ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

(15 มีนาคม 2564) นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ รายการถ่ายทอดสด “กศน.โชว์ by ครูพี่โอ๊ะ” ผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ ETV Channel โดยร่วมพูดคุยสัมภาษณ์ กศน.ไอดอล พร้อมด้วยนายนคร วรรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.บ้านปึก อ.เมืองชลบุรี (ผู้ใหญ่บ้านรางวัลแหนบทองคำ) และนายเดชาธร ลือแก้วมา ผู้จัดการฝ่ายต้อนรับบริษัท นงนุชวิลเลจ จำกัด(สวนนงนุชพัทยา) ณ ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ทั้งสองท่านถือเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของชาว กศน. ที่มีความวิริยะอุตสาหะร่ำเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ และยิ่งได้พูดคุยถึงประวัติ แรงบันดาลใจ ตลอดจนมุมมองความคิดและทัศนคติต่อการศึกษาไทยและการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ยิ่งทำให้เห็นว่า กศน.จัดการศึกษาเพื่อคนทุกช่วงวัยอย่างแท้จริง ต้องขอบคุณที่เลือกเรียนกับ กศน. แสดงให้เห็นว่าทุกคนให้ความมั่นใจในการให้โอกาส กศน. เป็นหนทางที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ชีวิตแก่คนไทยทุกคน ซึ่งทั้งสองท่านได้มอบแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ให้แก่นักศึกษา กศน. รวมถึงผู้ที่ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษาในภาคปกติ ตลอดจนผู้ที่มองหาโอกาสในการเพิ่มทักษะชีวิต พร้อมเชิญชวนให้มาเรียนกับ กศน. ที่จัดการเรียนการสอนในทุกมิติ ทั้งการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะเราคือ กศน.เพื่อประชาชน กศน.สร้างคน สร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาทุกช่วงวัย ซึ่งตนเองพร้อมรับฟังทุกคำแนะนำ เพื่อนำไปปรับปรุงในมิติแห่งการศึกษา ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

“งานในวันนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิด วิธีการขับเคลื่อนและบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพของจังหวัดชลบุรี รวมทั้งมุมมองและแนวคิดในการดำเนินชีวิตต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกช่วงทุกวัย สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ที่จะทำให้ประเทศไทย มีทั้งความรักความสามัคคี ความเจริญรุ่งเรือง และความมั่นคง”

นายนคร วรรัตน์ กล่าวว่า จากการที่ได้ศึกษาที่ กศน.อำเภอเมืองชลบุรี ในระดับม.ปลายรู้ที่ประทับใจในกิจกรรมต่าง ๆ ของ กศน. และได้มีการประสานงานกับสถานศึกษา และครู กศน.ตำบลในการจัด กิจกรรมต่าง ๆ และสร้างความภาคภูมิใจที่ ได้จบการศึกษาที่ กศน. เนื่องจากได้พลาดโอกาสทางการศึกษาในระบบ ซึ่งหลังจากศึกษาจบแล้วได้นำวุฒิการศึกษาไปศึกษาต่อยอดจนจบปริญญาตรีทำให้ได้มีการพัฒนา คุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น ในด้านของการงาน ด้านอาชีพ ด้านสังคม รวมถึงได้รับการยอมรับจากสังคม จนทำให้ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย อาทิ รางวัลผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม(แหนบทองคำ) ประจำปี พ.ศ. 2559 ของจังหวัดชลบุรี, ได้รับการคัดเลือกเป็นบุคคลต้นแบบตามคุณธรรม 9 ประการ พ.ศ. 2560 จากจังหวัดชลบุรี, รางวัลคนดีศรีเมืองชล สาขาผู้นำท้องที่ ประจำปี พ.ศ. 2563

