สรุป สังคม วัฒนธรรม และจริยธรรม ตำรวจ

สรุป สังคม วัฒนธรรม และจริยธรรม ตำรวจ

ข้อสอบนักเรียนนายสิบตำรวจ วิชาสังคม วัฒนธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ชุดที่ 1

  • 37

ข้อสอบนักเรียนนายสิบตำรวจ วิชาสังคม วัฒนธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ชุดที่ 1

เตรียมความพร้อมในการสอบเข้าข้อสอบนักเรียนนายสิบตำรวจ วิชาสังคม วัฒนธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ชุดที่ 1 โดยทีมงานเอ็นจิเนียร์ ติวเตอร์ ทำข้อสอบออนไลน์ฟรี!! พร้อมเฉลยละเอียดได้แล้ววันนี้

ทำข้อสอบนักเรียนนายสิบตำรวจ วิชาสังคม วัฒนธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ชุดที่ 1 ได้แล้ววันนี้
— Engineer Tutor Quiz

บทความโดย

SENIOR EXECUTIVE MANAGING DIRECTOR

สรุป สังคม วัฒนธรรม และจริยธรรม ตำรวจ

แนวข้อสอบ

สังคม วัฒนธรรมและจริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

จงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง

1.   ศาสนาพราหมณ์ที่เปลี่ยนเป็นเอกเทวนิยมนับถือสิ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์สูงสุด

1.         โมกษะ                                                              2.  พระเวท                        

3.  พรหมัน                                                               4.  ตรีมูรติ

เฉลยข้อ 3             พรหมัน

เหตุผล                  เดิมศาสนาพราหมณ์มีเทพเจ้าเป็นใหญ่หลายองค์ พวกหนึ่งอยู่บนสวรรค์ พวกที่สองอยู่

บนฟ้า และพวกที่สามอยู่บนพื้นโลก ต่อมาในสมัยพราหมณะมีการยกย่องเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เพียงองค์เดียวว่า

เป็นใหญ่กว่าเทพทั้งหลาย เป็นเทพเจ้าสูงสุด เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด คือพระเป็น

เจ้าหรือพรหม หรือ พรหมัน หรือ ปชาบดี

2.   ความหมายของคำว่า มุสลิม ในข้อใดถูกต้องที่สุด

1.         ผู้รักความสงบ                                                 2.  ผู้มีศรัทธาต่อพระเจ้า

3.   ผู้ยอมมอบตนต่อพระเจ้า                                4.  ผู้ปฏิบัติตามองการของพระเจ้า

เฉลยข้อ 3            ผู้ยอมมอบตนต่อพระเจ้า

เหตุผล                       คำว่า อิสลาม แปลว่า สันติ การยอบน้อม การยอมจำนนโดยสิ้นเชิง ผู้ที่นับถือศาสนา

อิสลามจะเรียกว่า มุสลิม ดังนั้นความหมายของคำว่ามุสลิมจึงหมายถึง การนอบน้อมต่อพระเป็น  เจ้าอัลเลาะห์แต่องค์เดียวโดยสิ้นเชิงเพื่อความสันติ หรือผู้ยอมมอบตนต่อพระเจ้านั่นเอง

3.   ในตอนแรก ชาวยิวเชื่อว่าพระเยซูคือใคร

1.    เมสสิอาห์                                                         2.  ศาสดาพยากรณ์

3.    พระบุตรของพระเจ้า                                      4.  พระเจ้า

เฉลยข้อ 1            เมสสิอาห์

เหตุผล                       ก่อนพระเยซูประสูติ ปาเลสไตน์ตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิใกล้เคียงมากกว่า

100 ปี ทำให้ชาวยิวถูกข่มเหง ถูกเก็บภาษีมากที่สุด จึงได้รับความทุกข์ทรมานมากศาสดาพยากรณ์

หลายท่านได้พยากรณ์ว่าจะมีพระมาซีฮา หรือ เมสสิอาห์ ผู้ช่วยให้รอดเสด็จมาทำลายล้างศัตรูและ

 ตั้งอาณาจักรแห่งพรเจ้า (พระยะโฮวา) ขึ้น พระเมสสิอาห์เป็นบุตรของพระเจ้า จะทรงไถ่บาปจาก

ชาวยิวให้พ้นจากบาป ชาวยิวในสมัยนั้นจึงรอคอยเมสสิอาห์ ซึ่งแปลว่า พระผู้ช่วยให้รอดพ้นจากความผิดบาป

4.   พระพุทธเจ้าทรงบรรลุญาณใด ที่ทำให้ตรัสรู้อริยสัจ 4

1.         จุตูปปาต                                                           2.  อาสวักขย                     

