สุชีพ ปุญญานุภาพ คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง

1 ชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้สุชีพ ปุญญานุภาพ ว่าอย่างไร

2 วันเกิดของสุชีพ ปุญญานุภาพ ตรงกับข้อใด

3 ภาษาบาลีของท่านคือ “สุชีโว” แปลว่าอย่างไร

4 บุคคลในพระพุทธศาสนาในอุดมคติที่ท่านถือเป็นแบบในการพัฒนาตนเป็นนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาคือข้อใด

5 ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันยกย่องท่านอาจารย์สุชีพว่าอย่างไร

6 ใครเป็นคนบัญญัติ ศัพท์คำว่า สมาคมบาลีปกรณ์ จากคำภาษาอังกฤษว่า "Pali Text Society"

7 "World Fellowshipof Buddhists" ท่านแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร

8 คุณธรรมข้อใดที่ควรนำไปเป็นแบบอย่าง

9 คำอธิษฐานอาจารย์สุชีพ  ปุญญานุภาพ มีกี่ข้อ

10 จุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทยในยุดใหม่ในปี  พ.ศ. ใด

11 สุชีพ ปุญญานุภาพมีพี่น้องทั้งหมดกี่คน ที่เกิดร่วมพ่อแม่
เดียวกัน

12 สุชีพ ปุญญานุภาพสำเร็จการศึกษาเปรียญกี่ประโยค

13 พุทธศาสนิกชนจำนวนมากร้องไห้เพราะความเสียดายเมื่อท่านลาสิกขาเมื่ออายุกี่ปี

14 สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้รับการยกย่องว่าอย่างไร

15 ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่สร้างศาสนทายาทกี่แห่ง

16 ท่านได้รับการยกย่องจากศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ว่าอย่างไร

17 จากข้อ 16 ท่านได้รับการยกย่องจากใครบ้าง 

18 จากข้อ 16 ท่านได้รับการยกย่อง เพราะเหตุใด

19 อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพมักห้ามศิษยานุศิษย์ในเรื่องใด  

20 สมัยเป็นภิกษุอยู่วัดกันมาตุยารามท่านเปิดสอนวิชาอะไร

สุชีพ ปุญญานุภาพ (13 เมษายน พ.ศ. 2460 — 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งจากพุทธศาสนิกชนและคณะสงฆ์ไทยอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่สมบูรณ์ด้วยวิชาความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างเยี่ยมยอด หาใครเทียมได้ยาก ในเวลาเดียวกัน ก็มีความประพฤติที่ดีงาม สุภาพอ่อนโยน ระหว่างที่ท่านเคยบวชเป็นพระอยู่ในชื่อว่า สุชีโว ภิกขุ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เพราะประการแรก ท่านเชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาเป็นเลิศ ประการที่สอง ท่านรอบรู้วิชาการสมัยใหม่อย่างเยี่ยม ประการที่สาม ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่บรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เกิดการติดต่อระหว่างชาวพุทธในต่างประเทศกับประเทศไทย แม้ว่าท่านจะมีภาระงานมากมาย แต่ท่านก็เป็นนักเขียน ที่ผลิตงานเขียน ทั้งในรูปหนังสือและตำราเผยแพร่ความรู้ด้านพุทธศาสนา รวมทั้งนวนิยายอิงธรรมะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังเป็นผู้บุกเบิกทำพจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาอีกด้วย

อาจารย์สุชีพได้ถึงแก่กรรมลง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เวลา 15.51 น. สิริอายุ 83 ปี 21 วัน

ประวัติ

สุชีพ ปุญญานุภาพ เกิด 13 เมษายน พ.ศ. 2460 ที่ตำบลบางไทรป่า อำเภอบางปลา (อำเภอบางเลน ในปัจจุบัน) จังหวัดนครปฐม ท่านมีพี่น้องทั้งหมด 12 คนที่เกิดร่วมพ่อแม่เดียวกัน แต่ทั้งหมดเสียชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ เหลือท่านเพียงคนเดียวเท่านั้น พ่อแม่จึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "บุญรอด" ภายหลัง ท่านได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น 'สุชีพ' ตามฉายาภาษาบาลีของท่านคือ "สุชีโว" (ผู้มีชีวิตที่ดี) ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) พระอุปัชฌาย์ของท่านได้ตั้งให้เพื่อเป็นสิริมงคล

อาจารย์สุชีพสร้างลูกศิษย์ผู้ชำนาญทางพระพุทธศาสนามากมายทั่วประเทศ ทั้งพระทั้งฆราวาส ศิษยานุศิษย์เหล่านี้ต่างมีบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระดับชั้นต่าง ๆ ของสังคม อาทิ พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ), พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช), พระเทพปริยัติวิมล (แสวง ธมฺเมสโก) รักษาการอธิการบดีมหามกุฏราชวิทยาลัย, พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย), รศ.ดร. สุภัทร ปัญญาทีป, รศ. สุวรรณ เพชรนิล, วศิน อินทสระ, ศ. แสง จันทร์งาม (หรือ ธรรมโฆษ), รศ.ดร. สุนทร ณ รังษี, เสถียร โพธินันทะ, สุเชาวน์ พลอยชุม ฯลฯ รวมทั้งเจ้าอาวาสวัดหลายแห่งทั่วประเทศไทย จากความพยายามในการพัฒนาการศึกษาสงฆ์จนเกิดเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ของท่าน

