Specific competency พยาบาลวิกฤต

  1. CMU Intellectual Repository
  2. Academic Support Units
  3. Chiang Mai University Library
  4. CMUL: Journal Articles

Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64277

Title:  การพัฒนากรอบสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
Other Titles:  Development of a Competency Framework for Registered Nurses, Surgical Intensive Care Unit, Chiang Rai Prachanukroh Hospital
Authors: 
กุลวดี อภิชาตบุตร
รัตนาวดี ชอนตะวัน
Issue Date:  2559
Publisher:  คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract:  กรอบสมรรถนะของพยาบาลเป็นสิ่งที่สำคัญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยประยุกต์ใช้กลยุทธ์การพัฒนากรอบสมรรถนะของ มาร์เรลลี่, ทอนโดรา, และ ฮอจ (Marrelli, Tondora, & Hoge, 2005) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ และแบบบันทึกรายการสมรรถนะ การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์พยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญ การพัฒนากรอบสมรรถนะฉบับร่าง และการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของกรอบสมรรถนะ ผลการวิจัยพบว่า กรอบสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ คือ 1) การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประกอบ ด้วยพฤติกรรมบ่งชี้ความสามารถจำนวน 15 ข้อ 2) การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ ประกอบด้วยพฤติกรรม บ่งชี้ความสามารถจำนวน 14 ข้อ 3) การพยาบาลผู้ป่วยศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก ประกอบด้วยพฤติกรรมบ่งชี้ความสามารถจำนวน 16 ข้อ ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำกรอบสมรรถนะนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการประเมิน และพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ต่อไป
Description:  วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI:  https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/92443/72408
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64277
ISSN:  0125-0081
Appears in Collections: CMUL: Journal Articles

Files in This Item:

There are no files associated with this item.

Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

Authorภาวิณี วัยปัทมะ, ผู้แต่ง
Titleสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤติหัวใจและหลอดเลือด / ภาวิณี วัยปัทมะ = Professional nurses' competency in coronary care unit / Pawinee Vaipatama
Imprint 2552
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18155
Descript ก-ญ, 196 แผ่น

SUMMARY

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 19 คน ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด และอาจารย์ผู้สอนหรือรับผิดชอบหลักสูตรการดูแลผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์เกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของข้อคำถามแต่ละข้อ และขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และส่งแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคำตอบ หลังจากนั้น นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด ประกอบด้วยสมรรถนะ 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด 2) ด้านการบริหารยาโรคหัวใจและหลอดเลือด 3) ด้านการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด 4) ด้านการจัดการทางการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด และ 5) ด้านการตัดสินใจทางจริยธรรมในการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด

The purpose of this study was to explore the nursing competency in coronary care unit .The subject were 19 experts in critical coronary care including cardiologist, nurse manager of coronary care unit, professional nurse who expert in coronary care unit and instructor who teach or responsible in critical coronary care curriculum. The Delphi technique consisted of 3 steps. Step 1, all experts were described about the nursing competency in coronary care unit. Step 2, data were analyzed by using content analysis for developing the rating scales questionnaire. All items in the questionnaire were ranked the level of competency by a prior panel of expert. Step 3, data were analyzed by using median and interquatile range which was developed a new version of questionnaire. The new questionnaire was sent to previous experts for confirm the previous ranked items. Data were analyzed again by median and interquatile range to summarize the study. The results of the study were presented that the nursing competency in coronary care unit consisted of 5 components as follow: 1) Nursing specialty of critical cardiovascular patients 2) Administration of cardiovascular drug 3) Quality development in critical coronary care 4) Nursing management of critical coronary care and 5) Ethical decision making in patient with critical coronary care

SUBJECT


  1. ระบบหัวใจและหลอดเลือด -- โรค
  2. สมรรถนะ -- พยาบาล
  3. Cardiovascular system -- Diseases
  4. Performance -- Nurses

LOCATIONCALL#STATUS
Central Library @ Chamchuri 10 : Thesis 520571 LIB USE ONLY