3.  อานาปานสติ                                                      4.  ปุพเพนิวาสานุสสติ

เฉลยข้อ 2            อาสวักขย

เหตุผล                       ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 6 ปีระกาก่อนพุทธศก 45 ปี

พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรทางจิต จิตจึงแน่วแน่เป็นสมาธิบรรลุรูปญาณ 4 ในขณะที่จิตอยู่

ในญาณที่ 4 พระองค์น้อมจิตไปใช้ปัญญาจึงเกิดความรู้แจ้ง 3 อย่างคือ บุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ

 ระลึกชาติได้ในปฐมยาม จุตูปปาตญาณ คือ รู้ดุจดวงตาทิพย์ ในมัชฌิมยาม และ อาสวักขยญาณ

คือ ความรู้ที่ทำให้อาสวะหรือกิเลสหมดสิ้นไปในปัจฉิมยาม

5.   หน้าที่ต่อพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลามคืออะไร

1.         การไม่บูชารูปเคารพใด ๆ

2.         การปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ 5

3.         การช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก

4.         การเชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียวเป็นผู้บันดาลสรรพสิ่ง

เฉลยข้อ 2            การปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ 5

เหตุผล                       หลักปฏิบัติ 5 ประการ เป็นหลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาอิสลามมี 5 ประการ คือ

การปฏิบัติญาณตน การละหมาดวันละ 5 เวลา การบริจาคซะกาตหรือศาสนทานการถือศีลอด

ในเดือนเราะมะฎอน และการประกอบพิธฮัจญ์ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย (ถ้ามีความพร้อม)

6.   พิธีกรรมที่คริสต์ศาสนิกชนได้แสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระเจ้า

1.         ศีลบวช                                                            2.  ศีลกำลัง

3.   ศีลล้างบาป                                                       4.  ศีลมหาสนิท

เฉลยข้อ 4            ศีลมหาสนิท

เหตุผล                       ศีลมหาสนิท (Holy Communion) แปลว่า การอยู่ร่วมกันกับพระเจ้า พิธีนี้เกิดขึ้นครั้ง

แรกเมื่อพระเยซูและอัครสาวกรับประทานอาหารร่วมกันเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่พระองค์จะถูกจับระหว่า

รับประทานอาหารอยู่นั้นพระองค์ให้สาวกกินขนมปังและดื่มเหล้าองุ่นโดยตรัสว่า ขนมปังคือร่างายของ

พระองค์ และเหล้าองุ่นคือโลหิตของพระองค์ เป็นโลหิตของพันธสัญญาหลั่งออกมาเพื่อยกบาปให้คน

จำนวนมาก

                                  พิธีศีลมหาสนิทมีความมุ่งหมายเพื่อที่จะให้เลือกเนื้อของคริสต์ศาสนิกชนกับเลือดเนื้อ

ของพระเยซูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในศาสนจักรคาทอลิกทุกคนต้องรับศีลมหาสนิทอย่างน้อยปีละครั้ง                                                    

7.    คัมภีร์อุปนิษัทมีสาระสำคัญเรื่องใด

1.         คู่มือการทำพิธีบูชายัญ

2.         ปรัชญาว่าด้วยวิญญาณสากล

3.         บทเพลงสวดสรรเสริญเทพเจ้า

4.         คู่มือการประกอบพิธีกรรมละบูชาของพราหมณ์

เฉลยข้อ 2            ปรัชญาว่าด้วยวิญญาณสากล

เหตุผล                       คัมภีร์อุปนิษัท เป็นคัมภีร์หมวดหนึ่งในสี่ของคัมภีร์พระเวท ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 หมวด

คือ สังหิตา คือ มนตร์สำหรับท่อง พราหมณะเป็นคำอธิบายและกฏเกณฑ์อารัณยกะและอุปนิษัท

 เป็นปรัชญา

                              อุปนิษัทเป็นคัมภีร์ที่สำคัญสำคัญมากว่าด้วยความนึกคิดเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณ หรือ

 อาตมันซึ่งมี 2 ชนิด คือ

1.         อาตมันสากล เรียกว่า ปรมาตมัน หรือ พรหม

2.         อาตมันส่วนบุคคลของสิ่งที่มีชีวิต เรียกว่า อาตมัน ชีวาตมัน

ดวงวิญญาณทั้งหลายออกมาจากปฐมวิญญาณไปเข้าสิงอยู่ในร่างคนและสัตว์ต่าง ๆ

วิญญาณของสิ่งมีชีวิตจะไม่ดับสูญ เมื่อตายก็จะกลับไปเกิดอีก ถ้าวิญญาณหยุดเวียนว่ายตายเกิดก็จะกลับเข้าสู่วิญญาณสากลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพรหม หรือปรมาตมันจึงพ้นทุกข์หลุดพ้นเข้าสู่โมกษะ

