การเขียนอธิบายตามลําดับขั้นตอน ตัวอย่าง

การการอธิบายลำดับขั้นตอนการทำอะไรสักอย่างหนึ่งเป็นภาษาอังกฤษ เราสามารถใช้คำศัพท์เหล่านี้ในการอธิบายขั้นตอนต่างๆตามลำดับก่อนหลังได้ คำศัพท์ที่ว่ามีดังนี้

First แปลว่า ลำดับแรก
Next แปลว่า ขั้นตอนถัดไป
Then แปลว่า แล้ว
After that แปลว่า หลังจากนั้น
One you’ve finished that แปลว่า เมื่อทำขั้นตอนนั้นๆเสร็จแล้ว
Once you’ve done that แปลว่า เมื่อทำขั้นตอนนั้นๆเสร็จแล้ว
Last แปลว่า ขั้นตอนสุดท้าย
Finally แปลว่า ขั้นตอนสุดท้าย

ตัวอย่างการใช้งานในประโยค
First, pour water into a pot. Next, turn on the heat. When the water boils, add chicken. Cook chicken until they are soft. If the water starts boiling over, turn down the heat. Then wait for 30 minutes, and then let cool for 5 minute. Finally we eat!

นอกจากคำศัพท์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็ยังมีคำศัพท์อื่นๆอีกให้เพื่อนๆเลือกใช้งาน ลองนำไปศึกษาและประยุกต์ใช้งานคำศัพท์เกี่ยวกับการอธิบายขั้นตอนต่างๆในภาษาอังกฤษกันดูนะ

  • ลงทะเบียนนักเรียน
  • เข้าสู่ระบบ

การเขียนอธิบายตามลําดับขั้นตอน ตัวอย่าง
การเขียนอธิบายตามลําดับขั้นตอน ตัวอย่าง

  • หน้าแรก
  • คอร์สเรียน
  • คลังความรู้
    • คลังข้อสอบ
    • คลังแบบฝึกหัด
    • คลังวีดีโอ
    • คลังบทความ
  • ดาวน์โหลด
  • สอบออนไลน์
  • ประกาศผลสอบ

หน้าแรก บทความ การเขียนอธิบาย เรื่อ...

การเขียนอธิบาย เรื่อง หลากหลายงานเขียน

4972 0

การเขียนอธิบายตามลําดับขั้นตอน ตัวอย่าง

 

 การเขียนอธิบาย เป็นการเขียนเพื่อการสื่อสารให้เกิดความกระจ่างแจ้งเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

     กลวิธีการเขียนอธิบาย

     1. การเขียนอธิบายแบบยกตัวอย่าง เป็นการเขียนขยายความรู้และความคิดโดยให้ข้อมูลอย่างละเอียด มักมีคำว่า เช่น ได้แก่ อาทิ ตัวอย่างเช่น
     2. การเขียนอธิบายแบบนิยาม เป็นการให้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นคำศัพท์ ข้อความ สำนวนสุภาษิต เพื่อให้ผู้รับสารรู้และเข้าใจว่าสิ่งนั้นคืออะไร
     3. การเขียนอธิบายแบบกล่าวซ้ำด้วยถ้อยคำที่แปลกออกไป เป็นกลวิธีการเน้นย้ำหรือสรุปสาระสำคัญในตอนท้าย เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจกระจ่างชัดเจน
     4. การเขียนอธิบายโดยการให้ข้อมูล
     5. การอภิปรายโดยการขยายความด้วยการให้เหตุผล เป็นการให้เหตุผลเพื่อช่วยขยายความทำให้การอธิบายเป็นเหตุเป็นผลน่าเชื่อถือ


สื่อ CAI Project เรื่อง หลากหลายงานเขียน

สื่อการเรียนการสอนจากโครงการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียสามมิติ (3D Interactive E - Learning) โรงเรียนมาตรฐานสากล (World class school)

