย่างเช่นในอดีตนั้น การจะขุดเจาะหลุมเพื่อสำรวจและผลิตปิโตรเลียม 1 หลุมที่ระดับความลึก 3-4 กิโลเมตร ใต้พื้นทะเล จะต้องใช้เวลากว่า 60 วัน และใช้งบประมาณกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อหลุม ซ้ำยังมีความเสี่ยงว่าหากขุดไปแล้ว พบปริมาณน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในระดับที่ไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ ก็ถือว่าการลงทุนนั้นสูญเปล่า แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยบวกกับประสบการณ์ที่มีอย่างยาวนาน ช่วยให้ลดขั้นตอนการขุดเจาะเหลือเพียง 4-5 วันต่อ 1 หลุม และใช้งบประมาณน้อยลงกว่าเดิมมากซึ่งในแต่ละปีเชฟรอนจะเจาะหลุมจำนวนมากประมาณ 300-400 หลุม ตามความจำเป็นจากโครงสร้างของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่เป็นกระเปาะเล็กๆ กระจัดกระจายและมีความสลับซับซ้อนค่อนข้างมากดังที่กล่าว

ขณะที่ในปัจจุบันเชฟรอนมีแท่นผลิตก๊าซธรรมชาติ แท่นผลิตน้ำมันดิบ แท่นที่พักอาศัยของพนักงานที่ปฏิบัติการนอกฝั่ง ประมาณ 316 แท่นการจ้างงานพนักงานคนไทยถึง 96% ของจำนวนทั้งหมดกว่า 1,500 คน และมีพนักงานจากบริษัทผู้รับเหมา ประมาณ 1,100 คน สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้ 1,809 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลว 65,353 บาร์เรลต่อวัน และน้ำมันดิบ 60,352 บาร์เรลต่อวัน (ข้อมูลเดือนมีนาคม 2561) และสร้างรายได้ให้ประเทศในรูปของค่าภาคหลวงมากกว่า 455,785 ล้านบาท (นับตั้งแต่เริ่มผลิตในปี 2524-2560) ตลอดจนส่งเสริมการจ้างงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจผ่านอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอีกด้วย

เวลานี้ที่รัฐบาลกำลังเตรียมการเปิดประมูลแหล่งสัมปทานปิโตรเลียม 2 แหล่งใหญ่ ทั้งแหล่งบงกชและเอราวัณ ที่กำลังจะสิ้นสุดอายุในปี 2565-2566 ซึ่งเชฟรอนประเทศไทยผู้รับสัมปทานเดิมในแหล่งเอราวัณได้ประกาศความพร้อมเข้าร่วมประมูลอย่างแน่นอน โดยแม้ว่าขณะนี้ปริมาณก๊าซธรรมชาติในแหล่งดังกล่าวจะมีความท้าทายจากปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่ลดน้อยลง แต่ก็ประกาศชัดเจนว่าจะมุ่งมั่นพัฒนาการปฎิบัติงานทุกขั้นตอนเพื่อให้การผลิตก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุดหยุดลง ตอบสนองความต้องการใช้ก๊าซในประเทศ ลดการนำเข้าพลังงาน สร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับคนไทยและช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป

ประตูบานแรกที่ ‘เอราวัณ’

แหล่งก๊าซธรรมชาติ บนบก แห่ง แรก ของ ประเทศไทย อยู่ ที่ จังหวัด

เมื่อ 40 ปีที่แล้ว อุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมยังเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทย แต่การค้นพบ ‘เอราวัณ’ แหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งแรกในอ่าวไทย ซึ่งมีบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ และเริ่มดำเนินการผลิตก๊าซชีวภาพเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ก็ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประเทศ จากอดีตที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงาน กลายมาเป็นผู้ทำหน้าที่ผลิตก๊าซธรรมชาติให้กับคนไทย ซึ่งได้ดำเนินต่อเนื่องมาถึง 4 ทศวรรษ ไปพร้อมกับการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งก็คือสร้างบุคลากรชาวไทยด้านพลังงาน ไปพร้อมวางรากฐานอุตสาหกรรมปิโตรเลียมของประเทศให้เติบโตอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

แหล่งก๊าซธรรมชาติ บนบก แห่ง แรก ของ ประเทศไทย อยู่ ที่ จังหวัด

นับจากวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ที่ ‘เอราวัณ’ การเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในวันนั้นคือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประเทศสู่ยุค ‘โชติช่วงชัชวาล’ อันเป็นการเปรียบเปรยที่ช่วยให้ภาพความเป็นจริงขยายชัดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้มากขึ้น ก๊าซธรรมชาติจาก ‘เอราวัณ’ ถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรม ก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง ‘เอราวัณ’ ยังมีคุณภาพดีที่สามารถเป็นวัตถุดิบให้แก่ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ จนนำไปสู่การพัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือ อีสเทิร์นซีบอร์ด (Eastern Seaboard) ในปีถัดมา ซึ่งนับเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับก๊าซธรรมชาติที่ค้นพบ รวมถึงดึงดูดการลงทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ นำมาซึ่งการจ้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับคนไทย ‘เอราวัณ’ คือการเปิดศักราชการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมให้เจริญรุดหน้าอย่างก้าวกระโดด