นายเดชาธร ลือแก้วมา กล่าวว่า ตนเองจบการศึกษาเพียง ป.6 ในจังหวัดสกลนคร ต้องออกจากโรงเรียนมาดูแลคุณแม่ เนื่องจากคุณพ่อเสียชีวิต ทำให้เข้าสู่ตลาดแรงงานตั้งแต่อายุยังน้อย ต้องขอบคุณ ผอ.สุรัสวดี เลี้ยงสุพงศ์ และครูวีรากร มณีทรัพย์สุคนธ์ ที่แนะนำ อบรม สั่งสอน จนสำเร็จการศึกษา กศน.สัตหีบ ในระดับม.ปลาย ทำให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อ จนจบระดับ ปวส. และระดับปริญญาตรี ตามลำดับ ที่ มหาวิทยาลัยปทุมธานี หากไม่มี กศน.สัตหีบ คอยช่วยเหลือ และสนับสนุนในวันนั้น คงไม่มีโอกาสได้สวมชุดครุยเพื่อรับปริญญาให้คุณแม่ได้ภาคภูมิใจในวันนี้กศน.คือ ผู้ให้ ให้โดยหวังอะไรตอบแทน อยากขอให้ประชาชนทุกคนที่กำลังศึกษา และกำลังคิดจะศึกษา กศน. นำผมเป็นแรงบันดาลใจ เพราะไม่ว่าเราจะด้อย พลาด หรือขาดโอกาสทางการศึกษาเพียงใด ยังมีหน่วยงานของภาครัฐที่เล็งเห็นถึงความสำคัญ และให้โอกาสทุกคนที่อยากศึกษาต่อ ดังคำกล่าวที่ว่า กศน.คือผู้ให้เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

จากนั้น รมช.ศึกษาธิการ ได้เยี่ยมชม และสนับสนุนผลิตภัณฑ์/สินค้า กศน.ของชาว กศน.จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีความโดดเด่นและคงความเป็นอัตลักษณ์ตามบริบทท้องที่ ซึ่งขณะนี้ กศน.ได้เข้ามาส่งเสริมการเรียนรู้สู่วิถีเกษตรธรรมชาติ การเพิ่มช่องทางการค้าออนไลน์ รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัย เข้ากับความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยนายอนุชา พงษ์เกษม ผอ.กศน.จังหวัดชลบุรี นำเยี่ยมชม มีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ อาทิ น้ำพริกคุณชาย, ผลิตภัณฑ์ Marbling Art (งานศิลปะที่เกิดจาก การหยด สะบัดสี วาดลวดลายลงบนพื้นผิวน้ำเจล), ผ้าบาติก, กิ๊ฟช็อป(พวงกุญแจ, ผ้าเช็ดหน้า,หน้ากากอนามัยแบบถัก), จักสานชะลอมปิ่นโต เป็นต้น

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ก่อตั้งโดย ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ อาจารย์ยักษ์

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

เรา ตูน และน้องอ้อม เดินทางจากสมุทรปราการมายัง ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง มาถึงเวลา 9 โมงเช้า ทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่าอาจารย์ยักษ์ไม่อยู่ เสียดายจัง

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ทางเข้าสำนักงาน

ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร เป็นประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

เป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงสู่การปฏิบัติโดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนามนุษย์ ในขณะเดียวกันภารกิจสำคัญอีกประการได้แก่การขับเคลื่อน “หลักกสิกรรมธรรมชาติ” ผ่านการบ่มเพาะหลักคิดและหลักปฏิบัติผ่าน “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง” จังหวัดชลบุรี ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่แสดงผลสัมฤทธิ์ของการนำศาสตร์พระราชาด้านการจัดการดิน น้ำ ป่า มาฟื้นฟูระบบนิเวศจนสามารถพลิกฟื้นดินดานสร้างระบบนิเวศที่สมดุลต่อระบบการผลิตภาคการเกษตร พัฒนาสู่ชุมชนที่ดำเนินวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขยายผลสู่การสร้างแบบอย่างใหม่ของการศึกษาวิถีไทยในอนาคตด้วยการนำ “บวร-บ้าน วัด โรงเรียน” กลับสู่การบ่มเพาะเด็กและเยาวชนให้มีคุณธรรมนำความรู้ ในนาม “ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย” ต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ตามกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิของบุคคลในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (wikipedia)

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

สำนักงาน

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

สำนักงาน

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ปลามากมาย

ต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ด้านหน้าสำนักงาน คือ ต้นตะเคียน

