เรียนออนไลน์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณในขณะที่นำทางเว็บไซต์ของเรา คุณเลือกที่จะยอมรับหรือปฏิเสธคุกกี้ของเราโดยเพียงแค่คลิกการตั้งค่าคุกกี้
“การตั้งค่าคุกกี้” ข้อมูลเพิ่มเติม

ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด

ใครที่กำลังว่างงานหรือหาเรียนพัฒนาทักษะเพิ่มเติมไม่ว่าจะภาษาหรือทักษะอาชีพเสริมที่ตลาดต้องการ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานเปิดเรียนออนไลน์ฟรี! เรียนจบแล้วสามารถสร้างอาชีพได้เลยจ้า จะมีอะไรบ้างมาดูกันเล้ย

โดยทั้งหมดจะเรียนในรูปแบบวิดีโอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สอนโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ผู้สนใจคลิกเข้าไปได้ที่ http://eit.dsd.go.th/dsdtraining.php และลงทะเบียน จากนั้นก็เลือกเรียนได้เลย

นอกจากนี้ ยังมีอาชีพอื่นๆ ที่เปิดรับสมัครให้ไปฝึกอบรมฝีมือแรงงานในจังหวัดต่างๆ อีกด้วย สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dsd.go.th/DSD/Intro/ListTraining

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เปิดอบรมออนไลน์ 15 ทักษะอาชีพฟรี สามารถคลิกไปตามลิงค์นี้ได้เลย http://eit.dsd.go.th/~a7/dsdtraining.php ช่วงนี้ใครอยู่บ้านมีเวลาว่างลองเข้าไปเรียนกันนะคะ ได้ประโยชนืและได้รับความรู้มากมายเลยล่ะค่ะ โดยอาชีพที่เปิดอบรมมีดังต่อไปนี้ 


1. ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์
2. ช่างซ่อมรถยนต์
3. ช่างเชื่อมไฟฟ้า
4. ช่างซ่อมโทรทัศน์
5. การซ่อมโน้ตบุ๊คและไมโครคอมพิวเตอร์
6. การประกอบอาหารไทย
7. ช่างขับรถยก
8. ช่างเครื่องปรับอากาศ
9. ภาษาอังกฤษ
10. ภาษาญี่ปุ่น
11. ภาษาเกาหลี
12. ช่างพ่นสีรถยนต์
13. ช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ
14. ช่างไฟฟ้าในอาคาร
15. อาชีพอิสระ (ทำดอกไม้จันทน์, ปั้นโอ่ง, เดคูพาจ)


ขั้นตอนในการเรียน เมื่อเราคลิกไปที่ลิงค์นี้ http://eit.dsd.go.th/~a7/dsdtraining.php ก็จะเข้าสู่หน้าเพจของทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่มีวิดีทัศน์รวบรวมอาชีพไว้มากมาย ใครสนใจอาชีพไหนก็คลิกเข้าไปชมได้เลย


เรียนออนไลน์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน


พอเลือกอาชีพที่จะเรียนได้แล้วก็กดปุ่มอาชีพในหน้าเพจ ก็จะพบหน้าที่ให้เราลงทะเบียนก่อนชมวิดีทัศน์ค่ะ ถ้ายังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อนก็คลิกที่ลงทะเบียน

เรียนออนไลน์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

โดยในหน้าลงทะเบียนให้เรากรอก ชื่อ-นามสกุล จริง อีเมล เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และตั้งรหัสผ่าน

เรียนออนไลน์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้วก็เข้าหน้าเพจให้เราล็อกอิน จากนั้นก็สามารถชมวิดีทัศน์อาชีพต่างๆ ได้เลยค่ะ อย่างของเราเลือกเป็นการประกอบอาหารไทย มีวิดีทัศน์สอนทำอาหารให้เลือกชมมากมายเลยค่ะ โดยแต่ละวิดีทัศน์นั้นก็เข้าใจง่าย ดูเพลินมากๆ 


เรียนออนไลน์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

เรียนออนไลน์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน


ใครสนใจอยากหาความรู้ พัฒนาทักษะอาชีพก็สามารถเข้าไปรับชมกันได้เลยค่ะ ที่ http://eit.dsd.go.th/~a7/dsdtraining.php

