สังคมและวัฒนธรรม เอเชียใต้

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

       ภูมิภาคเอเชียใต้มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน อารยธรรมโบราณได้พัฒนาขึ้นในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำสินธุ ช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองสูงสุดของภูมิภาคคือ ช่วงก่อนหน้าศตวรรษที่ 17 เมื่อราชวงศ์โมกุล เป็นภูมิภาคแหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลก เช่น ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

  ส.2.1 ม.2/4     อธิบายความคล้ายคลึงและแตกต่างของวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศใน   ภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ 

1. อธิบายลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียใต้ได้อย่างถูกต้อง

ด้านทักษะและกระบวนการ

2. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียใต้ได้อย่างถูกต้อง

 ด้านคุณลักษณะ 

 3. เห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางวัฒนธรรมในทวีปเอเชีย

การวัดผลและประเมินผล

- คำถาม

- กิจกรรม “วัฒนธรรมเอเชียใต้”

              เอเชียใต้ หรือ ชมพูทวีป หรือ อนุทวีป เป็นทวีปที่อยู่ทางใต้ของทวีปเอเชีย เป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เอเชียใต้มีพื้นที่ประมาณ 5,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 10 ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก มีจำนวนประชากรกว่า 1 พันล้านคนอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งคิดเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1 ใน 3 ของชาวเอเชียทั้งหมด หรือ 1 ใน 5 ของประชากรโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 305 คนต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 7 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศอินเดีย (1,198,003,000 คน)

              ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่นที่ราบสูงเดกกันในประเทศอินเดีย) และยังมีที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา (ในประเทศอินเดีย) ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (ในประเทศปากีสถาน) และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร (ในประเทศบังกลาเทศ) ทางตอนเหนือของเอเชียใต้ติดกับที่ราบสูงทิเบตและเทือกเขาหิมาลัย ทำให้มีอากาศหนาวเย็น

              ด้านเศรษฐกิจ ทุกประเทศยังมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนามากนัก มีเพียงอินเดียชาติเดียวที่พัฒนาอุตสาหกรรมได้เจริญรุ่งเรือง เพราะได้รับการช่วยเหลือจากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของเอเชีย คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน นอกจากนี้ ภาษาที่ใช้ในเอเชียใต้มีมากถึง 800 ภาษา แต่ภาษากลางจะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เมืองที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียใต้ คือ มุมไบ ซึ่งเป็นเมืองท่าทางตะวันตกของประเทศอินเดีย

              เอเชียใต้ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 องศาเหนือ ถึงละติจูดที่ 36 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 61 องศาตะวันออก ถึงลองจิจูดที่ 97 องศาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ         ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
ทิศตะวันออก    ติดต่อกับสหภาพพม่า
ทิศใต้             จดทะเลอาหรับและอ่าวเบงกอลของมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันตก      ติดต่อกับสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถานและสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
เอเชียใต้มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของทวีปเอเชีย รองจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันตกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามลำดับ ประกอบด้วย 7 ประเทศ คือ

เนื้อที่ จำนวนประชากร และเมืองหลวงของประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้

สังคมและวัฒนธรรม เอเชียใต้

ลักษณะภูมิประเทศ
       ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียใต้แบ่งได้ดังนี้
          1. เขตภูเขาสูงภาคเหนือ
          2. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ-คงคา
          3. เขตที่ราบสูงตอนใต้
          4. เกาะ

สังคมและวัฒนธรรม เอเชียใต้

       ภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของเอเชียใต้แบ่งได้ 6 เขต ดังนี้

