รัฐวิสาหกิจ เงินเดือน เท่า ไหร่

จุดเด่น

เพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น

รายละเอียดสินเชื่อ

จำนวนเงินให้กู้

ให้กู้ได้ตามความจำเป็นและความสามารถในการชำระคืน ดังนี้

1. กรณีใช้บุคคลค้ำประกัน

  • กรณีหน่วยงานทำข้อตกลงกับธนาคาร (ส่วนกลาง) ให้กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 40 เท่า ของเงินเดือนผู้กู้ แต่ไม่เกินรายละ 3,000,000 บาท
  • กรณีหน่วยงานทั่วไป ให้กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 30 เท่า ของเงินเดือนผู้กู้ แต่ไม่เกินรายละ 3,000,000 บาท

2. กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน

  • ให้กู้ไม่เกินรายละ 5,000,000 บาท โดยให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 90 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมอาคาร หรือไม่เกิน ร้อยละ 85 ของราคาประเมินห้องชุด ทั้งนี้ กรณีใช้ที่ดินเป็นหลักประกัน ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินที่ดิน และไม่เกิน 3,000,000 บาท
  • ให้สามารถกู้ตาม 1. และ 2. รวมกันได้ ไม่เกินรายละ 5,000,000 บาท

ดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

ระยะเวลาชำระหนี้เงินกู้

  • กรณีใช้บุคคลค้ำประกัน : ให้กู้ได้ไม่เกิน 15 ปี โดยนับตั้งแต่เดือนที่ต้องชำระเงินกู้และดอกเบี้ยงวดแรกตามที่กำหนดในสัญญา
  • กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน : ให้กู้ได้ไม่เกิน 20 ปี โดยนับตั้งแต่เดือนที่ต้องชำระเงินกู้และดอกเบี้ยงวดแรกตามที่กำหนดในสัญญา ยกเว้น กรณีใช้ที่ดินเป็นหลักประกันให้กู้ได้ไม่เกิน 15 ปี

รายละเอียดการสมัคร

คุณสมบัติ

  1. เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  2. มีอายุครบ 20 ปีขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 60 ปี ยกเว้น ข้าราชการอัยการและข้าราชการตุลาการ เมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี
  3. เป็นผู้ฝากเงินประเภทเผื่อเรียกของธนาคาร

หลักประกัน

กรณีใช้บุคคลค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. ต้องเป็นบุคลากรตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติผู้กู้
  2. มีอายุครบ 20 ปีขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้ค้ำประกันกับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ ต้องไม่เกิน 60 ปี
  3. ทำงานมาแล้วครบ 3 ปี หรือในกรณีที่ทำงานไม่ครบ 3 ปี ต้องใช้ผู้ค้ำประกันที่ทำงานมาแล้วครบ 1 ปี จำนวน 2 คน แทน

กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน กรณีใช้หลักประกัน ให้ใช้ที่ดิน หรือที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด อย่างหนึ่งอย่างใด โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

  1. เป็นของผู้กู้และ/หรือของบุคคลอื่น
  2. ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีความเจริญ มีไฟฟ้า สาธารณูปโภคอื่นๆ ตามความจำเป็นและมีทางสาธารณประโยชน์ ซึ่งมีรถยนต์ผ่านเข้าออกได้สะดวก

ทั้งนี้ กรณีเป็นการไถ่ถอนและชำระหนี้เดิมที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ต้องนำหลักทรัพย์ที่ไถ่ถอนมาเป็นหลักประกันในการกู้ครั้งนี้ด้วย โดยผู้มีอำนาจอนุมัติตามวงเงินสามารถพิจารณาเปลี่ยนแปลงจำนวนหลักประกันที่มีหลายแปลงให้เหมาะสมกับจำนวนเงินกู้ได้

รัฐบาลซุ่มวางแผนยกเครื่องโครงสร้างเงินเดือนพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามหลังขึ้นเงินเดือนข้าราชการ คณะทำงานชุด "พงศ์เทพ" นัดถก 18 ก.ค.นี้ เล็งขยายฐานจาก 58 ขั้น เป็น 70 ขั้น สตาร์ตขั้นต่ำปรับจาก 5,510 บาท เป็น 9,040 บาท เพดานสูงสุด 2.31 แสนบาท/เดือน ป.ตรี เฉลี่ยปรับขึ้น 50%

ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 107/2556 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อศึกษาทบทวนความเหมาะสมของค่าตอบแทนของผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐในภาพรวมทั้งหมด โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา ล่าสุด วันที่ 18 กรกฎาคมนี้ คณะกรรมการชุดนี้จะประชุมหารือกันเป็นครั้งแรก เพื่อกำหนดแนวทางในการพิจารณาความเหมาะสมของค่าตอบแทนของผู้บริหารและบุคคลากรในหน่วยงานภาครัฐทั้งระบบ