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้ท่านสามารถ เข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิด การใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะ ส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้ท่านสามารถ เข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิด การใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะ ส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

เรียนออนไลน์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

ทำคลิปอวยพรปีใหม่ง่าย ๆ เพียง 2 นาที ด้วย CapCut

เรียนออนไลน์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

การออกแบบผังบริเวณง่าย ๆ ด้วย Icograms Designer

เรียนออนไลน์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

หลักสูตร Microsoft PowerPoint ระดับกลาง

เรียนออนไลน์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

หลักสูตร Microsoft Excel ระดับกลาง

เรียนออนไลน์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

หลักสูตร Microsoft Word ระดับกลาง

เรียนออนไลน์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

หลักสูตร Microsoft Sway

เรียนออนไลน์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

หลักสูตร Basic Cybersecurity

แรงงานท่องเที่ยววิกฤตหนัก “ภูเก็ต-หาดใหญ่” ขาดแรงงานกว่า 2 หมื่นคน โรงแรมแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทำสัญญาระยะสั้น 3-6 เดือน อัดค่าแรง “แม่บ้าน” สูงถึง 800-1,500 บาท/วัน “เด็กยกกระเป๋า” พันบาท/วัน เร่ง MOU มหาวิทยาลัย-วิทยาลัยอาชีวะทั่วไทย “เหนือ-ใต้-อีสาน” จูงใจ “ฝึกงานมีค่าจ้าง-ที่พัก-อาหาร-รถรับส่งฟรี” ระบุเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างชงปลดล็อกกฎหมายกีดกันแรงงานต่างด้าว “ปากีสถาน-อินเดีย” เก่งภาษา

นายธเนศ ตันติพิริยะกิจ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต และประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตในช่วงไฮซีซั่นในปีนี้ค่อนข้างคึกคัก โดยในเดือน พ.ย.-ธ.ค. 2565 มีนักท่องเที่ยวเข้ามากว่า 100,000 คน ส่งผลให้สถานประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก รวมแล้วร่วม 2 หมื่นตำแหน่ง โดยหลายโรงแรมในภูเก็ตอยากกลับมาเปิดกิจการให้ได้ 100% แต่ไม่สามารถทำได้ ทั้งที่มีดีมานด์ของลูกค้า เพราะมีแรงงานไม่เพียงพอให้บริการลูกค้า

  • กรมอุตุฯเตือน 24-26 ธ.ค. เจออากาศหนาวเย็นอีกระลอก ต่ำสุด 8-10 องศา
  • เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เสด็จติดตามพระอาการประชวร เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ
  • ในหลวง พระราชินี ทรงขอบใจคณะแพทย์ รพ. จุฬาฯ ถวายการรักษาเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ

ปัจจุบันโรงแรมในภูเก็ตแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่ม 1 กลับมาเติบโต มีนักท่องเที่ยวเท่ากับก่อนเกิดโควิด กลุ่ม 2 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 80% กลุ่ม 3 กลับมา 50-60% และกลุ่ม 4 ยังไม่เปิดกิจการ เพราะติดปัญหาหลายเรื่อง โดยหลัก ๆ คือขาดแหล่งเงินทุนเพื่อกลับมาเปิดกิจการ และขาดแคลนแรงงาน ซึ่งปัญหาขาดแคลนแรงงานไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย แต่เกิดทั่วโลก เช่น ตอนยุโรปเปิดประเทศใหม่ ๆ 4-5 เดือนก่อน มีปัญหากระเป๋าโดนกองทิ้งในสนามบิน เพราะหาคนทำงานไม่ได้

โรงแรมจ่ายแม่บ้าน 1,500/วัน

นอกจากนี้ หลายโรงแรมแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตั้งแต่ 1.ให้พนักงานมีทักษะการทำงานได้หลายอย่าง (Multitasking skills) 2.เพิ่มชั่วโมงการทำงานนานขึ้น (take work hours long) โดยจ่ายค่าล่วงเวลา เพื่อให้ธุรกิจเดินไปได้ 3.จ้างพนักงานชั่วคราว (casual) โดยยอมจ่ายอัตราสูง เช่น ตำแหน่งงานแม่บ้านจ่ายสูง 1-2 เท่า เช่น 1,000-1,200 บาทต่อวัน มีอาหารฟรีให้ 2 มื้อ จากก่อนโควิดจ่ายค่าจ้างแม่บ้าน พนักงานเก็บผ้า 400-500 บาท