การอธิบายเเละยกตัวอย่าง

1. ความหมายของคำว่า “อธิบาย”
คำว่า “อธิบาย” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ( 2546 : 1324 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ก. ไขความ , ขยายความ , ชี้แจง
ฉะนั้นจึงพอสรุปได้ว่าการเขียนอธิบาย คือ การเขียนไขความ การเขียนขยายความ หรือการเขียนชี้แจงนั่งเอง ซึ่งเป็นการเขียนที่มุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่งอย่างถูกต้องชัดเจน โดยมุ่งที่จะบอกว่าสิ่งนั้น ๆ มีลักษณะมีสภาพหรือข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งผู้เขียนให้รายละเอียด เหตุผล ที่ชัดเจนน่าเชื่อถือ
2. วัตถุประสงค์ของการเขียนอธิบาย
เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้และความเข้าใจ ในเรื่องที่อธิบายอย่างละเอียด ชัดเจน ถูกต้อง ตรงตามที่ผู้เขียนอธิบายต้องการ
3. วิธีการเขียนอธิบาย
3.1 ในการเขียนอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีวิธีการเขียนที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่เรื่องที่เขียนอธิบาย เช่น อาจอธิบายด้วยการให้คำจำกัดความอธิบายลำดับขั้นตอน อธิบายด้วยการยกตัวอย่าง อธิบายด้วยการเปรียบเทียบ หรืออธิบายด้วยการชี้ถึงสาเหตุและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และในบางเรื่องอาจใช้การเขียนหลายๆ วิธี รวมกันได้
3.2 ใช้ภาษาเขียนง่าย ๆ ไม่ใช่คำศัพท์ที่ต้องแปลคำโดยไม่จำเป็น เขียนให้กระชับ ชัดเจน อาจใช้ภาษาพูด มาเขียนอธิบายได้ เพื่อให้คล้ายกับการพูดคุยกัน ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องที่จะอธิบายได้เร็วยิ่งขึ้น
3.3 เขียนอธิบายอย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อมวกวนสับสน ถ้าเป็นการเขียนอธิบายการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งต้องเขียนไปตามลำดับขั้นตอน
4. ตัวอย่างการเขียนอธิบาย
4.1 การเขียนอธิบายตามลำดับขั้นตอน
ไข่ตุ๋นวุ้นเส้น ต้นทุนต่ำทำกินแก้จน
สูตรในการทำ “ไข่ตุ๋น” ที่เจ็กจุ่นขายในราคาโถละ 30 บาท จะใช้ไข่ไก่ 2 ฟอง หมูสับ 50 กรัม วุ้นเส้น เห็นทอดหั่น กระเทียมเจียว ผักชี้ พริกชี้ฟ้าสุก ( แดง )
เขามีเทคนิคในการทำหรือปรุง โดยเอาไข่ไก่ตีเข้ากับน้ำซุป ( น้ำต้มกระดูกหมูหรือกระดูกไก่ก็ได้ ) โดยใช้สูตรน้ำซุปครึ่งแก้วต่อไข่ไก่ 2 ฟอง ( มากไปไข่ตุ๋นเหลว น้อยไปไข่ตุ๋นแข็งกระด้างไม่ดี ) ตีจนเข้ากัน จากนั้นก็ใส่ซอส ซีอิ๊วขาว พริกไทย ( ไม่ใส่น้ำปลาจะทำให้เกิดกลิ่นคาว )
เมื่อเครื่องปรุงไข่ตุ๋นเสร็จแล้วเอาวุ้นเส้นใส่เข้าไปคนให้เข้ากัน แล้วเอาเห็ดหอม พริกชี้ฟ้า ใส่เข้าไปคล้ายๆ กับโรยหน้าแล้วนำไปนึ่งในซึ้งนานประมาณ 20 นาที ไข่ตุ๋นก็จะสุกพอดีรับประทานพอยกออกมาจากซึ้งแล้วโรยด้วยผักชี ตักกินร้อนๆ อร่อย…เป็นอาหารเสริมสุขภาพ
ตามคำขวัญที่ว่า … บริโภคไข่ไก่ พลานามัยสมบูรณ์ ( ข้อสำคัญอย่าใส่ผงชูรส )
ที่มา : ปัญญา เจริญวงศ์. “ทำได้ไม่จน.” ไทยรัฐ, 21 กุมภาพันธ์ 2546 , หน้า 7
