สังคมไทยในยุคปัจจุบัน 2565

สศช. เปิดภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 สถานการณ์การว่างงาน แม้จะเริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่ก็น่าห่วงแรงงานที่จบการศึกษาสูงยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะเรียนจบปริญญาออกมาเตะฝุ่น รวมทั้งพบคนไทยว่างงานยาวขึ้น พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะเร่งแก้ปัญหาด่วน

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผย ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 ว่า แม้สถานการณ์ว่างงานของคนไทยจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ก็พบประเด็นที่น่ากังวล คือ การว่างงานในกลุ่มแรงงานที่จบการศึกษาสูงยังอยู่ในระดับสูง โดยอัตราการว่างงานของผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ 3.10% 

 

ขณะเดียวกันยังพบด้วยว่า ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนยังคงมีอัตราเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวน 2.6 แสนคน เพิ่มสูงขึ้น 5.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนสวนทางกับผู้ว่างงานที่มีประสบการณ์ทำงานที่เริ่มปรับตัวลดลง เช่นเดียวกับผู้ว่างงานระยะยาวยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยมีจำนวนถึง 1.7 แสนคน

 

สำหรับสถานการณ์ภาพรวมของการว่างงานในไตรมาสนี้ พบว่า ปรับตัวดีขึ้น โดยผู้ว่างงานมีจำนวนทั้งสิ้น 6.1 แสนคน ลดลงจาก 7.6 แสนคนในช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงจาก 6.3 แสนคน ในไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานที่ 1.53% ต่ำที่สุดในช่วงโควิด-19 

เช่นเดียวกับการว่างงานในระบบที่ลดลงต่อเนื่อง โดยผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน มีจำนวน 305,765 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานในระบบที่ 2.7% ส่วนแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการที่สถานประกอบกิจการขอใช้มาตรา 75 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ ลดลงจาก 82,346 คน ในปีก่อนเหลือเพียง 35,174 คน ณ สิ้นไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 

 

สังคมไทยในยุคปัจจุบัน 2565

 

ส่วนประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไปในเรื่องของแรงงาน มีดังนี้ 

 

1.การฟื้นตัวของการจ้างงานภาคท่องเที่ยว

 

โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังมีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับก่อนโควิด-19 ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยแม้จะมีแนวโน้มดีขึ้นจากโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ แต่สัดส่วนรายจ่ายยังไม่สามารถชดเชยการหายไปของรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ จึงต้องให้ความสำคัญกับการเปิดประเทศและดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศให้มากที่สุด 

 

2.ผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าต่อค่าครองชีพของแรงงาน และการจ้างงาน

 

เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2564 จากราคาน้ำมัน และปัจจัยการผลิตในสินค้าบางชนิดที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของแรงงาน รวมทั้งอาจกระทบต่อการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมจากราคาปุ๋ยที่แพงขึ้น และการจ้างงานสาขาขนส่งจากต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น 

3.การหามาตรการแก้ไขปัญหาการว่างงานระยะยาวและการว่างงานของผู้จบการศึกษาใหม่

 

กรณีดังกล่าวพบว่ายังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่าเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ โดยการว่างงานระยะยาวจะทำให้แรงงานขาดรายได้เป็นระยะเวลานานและมีแนวโน้มก่อหนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตทั้งตนเองและครอบครัว 

 

ขณะที่การว่างงานในกลุ่มผู้จบการศึกษาใหม่ โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษาที่มีสัดส่วนสูงที่สุดส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาความไม่สอดคล้องของความต้องการแรงงานและทักษะ ซึ่งมีปัญหาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ดังนั้นจึงต้องหาทางฝึกทักษะให้ตรงกับความต้องการกับตลาดงานเพิ่มเติม