รวมถึงพนักงานยกกระเป๋า (BellBoy) บางครั้งมีลูกค้าเข้าจำนวนมากจ่ายให้ 1,000 บาท/วัน และ 4.โรงแรมเปิดรับสมัครพนักงานโดยตรงกับสถานศึกษา หรือทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ให้เรียนไปทำงานไป และเสนอผลประโยชน์ที่มากกว่าเงินเดือน เช่น ที่พักฟรี เป็นต้น

รุกเซ็น MOU สถาบันการศึกษา

สำหรับการทำ MOU กับสถาบันการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วน 1.เอกชนโรงแรมทำ MOU ตรงกับสถาบันการศึกษา 2.สมาคมต่าง ๆ ทำ MOU เช่น สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต หารือกับหลายสถาบันการศึกษา ทั้งสถาบันราชภัฏ และวิทยาลัยอาชีวศึกษา ทั้งภาคใต้ เหนือ และอีสาน ซึ่งเป็นตลาดแรงงานใหญ่

รวมถึงจัดงาน Job Fair 3.กรมพัฒนาฝีมือแรงงานทำ MOU ให้ 4.ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตาราง 1 วันในทุกสัปดาห์ประชุมกับทุกฝ่ายเรื่องแรงงาน เพื่อประสานในการแก้ปัญหา ซึ่งตอนนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตอยากให้โอกาสกับคนฐานล่างที่ด้อยโอกาสการศึกษา จึงพยายามหาโรงแรม หาเด็กที่อยากทำงานมาช่วยกัน รวมถึงนักโทษที่ใกล้พ้นโทษ ให้โอกาสคนที่ผิดพลาดกลับเข้าสู่สังคม เป็นต้น

“หลายโรงแรมยอมจ่ายแพง ๆ เพื่อดึงคนมาทำงาน เช่น โรงแรมที่มีลูกค้ารออยู่ก็ทำสัญญาจ้างพนักงานชั่วคราวสั้น ๆ 3-6 เดือน เช่น ทำสัญญา ธ.ค. 2565-ก.พ. 2566 ช่วงไฮซีซั่น และอาจต่อสัญญาเดือนต่อเดือนในช่วงโลว์ซีซั่น บางโรงแรมอาจเริ่มรับพนักงานตั้งแต่ พ.ย. ช่วงพีกไฮซีซั่น ธ.ค.-ม.ค-ก.พ. ยอมจ่ายล่วงหน้าเดือนหนึ่ง ก่อนการจ้างงานลักษณะแคชวลตรงกับพฤติกรรมของเด็กสมัยใหม่นี้ที่ไม่อยากทำงานรูทีน เช่น ยอมทำงานหนัก 6 เดือน เก็บเงิน และหยุด 6 เดือน กลุ่มนี้โรงแรม 5 ดาว มีความได้เปรียบ คนอยากเข้าไปทำงานเป็นพนักงานชั่วคราว”

นายธเนศกล่าวว่า ปัญหาที่คนไม่มาทำงานที่จังหวัดภูเก็ตมี 2 เรื่องคือ 1.ทุกคนรู้สึกว่าภูเก็ตมีค่าครองชีพสูง 2.คนกลุ่มเดิมที่เคยทำงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ออกไป หลายคนกลับไปทำโฮมสเตย์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟที่บ้าน อาจมีความกังวลหรือมีความกลัวที่จะกลับมา ซึ่งตามตัวเลขเมื่อ 2 ปีก่อน มีแรงงานออกจากระบบประกันสังคมเกิน 50,000 คน

ชงแก้ กม.ดึงปากีสถาน-อินเดียมาทำงาน

นายรังสิมันตุ์ กิ่งแก้ว กรรมการบริหารสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในจังหวัดภูเก็ต ที่ผ่านมาได้มีการวางแผนการแก้ไขไว้ล่วงหน้า แต่กระบวนการดำเนินงานไม่ง่าย แบ่งเป็น 2 ส่วน 1.กลุ่มคนที่พร้อมมาทำงาน หรือที่จบการศึกษา หรือกำลังจะจบ ได้ประสานงานไปยังกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสำนักงานจัดหาจังหวัดภูเก็ต ประสานไปยังสำนักงานจัดหางานทั่วประเทศ ในการส่งข้อมูลตำแหน่งงานว่างไปยังจังหวัดอื่น โดยใช้ภาครัฐช่วย ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนแต่ละรายก็ประกาศรับสมัครงานด้วยตัวเอง