               ดังนั้นคัมภีร์อุปนิษัทจึงมีสาระสำคัญเกี่ยวกับวิญญาณสากลนั่นเอง

8.     กฏแห่งกรรมอยู่ในหลักธรรมใด

1.         นิยาม 5                                                            2.  ขันธ์ 5

3.   พละ 5                                                                4.  วิมุตติ 5

เฉลยข้อ 1            นิยาม 5

เหตุผล                  นิยาม 5 เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับหลักกรรม หมายถึง กฎธรรมชาติ หรือระเบียบ

               ของธรรมชาติ 5 ประการ ได้แก่

1.         อุตุนิยาม คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับฤดูกาล ภูมิอากาศ เป็นต้น

2.         พืชนิยาม คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธุ์

3.         จิตตนิยาม คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์

4.         กรรมนิยาม คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต

5.         ธรรมนิยาม คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งต่าง ๆ

นิยาม 5 เกี่ยวข้องกับกรรมนิยาม หรือกฎแห่งกรรม หมายถึง กระทำเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น

เป็นเหตุเป็นผลสอดคล้องกัน

               ข้อ 2 ขันธ์ 5 แสดงถึงองค์ประกอบของชีวิต ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ

รูปธรรม และนามธรรม ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ

               ข้อ 3 พละ 5 หมายถึง พลังหรือกำลังที่ควรยึดเป็นหลักในการปฏิบัติธรรมในการดำเนิน

ชีวิต ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

ข้อ 4 วิมุตตา หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสมี 5 อย่าง ได้แก่ วิกขัมภน วิมุตตา

ตทังควิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฎิปัสลัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ

ดังนั้นข้อ 1 จึงถูกต้องด้วยเหตุผลดังกล่าว

9.    ถ้าเราเห็นวัตถุสิ่งหนึ่งแล้วจำได้ว่าสิ่งนั้นคือดอกกุหลาแดง ขั้นตอนนี้คือส่วนใดของขันธ์ 5

1.         เวทนา                                                              2.  สังขาร

3.  สัญญา                                                                4.  วิญญาณ

เฉลยข้อ 3            สัญญา

เหตุผล                  ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ กายกับใจแบ่งออกได้ 5 กองหรือ 5 ส่วน ได้แก่

1.         รูปขันธ์ คือ ร่างกาย

2.         เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึก

3.         สัญญาขันธ์ คือ จำได้หมายรู้

4.         สังขารขันธ์ คือ ความคิด

5.         วิญญาณขันธ์ คือ ความรู้อารมณ์

สัญญาขันธ์ คือ ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย ได้แก่ ความกำหนดได้หมายรู้ใน

อารมณ์ คือ ความหมายรู้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย และความหมายรู้อารมณ์ทางใจ ซึ่ง

หมายถึง อารมณ์ที่เกิดกับใจ ความกำหนดได้หมายรู้นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความจำได้หมายรู้

เช่น ตาเห็นดอกกุหลาบแดงก็รู้ว่าเป็นดอกกุหลาบแดง หรือหูได้ยินเสียงนกร้องก็รู้ว่าเป็นเสยงนก

เป็นต้น

ดังนั้น ถ้าเราเห็นวัตถุสิ่งหนึ่งแล้วจำได้ว่า สิ่งนั้นคือดอกกุหลาบแดง ขั้นตอนนี้ คือ ส่วนท่

เป็นสัญญาของขันธ์ 5

10.   ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นเสมือนเสนาบดีแห่งกองทัพธรรมในยุคกึ่งพุทธกาลคือใคร

1.         พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต                              2.  พระธรรมโกษาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)

3.   พระธรรมโกษาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)          4.  สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)

เฉลยข้อ 3            พระธรรมโกษาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

เหตุผล                       พระธรรมโกษาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ได้ตั้งปณิธานที่จะใฝ่หาความรู้ทางธรรมะทั้ง

พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท มหายาน และศาสนาคริสต์ อิสลาม ฮินดู สิกข์ ท่านจึงสามารถประยุกต์วิธ

การสอนและปฏิบัติธรรมได้อย่างหลากหลาย ทำให้คนเลือกปฏิบัติตามพื้นความรู้และอุปนิสัย

หรือจริตของตน ท่านสามารถทำให้ทุกคนเข้าถึงความหมายที่ลึกซึ้งที่สุดแห่งศาสนาของตน เกิด

ความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาและดึงเพื่อนมนุษย์ให้ออกเสียจากวัตถุนิยม