ประเดิมรื้อเงินเดือนรัฐวิสาหกิจ

ขณะเดียวกันจะพิจารณาข้อเรียกร้องของตัวแทนหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ต้องการให้มีการปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยเร่งด่วน เพื่อให้สอดคล้องอัตราค่าครองชีพในปัจจุบัน และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน และปรับขึ้นเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 1.5 หมื่นบาท/เดือน ซึ่งทำให้พนักงานรัฐวิสาหกิจบางส่วนได้รับผลกระทบจากที่พนักงานใหม่ได้รับเงินเดือนค่าจ้างในระดับที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับพนักงานเดิม ขณะที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ออกหลักเกณฑ์เยียวยาข้าราชการที่ได้รับผลกระทบในลักษณะเดียวกันไปแล้ว

ตนเห็นว่าการผลักดันปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนและผลตอบแทนของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นเรื่องที่ควรสนับสนุน เพราะนอกจากช่วยดึงดูดบุคลากรที่มีประสิทธิภาพเข้าสู่ภาครัฐแล้ว ถือเป็นการสร้างขวัญกำลังใจอีกทางหนึ่ง เรื่องนี้แม้แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็พยายามผลักดันเต็มที่ จึงได้มีคำสั่งสำนักนายกฯ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยมีตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และตัวแทนภาคเอกชนร่วมอยู่ในคณะกรรมการด้วย

ดร.ทศพรกล่าวว่า ยอมรับว่าแนวทางในการพิจารณาปรับโครงสร้างเงินเดือนรัฐวิสาหกิจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เนื่องจากแต่ละองค์กรมีกฎหมายจัดตั้งเฉพาะ กำหนดโครงสร้างในการบริหารจัดการในลักษณะที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม หลังการหารือในที่ประชุมน่าจะได้แนวคิดและทางเลือกที่เหมาะสม จากนั้นจะเสนอให้กระทรวงการคลังและ ครม.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง


ขยายฐานจาก 58 เป็น 70 ขั้น

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในส่วนของกระทรวงการคลัง ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กำลังอยู่ระหว่างปรับบัญชีโครงสร้างเงินเดือนรัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน หลังจากก่อนหน้านี้ ครม.เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้เห็นชอบแนวทางจ่ายโบนัสแก่พนักงานรัฐวิสาหกิจ และปรับอัตราค่าตอบแทนและเบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจไปแล้ว ฝ่ายกฎหมาย สคร.กำลังทำเรื่องปรับบัญชีโครงสร้างเงินเดือนใหม่อยู่ โดยดึงบัญชีจากทุกรัฐวิสาหกิจมาพิจารณา

แนวทางการปรับบัญชีโครงสร้างเงินเดือนใหม่จะปรับจากเดิมที่มี 58 ขั้น เป็น 70 ขั้น เนื่องจากปัจจุบันเกิดปัญหาขั้นเงินเดือนตันในระดับขั้นสูงสุด เพราะที่ผ่านมามีการปรับขึ้นเงินเดือนในระดับฐานข้างล่างไปแล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับการขึ้นเงินเดือนข้าราชการไม่ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาท แต่ฐานข้างบนยังไม่ได้ปรับ หลังดำเนินการเสร็จเรียบร้อยจะเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป


กระทบรายได้รับทั้งทางตรง-อ้อม

สำหรับวงเงินที่จำเป็นต้องนำมาใช้จ่ายเพิ่ม กรณีเป็นรัฐวิสาหกิจที่สามารถจ่ายเงินเดือนเองได้ ก็สามารถใช้รายได้ของตัวเองจ่ายเงินเดือน อย่างไรก็ดี เมื่อค่าใช้จ่ายบุคลากรของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้การคำนวณผลกำไรลดลง ทำให้การจ่ายเงินปันผล และการนำส่งรายได้เข้ารัฐก็จะลดลงตามไปด้วย จะกระทบทางอ้อมต่อรายได้รัฐบาล ขณะเดียวกันในกรณีเป็นรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุน ซึ่งปกติต้องของบประมาณจากรัฐบาล รัฐก็จะมีผลกระทบโดยตรง

อย่างไรก็ดี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลัง จะต้องพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็น และแนวทางที่ชัดเจน เพื่อเสนอระดับนโยบายตัดสินใจต่อไป

ทั้งนี้ ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง มีพนักงานรวมกันแล้วมีจำนวนมากกว่า 2.94 แสนคน ที่ผ่านมา สคร.เคยศึกษาปรับโครงสร้างเงินเดือนมาก่อนแล้ว ยกเว้นรัฐวิสาหกิจกลุ่มที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ


แบ่งโครงสร้างรายได้ 3 กลุ่ม

โดยโครงสร้างเงินเดือนรัฐวิสาหกิจมีอยู่ 3 กลุ่ม กลุ่มแรก มีกว่า 30 แห่ง คือรัฐวิสาหกิจที่ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้าง 58 ขั้น ตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ อาทิ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) การประปานครหลวง (กปน.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท ขนส่ง จำกัด องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เป็นต้น