Advertisement

2.ร่วมกับสถาบันการศึกษาทำ MOU ขณะนี้สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตกำลังร่าง MOU ร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยาในภาคเหนือ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ภาคใต้ ปรับหลักสูตรให้นักศึกษาปี 3-4 เทอม 2 สาขา การโรงแรมเข้ามาฝึกงานในจังหวัดภูเก็ต คาดว่าจะเกิดผลในปี 2566 ส่วนภาคอีสานคุยไว้แต่ยังมีลงในรายละเอียด

สำหรับการทำ MOU จะวางเงื่อนไขเป็นมาตรฐานคือ มีหอพักให้นักศึกษาฝึกงาน มีรถรับส่ง มีอาหาร รวมถึงมีค่าจ้างระหว่างการฝึกงาน อยู่ระหว่างหารือกัน และอาจขึ้นอยู่กับสถานประกอบการแต่ละแห่ง เช่น ปกตินักศึกษาฝึกงานจะจ่ายกัน 100-150 บาทต่อวัน เพราะยังไม่มีความชำนาญ และมหาวิทยาลัยต้องส่งเด็กมาฝึกงานในจังหวะที่ผู้ประกอบการต้องการด้วย

“ปัจจุบันโรงแรมจ้างนักศึกษาบางส่วนที่ปิดภาคเรียนมาเป็นพนักงานชั่วคราว โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยนานาชาติ ซึ่งจ่ายค่าแรงสูงมาก แม้ยังไม่มีสกิลมากนัก โดยเฉพาะโรงแรม 5-6 ดาว จ่ายให้ 800-1,500 บาท/วัน จากปกติก่อนโควิดจ่าย 400-500 บาท/วัน ถือว่าสูงมาก โดยเฉพาะช่วงไฮซีซั่น ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งแม่บ้านกับพนักงานห้องอาหารและหน้าฟรอนต์ที่ขาดแคลนมาก”

นายรังสิมันตุ์กล่าวต่อว่า เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นระยะสั้น แต่อาจกลายเป็นปัญหาระยะยาว เพราะโรงแรมกลับมาเปิดไม่เต็ม 100% ยังมีปัญหาขนาดนี้ ถ้ากลับมาเปิดครบเชื่อว่าจะมีปัญหาเรื่องแรงงานขาดแคลนหนักกว่านี้ การแก้โดยนำเด็กมหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยเป็นการแก้ปัญหาแค่ชั่วคราว

ขณะที่ปัญหาหลักของประเทศไทยตอนนี้ คือคนในตลาดแรงงานน้อยลงเรื่อย ๆ ก่อนหน้านี้มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาชดเชย แต่ประเทศรอบข้างกำลังเติบโต มีการจ้างงาน ต่อไปแรงงานต่างด้าวอาจไม่ใช่คนจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่เป็น ปากีสถาน อินเดีย หรืออื่น ๆ โดยต้องแก้กฎหมายในหลายประเด็น เนื่องจากบังคับให้จ้างแรงงานคนไทย ถ้าจ้างต่างชาติต้องมีเรตราคากำหนด ขึ้นอยู่กับกลุ่มประเทศนั้น ๆ เช่น หน้าฟรอนต์ขาดแคลนมาก พนักงานต้องเก่งภาษาอังกฤษ เมื่อไม่มีแรงงานคนไทยอาจต้องจ้างคนอินเดีย แต่ติดกฎหมายค่าแรง ต้องจ่าย 3-4 หมื่นบาท แม้แรงงานจะยอมรับได้ที่ 2 หมื่นบาท

