กันเสียง หน้าต่าง บานเกล็ด

ปิดเสียงรบกวนให้บ้าน เพิ่มความสงบสุขให้ครอบครัว

หนึ่งปัญหาคลาสสิคสำหรับคนสร้างบ้านติดถนน ใกล้โรงงาน ใกล้อู่ซ่อมรถ ใกล้สนามบินหรืออยู่ในซอย ที่มีผู้คนพลุกพล่าน คือปัญหามลพิษด้านเสียงรบกวนที่ชวนให้หงุดหงิดใจ โดยเฉพาะช่วงเวลาแห่ง การพักผ่อน หากมีเสียงรบกวนบ่อยๆ อาจทำให้นอนหลับยากขึ้นและเป็นที่มาของอาการพักผ่อนไม่ เพียงพอ ส่งผลให้ช่วงกลางวันจะรู้สึกหงุดหงิดใจได้โดยง่าย และเสียสุขภาพจิตในเวลาต่อมา เมื่อไม่สามารถแก้ไขสภาพแวดล้อมภายนอกได้ วิธีที่ดีที่สุดคือหันมาปรับเปลี่ยนภายในบ้านของเรา เองครับ เนื้อหาชุดนี้ “HomeGuru” นำวิธีป้องกันเสียงรบกวน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาฝากกัน ลองเช็คกันดูว่าข้อไหนบ้างที่พอจะทำได้ เพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้นกันครับ

โดยปกติการป้องกันเสียงที่ดีที่สุด จะนิยมใช้แผ่นซับเสียง แต่วิธีดังกล่าวจะเหมาะกับห้องบันทึกเสียง ห้องดูหนัง หรือร้านอาหารที่ให้บริการคาราโอเกะ แผ่นซับเสียงจะช่วยป้องกันเสียงเข้าและเสียงออกได้ เป็นอย่างดี แต่สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป การติดตั้งแผ่นซับเสียงอาจเกินความจำเป็นและสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่าย ในบทความนี้ มี 7 แนวทางที่สามารถป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ในระดับนึงครับ

1. ปิดช่องโหว่รอบผนังบ้าน ช่องว่างด้านบนและใต้ประตู
หากปิดประตูหน้าต่างสนิทแล้ว แต่ยังได้ยินเสียงจากภายนอกชัดเจน แนะนำให้ผู้อ่านตรวจเช็คช่องว่าง ต่างๆ ภายในห้องดังกล่าว เช่น ช่องระหว่างประตูกับพื้นบ้าน, ช่องว่างระหว่างวงกบหน้าต่าง รวมทั้ง ตรวจสอบรอยร้าวบริเวณผนัง เพราะเสียงอาจจะเล็ดลอดผ่านเข้ามาได้ทุกช่องทาง

  • กรณีช่องว่างระหว่างประตู ปัจจุบันมีอุปกรณ์กั้นประตูที่ผลิตจากแผ่นยาง สามารถติดเพื่อกั้นช่องว่างได้ทันที
  • กรณีช่องว่างระหว่างวงกบ อาจใช้ซิลิโคนอุดตามขอบวงกบ เพื่อให้วงกับกับผนังแนบชนิดติดกัน
  • ส่วนรอยร้าวบนผนัง ใช้วิธีการโป๊วสี จะช่วยให้รอยร้าวต่างๆ กลับมาเรียบสนิทเช่นเดิมครับ
กันเสียง หน้าต่าง บานเกล็ด
ตัวอย่างประตู มีซีลยางช่วยกันเสียงได้ดี
กันเสียง หน้าต่าง บานเกล็ด
ซีลยางประตูแต่ละรุ่น มีจำหน่ายที่ HomePro

2. เปลี่ยนหน้าต่างแบบเดิมเป็นรุ่นปิดสนิท
รูปแบบของหน้าต่างและวัสดุที่นำมาใช้ เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการรับเสียงเช่นกัน ควรเลือกหน้าต่างที่มี รอยต่อน้อยและปิดสนิท เช่น หน้าต่างกรอบอลูมิเนียม บานกระจก จะช่วยป้องกันเสียงได้ดีกว่าหน้าต่าง กรอบไม้และบานไม้ ส่วนรูปแบบหน้าต่างที่กันเสียงได้ดี เป็นหน้าต่างบานสไลด์เลื่อน กระทุ้ง พร้อมกับ ติดขอบกันเสียง แต่หากเป็นหน้าต่างบานเกล็ด คุณสมบัติป้องกันเสียงจะลดน้อยลง

กันเสียง หน้าต่าง บานเกล็ด
รอยต่อระหว่างบานเหลื่อมกันและไม่แนบสนิท เป็นช่องทางให้เสียงเข้าสู่ตัวบ้าน

3. ฝ้าเพดานต้องมี
เสียงไม่ได้เข้ามาทางผนังบ้านหรือช่องหน้าต่างเท่านั้น แต่เสียงยังสามารถผ่านเข้ามาทางช่องหน้าต่างได้ดี การติดฝ้าเพดานจึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยป้องกันเสียงได้อีกทาง ยิ่งหากบนฝ้ามีการติดตั้งฉนวนกันร้อนด้วย ฉนวนดังกล่าวแม้คุณสมบัติหลักจะไม่ได้ป้องกันเสียง แต่ก็ช่วยซับเสียงแถมมาให้ด้วยครับ ได้ทั้งกันร้อน และกันเสียงไปในตัว