4 ทศวรรษที่ ‘เอราวัณ’ จึงเป็นมากกว่าภารกิจธรรมดา แต่คือการเติบโตขึ้นของคนคนหนึ่ง องค์กรองค์กรหนึ่ง รวมถึงประเทศประเทศหนึ่งด้วยเช่นกัน ซึ่ง คุณชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง ในฐานะประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เอ่ยถึงพื้นที่ที่มีความหมายต่อความภาคภูมิใจแห่งนี้ ว่า ‘เอราวัณ’ นำมาซึ่งความสำเร็จหลากหลายด้าน รวมถึงเป็นรากฐานสำคัญของปัจจุบัน

“40 ปีมาแล้วที่ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเอราวัณ ได้ทำหน้าที่เป็นพลังสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เอราวัณยังมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานของอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของไทย ทั้งในด้านการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี กระบวนการทำงาน ที่เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรม ตลอดจนเป็นโรงเรียนที่สร้างบุคลากรชาวไทยที่มีความสามารถออกไปปฏิบัติงานตามหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ความสำเร็จที่เกิดขึ้นที่แหล่งเอราวัณจึงหมายถึงพลังคนที่ขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมให้ประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้ด้วย ขณะเดียวกัน ‘เอราวัณ’ ก็นำมาซึ่งโอกาสในการเรียนรู้เรื่องการมอบโอกาสในการช่วยเหลือสังคมและชุมชน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทย ซึ่งเป็นบ้านของเรา สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดคือความภาคภูมิใจของพวกเราชาวเชฟรอนทุกคนจากรุ่นสู่รุ่น”

แหล่งก๊าซธรรมชาติ บนบก แห่ง แรก ของ ประเทศไทย อยู่ ที่ จังหวัด

ความภาคภูมิใจของเชฟรอนที่ ‘เอราวัณ’ ซึ่ง คุณชาทิตย์ เอ่ยถึงยังหมายรวมถึงการที่วันนั้น ‘เอราวัณ’ มีบทบาทต่อการวางรากฐานด้านทรัพยากรบุคคล ซึ่งมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของประเทศมาจนถึงวันนี้ด้วย ไม่เพียงเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ายิ่งเท่านั้น แต่ ‘เอราวัณ’ ยังเป็นเสมือนโรงเรียนที่สร้างทรัพยากรบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของเชฟรอน และประเทศเช่นกัน โดยมีบทเรียนเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และกระบวนการทำงาน ที่เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรม รวมถึงได้ ‘พลังคน’ ที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมให้ประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้

ในเชิงรูปธรรม ‘โรงเรียน’ อันเป็นจุดเริ่มต้นของทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า หมายถึงการที่เชฟรอนได้ก่อตั้ง ‘ศูนย์เศรษฐพัฒน์’ ขึ้นในปี พ.ศ. 2523 ที่จังหวัดสงขลา เพื่อพัฒนาช่างเทคนิคปิโตรเลียมชาวไทยให้มีทักษะความรู้ความสามารถ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อลงไปปฏิบัติงานที่แหล่งเอราวัณได้อย่างปลอดภัย ขณะเดียวกันก็บ่มเพาะและพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา ยุคสมัย และเทคโนโลยี จนส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นถึงปัจจุบัน

แหล่งก๊าซธรรมชาติ บนบก แห่ง แรก ของ ประเทศไทย อยู่ ที่ จังหวัด

คุณบุญล้อม เส็งสำราญ อดีตผู้จัดการฐานผลิตเอราวัณ ซึ่งเป็นชาวไทย 1 ใน 45 คน ที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรมด้านปิโตรเลียมและเทคโนโลยี ณ ศูนย์เศรษฐพัฒน์ รุ่นแรก โดยใช้เวลากว่า 1 ปี กล่าวถึงความภูมิใจที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ ‘เอราวัณ’ ว่าคือการได้เป็นหนึ่งในทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของฐานรากที่แข็งแรงด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมและประเทศชาติ “ผมยังจำได้ดีว่าช่วงแรกที่ลงไปปฏิบัติงานที่แหล่งเอราวัณ พนักงานเกือบทั้งหมดเป็นชาวต่างชาติ พวกเราเข้าไปก็ไปเรียนรู้จากพวกเขา จนเวลาผ่านไปบุคลากรที่เป็นชาวไทย ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ กระทั่งปี 2557 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่ผมปฏิบัติงานบนแหล่งเอราวัณ บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกือบทั้งหมดเป็นชาวไทย ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาบุคลากรชาวไทยของเชฟรอนอย่างต่อเนื่อง”

