ประกันสังคม มาตรา 39 ลด กี่ เดือน

ประกันสังคม มาตรา 33 มาตรา 39 ลดอัตราเงินสมทบ ติดต่อกันถึง 3 เดือน ตั้งแต่ตุลาคม – ธันวาคม 2565 แต่ละเดือนเหลือจ่ายเท่าไหร่

คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบลดอัตราเงินสมทบนายจ้าง ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 เริ่มเดือน ตุลาคม – ธันวาคม 2565 นี้

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา มีมติอนุมัติการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นค่าแรงเฉลี่ย 5.02% และจะประกาศให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไปนั้น 

กระทรวงแรงงานเล็งเห็นถึงความสำคัญของการช่วยเหลือนายจ้างผู้ประกอบการ และพี่น้องผู้ประกันตน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ซึ่งได้รับความเดือดร้อน จากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอันเนื่องมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของค่าครองชีพหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 

กระทรวงแรงงาน จึงได้มีการเสนอมาตรการลดเงินสมทบทั้งฝ่ายนายจ้างและผู้ประกันตน โดยวันนี้ 20 กันยายน 2565 

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการในการช่วยเหลือลดเงินสมทบนายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 จากเดิมร้อยละ 5 เหลือฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้าง 

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ปรับลดอัตราเงินสมทบ จากอัตราเดือนละ 432 บาท เหลือในอัตราเดือนละ 240 บาท 

เริ่มตั้งแต่งวดเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 สำหรับฝ่ายรัฐบาล ยังส่งเงินสมทบในอัตราเดิมคือร้อยละ 2.75 ของค่าจ้างผู้ประกันตน

มาตรการลดเงินสมทบเพื่อช่วยเหลือพี่น้องผู้ประกันตนในสถานการณ์ดังกล่าว จะส่งผลให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินสมทบที่ลดลง 576 - 900 บาทต่อคน รวมเป็นเงินที่ลดลงประมาณ 9,080 ล้านบาท ไปใช้ในการเพิ่มสภาพคล่องมากขึ้น รวมถึงการแก้ปัญหาทางการเงินของผู้ประกันตนทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการช่วยแบ่งเบาลดภาระต้นทุน ที่สูงขึ้นและเพิ่มสภาพคล่องให้กับนายจ้าง เป็นจำนวนเงินกว่า 7,964 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้สถานประกอบการสามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้อย่างต่อเนื่องในระบบเศรษฐกิจ

ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

ภาพจาก TNN ONLINE / ประกันสังคม

​ครม. ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ ต.ค. - ธ.ค. 65 ลดภาระนายจ้าง เพิ่มสภาพคล่องผู้ประกันตน


20/09/2565 | 1,944 |

ประกันสังคม มาตรา 39 ลด กี่ เดือน

วันที่ 20 กันยายน 2565 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ....  ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา 3 เดือน งวดเดือน ต.ค. - ธ.ค. 65 นี้ โดยลดอัตราเงินสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยให้นายจ้างและผู้ประกันตนแต่ละฝ่ายจ่ายเงินร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน จากเดิมที่จ่ายอยู่ในอัตราร้อยละ 5 ในขณะที่กำหนดให้รัฐบาลจ่ายเงินในอัตราเท่าเดิมที่ร้อยละ 2.75 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมจากเดิมในอัตราเดือนละ 432 บาทเป็นอัตราเดือนละ 240บาท ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนด้วยเช่นกัน  เพื่อบรรเทาภาระนายจ้างและผู้ประกันตนให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพ

กรณีลดอัตราเงินสมทบงวดเดือน ต.ค. - ธ.ค. 65 นี้ จะส่งผลให้กองทุนประกันสังคมจัดเก็บเงินสมทบได้ลดลง 17,044 ล้านบาท โดยผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบลดลง 9,080 ล้านบาท และนายจ้างจ่ายลดลง 7,964 ล้านบาท เป็นการบรรเทาภาระ ของนายจ้างจากสภาวะเศรษฐกิจและการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทั่วประเทศ ให้นายจ้างมีสภาพคล่องเพิ่มและลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกันตน ซึ่งจะทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นด้วย

https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/59459


ประกันสังคม มาตรา 39 ลด กี่ เดือน


ประกันสังคม มาตรา 39 ลด กี่ เดือน

  • ประกาศข่าวดี! ลดเงินสมทบประกันสังคม 2565 นาน 3 เดือน
    • เริ่มต.ค. 65 ลดเงินสมทบประกันสังคม ม.33/39
    • ประกันสังคมคืออะไร? แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
    • 10 สิทธิ์ประกันสังคมของผู้ประกันตน
    • ผู้ประกันตนตรวจสอบสิทธิ์ประกันสังคมได้ที่ไหน?