การศึกษา

ท่านสำเร็จการศึกษาเปรียญ 9 ประโยค วัดกันตมาตุยาราม ซึ่งขึ้นกับสำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร อย่างไรก็ดี แม้ว่าท่านจะจบเพียงเปรียญ ๙ ประโยค แต่ท่านก็มีวิริยะอุตสาหะเรียนรู้วิชาสมัยใหม่อื่นๆ ด้วยตนเองเป็นหลัก จึงชำนาญหลายๆ วิชา อาทิ ภาษาอังกฤษ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ ภาษาสันสกฤต และ ภาษาปรากฤต ท่านสามารถค้นวรรณคดีและพจนานุกรมภาษาเหล่านี้ได้อย่างละเอียด สำหรับภาษาสันสกฤตนั้น ท่านเป็นศิษย์ของ พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) ตอนหลัง ท่านได้ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหงและ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพเคยให้สัมภาษณ์ว่าบุคคลในพระพุทธศาสนาในอุดมคติที่ท่านถือเป็นแบบในการพัฒนาตนเป็นนัก วิชาการทางพระพุทธศาสนาคือพระวชิรญาโณ ภิกฺขุ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ท่านเคยให้เหตุผลว่าสองท่านนี้เป็นคนไทยรุ่นบุกเบิกที่ประยุกต์พระพุทธศาสนาให้เข้ากับสังคมร่วมสมัยโดยนำเอาวิชาการสมัยใหม่มาใช้เป็นประโยชน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

อาจารย์สุชีพอยู่ในเพศพระภิกษุจนได้ตำแหน่งสมณศักดิ์ที่ ‘พระศรีวิสุทธิญาณ’ สมัยที่ท่านยังเป็นพระภิกษุนั้น ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ ไม่มีใครยุคนั้นเทียบได้ ต่อมาได้ลาสิกขาสู่เพศฆราวาส ระหว่างที่ท่านลาสิกขาเมื่ออายุ 35 ปี มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากร้องไห้เพราะความเสียดาย หลังจากสึกหาลาเพศแล้ว ท่านเช่าห้องพักที่ถนนข้าวสาร บางลำภู ก่อนจะย้ายไปปลูกบ้านหลังใหม่บริเวณถนนสุขุมวิท

อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่สุภาพอ่อนโยน ในด้านความรู้ทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านได้รับการยกย่องจาก ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรีและประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ว่าเป็น พระไตรปิฎกเคลื่อนที่ หมายเลข 1 ของประเทศเพราะท่านสามารถอธิบายและตอบคำถามทาง พระพุทธศาสนา หรือหลัก พุทธธรรม ได้ทุกอย่างอย่างละเอียด พร้อมอ้างที่มาในพระไตรปิฎกให้เพื่อการค้นคว้าต่อไปอย่างแม่นยำอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เองชาวพุทธจำนวนมากจึงได้กล่าวขานถึงท่านด้วยฉายา 'พระไตรปิฎกเคลื่อนที่' ตาม ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์

อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพมีคุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างอะไรบ้าง

สุชีพ ปุญญานุภาพ (13 เมษายน พ.ศ. 2460 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งจากพุทธศาสนิกชนและคณะสงฆ์ไทยอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่สมบูรณ์ด้วยวิชาความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างเยี่ยมยอด หาใครเทียมได้ยาก ในเวลาเดียวกัน ก็มีความประพฤติที่ดีงาม สุภาพอ่อนโยน ระหว่างที่ท่านเคยบวชเป็นพระอยู่ในชื่อว่า สุชีโว ...

ผลงานใดของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ที่มีความเด่นชัด

นอกเหนือจากก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ อาจารย์สุชีพยังมีผลงานที่โดดเด่นในด้านวิชาการทางพระพุทธศาสนาที่เป็นอมตะ คือ การจัดทำพระไตรปิฏกฉบับประชาชน ซึ่งเป็นการย่อความพระไตรปิฎกจำนวน 45 เล่ม ให้เหลือเพียง 5 เล่ม เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการศึกษาพระธรรมเป็นภาษาไทยสำเร็จเป็นคนแรก นับว่าเป็นผลงานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการศึกษา ...

ชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้สุชีพ ปุญญานุภาพ ว่าอย่างไร

ประวัติย่อๆ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เกิด 13 เม.ย. 2460 ที่ ต.บางไทรป่า อ.บางปลา (อ.บางเลน ในปัจจุบัน) จ.นครปฐม ท่านมีพี่น้องที่เกิดร่วมพ่อแม่เดียวกัน 12 คน แต่เสียชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ถึง 11 คน เหลือท่านเพียงคนเดียว พ่อแม่จึงตั้งชื่อว่า “บุญรอด” ส่วนชื่อใหม่ “สุชีพ” นั้นเปลี่ยนตามฉายา “สุชีโว” ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ...

ใครเป็นพระภิกษุรูปแรกที่สามารถแสดงธรรมเป็นภาษาอังกฤษแก่ชาวต่างประเทศได้

6 มิถุนายน 2493 วัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นต้น 3. เป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่สามารถแสดง ธรรมเทศนา เป็นภาษาอังกฤษแก่ชาวต่างประเทศ ชีวิตและงานหลังการลาสิกขา สุชีโวภิกขุ ลาสิกขาจากสมณเพศเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2495 ใช้ชื่อว่า สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้ ปฏิบัติงานต่าง ๆ ดังนี้