สถานการณ์ผู้ป่วยทั่วโลก ณ วันที่ 28 ธ.ค.2564 มีจำนวน...ล้านคน หายป่วยแล้ว...ล้านคน เสียชีวิตมากถึง...ล้านคน แต่นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรค การเดินทางของคนทั่วโลกหยุดนิ่ง เศรษฐกิจดิ่งเหว ธุรกิจ อุตสาหกรรม ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว หยุดชะงัก ผู้คนตกงาน

สังคมไทยในยุคปัจจุบัน 2565

ขณะที่ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมในประเทศ ไทยตั้งแต่ปี 2563 มีจำนวน...คน หายป่วยสะสม...คน เสียชีวิต...คน และแค่เฉพาะปี 2564 ข้อมูลวันที่ 1 เม.ย.–28 ธ.ค.2564 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม...3 คน หายป่วยสะสม...คน เสียชีวิต...คน ประเทศไทยต้องกู้เงินเพื่อนำมาแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 1.5 ล้านล้านบาท เพื่อเยียวยาประชาชนกลุ่มต่างๆ รวมทั้งนำเงินกู้ไปจัดซื้อวัคซีน และยา และสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนสัญชาติไทย

สังคมไทยในยุคปัจจุบัน 2565

และถึงนาทีนี้โควิด–19 ยังได้มีการกลายพันธุ์แล้วถึง 5 สายพันธุ์หลัก ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้เรียกชื่อสายพันธุ์ด้วยอักษรกรีก เพื่อง่ายต่อการจดจำและลดการตราหน้าประเทศนั้นๆ ว่าเป็นต้นตอการระบาดของเชื้อกลายพันธุ์ได้แก่ สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) เบตา (แอฟริกาใต้) แกมมา (บราซิล) เดลตา (อินเดีย) และเมื่อวันที่ 26 พ.ย.2564 ก็มีน้องใหม่ล่าสุดคือ สายพันธุ์โอมิครอนที่มีต้นตอมาจากทวีปแอฟ ริกาใต้ ซึ่งระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น และระบาดไปแล้ว 100 กว่าประเทศ

สำหรับประเทศไทย “ทีมข่าวสาธารณ สุข” ขอสรุปภาพสถานการณ์โควิด-19 โดยเริ่มจากช่วงปี 2563 ประเทศ ไทยต้องเผชิญหน้ากับการระบาดใหญ่ถึง 2 ระลอก ครั้งแรกช่วงกลางปี คือ กลุ่มสถานบันเทิงและเวทีมวย และระลอกสอง ช่วงปลายปีจากกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร ตลอดทั้งปีสิ่งที่เราได้เรียนรู้คือการป้องกันตนเองด้วยการ “ยกการ์ดสูง” คือสวม หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง และเฝ้ารอวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และผลพวงซึ่งตามมาอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบาก จากปัญหาคนตกงาน ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

สังคมไทยในยุคปัจจุบัน 2565

สำหรับปี 2564 ขณะที่การควบคุมการระบาดจากตลาดกลางกุ้งยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ช่วงต้นเดือน เม.ย.ก็ตรวจพบสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ในแคมป์คนงานกลางกรุงเทพฯ ซึ่งมีอานุภาพการกระจายและความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อัลฟา 1.4 เท่า การระบาดระลอกนี้ สร้างความสูญเสียและสร้างความหวาดกลัวให้กับผู้คนอย่างมาก จำนวนตัวเลขคนเสียชีวิตพุ่งสูงกว่า 2 หมื่นคน ตัวเลขผู้ป่วยหนักนับแสนคน ทำให้เตียงรองรับคนไข้หนักของโรงพยาบาลในพื้นที่ระบาดล้นเกินกว่าจะรองรับได้ จนต้องมีการปรับมาตรการ แบ่งระดับอาการป่วยของผู้ติดเชื้อเป็น กลุ่มสีเขียว อาการน้อย ให้รักษาตัวที่บ้านโดยมีทีมแพทย์ส่งยา เวชภัณฑ์ และติดตามอาการ กลุ่มสีเหลือง ให้รักษาในโรงพยาบาลสนาม กลุ่มสีแดง ให้รักษาในโรงพยาบาลหลัก แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานอย่างหนักในการดูแลรักษา และเร่งฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน กว่า 3-4 เดือนที่สถานการณ์เริ่มผ่อนคลายลง