ลูกจ้างและนายจ้างเตรียมเฮ ข่าวดีสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ประกาศลดเงินสมทบประกันสังคม 2565 ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง และปรับลดเงินสมทบฯ มาตรา 39 ระยะเวลา 3 เดือน จากสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นการประกาศลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมครั้งที่ 6 นับตั้งแต่การประกาศฯ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2563 รวมเป็นเวลากว่า 21 เดือนแล้ว มาตรการช่วยเหลือนี้จากสำนักงานประกันสังคม ถือเป็นการช่วยเหลือ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย รวมถึงค่าครองชีพของลูกจ้าง ในช่วงระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จากเดิมที่หักจากฐานเงินเดือน 5% ให้หักเงินสมทบลดน้อยลง แต่ผู้ประกันตนยังคงสามารถใช้สิทธิ์สวัสดิการต่าง ๆ ได้เหมือนเดิม อาทิ การรักษาพยาบาล, การคลอดบุตร และการทำทันตกรรมฟัน สำหรับรายละเอียดต่าง ๆ ของมาตรการลดเงินสมทบประกันสังคมครั้งล่าสุด ที่เพิ่งมีประกาศอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา จะมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ ลดเงินสมทบเท่าไหร่ และสามารถรับสิทธิ์อะไรได้บ้าง ติดตามทั้งหมดได้ในบทความนี้

เริ่มต.ค. 65 ลดเงินสมทบประกันสังคม ม.33/39

มาตรการช่วยเหลือลูกจ้างในระบบประกันสังคม โดยการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 31 ธันวาคม 2565 ดังนี้

สำหรับนายจ้างและลูกจ้าง ม. 33 (มาตรา 33)

นายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ลดเงินสมทบประกันสังคมเหลือ 3% จากเดิม 5% คือ ปรับลดการจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ จากสูงสุด 750 บาท/เดือน เหลือสูงสุด 450 บาท/เดือน

สำหรับผู้ประกันตน ม. 39 (มาตรา 39)

ผู้ประกันตนมาตรา 39 ลดเงินสมทบประกันสังคมเหลือ 240 บาท จากเดิม 432 บาท

ประกันสังคม มาตรา 39 ลด กี่ เดือน

ประกันสังคม มาตรา 39 ลด กี่ เดือน
ลดเงินสมทบประกันสังคม ม.33/39 ภาพจากเว็บไซต์ https://www.sso.go.th/

และสำหรับผู้ประกันตนนอกระบบ มาตรา 40 ครั้งนี้ไม่เข้าร่วมมาตรการปรับลดเงินสมทบประกันสังคม สามารถชำระเงินสมทบใน 3 อัตราได้ตามปกติ ได้แก่ 70 บาท/100 บาท และ 300 บาท

ประกันสังคมคืออะไร? แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

สิทธิ์ประกันสังคม คือ  สวัสดิการที่ทางรัฐมอบให้แก่ลูกจ้าง โดยลูกจ้างและนายจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมาย แบ่งออกเป็น 3 มาตรา ดังนี้

ประกันสังคมมาตรา 33

ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน และยังคงทำงานอยู่ในสถานประกอบการ โดยทุกเดือนจะต้องทำการหักเงินจากฐานเงินเดือน 5% สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน หรือหักเงินที่ฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาทเท่านั้น เข้ากองทุนประกันสังคม อาทิ พนักงานบริษัทเอกชน ฐานเงินเดือน 20,000 บาท การหักเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมจะอยู่ที่ 750 บาท/เดือน

ประกันสังคมมาตรา 39

ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยเป็นลูกจ้างและเป็นผู้ประกันตน ในมาตรา 33 มาก่อน จากนั้นมีเหตุให้ลาออกจากงาน แต่ยังคงต้องการรักษาสิทธิ์ประกันสังคม สามารถสมัครประกันสังคมมาตรา 39 ได้ทันที หลังสิ้นสุดสภาพผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยทุกเดือนจะต้องนำส่งเงินสมทบที่ผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 432 บาท/เดือน ต่อเนื่องทุกเดือน เพื่อรักษาสิทธิ์ต่อไป

ประกันสังคมมาตรา 40

ผู้ประกันตนนอกระบบมาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบ โดยต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 การจ่ายเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 40 สามารถจ่ายเงินสมทบได้ 3 รูปแบบ โดยจะมีสิทธิ์สวัสดิการแตกต่างกัน ดังนี้

จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน

  • รับเงินทดแทนกรณีประสบอุบัติเหตุ/เจ็บป่วย/ทุพพลภาพ รวมถึงรับเงินค่าทำศพกรณีเสียชีวิต

จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน

  • รับเงินทดแทนกรณีประสบอุบัติเหตุ/เจ็บป่วย/ทุพพลภาพ, รับเงินค่าทำศพกรณีเสียชีวิต และเงินบำเหน็จชราภาพ

จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

  • รับเงินทดแทนกรณีประสบอุบัติเหตุ/เจ็บป่วย/ทุพพลภาพ, รับเงินค่าทำศพกรณีเสียชีวิต และเงินบำเหน็จชราภาพ รวมถึงเงินสงเคราะห์บุตร