4.2 การเขียนอธิบายโดยให้คำนิยาม
แมวป่า
แมวป่า หรือ Jungle Cat เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เสือกระต่าย” เพราะอาหารโปรดของเจ้าแมวป่า คือ กระต่ายนั่นเอง แมวป่ามีรูปร่างและเสียงร้องคล้ายแมวบ้าน แต่มีขนาดใหญ่กว่า ขายาวกว่าเล็กน้อย และมีหูตั้งยาว นิสัยของเจ้าแมวชนิดนี้ชอบอยู่ตามป่าโปร่งที่มีต้นหญ้าสูง ๆ หรือ ตามป่าละเมาะ นอกจากนี้ มันยังชอบอยู่ใต้พุ่มไม้ใบหนา หรือพุ่มไม้ริมน้า แต่จะไม่ชอบที่จะขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ แมวป่าเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางวัน โดยมักจะกินสัตว์เล็กต่าง ๆ อาทิ เช่น หนู กิ้งก่า กบ เขียด นก และกระต่าย เจ้าแมวป่าจะมีอายุยืนประมาณ 10 ปีเศษ โดยมันจะผสมพันธุ์ได้ก็ต่อเมื่ออายุประมาณ 2 ปี ตั้งท้องประมาณ 66 วัน ตกลูกครั้งละ 2 – 4 ตัว และมีลูกได้ปีละ 2 ครั้ง
ที่มา : “ชีวิตสัตว์โลก.” ไทยรัฐ, 8 มิถุนายน 2546 , หน้า 13
4.3 การเขียนอธิบายจากสาเหตุไปสู่ผลลัพธ์
น้ำหวานเข้มข้น…อันตราย
นอกจากสิ่งและรสชาติอร่อยแล้วสีสันที่น่ารับประทานนับเป็นสัมผัสแรกที่เป็นแรงดึงดูดใจผู้บริโภค สีที่ใช้ผสมอาหารตามท้องตลาดนั้น มีด้วยกัน 3 ประเภท คือ
หนึ่ง สีอินทรีย์ ที่ได้จากการสังเคราะห์ของสารเคมีประเภทต่างๆ
สอง สีอนินทรีย์ ได้จากผงถ่านที่ได้จากการเผาพืช เช่น สีดำจากกาบมะพร้าวเผา
สาม สีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น สีแดงจากกระเจี๊ยบ ครั่งหรือสีเขียวจากใบเตย
เจ้าสีผสมอาหารที่อาจก่อปัญหาแก่ผู้บริโภค คือ สารอินทรีย์ เนื่องจากมีโครงสร้างมีแต่ละชนิด มีโลหะหนักเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดสี เช่น ตะกั่ว สารหนู โครเมียม สังกะสี แต่ถ้าหากใช้ตามปริมาณที่กฎหมายกำหนดจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
แต่หากผู้ผลิตอาหารใช้สีอินทรีย์มากเกินไป ผู้บริโภคก็มีโอกาสได้รับโลหะหนักปริมาณมากขึ้น ทำให้เกิดการสะสมในร่างการจนเป็นอันตรายได้ เช่น
สารหนู เมื่อเข้าสู่ร่างกายและสะสมอยู่ตามกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ตับ ไต จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและเกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โลหิตจาง
ส่วนสารตะกั่ว จะมีพิษต่อระบบประสาททั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง
วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างน้ำหวานเข้มข้นจำนวน 6 อย่างเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณของสีสังเคราะห์ปรากฏว่ามี 3 ตัวอย่าง ที่พบว่ามีปริมาณของสีผสมอาหารเกินข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข
ที่กำหนดให้อาหารประเภทเครื่องดื่ม ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน เดิมสีปองโซ 4 อาร์ ( สีแดง )
ได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม
เห็นอย่างนี้แล้วอดห่วงผู้บริโภคและเด็กไม่ได้ เพราะปัจจุบันน้ำหวานเข้มข้นที่มีให้เลือกหลากสีสัน กำลังเป็นที่นิยมและมีขายอยู่ทั่วไปคงต้องฝากผู้ผลิตทั้งหลายว่าควรระมัดระวังการใช้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
ส่วนผู้บริโภคเองก็ต้องสังเกตสักนิด น้ำหวานเข้มข้นหรืออาหารที่มีสีฉูดฉาดเกินไป หากเลี่ยงได้ก็จะดี…
ที่มา : “มันมากับอาหาร : น้ำหวานเข้มข้น…อันตราย.” ไทยรัฐ, 20 มิถุนายน 2546, หน้า 7.
4.4 การเขียนอธิบายโดยใช้ตัวอย่าง
การปลูกไม้ดอกไม้ประดับให้งามสมดังใจปรารถนานั้น ผู้ปลูกต้องศึกษาลักษณะธรรมชาติการเจริญเติบโตของต้นไม้แต่ละชนิดให้ถ่องแท้ก่อนแล้วจึงปลูกและบำรุงรักษาให้ตรงกับลักษณะธรรมชาตินั้น ๆ ตัวอย่าง เช่น หากจะปลูกบอนสีต้องรู้ว่าบอนสีต้องการความชื้นสูง ไม่ชอบแสงแดดจัด เจริญงอกงามในที่ร่มรำไร ดังนั้นเวลาปลูก จึงต้องปลูกในที่ร่มรำไร และให้น้ำมากจนชุ่มพอ บอนสีจึงจะงามสมดังใจผู้ปลูก หากจะปลูกกุหลาบต้องทราบว่ากุหลาบเป็นต้นไม้ชอบแดดจัด ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี ดังนั้นผู้ปลูกกุหลาบก็ต้องวางกระถางหรือปลูกด้วยหญ้าไซแห้งแช่น้ำจนชุ่มจึงจะเจริญงอกงาม หากจะปลูกต้นไม้ประเภทแคคตัส ก็ต้องทราบว่าต้นไม้ต้องการน้ำน้อยชอบแสงแดดมาก การดูแลรักษา จึงฉีดน้ำฝอยให้ก็เพียงพอ หากรดน้ำทุกวันเช่นต้นไม้อื่น แคคตัสจะเน่าตายหมด
ตัวอย่าง : การเขียนอธิบาย
เรื่อง “หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-บุ๊ก (B-book)”
E-book หนังสือไฮเทค
นักวิจัยจากฮิวเลทท์ แพ็กการ์ด ได้พัฒนาวิทยาการใหม่ซึ่งเป็นต้นแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออี- บุ๊ก ที่ย่อมาจาก Eletronic book มีขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าขนาดของหนังสือนัก แต่บรรจุข้อมูลได้มากมาย เรียกว่าเป็นห้องสมุดขนาดย่อมได้เลยทีเดียว อี- บุ๊ก มีขนาดหนาเพียง 1 ซม. ดูๆ ไปก็คล้ายกับคอมพิวเตอร์มือถือ นักวิจัยที่พัฒนาอี- บุ๊กนี้ กล่าวว่า “ พวกเราพยายามค้นหาสิ่งที่เหมือนหนังสือที่จะให้ข้อมูลแกผู้บริโภคมากที่สุด จึงได้พัฒนามาเป็นอี-บุ๊ก สิ่งประดิษฐ์ขนาดเล็กที่ใช้คอมพิวเตอร์ตามมาตรฐาน USB ”
อี- บุ๊ก เป็นหนังสือไฮเทคที่นอกจากจะบรรจุข้อมูลได้มากเหมือนห้องสมุดที่มีหนังสือเป็นร้อย ๆ เล่มแล้ว การใช้งานยังง่ายอีกด้วย โดยใช้ระบบสัมผัสทางหน้าจอ ซึ่งเวลาอ่านอี – บุ๊ก คนอ่านก็สามารถเปลี่ยนหรือพลิกหน้าหนังสือง่ายกว่าอ่านหนังสือของจริงเสียอีก เพียงแต่แตะบริเวณแถบริ้วยาว
ด้านหน้าเท่านั้นเครื่องก็จะเปลี่ยนหน้าทันที นอกจากนี้ ยังสามารถซูมบริเวณเรื่องที่อยากอ่านให้ชัดเจนได้อีกด้วย แต่ปัญหาหลักของอี - บุ๊ก อยู่ที่ว่าหน้าจอเป็นคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าใช้เวลาอ่านไปนานๆ แล้ว ทำให้เกิดอาการปวดตาได้
ที่มา : “วิทยาการเด็ก : E-book หนังสือไฮเทค.” ไทยรัฐ, 31 สิงหาคม 2546 , หน้า 13.