หันมาที่เรื่องของ “วัคซีน” ลอตแรกมาถึงประเทศไทย ปลายเดือน ก.พ.2564 ได้แก่ ซิโนแวค แอสตราเซเนกา และมีการปูพรมฉีดวัคซีนทั่วประเทศ วันที่ 7 มิ.ย.64 และเร่งฉีดให้กับกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรง และเสียชีวิต ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 โรค และรวมถึงกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และต่อด้วยวัคซีนทางเลือกตัวแรก ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายในการฉีด คือ ซิโนฟาร์ม จนปลายปีก็เริ่มมีวัคซีน ไฟเซอร์ และวัคซีนทางเลือกตัวที่สอง คือ โมเดอร์นา ซึ่งทุกชนิดรวมกันแล้วมีจำนวนเพียงพอที่จะฉีดให้กับคนไทยทุกคน และประสบความสำ เร็จฉีดได้ ตามเป้าหมาย ครบ 100 ล้านโดสในวันที่ 20 ธ.ค.64 ขณะเดียวกันภาครัฐก็ได้มีการปลดล็อกให้ประชาชนสามารถซื้อชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง หรือ An tigen Test Kit หรือ ATK

สังคมไทยในยุคปัจจุบัน 2565

ปลายเดือน ต.ค. 2564 สถานการณ์ความรุนแรงของโรคระบาดเริ่มคลายตัว 1 พ.ย.2564 ไทยเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นวันแรก รัฐบาลเริ่มผ่อนคลายมาตรการทางสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนได้เริ่มทำมาหากินได้ โดยกำหนด มาตรการองค์กรปลอดภัย หรือโควิดฟรีเซ็ตติ้ง Covid Free Setting เพื่อให้สถานประกอบการ ร้านค้า กิจการ กิจกรรมต่างๆ รวมทั้งสถานศึกษา ได้กลับมาดำเนินการอีกครั้ง หลักการคือ ความปลอดภัย 3 ด้าน ได้แก่ 1.การจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้ปลอดโควิด 2.ผู้ให้บริการ ได้แก่ เจ้าของกิจการ พนักงาน ฉีดวัคซีนครบโดส ตรวจ ATK ทุกสัปดาห์ 3.ผู้รับบริการ ได้แก่ลูกค้า ต้องฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ มีผลตรวจ ATK เป็นลบในเวลาที่กำหนด

นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ให้คนไทย ป้องกันตนเองแบบครอบจักรวาล หรือ Universal Prevention โดยให้คิดเสมอว่า “ตัวเราและคนรอบตัวอาจติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว จึงต้องป้องกันอย่างสูงสุดด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง” พร้อมกับเร่งฉีดวัคซีน จนนำมาสู่ 4 มาตรการหลักที่เรียกว่า V–U– C–A ได้แก่ V–Vac cine คือการฉีดวัคซีนให้ครบโดส เพื่อลดการป่วยหนักและเสียชีวิต U–Universal Prevention คือการป้องกันตนเองตลอดเวลา C–Covid Free Setting คือ สถานที่/องค์กร พร้อมผู้ให้บริการฉีดวัคซีนครบ ตรวจ ATK ทุกสัปดาห์ A–Antigen Test Kit คือ พร้อมตรวจเสมอเมื่อมีความเสี่ยง

เมื่อตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้คนเริ่มคลาย ใจและเฝ้ารอการเฉลิมฉลองปีใหม่อย่างใจจดใจจ่อ ซึ่ง ศบค.ชุดใหญ่ก็ไฟเขียวให้คนไทยได้ฉลองข้ามคืน ดื่มแอลกอฮอล์ได้ ถึง 01.00 น. ในวันปีใหม่ 1 ม.ค.2565 แต่ทุกกิจกรรมต้องยึดมาตรการโควิดฟรีเซ็ตติ้ง