10 สิทธิ์ประกันสังคมของผู้ประกันตน

  • รักษาพยาบาลฟรี ตามโรงพยาบาลที่ระบุเลือกไว้ในบัตรโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • เบิกค่าทำคลอดบุตรได้ 15,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
  • รับเงินสงเคราะห์จากการลาคลอด 50% จากเงินเดือนเป็นระยะเวลา 90 วัน
  • รักษาพร้อมทำทันตกรรมฟันฟรี 900 บาท/ครั้ง/ปี
  • เงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท ตั้งแต่บุตรแรกคลอดจนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์
ประกันสังคม มาตรา 39 ลด กี่ เดือน
สิทธิ์ประกันสังคมของผู้ประกันตน
  • เงินชดเชยว่างงาน กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน ได้รับเงินชดเชย 30% ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 90 วันคำนวณจากฐานเงินเดือน 15,000 บาท
  • เงินชดเชยว่างงาน กรณีที่ถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินชดเชย 50% ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 180 วัน คำนวณจากฐานเงินเดือน 15,000 บาท
  • เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ ที่เกิดจากการทำงาน
  • รับเงินบำนาญชราภาพ เมื่อผู้ประกันตนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต และค่าทำศพ 50,000 บาท โดยจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ

ผู้ประกันตนตรวจสอบสิทธิ์ประกันสังคมได้ที่ไหน?

  • ติดต่อสอบถามสิทธิ์ประกันสังคม และกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 (ฟรี) ติดต่อได้ 24 ชั่วโมง
  • ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทางเว็บไซต์ www.sso.go.th และช่องทางเฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน – Social Security Office
  • ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Line Official Account: @ssothai
  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SSO Cennect บนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android

และทั้งหมดนี้คือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ การปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 2565 สำหรับผู้ประกันตนมาตร 33 และมาตรา 39 ที่ทาง Promotions ได้นำมาอัปเดตให้คุณทราบก่อนใคร เป็นข่าวดีของบรรดามนุษย์เงินเดือน ที่มีมาตรการช่วยเหลือ ในยุคที่เศรษฐกิจฝืดเคือง รวมถึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคปรับเพิ่มราคา ส่งผลให้ค่าครองชีพของประชาชนเพิ่มมากขึ้น และแม้จะมีการปรับลดเงินสมทบกองทุนฯ แต่ทว่าสิทธิ์การรักษา รวมถึงเงินสงเคราะห์ และเงินชดเชยต่าง ๆ ยังสามารถได้รับตามปกติ ไม่มีการปรับลดสิทธิ์ของผู้ประกันตนแต่อย่างใด

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม

Read More>>>

  • เล็งปลดล็อคเงินชราภาพประกันสังคม กู้ได้ หรือยืมก่อนได้
  • ผู้ประกันตนควรรู้ วิธียื่นรับเงินขาดรายได้หลังหายป่วยโควิด
  • อัปเดตล่าสุด ติดโควิดประกันสังคมจ่ายไหม ม. 33
  • เช็กผู้ประกันตน 33-39-40 รับเงินชดเชยโควิดประกันสังคมเท่าไหร่

ประกันสังคม มาตรา 39 ลด กี่ เดือน

ประกันสังคม มาตรา 39 ลด กี่ เดือน

ประกันสังคมลดเงินสมทบให้กี่เดือน

6,445 VIEWS. ที่ประชุม ครม. มีมติ ลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม ม.33 เหลือ 3% ให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เป็นเวลา 3 เดือน จ่ายสมทบสูงสุดเหลือ 450 บาท เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2565. เช็คสิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 ล่าสุดวันนี้

จ่ายประกันสังคมออนไลน์ มาตรา 39 กี่บาท

ส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39 เป็นจำนวน 9% ต่อเดือน หรือจ่ายในอัตรา 432 บาทต่อเดือน เช่น เงินเดือน 4,800 บาท (ฐานเงินที่ใช้คำนวณ) x 9% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 432 บาท

ประกันสังคมลดให้กี่เดือน 2565

4 สิงหาคม 2565 – หลังจากที่สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้ดำเนินมาตรการลดอัตราเงินสมทบประกันสังคมให้ ผู้ประกันตน ม.33 ติดต่อกัน 3 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565 โดยเป็นการลดอัตราเงินสมทบประกันสังคมให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 เหลือ 1% ทั้ง นายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33 (ลูกจ้าง) จากเดิมฝ่ายละ 5% เหลือ ...

ประกันสังคมหักกี่ % 2565

ลดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในส่วนของนายจ้างและลูกจ้างตามมาตรา 33 จากอัตรา 5% หรือ ส่งเงินสมทบสูงสุด 750 บาท ลดลงเหลืออัตรา 1% หรือ ส่งเงินสมทบสูงสุด 150 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน พฤษภาคม – กรกฏาคม 2565. ประกันสังคม ม.39.