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ประโยชน์ของต้นตะเคียน

ตามรอยพระราชดำริ

อาจารย์ยักษ์ได้เคยกล่าวไว้ว่า “สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพยายามทำ ท่านทรงงานหนักมาตลอดชีวิตของพระองค์ท่าน ทั้งทรงดำริ ทรงศึกษาหาข้อมูล ค้นคว้า และทดลอง แท้จริงแล้วไม่ใช่เพื่อใคร เพื่อประชาชนคนไทยทุกคน เพื่อให้ประชาชนได้มีอากาศบริสุทธิ์ มีอาหารที่กินแล้วร่างกายแข็งแรง มีที่อยู่อาศัย มีสิ่งแวดล้อมที่อยู่แล้วมีความสุข ร่มเย็น เพียงพอสำหรับทุกคน อาจารย์ยักษ์จึงอยากให้ทุกคนได้เรียนรู้ในสิ่งที่พระองค์ท่านทำ และสร้างไว้”

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

ประวัติความเป็นมาของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

พระองค์ท่านทรงเน้นให้ประชาชน และเกษตรกรรู้จักพึ่งตนเอง จึงได้พระราชทานแนวคิดเรื่อง “ทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อเป็นหลักคิดให้กับทุก ๆ คน ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร จึงได้รวบรวมกลุ่มคนในหลาย ๆ อาชีพ ที่มีแนวคิด แนวอุดมการณ์ ในการที่จะฟื้นฟูประเทศ โดยการนำแนวคิดเรื่องทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ ให้ใช้กับการทำการเกษตร และการดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งการรณรงค์ให้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมี หยุดการพึ่งพาชาติตะวันตกและหันกลับมาพึ่งพาตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เคยสืบทอดกันมาเพื่อเน้นการทำเกษตรที่ยั่งยืนบนผืนแผ่นดินไทย

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ภายในบริเวณศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ภายในบริเวณศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ภายในบริเวณศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ภายในบริเวณศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

มันมือเสือ

หลักสูตร การอบรม

ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้รับวุฒิบัตร เมื่อจบหลักสูตร การฝึกอบรมมีตั้งแต่ 2 วัน จนถึง 5 วัน ได้เรียนกันอย่างรู้ลึกรู้จริง เช่น การเกษตรแบบพอเพียง เกษตรอินทรีย์ ทำแชมพูสมุนไพร ฯลฯ ความรู้เหล่านี้นำไปใช้ต่อได้ สามารถติดต่อได้ที่ 0818639703

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ฐานคนมีน้ำยา

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ภายในบริเวณศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

บ้านบนต้นไม้

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

บ้านบนต้นไม้

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

บ้านบนต้นไม้

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ศาลตายาย

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ฐานคนรักษ์น้ำ

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ภายในบริเวณศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ภายในบริเวณศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