ท่านได้รับการยอมรับจากองค์การคณะสงฆ์ไทย วงการศึกษาของไทยและวงการศึกษา

ธรรมะของโลกได้รับการยอมรับให้เป็นเสนาบดแห่งกองทัพธรรมในยุคหลังกึ่งพุทธกาล เช่น

เดียวกับพระมหากัสสปในครั้งพุทธกาล องค์การ UNESCO ได้ประกาศยกย่องท่านในฐานะบุคคล

สำคัญของโลกประจำปี 2549-2550 โดยมีผลงานโดดเด่นด้านส่งเสริม สันติธรรม และวัฒนธรรม

11.   หน้าที่สำคัญที่สุดของพระพุทธสาสนิกชนคือข้อใด

1.         รักษาศีล                                                                         2.  ศึกษาพระไตรปิฎก

3.  เผยแผ่พระพุทธศาสนา                                  4.  ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

เฉลยข้อ 1            รักษาศีล              

เหตุผล                       หน้าที่ของพุทธศาสนิกชน ที่ต้องประพฤติปฏิบัติต่อพระพุทธศาสนาที่สำคัญได้แก่

1.         การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคง

2.         การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ และถูกต้องตามพุทธบัญญัติ

3.         การศึกษาพระธรรมคำสั่งสอน และปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยการรักษาศีล ปฏิบัติธรรม

แต่หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนิกชน คือ การรักษาศีล เช่น รักษาศีล 5 ศีล 8 เป็นต้น

ทั้งนี้เพื่อเป็นการเผยแผ่และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาในฐานะพระพุทธศาสนิกชนที่ด

12.   เรื่องภพ ภูมิ สัมพันธ์กับหลักพระพุทธศาสนาเรื่องใด

1.   กรรม                                                                 2.  กิเลส

3.   นิพพาน                                                             4.  อริยสัจ

เฉลยข้อ 1            กรรม

เหตุผล                       ภพ ภูมิ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด กรรมจำแนกสัตว์ออกเป็นประเภท

ต่าง ๆ ใครทำอะไรก็ได้อย่างนั้น ตามหลักคำสอนที่เรียกว่า ธรรมนิยาม หรือ ปฏิจจสมุปบาท

หมายความว่า สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้นคือ สิ่งทั้งปวงย่อมเกิดจากสาเหตุ เพราะมีกรรม

หรือมีกิเลส ตัณหา หรือความทะยานอยากจึงเกิดความยึดมั่นถือมั่นจึงเกิดการกระทำในลักษณะ

ต่างๆ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีการเกิด เมื่อมีการเกิดก็มีความแก่ความตาย นับตั้งแต่อวิชชาถึงชรา

มรณะกิเลสจะเป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำหรือกรรมให้หมุนเป็นวงจรเช่นนี้ตราบใดที่ดับกิเลสไม่

หมด หรือยังมีกรรมคนที่ต้องตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย ไม่มีที่สิ้นสุด แต่นิพพานไม่ใช่ภพภูมิ

เพราะดับกิเลสได้จึงไม่ยึดมั่นอะไรเป็นตัวตน เห็นความดับไปเป็นอนัตตา

ดังนั้น เรื่องภพ ภูมิสัมพันธ์กับหลักพุทธศาสนาเรื่องกรรม

โปรโมชัน กดเพื่อรับสิทธิ์ 50 คนเท่านั้น

❎เตรียมสอบตำรวจ : นายสิบตำรวจ❎

❎จัดหนัก จัดเต็ม อัพเดทล่าสุด ❎

ไฟล์ PDF 289 .- ส่งไฟล์ทางแชทเพจ

📄📄#ไฟล์ มี 7 วิชา อัพเดทล่าสุด

⭕️ชุดที่ 1 ความสามารถทั่วไป (คณิตศาสตร์) 

⭕️ชุดที่ 2 ภาษาไทย

⭕️ชุดที่ 3 ภาษาอังกฤษ

⭕️ชุดที่ 4 จริยธรรม

⭕️ชุดที่ 5 กฎหมายเบื้องต้น

⭕️ชุดที่ 6 คอมพิวเตอร์

⭕️ชุดที่ 7 แนวข้อสอบสายอำนวยการ หรือ ปราบปราม

รับสิทธิ์ 50 คนเท่านั้น

▶️#แนวข้อสอบเก่าพร้อมเฉลย

▶️#แถมฟรี VCD ติววิชาคณิตศาสตร์

สนใจ กดคำว่ารับสิทธิ์

กดรับที่นี่

สรุป สังคม วัฒนธรรม และจริยธรรม ตำรวจ
สรุป สังคม วัฒนธรรม และจริยธรรม ตำรวจ

แสดงสินค้าที่ 0-0 จากทั้งหมด 0 ชิ้น