1. ความหมายของคำว่า “อธิบาย”
คำว่า “อธิบาย” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ( 2546 : 1324 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ก. ไขความ , ขยายความ , ชี้แจง
ฉะนั้นจึงพอสรุปได้ว่าการเขียนอธิบาย คือ การเขียนไขความ การเขียนขยายความ หรือการเขียนชี้แจงนั่งเอง ซึ่งเป็นการเขียนที่มุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่งอย่างถูกต้องชัดเจน โดยมุ่งที่จะบอกว่าสิ่งนั้น ๆ มีลักษณะมีสภาพหรือข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งผู้เขียนให้รายละเอียด เหตุผล ที่ชัดเจนน่าเชื่อถือ
2. วัตถุประสงค์ของการเขียนอธิบาย
เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้และความเข้าใจ ในเรื่องที่อธิบายอย่างละเอียด ชัดเจน ถูกต้อง ตรงตามที่ผู้เขียนอธิบายต้องการ
3. วิธีการเขียนอธิบาย
3.1 ในการเขียนอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีวิธีการเขียนที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่เรื่องที่เขียนอธิบาย เช่น อาจอธิบายด้วยการให้คำจำกัดความอธิบายลำดับขั้นตอน อธิบายด้วยการยกตัวอย่าง อธิบายด้วยการเปรียบเทียบ หรืออธิบายด้วยการชี้ถึงสาเหตุและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และในบางเรื่องอาจใช้การเขียนหลายๆ วิธี รวมกันได้
3.2 ใช้ภาษาเขียนง่าย ๆ ไม่ใช่คำศัพท์ที่ต้องแปลคำโดยไม่จำเป็น เขียนให้กระชับ ชัดเจน อาจใช้ภาษาพูด มาเขียนอธิบายได้ เพื่อให้คล้ายกับการพูดคุยกัน ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องที่จะอธิบายได้เร็วยิ่งขึ้น
3.3 เขียนอธิบายอย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อมวกวนสับสน ถ้าเป็นการเขียนอธิบายการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งต้องเขียนไปตามลำดับขั้นตอน
4. ตัวอย่างการเขียนอธิบาย
4.1 การเขียนอธิบายตามลำดับขั้นตอน
ไข่ตุ๋นวุ้นเส้น ต้นทุนต่ำทำกินแก้จน
สูตรในการทำ “ไข่ตุ๋น” ที่เจ็กจุ่นขายในราคาโถละ 30 บาท จะใช้ไข่ไก่ 2 ฟอง หมูสับ 50 กรัม วุ้นเส้น เห็นทอดหั่น กระเทียมเจียว ผักชี้ พริกชี้ฟ้าสุก ( แดง )
เขามีเทคนิคในการทำหรือปรุง โดยเอาไข่ไก่ตีเข้ากับน้ำซุป ( น้ำต้มกระดูกหมูหรือกระดูกไก่ก็ได้ ) โดยใช้สูตรน้ำซุปครึ่งแก้วต่อไข่ไก่ 2 ฟอง ( มากไปไข่ตุ๋นเหลว น้อยไปไข่ตุ๋นแข็งกระด้างไม่ดี ) ตีจนเข้ากัน จากนั้นก็ใส่ซอส ซีอิ๊วขาว พริกไทย ( ไม่ใส่น้ำปลาจะทำให้เกิดกลิ่นคาว )
เมื่อเครื่องปรุงไข่ตุ๋นเสร็จแล้วเอาวุ้นเส้นใส่เข้าไปคนให้เข้ากัน แล้วเอาเห็ดหอม พริกชี้ฟ้า ใส่เข้าไปคล้ายๆ กับโรยหน้าแล้วนำไปนึ่งในซึ้งนานประมาณ 20 นาที ไข่ตุ๋นก็จะสุกพอดีรับประทานพอยกออกมาจากซึ้งแล้วโรยด้วยผักชี ตักกินร้อนๆ อร่อย…เป็นอาหารเสริมสุขภาพ
ตามคำขวัญที่ว่า … บริโภคไข่ไก่ พลานามัยสมบูรณ์ ( ข้อสำคัญอย่าใส่ผงชูรส )
ที่มา : ปัญญา เจริญวงศ์. “ทำได้ไม่จน.” ไทยรัฐ, 21 กุมภาพันธ์ 2546 , หน้า 7