เรื่องนี้เป็นอีกความภาคภูมิใจหนึ่งของเชฟรอน ที่สามารถสร้างและบ่มเพาะบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยในตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา ก็มี ‘ศูนย์เศรษฐพัฒน์’ ทำหน้าที่เสมือนโรงเรียนที่สร้างช่างเทคนิคปิโตรเลียมและช่างในสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องออกไปปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งที่ผ่านมามีทั้งหมด 60 รุ่น จำนวนกว่า 1,700 คน ขณะเดียวกันก็ยังได้ฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ให้กับบุคลากรในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมไปแล้วกว่า 400,000 คน จนกลายมาเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานของประเทศให้ก้าวหน้ามาจนถึงวันนี้ หากจะว่าไปแล้ว ‘เอราวัณ’ จึงเปรียบเสมือนประตูบานแรก ในการสร้างและบ่มเพาะบุคลากรในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมชาวไทยที่เต็มไปด้วยความรู้ความสามารถจวบจนปัจจุบัน

แหล่งก๊าซธรรมชาติ บนบก แห่ง แรก ของ ประเทศไทย อยู่ ที่ จังหวัด

แต่สำหรับบุคลากรที่ ‘เอราวัณ’ แล้ว ชีวิตที่ ‘เอราวัณ’ ยังเป็นการเรียนรู้เพื่อการเติบโตรอบด้านด้วย หลายบทเรียนชีวิตที่เกิดขึ้นที่นั่น หล่อหลอมแนวคิดและสร้างคนมากกว่าที่คนภายนอกจะได้ทราบ บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ณ แหล่งเอราวัณ และแหล่งผลิตอื่นๆ กลางอ่าวไทย ได้เติบโตไปพร้อมกับการเรียนรู้เรื่องคุณค่าของชีวิตด้วย หลายครั้งพวกเขามีโอกาสได้ให้ความช่วยเหลือหลายชีวิตที่ผ่านเข้ามา ตั้งแต่ชาวประมงป่วยไข้หรือได้รับบาดเจ็บ ไปจนถึงสัตว์ต่างๆ ตามธรรมชาติที่บังเอิญได้พบ อย่างฉลามวาฬ หรือเต่าที่ติดเชือกอวน แต่เรื่องที่เป็นที่โจษจัน คือความบังเอิญที่ได้ช่วยเหลือสุนัขที่ลอยคออยู่กลางทะเลอ่าวไทยอย่างน่าประหลาดใจ จนสุนัขตัวนี้ถูกเรียกว่า ‘เจ้าบุญรอด’ จากการรอดชีวิตอย่างเหลือเชื่อ และต่อมาได้มีบ้านใหม่ ชีวิตใหม่อีกครั้งกับพนักงานซึ่งทำงานที่ ‘เอราวัณ’ นั่นเอง

แหล่งก๊าซธรรมชาติ บนบก แห่ง แรก ของ ประเทศไทย อยู่ ที่ จังหวัด

การเรียนรู้เรื่องชีวิตและคุณค่าทางด้านมนุษยธรรม จึงเป็นอีกบทเรียนที่มีความหมายมากสำหรับบุคลากรที่ ‘เอราวัณ’ ด้วยเหตุนี้เอง ชาวเอราวัณและพนักงานนอกฝั่ง พร้อมด้วยครอบครัว จึงได้ริเริ่มทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วย ซึ่งหากจะว่าไปแล้วก็เป็นการทำงานเพื่อสังคม หลายสิบปีก่อนหน้าที่จะมีการถือกำเนิดขึ้น และใช้กันอย่างแพร่หลายของคำว่า CSR (Corporate Social Responsibility) เหมือนอย่างในปัจจุบัน โดยใช้เวลาในช่วงหยุดพักจากการปฏิบัติงานหลายสัปดาห์ รวมตัวกันทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน อาทิ สร้างโรงเรียน สร้างสนามเด็กเล่น ปลูกป่า รวมถึงช่วยเหลือสังคมในวิกฤตต่างๆ เช่น การฟื้นฟูชุมชนในจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ สตูล ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติสึนามิ ในปี 2547 ซึ่งสปิริตจิตอาสาที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเหล่านี้ ได้กลายเป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจให้กับการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของพนักงานเชฟรอน จนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งมาถึงปัจจุบันด้วยเช่นกัน