กลุ่มที่ 2 มี 13 แห่ง เป็นรัฐวิสาหกิจที่ ครม.เคยมีมติให้สามารถกำหนดอัตราเงินเดือนค่าจ้างและสวัสดิการเองได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ อาทิ บมจ.ปตท. บมจ.กสท โทรคมนาคม บมจ.ทีโอที บมจ.อสมท. บมจ.การบินไทย เป็นต้น

และกลุ่มที่ 3 มี 16 แห่ง ใช้บัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างเป็นของตัวเอง อาทิ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารออมสิน เป็นต้น


สรส.กระทุ้งรัฐอีกรอบ

ด้านแหล่งข่าวจากสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา สรส.ในฐานะตัวแทนพนักงานรัฐวิสาหกิจพยายามเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนอย่างต่อเนื่อง โดยได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ครส.) กระทรวงแรงงาน โดยผ่านทางนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ อดีต รมว.แรงงาน ตั้งแต่ต้นปี 2554 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากที่รายได้ไม่สอดคล้องค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น ขณะที่ผู้ใช้แรงงานและข้าราชการมีรายได้เพิ่มจากการปรับขึ้นค่าแรงและอัตราเงินเดือนช่วงก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้า จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งหาทางแก้ไขโดยด่วน

ขณะเดียวกัน สรส.ได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างอัตรา เงินเดือน เนื่องจากโครงสร้างอัตราเงินเดือนของรัฐวิสาหกิจบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2537 หรือเมื่อ 19 ปีก่อน ทำให้พนักงานขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งระบบ กระทบต่อเนื่องผลประกอบการและการนำเงินรายได้ส่งเข้ารัฐโดยตรง จึงอยากให้รัฐเข้ามาดูแลและหาทางออกโดยเร็ว


เสนอ 2 บัญชีโครงสร้างเงินเดือน

สำหรับร่างบัญชีอัตราโครงสร้างเงินเดือนใหม่ที่ได้จัดทำขึ้น มีทั้งดำเนินการในนาม สรส.ซึ่งได้เสนอให้กำหนดอัตราเงินเดือนไว้ที่ 58 ขั้นเท่าเดิม เพียงแต่ปรับอัตราเงินเดือนแต่ละขั้นสูงขึ้นจากอัตราที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ตามมติ ครม.เมื่อ 28 มีนาคม 2554 อาทิ ขั้น 1.0 ปรับขึ้นจากเงินเดือน 5,780 บาท เป็น 9,040 บาท ขั้น 1.5 ปัจจุบันที่ 5,780 บาท เป็น 9,310 บาท ขั้น 2.0 ที่ 5,780 เป็น 9,580 บาท ขั้น 2.5 จาก 5,780 บาท เป็น 9,870 บาท ขั้น 3.0 จาก 5,780 เป็น 10,150 บาท ขั้น 3.5 จาก 5,780 จาก 10,150 บาท ขั้น 21.0 ที่ 15,000 บาท เป็น 28,980 บาท และขั้นสูงสุดขั้นที่ 58 จากปัจจุบัน 119,200 บาท เป็น 189,330 บาท

ขณะที่ในส่วนของร่างบัญชีโครงสร้างเงินเดือนที่จัดทำโดยกลุ่มประสานงานบุคคลรัฐวิสาหกิจ (กบร.) เสนอให้ปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนจากเดิม 58 ขั้น เป็น 70 ขั้น อาทิ ขั้นที่ 1.0 จนถึง 4.0 อัตราเงินเดือน 5,780 บาท จากนั้นในขั้น 4.5 เงินเดือน 5,940 บาท ขั้น 5.0 ที่ 6,110 บาท ขั้น 6.5 ที่ 6,630 บาท ขั้น 21 เงินเดือน 15,000 บาท ขั้น 21.5 ที่ 15,440 บาท ขั้น 58.0 ที่ 119,200 บาท และสูงสุดขั้น 70.0 ที่ 231,280 บาท เป็นต้น

เป็นที่น่าสังเกตุว่าร่างบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนที่เสนอให้ภาครัฐพิจารณาส่วนใหญ่มีการปรับขั้นจากอัตราเดิมถึงกว่า 50-60% อาทิ เงินเดือนระดับปริญญาตรีปัจจุบันที่ 9,670 บาท ขยับเพิ่มเป็น 15,000 บาท ขณะที่อัตราขั้นที่ 1.0 ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุด จากปัจจุบัน 5,780 บาท ปรับเพิ่มเป็น 9,040 บาท เป็นต้น

ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการระดับชาติเพื่อศึกษาทบทวนความเหมาะสมของค่าตอบแทนของผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐในภาพรวมทั้งหมด เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอข้อมูลเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจจากกระทรวงการคลัง โดยนัดประชุมพิจารณาเรื่องนี้ครั้งแรกวันที่ 18 กรกฎาคมนี้ ซึ่งจะพยายามดำเนินการให้มีความคืบหน้าโดยเร็ว เบื้องต้นจะกำหนดหลักเกณฑ์และวางแนวทางในการพิจารณาอย่างเป็นระบบ เพราะเกี่ยวโยงถึงหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งระบบ