สถิติการใช้ instagram ใน ประเทศไทย 2022

     และจากข้อมูลสถิติผู้ใช้งานยังสะท้อนให้เห็นอีกว่าคนไทยส่วนใหญ่เข้าถึง Social media มากกว่า 80 %ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างการเชื่อมต่อคนมากมายในสังคม และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราได้เข้าถึงคนได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากอีกตัวหนึ่งเลยครับ

สัปดาห์ที่แล้วผมเขียนเรื่องสถิติการใช้ดิจิทัลทั่วโลก เป็นข้อมูลจากรายงาน Digital 2022 Global Overview ซึ่งยังเป็นข้อมูลภาพรวมทั่วโลก และมีข้อมูลของแต่ละประเทศบ้าง แต่ล่าสุดเมื่อกลางสัปดาห์นี้ We are social ได้เปิดผลรายงานเจาะลึกในแต่ละประเทศ โดยมีรายงาน Digital 2022 Thailand มีข้อมูลการใช้ดิจิทัลในประเทศไทยพิ่มเติมอยู่หลายด้าน 

ข้อมูลล่าสุดปี 2022 พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 54.5 ล้านคน คิดเป็นอัตราส่วนต่อประชากรทั้งหมดอยู่ที่ 77.8% ซึ่งหากเทียบกับปี 2021 เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 108,000 คน หรือ 0.2% ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสถานการณ์โควิดทำให้ข้อมูลการสำรวจทำได้ไม่ครบถ้วน

ทั้งนี้จากการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในบ้านเรา พบว่า มีการใช้จากโทรศัพท์มือถือสูงถึง 96.2% ใช้จากเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คส่วนตัว 46.1% ใช้จากเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คของที่ทำงาน 19.3% และใช้จากแท็ปเล็ต 27.6% โดยคนไทยใช้เวลาในการเล่นอินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยสูงถึง 9 ชั่วโมง 06 นาทีต่อวัน

เหตุผลการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยส่วนใหญ่ เพื่อการค้นหาข้อมูล 67.6% ใช้เพื่อติดตามข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ 64.1% ดูคลิปวิดีโอ สตรีมมิ่งทีวี และหนัง 60.8% ค้นหาไอเดียใหม่ๆ และจุดประกายความคิด 60.4% ฟังเพลง 53.9% เล่นเกม 48.1% ค้นข้อมูลทางธุรกิจ 37.9% ด้านการศึกษาและการเรียนรู้ 37.1% และการค้นหาเพื่อนใหม่ 36.0%

ทั้งนี้เว็บไซต์ที่คนไทยเข้าชมมากสุด 5 อันดับแรกคือ Google, YouTube, Facebook, Pantip และ Shopee โดยมีคำ (Keyword) ที่คนไทยใช้ค้นหาใน 5 อันดับแรกคือ “หนัง หวย แปล ผลบอล และเพลง”

ด้านสถิติการใช้โซเชียลมีเดียปรากฏว่า บ้านเรามีผู้ใช้สูงถึง 56.85 ล้านราย ซึ่งเป็นอัตราส่วนต่อประชากรทั้งหมดอยู่ที่ 81.2% เพิ่มขึ้นจากปี 2021 ที่มีอยู่ 55.0 ล้านราย ทั้งนี้จำนวนผู้ใช้อาจไม่ใช่เป็นรายบุคคล เพราะบางคนอาจมีบัญชีโซเชียลมีเดียที่ซ้ำกัน โดยคนไทยใช้เวลาเล่นโซเชียลมีเดียโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ชั่วโมง 59 นาทีต่อวัน

ผู้ใช้โซเชียลมีเดียในบ้านเราส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 25-34 ปี คิดเป็น 31.8% ของผู้ใช้ทั้งหมด ตามมาด้วยช่วงอายุระหว่าง 18-24 ปีที่ 22.3% อายุระหว่าง 35-44 ปีที่ 17.6% อายุระหว่าง 45-54 ปีที่ 11.4% และ อายุระหว่าง 55-64 ปีที่ 6.3%

จำนวนโซเชียลมีเดียที่คนไทยใช้โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 7.6 แพลตฟอร์ม โดยแพลตฟอร์มที่เป็นเบอร์หนึ่งในการใช้งานคือ Facebook ที่ 93.3% ตามมาด้วย Line 92.8%, Facebook Messenger 84.7%, TikTok 79.6%, Instagram 68.7% และ Twitter 53.1% เมื่อสอบถามแพลตฟอร์มที่คนไทยชอบ พบว่า Facebook ยังเป็นเบอร์หนึ่งที่ 40.8% ตามด้วย Line 15.8%, TikTok 15.7%, Instagram 10.4%, Facebook Messenger 6.4%, และ Twitter 4.6% 