เรียนรู้ เข้าใจ เติบใหญ่ มั่นคง

แม้วันนี้ผลลัพธ์จาก ‘เอราวัณ’ จะเกิดขึ้นรอบด้านในหลายแง่มุม แต่ในทางกายภาพแล้ว ความสำเร็จที่ ‘เอราวัณ’ แหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งแรกของไทยแห่งนี้ก็ไม่ได้ได้มาง่ายดาย เนื่องจากโครงสร้างแหล่งกักเก็บก๊าซธรรมชาติของแหล่งเอราวัณ มีลักษณะเป็นกระเปาะขนาดเล็กอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่กว้างใหญ่กว่า 4,500 ตารางกิโลเมตร แต่ละกระเปาะยังมีอัตราการเสื่อมถอยของผลผลิตสูง ที่ใช้ไม่นานก็หมดไป ด้วยเหตุนี้ในแง่ของการดำเนินงานจึงจำเป็นต้องเจาะหลุมจำนวนมาก เพื่อให้สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้ตามปริมาณที่กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทาน รวมถึงเพื่อคงความต่อเนื่องในการส่งมอบพลังงานให้กับประเทศ

การผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเอราวัณต้องลงทุนสูง และมีความเสี่ยงทางธุรกิจอย่างมากด้วย แต่เชฟรอนก็เอาชนะความท้าทายทางธรณีวิทยาของแหล่งเอราวัณเหล่านี้ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี และกระบวนการทำงานเพื่อให้การผลิตก๊าซธรรมชาติมีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนสามารถนำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ด้วยต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงเกินไป รวมถึงได้มาตรฐานความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม นั่นเป็นอีกรายละเอียดหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ที่ ‘เอราวัณ’ ใน 4 ทศวรรษที่ผ่านมาที่น้อยคนนักจะได้ทราบ

แหล่งก๊าซธรรมชาติ บนบก แห่ง แรก ของ ประเทศไทย อยู่ ที่ จังหวัด

โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เชฟรอน เป็นผู้นำในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง อาทิ การสำรวจโดยวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบสามมิติ (3D Seismic) เพื่อให้การแปลผลสภาพทางธรณีวิทยาแม่นยำยิ่งขึ้น การขุดเจาะหลุมผลิตขนาดเล็กแบบมาตรฐาน (Standard Slim Hole) เครื่องเพิ่มแรงดันที่ติดตั้งบนแท่นหลุมผลิต (Remote Compressor Package) การอัดน้ำเสียในกระบวนการผลิตกลับลงหลุมที่ผลิตหมดแล้วเพื่อจะได้ไม่ต้องทิ้งน้ำเสียลงทะเล (Produced Water Injection) เป็นต้น โดยเทคโนโลยีและมาตรฐานการทำงานของเชฟรอน เหล่านี้ได้รับการยอมรับจากภาครัฐ และกลายเป็นมาตรฐานให้กับผู้ผลิตรายอื่นในประเทศอีกด้วย

แหล่งก๊าซธรรมชาติ บนบก แห่ง แรก ของ ประเทศไทย อยู่ ที่ จังหวัด

หากให้ร้อยเรียงเรื่องราวแห่งความสำเร็จที่ ‘เอราวัณ’ จากวันแรกจนถึงวันนี้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้น ณ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ายิ่งนี้ จึงมาจากการผสานกันของความสำเร็จในด้านต่างๆ ที่ค่อยๆ หล่อหลอมรวมกันเป็นหนึ่ง ทั้งความสำเร็จด้านเทคโนโลยีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่พัฒนาขึ้นในแต่ละทศวรรษที่ผ่านมา ไปจนความสำเร็จในการสร้างและบ่มเพาะทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพ เพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ ‘เอราวัณ’ ซึ่งไม่เพียงมีความรู้ความสามารถที่ช่วยวางฐานรากสู่ปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเปี่ยมพลังแห่งการสร้างสรรค์ พร้อมส่งต่อคุณค่าต่างๆ คืนกลับสู่สังคมอีกด้วย

4 ทศวรรษที่ ‘เอราวัณ’ จึงเป็นการเติบโต ที่มากกว่าแค่การเติบโตของคนคนหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่คือการเติบโตขึ้นของประเทศชาติ ที่ค่อยๆ ก้าวเดินมาอย่างมั่นคง ในขณะเดียวกันก็พร้อมส่งต่อย่างก้าวที่แข็งแกร่งนี้ ต่อไปข้างหน้า เพื่อจะเป็นพลังขับเคลื่อนไทยอีกยาวไกล

แหล่งก๊าซธรรมชาติ บนบก แห่ง แรก ของ ประเทศไทย อยู่ ที่ จังหวัด