หาดใหญ่ขาดแรงงานหลายพันคน

แหล่งข่าวจากโรงแรมหาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้หลายโรงแรมที่กลับมาเปิดกิจการใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มีปัญหาขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก ขณะที่นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีพนักงานไม่เพียงพอ บางแห่งพนักงาน 1 คนทำหลายหน้าที่ เนื่องจากเดิมก่อนเกิดโควิด บางโรงแรมมีพนักงาน 130 คน ปัจจุบันเหลือ 30 คน โดยพนักงานโรงแรมส่วนใหญ่ในหาดใหญ่เป็นคนในท้องถิ่น และจากจังหวัดใกล้เคียง มีจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพียงเล็กน้อย ส่วนแรงงานต่างด้าวยังไม่ปรากฏ

ดร.สิทธิพงศ์ สิทธิภัทรประภา นายกสมาคมโรงแรมหาดใหญ่สงขลา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า โรงแรม จ.สงขลา เข้าสู่ภาวะขาดแคลนแรงงานหลายพันคน ตอนนี้หากมาสมัคร 100 คนจะรับทั้งหมด สาเหตุเพราะในช่วงโควิด พนักงานไปประกอบอาชีพอื่น โดยตำแหน่งที่ต้องการมาก เช่น แม่บ้าน พนักงานต้อนรับ ฯลฯ ทางสมาคมจึงทำเอ็มโอยูกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา (มทร.ศรีวิชัย) รับนักศึกษาระดับหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาบริหารธุรกิจ เข้าฝึก และทำงานกับโรงแรมในชั้นปีที่ 4 มีเงินเดือนประจำ สวัสดิการเหมือนพนักงานประจำ

เรียนออนไลน์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

ส.โรงแรมขอนำเข้าแรงงานต่างชาติ

นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (THA) และรองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มโรงแรมในเครือสุโกศล กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมถึงโรงแรมอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มทยอยเปิดประเทศปลายปี 2564 ที่ผ่านมา และหนักขึ้นเรื่อย ๆ เพราะธุรกิจกลับมาเปิดให้บริการเพิ่มมากขึ้น

สำหรับภาคธุรกิจโรงแรมปัญหาที่ประสบขณะนี้มี 3 ประเด็นหลักคือ 1.ขาดแคลนพนักงานในทุก ๆ ตำแหน่ง 2.แรงงานที่เข้ามาเป็นกลุ่มที่ขาดทักษะ เนื่องจากแรงงานเดิมที่กลับท้องถิ่นไปไม่กลับมา ธุรกิจต้องหาพนักงานใหม่ และ 3.ธุรกิจขาดเสน่ห์ ไม่มีแรงจูงใจ เนื่องจากกลุ่มนี้ยังไม่เห็นภาพชัดเจนว่าธุรกิจกลับมาอย่างมั่นคงหรือไม่ จะได้ Service Charge หรือได้ผลตอบแทนที่ดีเหมือนเดิมหรือไม่ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังพบว่าแรงงานภาคบริการไทยออกไปทำงานในต่างประเทศ เพราะต่างประเทศก็ขาดแคลน และต้องการบุคลากรเช่นกัน และด้วยจุดเด่นในด้านการบริการของคนไทย ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในต่างประเทศ

นางมาริสากล่าวด้วยว่า เพื่อแก้ปัญหาด้านแรงงานที่ผ่านมา สมาคมโรงแรมได้ร้องขอไปยังกระทรวงแรงงานและภาครัฐปลดล็อกให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานบางตำแหน่ง ในภาคธุรกิจโรงแรมกับต่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น

ของบฯอบรมคอร์สระยะสั้น

ด้านนายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัญหาแรงงานขาดแคลนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการเป็นปัญหาใหญ่ และต่อเนื่องมาตั้งแต่ธุรกิจกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง และยังเป็นปัญหาในปัจจุบัน โดยเฉพาะแรงงานที่ต้องมีทักษะเฉพาะด้าน เนื่องจากบุคลากรในภาคการท่องเที่ยวและบริการไหลออกจากตลาดไปตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด และไม่ยอมกลับเข้ามาสู่ระบบเหมือนเดิม ทำให้หลายธุรกิจประสบปัญหาเรื่องมาตรฐานการให้บริการที่ยังไม่กลับมาสู่ภาวะปกติเหมือนช่วงก่อนโควิด