9 ฐานเรียนรู้

ที่นี่แบ่งเป็น 9 ฐานการเรียนรู้

  1. คนรักษ์แม่ธรณี
    “…การปรับปรุงที่ดินนั้น ต้องอนุรักษ์ผิวดินซึ่งมีความสมบูรณ์ไว้ ไม่ให้ไถหรือลอกหน้าดินทิ้งไปสงวนไม้ยืนต้นที่ยังเหลืออยู่ เพื่อที่จะรักษาความชุ่มชื้นของผืนดิน…”
    พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน
  2. คนรักษ์ป่า
    “…สมควรที่จะปลูกแบบป่าสําหรับใช้ไม้หนึ่ง ป่าสําหรับใช้ผลหนึ่ง ป่าสําหรับใช้เป็นฟืนอย่างหนึ่ง อันนี้แจกออกไปเป็นกว้างๆ ใหญ่ๆ การที่จะปลูกต้นไม้ สําหรับได้ประโยชน์ดังนี้ ในคําวิเคราะห์ของกรมป่าไม้ รู้สึกว่าจะไม่ใช่ป่าไม้ จะเป็นสวนมากกว่าเป็นป่าไม้ แต่ว่าในความหมายของการช่วยเพื่อต้นน้ําลําธารนั้น ป่าไม้เช่นนี้จะเป็นสวนผลไม้ก็ตาม หรือเป็นสวนไม้ฟืน ก็ตาม นั่นแหละเป็นป่าไม้ที่ถูกต้อง เพราะทําหน้าที่ เป็นป่า คือเป็นต้นไม้และทําหน้าที่เป็นทรัพยากร ในด้านสําหรับเป็นผลที่มาเป็นประโยชน์ แก่ประชาชนได้…”
    พระราชดํารัสบางตอนเกี่ยวกับป่า 3 อย่าง โยชน์ 4 อย่าง ณ โรงแรมรินคํา จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 7 มกราคม 2523
  3. คนรักษ์น้ำ
    “…หลักสําคัญว่า ต้องมีน้ํา น้ําบริโภคและน้ําใช้ น้ําเพื่อการเพาะปลูก เพราะชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ําคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ํา คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้า คนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า ไม่มีน้ํา คนอยู่ไม่ได้…”
    พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 17  มีนาคม 2539
  4. คนรักษ์แม่โพสพ
    “…ขอบใจที่นําสิทธิบัตรนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการประกันว่า การข้าวไทยเป็นของไทยแท้ ซึ่งคนหนักใจว่า เราเป็น ข้าวไทยมานานแล้วจะกลายเป็นต้องไปกินข้าวฝรั่ง เพราะว่าสิทธิบัตรนี้เป็นของฝรั่ง แต่ว่ามาอย่างนี้ ก็ถือว่า เป็นว่าเราได้รับประกันว่าเราเป็นข้าวไทย และจะกิน ข้าวไทยต่อไป ฉะนั้นการที่มีสิทธิบัตรนี้ ก็เป็นสิ่งที่สําคัญ และก็หวังว่า จะต้องทุกคนจะรักษาความเป็นไทยได้ด้วย รับประทานกินข้าวไทย ไม่ต้องกินข้าวฝรั่ง…”
    พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระตําหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2552
  5. คนเอาถ่าน
    “…แต่ป่าไม้ที่จะปลูกนั้น สมควรที่จะปลูกแบบป่าสําหรับ ใช้ไม้หนึ่ง ป่าสําหรับใช้ผลหนึ่ง ป่าสําหรับใช้เป็นฟืน อย่างหนึ่ง อันนี้แยกออกไปเป็นกว้างๆ ใหญ่ๆ การที่จะ ปลูกต้นไม้สําหรับได้ประโยชน์ดังนี้ ในคําวิเคราะห์ของ กรมป่าไม้ รู้สึกว่าจะไม่ใช่ป่าไม้ เป็นสวนหรือจะเป็นสวน มากกว่าเป็นป่าไม้ แต่ว่าในความหมายของการช่วยเพื่อ ต้นน้ําลําธารนั้น ป่าไม้เช่นนี้จะเป็นสวนผลไม้ก็ตาม หรือ เป็นสวนไม้ฟืนก็ตาม นั่นแหละเป็นป่าไม้ที่ถูกต้อง เพราะ ทําหน้าที่เป็นป่าคือเป็นต้นไม้ และทําหน้าที่เป็นทรัพยากร ในด้านสําหรับเป็นผลที่มาเป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้…”
    พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการพัฒนาป่าไม้ เมื่อปี พ.ศ. 2523
  6. คนรักษ์สุขภาพ
    “ร่างกายของเรานั้น ธรรมชาติสร้างมาสําหรับให้ออก แรงใช้งาน มิใช่ให้อยู่เฉยๆ ถ้าใช้แรงให้พอเหมาะพอดี โดยสม่ำเสมอ ร่างกายก็เจริญแข็งแรง คล่องแคล่ว และคงทนยั่งยืน ถ้าไม่ใช้แรงเลยหรือใช้ไม่พียงพอ ร่างกาย ก็จะเจริญแข็งแรงอยู่ไม่ได้แต่จะค่อยๆ เสื่อมไปเป็นลําดับ และหมดสมรรถภาพไปก่อนเวลาอันสมควร ดังนั้น ผู้ที่ ปกติทําการงานโดยไม่ได้ใช้กําลังหรือใช้กําลังแต่น้อย จึงจําเป็นต้องหาเวลาออกกําลังกาย ให้พอเพียง กับความต้องการตามธรรมชาติเสมอทุกวัน มิฉะนั้น จะเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่เขาจะใช้สติปัญญาความ สามารถของเขาทําประโยชน์ให้แก่ตนเอง และแก่ส่วนรวมได้น้อยเกินไป เพราะร่างกายอัน กลับกลายอ่อนแอลงนั้น จะไม่อํานวยโอกาส ให้ทําการงานโดยมีประสิทธิภาพได้”
    พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  7. คนมีไฟ
    “…น้ํามันปาล์มทราบว่าดีเป็นน้ํามันที่ดีใช้งานได้ ใช้บริโภคแบบใช้น้ํามันมาทอดไข่ได้ มาทําครัวได้ เอาน้ํามันปาล์มมาใส่รถดีเซลได้ กําลังของน้ํามันปาล์มนี้ดีมากได้ผล เพราะว่าเมื่อได้มาใส่รถดีเซล ไม่ต้องทําอะไรเลย ใส่เข้าไป แล่นไป คนที่แล่นตามบอกว่าหอมดี…”
    พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  8. คนมีน้ำยา
    “…การจะเป็นเสือนั้นไม่สําคัญ สําคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง อันนี้ก็เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอําเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก…”
    พระราชดํารัสพระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2550
  9. คนติดดิน
    “…ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียงความหมายคือ ทําอะไรให้ เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทําจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ขึ้นไปเป็นสองหมื่น สามหมื่นบาท คนชอบเอาคําพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกัน เลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือทําเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิดคือเป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจํากัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มี สตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป…”
    พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระตําหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล 17 มกราคม 2544