สังคมและวัฒนธรรม เอเชียใต้

          1. เขตภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน (Af)
          2. เขตภูมิอากาศร้อนชื้นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw)
          3. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (BS)
          4. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย (BW)
          5. เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Ca)
          6. เขตภูมิอากาศแบบที่สูง (H)
    ทรัพยากรธรรมชาติ
1. ป่าไม้ เขตมรสุมมีป่าไม้ใบกว้าง ซึ่งมีไม้สักและไม้ไผ่เป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เขตที่สูงภาคเหนือมีป่าไม้ผลัดใบในเขตอบอุ่นและป่าสน
          2. น้ำ เขตเทือกเขาหิมาลัยเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำ และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญในเอเชียใต้หลายสาย ส่วนเขตภูเขาในคาบสมุทรอินเดียปริมาณน้ำในแม่น้ำมักเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล
          3. สัตว์ป่า ในเขตป่าไม้จะมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น สิงโต เสือ หมาป่า ลิง ช้าง หมี งู
          4. แร่ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่ขาดแคลนน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ แต่มีแร่อื่น ๆ อยู่หลายชนิด เช่น เหล็ก ทับทิม ไพลิน และแร่แกรไฟต์
  เศรษฐกิจ
1. การเกษตร ประกอบด้วย
             1) การเพาะปลูก ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูกเพื่อยังชีพ เช่น ข้าวเจ้า อ้อย ปลูกบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา ฝ้ายปลูกมากในประเทศอินเดียและปากีสถาน ปอกระเจาเป็นพืชเศรษฐกิจของแถบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา ประเทศอินเดียและบังกลาเทศ ยางพารา ชา และมะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศศรีลังกา ส่วนข้าวสาลี ข้าวฟ่าง และฝ้ายปลูกมากในประเทศปากีสถาน
             2) การเลี้ยงสัตว์ ในประเทศอินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา และปากีสถาน นิยมเลี้ยงโค ประเทศปากีสถานมีการเลี้ยงแพะและแกะมาก และประเทศเนปาลและภูฏานมีการเลี้ยงโคและแกะเป็นอาชีพ
          2. การทำประมง ประเทศอินเดียมีการทำประมงเจริญก้าวหน้าที่สุด ประเทศปากีสถานมีปลาสด ปลาแห้ง และกุ้ง เป็นสินค้าออกที่สำคัญอย่างหนึ่ง และประเทศบังกลาเทศส่งผลิตภัณฑ์ปลาเป็นสินค้าออกที่สำคัญ
          3. การทำป่าไม้ มีการอนุรักษ์ป่าเพื่อประโยชน์ทางการเกษตรและสร้างความชุ่มชื้น ซึ่งพื้นที่ที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ คือ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เนปาล และทางตะวันออกของประเทศบังกลาเทศ
          4. การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ ถ่านหินและเหล็ก พบทางภาคตะวันออกของคาบสมุทร บ็อกไซต์ผลิตได้ทางตอนใต้ของแม่น้ำคงคาซึ่งอยู่ทางตะวันออกของประเทศอินเดีย เพชร พลอยมีมากในประเทศศรีลังกา
          5. อุตสาหกรรม อินเดียมีอุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้ามากที่สุด ที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ และอุตสาหกรรมในครัวเรือน ส่วนประเทศอื่น ๆ อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนามากนัก ส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร
          6. การค้า สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าทางการเกษตร เช่น ชา ฝ้าย ปอ พืชน้ำมัน แร่เหล็ก รัตนชาติ ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า
   ลักษณะประชากร สังคม และวัฒนธรรม
1. ประชากร เอเชียใต้มีประชากรประมาณ 1,517.7 ล้านคน ประเทศอินเดียมีประชากรมากที่สุด และประเทศมัลดีฟส์มีประชากรน้อยที่สุด ซึ่งประชากรจะอาศัยอยู่หนาแน่นในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา ประเทศบังกลาเทศ และเมืองใหญ่ ๆ ในประเทศอินเดีย
          2. ภาษา โดยเฉพาะในประเทศอินเดียมีภาษาที่ใช้พูดแตกต่างกันมาก และใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางราชการ
          3. วัฒนธรรม มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ส่วนใหญ่ปฏิบัติตามขนมธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม
          4. ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย บังกลาเทศ และเนปาล รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม นับถือมากในประเทศปากีสถาน พระพุทธศาสนานับถือมากในประเทศเนปาลและภูฏาน ส่วนศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาสิข ศาสนาเชน