สังคมไทยในยุคปัจจุบัน 2565

แต่แล้วโลกต้องกลับสู่สภาวะหวาดผวาอีกครั้ง เมื่อพบการกลายพันธุ์ของโควิด–19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วในเดือน พ.ย.2564 ขณะที่ประเทศไทยก็ไม่มีข้อยกเว้น โดยพบรายแรกเมื่อวันที่ 6 ธ.ค.64 เป็นชายชาวอเมริกันที่เดินทางมา จากประเทศสเปน จากนั้นเพียงไม่กี่วันก็ตรวจพบจากผู้เดินทางกลับจากการแสวงบุญจากประเทศซาอุดีอาระเบีย ตรวจพบเชื้อโอมิครอน และพบคนไทยรายแรกที่ติดเชื้อในประเทศ จากสามีที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและจำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ตลอดปี 2564 พฤติกรรมคนไทยที่ปรับเปลี่ยนจนกลายเป็นกิจวัตรประจำวันคือ สวมหน้ากากอนามัย เมื่อออกจากบ้านตลอดเวลา พกเจลแอลกอฮอล์ไว้ล้างมือ รวมไปถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 การเข้ารับบริการสถานที่ต่างๆมีการตรวจคัดกรอง วัดอุณหภูมิ ก่อนเข้ารับบริการและข่าวดีที่ค้นพบยารักษาโควิด และไทยก็จะเริ่มนำเข้าในเดือน ม.ค.65 ทั้งโมลนูพิราเวียร์แพกซ์โลวิด รวมทั้งวัคซีนป้องกันรุ่นใหม่ แต่การป้องกันตนเองแบบครอบจักรวาลยังคงเป็น “อาวุธประจำกาย” ของคนไทย ที่ยังเป็นเกราะป้องกันที่ใช้ได้ผลอยู่ หากเกิดโรคอุบัติใหม่ขึ้น ก็เชื่อว่า คนไทยจะปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขได้ทันที

สังคมไทยในยุคปัจจุบัน 2565

ขณะที่สถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนก็มีรูปแบบการรักษาพยาบาลในวิถีใหม่มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ แอปพลิเคชันมาใช้ เช่น การจองนัดหมายการตรวจรักษาผ่าตัด ฉีดวัคซีน เพื่อลดความแออัดภายในโรงพยาบาล ส่วนกระทรวงสาธารณสุขก็ได้กำหนดแผนงานทุ่มเทสรรพกำลังในการตรวจคัดกรอง ควบคุมการระบาด รวมไปถึงการรักษาหันมาทางด้านสถานประกอบการ ร้านอาหาร โรงงาน โรงภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ ต้องใช้มาตรการโควิดฟรีเซ็ตติ้งกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้องค์กรปลอดภัยจากโรคโควิด เพราะนั่นหมายถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนที่มารับบริการ เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศให้กลับมาอีกครั้ง

“ทีมข่าวสาธารณสุข” มองว่า การป้องกันตนเองให้ปลอดโรค ถือเป็นความรับผิดชอบของทุกคน และเมื่อประเทศไทยมีระบบมาตรการป้องกันตรวจสอบ ควบคุมโรคโควิด-19 ที่ดี ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นในระดับที่ระบบสาธารณสุขรองรับได้จะสร้างความเชื่อมั่น นักลงทุน นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศก็จะเริ่มกลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นการสร้างสมดุลให้ปากท้อง และเศรษฐกิจไทยก็พลิกฟื้นกลับมาอีกครั้ง

สังคมไทยในยุคปัจจุบัน 2565

หากคนไทยใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ปี 2565 อย่างจริงจัง ด้วยการปฏิบัติตัวด้วยมาตรการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด

นั่นเท่ากับ “การอยู่เป็น” เพื่อ “อยู่รอด” และไม่ว่าโรคโควิด-19 จะกลายพันธุ์ไปอีกกี่สายพันธุ์ เราทุกคนก็จะผ่านวิกฤติโควิด-19 ไปอย่างปลอดภัย