เศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน

Show

"ทฤษฎีใหม่"

เกษตรธรรมชาติ

ความหมายของเกษตรธรรมชาติ

           เกษตรธรรมชาติ  หมายถึง  การทำการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด  ตลอดจนไม่ใช้สิ่งขับถ่ายจากมนุษย์  แต่เน้นการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีพลังในการ เพาะปลูกเหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติโดยมีการนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม  ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภคสามารถให้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพเป็นระบบการเกษตรที่มีความยั่งยืน  ถาวร เป็นอาชีพที่มีความมั่นคง

           ดังนั้นถ้าจะให้ความหมายของคำว่า  ผักเกษตรธรรมชาติ  จึงเป็นผักที่ผลิตโดยวิธีเกษตรธรรมชาติไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีรวมทั้งไม่ใช้สิ่งขับถ่ายจากมนุษย์ในกระบวนการผลิต  จึงปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคมากที่สุด

           แต่สำหรับผักปลอดสารพิษเป็นผักที่มีสารพิษหรือสารเคมีทางการเกษตรตกค้างอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค  ดังนั้นผักปลอดสารพิษอาจแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม  คือ  กลุ่มแรกเป็นผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติหรือผักที่ปลูกโดยวิธีธรรมชาติ ซึ่งไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต  กลุ่มที่สองเป็นผักที่ผลิตโดยวิธีทั่วไปมีการควบคุมการใช้สารเคมีซึ่งอาจมีการใช้สารเคมีในระยะแรกๆและงดการใช้เมื่อใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อไม่ให้มีสารพิษตกค้างในผลผลิต  หรือถ้ามีสารพิษตกค้างอยู่ก็ต้องไม่เกินระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค



ความสำคัญของเกษตรธรรมชาติ

            เกษตรธรรมชาตินับว่าเป็นการทำการเกษตรที่มีความสำคัญมาก ดังนี้

           1.  ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม  เนื่องจากไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด  จึงไม่มี

สารพิษตกค้างในสภาพแวดล้อม

           2.  ช่วยปรับปรุงและพัฒนาดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเพาะปลูก  จึงช่วยคุ้มครองพื้นที่

ในการทำการเกษตร

           3.  ช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศและความสมดุลของสภาพแวดล้อมอื่น ๆ

           4.  ทำให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่บริสุทธิ์  ทั้งปริมาณและมีคุณภาพดี

           5.  เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้  โดยมีการใช้ทรัพยากรภายในแปลงเกษตรมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ลดการใช้ปัจจัยภายนอกจึงเป็นการลดต้นทุนการผลิต

           6.  เป็นการเกษตรที่คำนึงถึงผู้บริโภคและลูกหลานในอนาคต

           7.  เป็นการลดความเสี่ยงเนื่องจากเป็นการทำการเกษตรที่ให้ผลผลิตแบบผสมผสานและมีความยั่งยืน

           8.  ทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี  เกษตรกรปลอดภัยจากพิษภัยของสารเคมี  สามารถประกอบอาชีพ

ที่ปลอดภัยมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

เกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Farming)


          เป็นการจัดระบบของกิจกรรมการผลิตในไร่นา ได้แก่ พืช สัตว์ ประมง ให้มีการผสมผสานอย่างต่อเนื่องและเกื้อกูลในการผลิตซึ่งกันและกัน โดยการใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นา เช่น ดิน น้ำ แสงแดดอย่างเหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลย์ ของภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเกิดผลในการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ธรรมชาติด้วย


โดยเนื้อหาสาระของเกษตรแบบผสมผสานมี 4 ประการคือ


1.ประกอบด้วยกิจกรรมการผลิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป อาจเป็นการผสมผสาน ระหว่างพืชกับพืช สัตว์กับสัตว์ หรือสัตว์กับพืช

2.กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดจะต้องเกื้อกูลกันเป็นวงจรโดยพิจารณาจาก การหมุนเวียนการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับอาหาร อากาศและพลังงาน

3. ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

4.ใช้แรงงานคนเป็นหลักโดยเป็นแรงงานที่มีอยู่ภายในครอบครัวครอบครัวเกษตรกรต้องมีความใจเย็นและเข้าใจมีความอดทนมุมานะในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีซึ่งต่างจากที่เคยทำในการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ทำเสร็จแล้วก็เสร็จเลย แต่การทำ เกษตรแบบผสมผสานต้องให้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

เศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน

ประเภทของระบบเกษตรแบบผสมผสาน มีดังนี้


1.แบบดั้งเดิมเป็นประเภทที่มีการผลิตเพื่อกินเพื่อใช้เป็นหลักในครัวเรือนหรือชุมชน เช่น การปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา เพียงเพื่อประโยชน์สำหรับใช้หรือบริโภคใน ครัวเรือนเท่านั้น

2.แบบกึ่งการค้าเป็นประเภทที่เกษตรกรผลิตสินค้าการเกษตรชนิดเดียวซึ่ง อาจจะเป็นข้าวหรือพืชไร่ก็ตาม โดยผลิตเพื่อเป็นอาหารและเป็นรายได้หลัก แต่เนื่องจากการผลิตมี ความเสี่ยงในด้านความแปรปรวนของสภาพแวดล้อมเกิดการระบาดของศัตรูพืช ความไม่แน่นอน ของราคาผลผลิตจึงหันมาดำเนินการผลิตในระบบเกษตรแบบผสมผสานซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลด ความเสี่ยงได้

3.แบบเชิงการค้าเป็นประเภทที่เหมาะสมกับเกษตรกรก้าวหน้าซึ่งมี ประสบการณ์และความสามารถในการผลิตเป็นแบบการค้า เช่น สามารถผลิตพืชและมีตลาดรองรับ ที่แน่นอน

เกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์คืออะไร


การทำการเกษตรอินทรีย์ไม่ว่าจะปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ ต้องไม่ใช้สารเคมีที่มนุษย์ทำขึ้น 

แต่ใช้วัสดุจากธรรมชาติแทนเพื่อลดพิษภัยต่างๆ ที่อาจเกิดจากสารเคมีที่มีอยู่ในดิน ในน้ำ 

ในอากาศ และในผลผลิตหลักการใหญ่ๆของเกษตรอินทรีย์

1) เลือกพื้นที่ที่ไม่เคยทำเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี

2) เป็นพื้นที่ค่อนข้างดอนและโล่งแจ้ง

3) เป็นพื้นที่อยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม

4) เป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างจากแปลงเกษตรที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี

5) เป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างจากทางหลวงสายหลัก

6) ต้องมีแหล่งน้ำที่ปลอดจากสารพิษปนเปื้อน

เศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน


การเกษตรแบบยั่งยืน

      สุวรรณภูมิเป็นแหล่งอารยธรรมและการเพาะปลูกมานานนับสิบปี  คนไทยสมัยโบราณ

ส่วนใหญ่ทำดินไม่ได้ “ทำขาย”อย่างจริงจัง  การเกษตรดั้งเดิมจึงเป็นเกษตรธรรมชาติที่ค่อย ๆ พัฒนามาพร้อมกับวัฒนธรรมแบบภูมิปัญญา  แต่ปัจจุบันนี้เรามีพลเมืองมากขึ้น  ต้องการอาหารและปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมาก  สินค้าเกษตรต้องผลิตมากขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคและโรงงานอุตสาหกรรม  ต้องอาศัยความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ

        การเกษตรสมัยใหม่จึงทำการผลิตแบบอุตสาหกรรมไปด้วย  อาศัยเครื่องจักร  ปุ๋ย และสารเคมีนา ๆ ชนิดที่ต้องซื้อใช้ แผ่นดินอย่างไม่มีการพัก ผลผลิตที่ได้บางครั้งขายไม่ได้ราคาส่งออกในราคาขาดทุน  ไม่คุ้มกับทรัพยากรที่สูญเสียไป

เกษตรยั่งยืน (sustainable agriculture)

เศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน
*

นอกจากนี้ยังมีวิธีการที่มีเป้าหมายคล้ายกับเกษตรยั่งยืน เช่น เกษตรอินทรีย์  เกษตรแบบผสมผสาน  เกษตรปลอดสารพิษ  ซึ่งล้วนแต่เป็นวิธีทำการเกษตรที่ทำกันมาแต่ดั่งเดิมอย่างไรก็ตามสำหรับปัจจุบันสังคมสมัยใหม่ต้องการปัจจัยอื่น ๆ ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและประเทศชาติต้องมีรายได้  จากการส่งออกผลผลิตการเกษตรเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ  

ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีที่ศึกษา  แล้วว่ามีความเหมาะสมกับสภาพการเกษตรของเราจะช่วยให้ประสิทธิภาพของการผลิตและคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น  เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ  และไม่เป็นการถอยหลังเข้าคลองประเทศไทยมีพลเมืองประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพเกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรมถึง 80 %  พื้นที่ส่วนใหญ่ก็ใช้ในการเพาะปลูกเนื่องจากมีทรัพยากรค่อนข้างอุดมสมบูรณ์  มีทะเลเป็นทางออกนำสินค้าเกษตรไปขายต่างประเทศ  จึงควรรักษาศักยภาพนี้ไว้ให้เป็นที่ทำมาหากินของคนรุ่นหลังด้วย


การบริหารจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรตามพระราชดำริ


เศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน

ในทุกคราที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศนั้นได้ทรงถามเกษตรกรและทอดพระเนตรพบสภาพปัญหากาขาดแคลนน้ำเพื่อการปลูกข้าวและเกิดแรงดล พระราช หฤทัย อันเป็นแนวคิดขึ้นว่า

1. ข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มปริมาณเม็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น

2. หากเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ได้แล้ว นำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน

3. การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและข้อจำกัด ของปริมาณที่ดิน เป็นอุปสรรคสำคัญ

4.หากแต่ละครัวเรือนมีสระน้ำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้วเมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับปริมาณในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แต่สิ้นค่าใช้จ่ายน้อย และเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงมากกว่า

ในเวลาต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริให้ทำการทดลอง"ทฤษฎีใหม่"เกี่ยวกับการจัดการที่ดิน และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขึ้นณวัดมงคลชัยพัฒนาตำบลห้วยบงอำเภอเมืองจังหวัดสระบุรีแนวทฤษฎีใหม่กำหนดขึ้นดังนี้ให้แบ่งพื้นที่ถือครอง ทางการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทย มีเนื้อที่ดินประมาณ 10-15 ไร่ต่อครอบครัว แบ่งออกเป็นสัดส่วน 

30-30-30-10 คือ

เศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน



ส่วนแรก : ร้อยละ 30 เนื้อที่เฉลี่ย 3 ไร่ ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก โดยมีความลึกประมาณ 4 เมตร ซึ่งจะสามารถรับน้ำได้จุถึง 19,000 ลูกบาศก์เมตรโดยการรองรับจากน้ำฝน ราษฎรจะสามารถนำน้ำนี้ไปใช้ในการเกษตร ได้ตลอดปีและยังสามารถเลี้ยงปลาและปลูกพืชน้ำ พืชริมสระเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย

ส่วนที่สอง : ร้อยละ 60 เนื้อที่เฉลี่ย ประมาณ 10 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชผลต่าง ๆ โดยแบ่งพื้นที่นี้ออกเป็น2ส่วนคือร้อยละ30ในส่วนที่หนึ่ง:ทำนาข้าวประมาณ5ไร่ร้อยละ30ในส่วนที่สองปลูกพืชไร่หรือพืชสวนตามแต่สภาพ ของ พื้นที่และภาวะตลาด ประมาณ 5 ไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวนโดยใช้หลักเกณฑ์ว่า ในพื้นที่ทำการเกษตร นี้ต้องมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ถ้าหากแบ่ง แต่ละแปลงเกษตรให้มีเนื้อที่ 5 ไร่ ทั้ง 2 แห่งแล้ว ความต้องการน้ำจะต้อง ใช้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร ที่จะต้องเป็นน้ำสำรองไว้ใช้ในยามฤดูแล้ง

ส่วนที่สาม : ร้อยละ 10 เป็นพื้นที่ที่ เหลือ มีเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 2 ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง คันคูดินหรือคูคลอง ตลอดจนปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์    ทฤษฎีใหม่จึงเป็นแนวพระราชดำริใหม่ที่บัดนี้ได้รับการพิสูจน์และยอมรับกันอย่าง กว้างขวางในหมู่เกษตรกรไทยแล้วว่า  พระราชดำริของพระองค์เกิดขึ้นด้วย พระอัจฉริภาพ สูงส่งที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ความสมบูรณ์พูนสุขแห่งราชอาณาจักรไทย อุบัติขึ้นในครั้งนี้ด้วยพระปรีชาสามารถอันเฉียบแหลมของพระมหากษัตริย์ไทยผู้มิเคยทรงหยุดนิ่งที่จะระดมสรรพกำลังทั้งปวงเพื่อความผาสุข ของชาวไทย