ทั้งนี้จำนวนผู้ใช้ในแต่ละแพลตฟอร์มในบ้านเรามี ดังนี้ Facebook 50.05 ล้านราย, YouTube 42.8 ล้านราย, Instagram 18.5 ล้านราย, TikTok 35.8 ล้านราย, Facebook Messenger 35.7 ล้านราย และ Twitter 11.45 ล้านราย

ข้อมูลได้แสดงสถิติจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในบ้านเราที่ 95.6 ล้านรายคิดเป็น 136.5% เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ซึ่งเมื่อข้อมูลการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากมือถือในบ้านเราพบว่า 72.25% มาจากระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และ 27.42% มาจากระบบปฏิบัติการ iOS

ปีที่ผ่านมาเรามีการดาวน์โหลดโมบายแอปทั้งสิ้น 2.44 พันล้านครั้ง โดยโมบายแอปที่ได้รับการดาวน์โหลดสูงสุด 5 อันดับแรก คือ TikTok, Facebook, Shopee, หมอพร้อม และ Facebook Messenger ส่วนโมบายแอปที่ผู้คนในบ้านเราใช้เวลาในการเล่นสูงสุด 5 อันดับแรก คือ Line, YouTube, TikTok, Meb และ Tencent Video

นอกจากนี้ ยังมีสถิติด้านการใช้อีคอมเมิร์ซในบ้านเราพบว่า คนจำนวน 68.3% ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้อินเทอร์เน็ตมีการซื้อสินค้าออนไลน์เป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยมีจำนวนผู้ซื้อสินค้าทั้งสิ้น 36.6 ล้านคน เป็นจำนวนเงิน 18.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้แรงจูงใจที่ทำให้ซื้อออนไลน์ส่วนใหญ่ตอบว่าเป็นเพราะการส่งสินค้าฟรี 57.7% การได้คูปองหรือส่วนลด 49.2% สามารถจ่ายเงินสดเมื่อได้รับสินค้า 37.6% และการได้ดูรีวิวจากลูกค้าคนอื่น 31.8%

จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นว่ามีประโยชน์กับคนที่ต้องการเจาะลึกพฤติกรรมการใช้ดิจิทัลของคนในบ้านเรา เพื่อนำไปวางแผนการตลาด การกำหนดเป้าหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหรือโซเชียลมีเดีย ซึ่งหากท่านใดสนใจรายงานเต็มของแต่ละประเทศทั่วโลก สามารถค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บ datareportal.com

พฤติกรรมการใช้ social media ของแต่ละ Gen ค่อนข้างมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่น่าจะทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ช่วงพักหลังมานี้ มีความน่าสนใจมากขึ้นที่จะเข้าใจรุ่นน้องอย่าง “Gen Z”

ยกตัวอย่างเดือน กรกฎาคม ปี 2565 ที่ผ่านมา Google ออกมาเปิดเผยข้อมูล ว่าในสหรัฐฯ คนที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18-24 ปี (Gen Z) หันไปใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง TikTok และ Instagram เพื่อค้นหาสถานที่ใหม่ ๆ สำหรับรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรม Gen Z ที่แตกต่างออกไป แล้วถ้าหันมามองประเทศไทย จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรแบบนี้บ้างหรือเปล่า?

กรณีศึกษาล่าสุดของ YouGov RealTime Omnibus ของเดือนสิงหาคม ปี 2565 เปิดเผยว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เหล่า Gen Z ใช้บ่อยที่สุด คือ Youtube ตามมาด้วย Facebook, TikTok และ Instagram ทว่าเมื่อเทียบกับ Gen อื่น ๆ แล้ว กลุ่ม Gen Z ใช้ TikTok และ Instagram มากที่สุด

สถิติการใช้ instagram ใน ประเทศไทย 2022

 

พฤติกรรมของ Gen-Z ในไทย ใช้ TikTok และ Instagram เพื่ออะไรบ้าง?