โดยที่ผ่านมา สทท. ในฐานะองค์กรภาคเอกชนที่ดูแลธุรกิจท่องเที่ยว ได้นำเสนอภาครัฐเพื่อขอให้จัดสรรงบประมาณสำหรับอัพสกิลและรีสกิล ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน พร้อมนำเสนอเพื่อของบประมาณสนับสนุนการการเรียนการสอนระยะสั้น เพื่อสร้างบุคลากรเข้าสู่ระบบแรงงานแบบเร่งด่วนไปแล้ว แต่ที่ผ่านมายังไม่ได้รับการตอบรับนัก

“ม.อ.ภูเก็ต”เนื้อหอมแย่งนักศึกษา

ผศ.ดร.พรพิษณุ พงศ์ศิวพัลลภ คณบดีคณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จ.ภูเก็ต(ม.อ.ภูเก็ต) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้นักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตมีจำนวนเยอะมาก โดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้ายปี 2565 แม้ยังไม่มีนักท่องเที่ยวชาวจีน แต่นักท่องเที่ยวจากยุโรปและอเมริกาเข้ามาทดแทน ทำให้เกิดความขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมบริการค่อนข้างมาก ทำให้มีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยวในจังหวัดติดต่อมายังสถาบันจำนวนมาก

เนื่องจากคณะการบริการและการท่องเที่ยวในระดับปริญญาตรีมี 3 สาขา คือ สาขาวิชาการจัดการการบริการ, สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการบริการ ทั้งหมดเป็นหลักสูตรนานาชาติ โดยแต่ละปีผลิตบัณฑิตได้ประมาณ 120 คน ขณะที่ระดับปริญญาโท ผลิตมหาบัณฑิตได้ 15 คน/ปี และในปีการศึกษาหน้า (ส.ค.) เตรียมเปิดระดับปริญญาเอกอีก 10 คน/ปี และที่ผ่านมา ตั้งแต่ก่อนโควิด มีนักศึกษาเข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมภาคบริการและการท่องเที่ยว 100%

“เมื่อสถานการณ์ขาดแคลนแรงงาน ภาคบริการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ภาคอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยวภายในภูเก็ต จึงขอให้เราส่งนักศึกษาไปช่วยทำงานพาร์ตไทม์บ้าง และอีกส่วนก็ขอให้ช่วยติดต่อศิษย์เก่าให้กลับมา เพื่อมาช่วยรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น”

ขณะดียวกัน ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดหลักสูตรระยะสั้น เพื่อ upskill-reskill สำหรับคนที่จะเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมบริการ เพื่อหาทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนไปพร้อมกัน โดยเฉพาะหลักสูตรระยะสั้นที่มีความร่วมมือกับสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ผลิตบุคลากรให้กับแอร์พอร์ตกราวด์เซอร์วิส และอื่น ๆ รวมถึงร่วมกับโรงแรมบันยันทรี ภูเก็ต นำนักศึกษาไปอบรมในโครงการแมเนจเมนต์ บันยันทรี โปรแกรม เพื่อเรียนรู้การบริหารธุรกิจโรงแรม และเตรียมตัวสู่การเป็นผู้บริหารต่อไป

“สุชาติ” เร่งแก้แรงงานขาด

ด้านนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานวางแนวทาง 3 ด้าน สำหรับเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ขาดแคลนแรงงานในจังหวัดภูเก็ต คือ 1.สนับสนุนการทำงานแบบพาร์ตไทม์ในกลุ่มนักเรียนและนักศึกษา โดยการประสานกับวิทยาลัยจังหวัดพังงา นำนักเรียนเข้ามาทำงานในพื้นที่ภูเก็ต พร้อมกับช่วยให้สถานประกอบการในภูเก็ตมีแรงงานขับเคลื่อนกิจการในช่วงเทศกาลปีใหม่ และฤดูกาลท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึง

2.จัดงานวันนัดพบแรงงานจังหวัดภูเก็ตในวันที่ 27 ธ.ค. 2565 พร้อมประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงานว่างเฟซบุ๊ก สำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ต และทางไลน์ open chat และ 3.เรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นระบบ ในขณะนี้ได้ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงานว่างไปยังสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกแห่งที่มีความต้องการแรงงานจำนวนมาก แต่ติดปัญหามีตำแหน่งงานว่างไม่เพียงพอรับเข้าทำงาน ทำให้ต้องแก้ด้วยการประสานการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นระบบ