กันเสียง หน้าต่าง บานเกล็ด

4.เลือกติดวอลเปเปอร์ตกแต่งผนังแบบหนา
หลายๆ คนอาจจะคิดว่าการติดวอลเปเปอร์ (Wallpaper) เป็นแค่การตกแต่งผนัง แต่ความเป็นจริง วอลเปเปอร์บางรุ่นยังทำหน้าที่ช่วยดูดซับลดเสียงรบกวนได้ด้วย เช่น วอลเปเปอร์ 3D ที่มีลายนูนสูงต่ำ วอลเปเปอร์แบบหนาชนิด PE Foam ด้วยเนื้อโฟมที่หนานุ่มจึงลดทอนเสียงรบกวนจากบริเวณใกล้เคียง ได้ดี เพิ่มความสงบเเละเป็นส่วนตัวได้อีกระดับ

กันเสียง หน้าต่าง บานเกล็ด

5. ติดผ้าม่านเป็นตัวช่วยซับเสียง
นอกจากติดวอลเปเปอร์แล้ว ทราบหรือไม่ว่า ผ้าม่าน ที่เราใช้กั้นกรองแสงยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ใช้ดูด ซับเสียงได้เช่นกัน โดยต้องใช้ผ้าเนื้อดีหนาๆ มีความสามารถลดความรุนแรงของคลื่นเสียงได้มากขึ้น ในปัจจุบันยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการทอผ้าที่ช่วยให้ผ้ามีน้ำหนักเบาและดูดซับเสียงได้มากกว่าเดิม
หลายเท่าอีกด้วย

กันเสียง หน้าต่าง บานเกล็ด

6. ลดการสะท้อนของเสียงด้วยชั้นติดผนังหรืองาน Built-in
ผู้อ่านเคยสังเกตไหมว่า หลังจากที่เราสร้างบ้านเสร็จใหม่ๆ ขณะที่ห้องยังโล่ง ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ของตกแต่ง มากนัก เสียงในบ้านจะก้องสะท้อนได้ดี นั่นเป็นเพราะไม่มีสิ่งของมาช่วยดูดซับเสียง ทำให้เสียงสะท้อน ผนังกลับไปกลับมานั่นเอง ห้องที่โล่งเกินไปจึงรับเสียงเข้ามาสะท้อนภายในได้ดีกว่าห้องที่มีเฟอร์นิเจอร์ วิธีการลดทอนการหักเหของคลื่นเสียงทำได้ง่ายๆ เช่น การติดตั้งชั้นลอยสำหรับวางของ หรือติดตั้ง Built-in ชั้นวางทีวีหรือชั้นหนังสือ ตู้เสื้อผ้าขนาดใหญ่ปิดทับผนังไว้ก็จะช่วยลดทอนเสียงได้กว่าเดิม

กันเสียง หน้าต่าง บานเกล็ด

7. ปลูกต้นไม้รอบบ้าน
วิถีธรรมชาติเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการดูดซับเสียงรบกวนจากภายนอก เช่น การปลูกต้นไม้ โดยเฉพาะ ไม้ใบที่มีพุ่มหนาให้เป็นแนวรั้ว หรือปลูกรอบบริเวณบ้าน ช่วยดูดซับมลพิษและฝุ่นละอองต่างๆ และยังคอยป้องกันมลพิษทางเสียงควบคู่กันไปด้วย ไม่เพียงเท่านี้ หากผู้อ่านปลูกต้นไม้ไว้หลายๆ ชนิด ในอนาคต เหล่านกตัวน้อยๆ จะมาอยู่อาศัย ช่วยส่งเสียงบรรเลงให้รู้สึกเพลิดเพลินจิตใจกันอีกด้วยครับ

กันเสียง หน้าต่าง บานเกล็ด

ทั้ง 7 วิธีนี้ เป็นแนวทางแก้ปัญหาเบื้องต้นสำหรับบ้านที่ได้สร้างหรืออยู่อาศัยแล้ว แต่หากเป็นบ้านที่ยัง ไม่เริ่มสร้าง การป้องกันเสียงยังสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการออกแบบผังบ้าน โดยเลือกตำแหน่งห้อง สำหรับพักอาศัยให้อยู่ภายใน, เลือกวัสดุก่อผนังอิฐมวลเบาหรือก่ออิฐมอญ 2 ชั้น จะช่วยป้องกันเสียงทาง ผนังได้ดีกว่าการก่อชั้นเดียว สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ ลองนำไอเดียไปประยุกต์ใช้ได้ตามสะดวกเลยนะครับ

และหากกำลัง มองหาตัวช่วยลดการรบกวนจากเสียง ไม่ว่าจะเป็นพรม ผ้าม่าน วอลเปเปอร์ อุปกรณ์ตกแต่งสวนปลูก ต้นไม้หรือต้องการตกแต่งบ้านใหม่ ลองแวะเข้าไปที่ HomePro มีจุดบริการ Home Service ให้คำแนะนำตั้งแต่คุณสมบัติของสินค้า การออกแบบ 3D ให้เห็นภาพเสมือนจริง


สอบถามบริการเพิ่มเติม
Inbox เพจ Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro
Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ Call Center 1284

ที่มา บ้านไอเดีย

โปรดให้คะแนนบทความของเรา

[ทั้งหมด: 2 เฉลี่ย: 4.5]