ทาง YouGov RealTime Omnibus ยังให้ข้อมูลถึงกิจกรรมที่เหล่า Gen Z ในไทยชอบทำอีกด้วย โดยยอดนิยม 3 อันดับแรกที่ชอบทำบน TikTok ได้แก่:

  1. ดูการถ่ายทอดสด เช่น จากผู้ขายออนไลน์ (37%)
  2. ติดตามความเคลื่อนไหวของศิลปินและคนดัง (36%)
  3. ติดตามข่าวสาร (30%)

ส่วนบน Instagram กิจกรรมสามอันดับแรกที่ Gen Z ในประเทศไทยทำคือ:

  1. โพสต์รูปภาพ/ข้อความ/วิดีโอ (58%)
  2. ติดตามความเคลื่อนไหวของเพื่อนและครอบครัว (41%)
  3. ติดตามความเคลื่อนไหวของศิลปินและคนดัง (41% )

สถิติการใช้ instagram ใน ประเทศไทย 2022

ตอนนี้เริ่มเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนมากขึ้นแล้วว่า พฤติกรรมด้าน digital activities ของ เหล่า Gen Z มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากขึ้นเมื่อเทียบกับ Gen อื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ทำให้หลาย Brand อยากจะเข้าใจกลุ่มนี้ให้มากขึ้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (brand relationship) ต่อพวกเขาในอนาคต ดังนั้นสำคัญอย่างมากที่จะต้องปรับตัวตาม digital ไลฟสไตล์ของพวกเขาด้วย

ไม่งั้นต้องระวัง… อาจโดนทิ้งท้ายได้!

อ้างอิงและดูสถิติอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ :
YouGov

 

 


  • 259
  •  
  •  
  •  
  •  

สถิติการใช้ instagram ใน ประเทศไทย 2022
สมาคมโฆษณาฯ กดปุ่มเปิดงานเทศกาลสุดยิ่งใหญ่แห่งปี “Adman Awards & Symposium 2022” วันความคิดสร้างสรรค์แห่งชาติ
สถิติการใช้ instagram ใน ประเทศไทย 2022
Twitter ยืนยันแล้วเก็บค่าสมาชิกจริง 7.99 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน ปฐมบทสงครามต่อสู้ “บอท”
สถิติการใช้ instagram ใน ประเทศไทย 2022
Pizza Hut จัดเต็ม Melts บนจุดขาย “นี่ไม่ใช่พิซซ่านะ”
สถิติการใช้ instagram ใน ประเทศไทย 2022
เปิดใจ ‘ศุภักษร จงศิริ’ เจ้าของและเชฟ “ร้านศรณ์” ผู้รังสรรค์อาหารใต้แบบไทยแท้ จนติดอันดับที่ 39 ร้านอาหารที่ดีที่สุดของโลก ปี 2022

คนไทยเล่นไอจีกี่คน

ทั้งนี้จำนวนผู้ใช้ในแต่ละแพลตฟอร์มในบ้านเรามี ดังนี้ Facebook 50.05 ล้านราย, YouTube 42.8 ล้านราย, Instagram 18.5 ล้านราย, TikTok 35.8 ล้านราย, Facebook Messenger 35.7 ล้านราย และ Twitter 11.45 ล้านราย

ปี 2022 แพลตฟอร์มใดที่ได้รับการนิยมมากที่สุด

YouTube กลายเป็นโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่ผู้คนทั่วโลกล้วนใช้เวลาด้วยเยอะที่สุดในปี 2021-2022 สูงถึง 23.7 ชั่วโมงต่อเดือน ตามมาด้วย Facebook เป็นอันดับสอง 19.6 ชั่วโมงต่อเดือน ตามมาด้วย WhatsApp 18.6 ชั่วโมงต่อเดือน กับ Instagram 11.2 ชั่วโมงต่อเดือน ส่วน TikTok แย่งเวลาจากผู้คนมาได้นานถึง 19.6 ชั่วโมงเทียบเท่ากับ ...

10เหตุผลที่คนไทยนิยมใช้โซเชียลมีเดียในปี2022มีอะไรบ้าง

3. 10 เหตุผลหลักที่คนไทยใช้ Social media.
58.7% เพื่อติดต่อกับเพื่อนและคนในครอบครัว.
44.2% อ่านและติดตามเรื่องราวใหม่ๆ.
37.8% ติดตามสิ่งที่เป็นกระแสหรือสิ่งที่คนในสังคมกำลังพูดถึง.
37.2% เพื่อแชร์ความคิดหรือแสดงความคิดเห็นในสิ่งต่างๆ.
35.0% หาแรงบันดาลใจ.
34.3% หาสิ่งที่ต้องการซื้อ หรือทำตาม.

คนไทยใช้Social Media วันละกี่ ชม.

Date: 04/02/2021Author: eukeik . ee. จำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียในไทยมีเท่าไรกัน? คนไทยใช้โซเชียลมีเดียมากถึง 2.48 ชั่วโมง/วัน สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก 2.25 ชั่วโมง/วัน จากรายงานของ We Are Social 2021.