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ภายในบริเวณศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ฐานคนรักษ์น้ำ

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ภายในบริเวณศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ฐานคนมีไฟ

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

บ้านที่อยู่ในศูนย์

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

นาข้าว

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

รวงข้าว

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

บ้านพักอาศัย

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ภาพเก่าๆ

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

กระดานสอนหนังสือ

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

จักรยาน

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ธนาคารข้าว

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

เรือนเพาะชำกล้าไม้

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

เรือนเพาะชำกล้าไม้

ศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้องเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง

เดินมาเยี่ยมชมการก่อสร้าง พระมหาธาตุเจดีย์ 2,600 ปี พุทชยันตีเฉลิมราช ซึ่งภายในเป็นที่ประดิษฐานพระประธานองค์ใหญ่ คือ พระพลังแผ่นดิน

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้องเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

พระมหาธาตุเจดีย์ 2,600 ปี พุทธชยันตีเฉลิมราช

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้องเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง

พระพลังแผ่นดิน

ภายในพระมหาธาตุเจดีย์ฯ ได้ร่วมกันออกแบบพระพลังแผ่นดินเป็นพระประธานใหญ่ โดยนำดินมาจากทั่วโลกและ 77 จังหวัดของไทย มาปั้นเป็น “พระพลังแผ่นดิน”

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

พระพลังแผ่นดิน

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

พระพลังแผ่นดิน

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

พระพลังแผ่นดิน

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

พระมหาธาตุเจดีย์ 2,600 ปี พุทธชยันตีเฉลิมราช

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

พระมหาธาตุเจดีย์ 2,600 ปี พุทธชยันตีเฉลิมราช

จากนั้นเราเดินกลับมายังร้านขายสินค้าภายในศูนย์

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

หอยทาก

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

เมล็ดพันธุ์

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ผ้าขาวม้า

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ภายในร้านค้า

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ผ้าพันคอ 120 บาท

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

นิทานลุงยักษ์

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

เมล็ดพันธุ์

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

สินค้าสมุนไพร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ชลบุรี

ที่ปลูกถั่วงอก

ซื้อของมาเต็มเลย และก็หนังสือพระราชนิพนธ์ ‘พระมหาชนก’ ด้วย

พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีประโยชน์อย่างมหาศาลกับอาณาประชาราช ถึงแม้ท่านจะเสด็จสู่ฟากฟ้าสุราลัย แต่พระมหากรุณาธิคุณจารึกในใจไทยชั่วกาล

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง
โทร. 038-263078
ที่อยู่ เลขที่ 114/1 ม.1 ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 20170
Facebook: facebook.com/mabeaeng

The photographs may not be copied, reproduced, redistributed, manipulated, projected, used or altered in any way without the prior express written permission of Juth.Net