4.2 การเขียนอธิบายโดยให้คำนิยาม
แมวป่า
แมวป่า หรือ Jungle Cat เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เสือกระต่าย” เพราะอาหารโปรดของเจ้าแมวป่า คือ กระต่ายนั่นเอง แมวป่ามีรูปร่างและเสียงร้องคล้ายแมวบ้าน แต่มีขนาดใหญ่กว่า ขายาวกว่าเล็กน้อย และมีหูตั้งยาว นิสัยของเจ้าแมวชนิดนี้ชอบอยู่ตามป่าโปร่งที่มีต้นหญ้าสูง ๆ หรือ ตามป่าละเมาะ นอกจากนี้ มันยังชอบอยู่ใต้พุ่มไม้ใบหนา หรือพุ่มไม้ริมน้า แต่จะไม่ชอบที่จะขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ แมวป่าเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางวัน โดยมักจะกินสัตว์เล็กต่าง ๆ อาทิ เช่น หนู กิ้งก่า กบ เขียด นก และกระต่าย เจ้าแมวป่าจะมีอายุยืนประมาณ 10 ปีเศษ โดยมันจะผสมพันธุ์ได้ก็ต่อเมื่ออายุประมาณ 2 ปี ตั้งท้องประมาณ 66 วัน ตกลูกครั้งละ 2 – 4 ตัว และมีลูกได้ปีละ 2 ครั้ง
ที่มา : “ชีวิตสัตว์โลก.” ไทยรัฐ, 8 มิถุนายน 2546 , หน้า 13
4.3 การเขียนอธิบายจากสาเหตุไปสู่ผลลัพธ์
น้ำหวานเข้มข้น…อันตราย
นอกจากสิ่งและรสชาติอร่อยแล้วสีสันที่น่ารับประทานนับเป็นสัมผัสแรกที่เป็นแรงดึงดูดใจผู้บริโภค สีที่ใช้ผสมอาหารตามท้องตลาดนั้น มีด้วยกัน 3 ประเภท คือ
หนึ่ง สีอินทรีย์ ที่ได้จากการสังเคราะห์ของสารเคมีประเภทต่างๆ
สอง สีอนินทรีย์ ได้จากผงถ่านที่ได้จากการเผาพืช เช่น สีดำจากกาบมะพร้าวเผา
สาม สีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น สีแดงจากกระเจี๊ยบ ครั่งหรือสีเขียวจากใบเตย
เจ้าสีผสมอาหารที่อาจก่อปัญหาแก่ผู้บริโภค คือ สารอินทรีย์ เนื่องจากมีโครงสร้างมีแต่ละชนิด มีโลหะหนักเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดสี เช่น ตะกั่ว สารหนู โครเมียม สังกะสี แต่ถ้าหากใช้ตามปริมาณที่กฎหมายกำหนดจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
แต่หากผู้ผลิตอาหารใช้สีอินทรีย์มากเกินไป ผู้บริโภคก็มีโอกาสได้รับโลหะหนักปริมาณมากขึ้น ทำให้เกิดการสะสมในร่างการจนเป็นอันตรายได้ เช่น
สารหนู เมื่อเข้าสู่ร่างกายและสะสมอยู่ตามกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ตับ ไต จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและเกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โลหิตจาง
ส่วนสารตะกั่ว จะมีพิษต่อระบบประสาททั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง
วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างน้ำหวานเข้มข้นจำนวน 6 อย่างเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณของสีสังเคราะห์ปรากฏว่ามี 3 ตัวอย่าง ที่พบว่ามีปริมาณของสีผสมอาหารเกินข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข
ที่กำหนดให้อาหารประเภทเครื่องดื่ม ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน เดิมสีปองโซ 4 อาร์ ( สีแดง )
ได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม
เห็นอย่างนี้แล้วอดห่วงผู้บริโภคและเด็กไม่ได้ เพราะปัจจุบันน้ำหวานเข้มข้นที่มีให้เลือกหลากสีสัน กำลังเป็นที่นิยมและมีขายอยู่ทั่วไปคงต้องฝากผู้ผลิตทั้งหลายว่าควรระมัดระวังการใช้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
ส่วนผู้บริโภคเองก็ต้องสังเกตสักนิด น้ำหวานเข้มข้นหรืออาหารที่มีสีฉูดฉาดเกินไป หากเลี่ยงได้ก็จะดี…
ที่มา : “มันมากับอาหาร : น้ำหวานเข้มข้น…อันตราย.” ไทยรัฐ, 20 มิถุนายน 2546, หน้า 7.
4.4 การเขียนอธิบายโดยใช้ตัวอย่าง
การปลูกไม้ดอกไม้ประดับให้งามสมดังใจปรารถนานั้น ผู้ปลูกต้องศึกษาลักษณะธรรมชาติการเจริญเติบโตของต้นไม้แต่ละชนิดให้ถ่องแท้ก่อนแล้วจึงปลูกและบำรุงรักษาให้ตรงกับลักษณะธรรมชาตินั้น ๆ ตัวอย่าง เช่น หากจะปลูกบอนสีต้องรู้ว่าบอนสีต้องการความชื้นสูง ไม่ชอบแสงแดดจัด เจริญงอกงามในที่ร่มรำไร ดังนั้นเวลาปลูก จึงต้องปลูกในที่ร่มรำไร และให้น้ำมากจนชุ่มพอ บอนสีจึงจะงามสมดังใจผู้ปลูก หากจะปลูกกุหลาบต้องทราบว่ากุหลาบเป็นต้นไม้ชอบแดดจัด ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี ดังนั้นผู้ปลูกกุหลาบก็ต้องวางกระถางหรือปลูกด้วยหญ้าไซแห้งแช่น้ำจนชุ่มจึงจะเจริญงอกงาม หากจะปลูกต้นไม้ประเภทแคคตัส ก็ต้องทราบว่าต้นไม้ต้องการน้ำน้อยชอบแสงแดดมาก การดูแลรักษา จึงฉีดน้ำฝอยให้ก็เพียงพอ หากรดน้ำทุกวันเช่นต้นไม้อื่น แคคตัสจะเน่าตายหมด
ตัวอย่าง : การเขียนอธิบาย
เรื่อง “หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-บุ๊ก (B-book)”
E-book หนังสือไฮเทค
นักวิจัยจากฮิวเลทท์ แพ็กการ์ด ได้พัฒนาวิทยาการใหม่ซึ่งเป็นต้นแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออี- บุ๊ก ที่ย่อมาจาก Eletronic book มีขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าขนาดของหนังสือนัก แต่บรรจุข้อมูลได้มากมาย เรียกว่าเป็นห้องสมุดขนาดย่อมได้เลยทีเดียว อี- บุ๊ก มีขนาดหนาเพียง 1 ซม. ดูๆ ไปก็คล้ายกับคอมพิวเตอร์มือถือ นักวิจัยที่พัฒนาอี- บุ๊กนี้ กล่าวว่า “ พวกเราพยายามค้นหาสิ่งที่เหมือนหนังสือที่จะให้ข้อมูลแกผู้บริโภคมากที่สุด จึงได้พัฒนามาเป็นอี-บุ๊ก สิ่งประดิษฐ์ขนาดเล็กที่ใช้คอมพิวเตอร์ตามมาตรฐาน USB ”
อี- บุ๊ก เป็นหนังสือไฮเทคที่นอกจากจะบรรจุข้อมูลได้มากเหมือนห้องสมุดที่มีหนังสือเป็นร้อย ๆ เล่มแล้ว การใช้งานยังง่ายอีกด้วย โดยใช้ระบบสัมผัสทางหน้าจอ ซึ่งเวลาอ่านอี – บุ๊ก คนอ่านก็สามารถเปลี่ยนหรือพลิกหน้าหนังสือง่ายกว่าอ่านหนังสือของจริงเสียอีก เพียงแต่แตะบริเวณแถบริ้วยาว
ด้านหน้าเท่านั้นเครื่องก็จะเปลี่ยนหน้าทันที นอกจากนี้ ยังสามารถซูมบริเวณเรื่องที่อยากอ่านให้ชัดเจนได้อีกด้วย แต่ปัญหาหลักของอี - บุ๊ก อยู่ที่ว่าหน้าจอเป็นคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าใช้เวลาอ่านไปนานๆ แล้ว ทำให้เกิดอาการปวดตาได้
ที่มา : “วิทยาการเด็ก : E-book หนังสือไฮเทค.” ไทยรัฐ, 31 สิงหาคม 2546 , หน้า 13.