ปลากระป๋องกัปตันเรือ ประวัติ

ปลากระป๋องกัปตันเรือ ประวัติ

Advertisement

ทำความรู้จัก การตลาดแบบใหม่ ‘ปลากระป๋องสุ่ม’ กลยุทธ์การตลาดที่ดันยอดขายทะลุ 10 ล้านบาท ภายในเวลาเพียง 2 เดือน

‘เจอ 3 จ่ายแสน’ แคมเปญการตลาดของปลากระป๋อง ‘กัปตันเรือ’ กลายเป็นไวรัลในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ มาตั้งแต่เริ่มต้นปีใหม่ หลังเปิดตัวสินค้าเป็นแบรนด์น้องใหม่ในตลาดธุรกิจปลากระป๋องได้เพียง 6 เดือน

หลายคนที่คุ้นเคยจากการตลาด ‘กล่องสุ่ม’ เมื่อเจอ ‘ปลากระป๋องสุ่ม’ จึงเป็นกลยุทธ์การตลาดแนวใหม่ ที่นอกจากจะฉีกกรอบการตลาดรูปแบบทั่ว ๆ ไป ด้วยการทำการตลาดรูปแบบไวรัลมาใช้ในการสื่อสารการตลาดสร้างแบรนด์

การได้ลุ้นชิงรางวัลเงินแสนในยุคของแพง จึงกระตุ้นให้สร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภค และถูกบอกต่อได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถลดต้นทุนการใช้เม็ดเงินในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี

ความร้อนแรงของแคมเปญ ‘เจอ 3 จ่ายแสน’ นี้ ทำให้บริษัท เอสพีเอส บาย ซานต้า จำกัด เจ้าของแบรนด์กัปตันเรือ จัดอีกครั้งเป็นรอบที่ 3 ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ แต่มีการปรับเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย  ผู้ที่จะร่วมลุ้นรางวัลต้องศึกษาเงื่อนไขให้ดี เพราะมีผู้ถ่ายคลิปจำนวนไม่น้อยที่เปิดเจอ 3 ตัว แต่ต้องชวดเงินแสนไป เพราะไม่ครบเงื่อนไข

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...

ปลากระป๋องกัปตันเรือ กับเจอ 3 จ่ายแสน การตลาดที่มีทั้งบวกและลบ (วิเคราะห์)

เราเห็นหลายคนพูดถึงแคมเปญ เปิดปลากระป๋อง กัปตันเรือ ถ้าเจอปลาในกระป๋อง 3 ตัวรับ 1 แสนบาท โดยผู้ร่วมแคมเปญต้องถ่ายคลิปตั้งแต่ชั่งน้ำหนัก ล็อตการผลิต จนถึงเปิดกระป๋องเทปลาออกมาบนเครื่องชั่ง

การทำแคมเปญในรูปแบบนี้ เรามองว่ามีผลทั้งทางบวกและลบต่อแบรนด์ในหลาย ๆ แง่

แง่บวก

คือการสร้างแบรนด์ สร้างยอดจำหน่าย อย่างรวดเร็ว

ตลาดปลากระป๋อง 8,000-9,000 ล้านบาท เป็นตลาดที่เติบโตอย่างชะลอตัว และในตลาดนี้ผู้แข่งแบรนด์หลักอย่างสามแม่ครัว ปุ้มปุ้ย ซีเล็ค โรซ่า และอื่น ๆ อยู่ในตลาดจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นแบรนด์ที่มี Awareness เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในระดับแมสมาอย่างยาวนาน

ตามปกติของการทำตลาดทั่ว ๆ ไป ของแบรนด์ที่เข้ามาใหม่ในตลาด นักการตลาดจะใช้วิธีโฆษณาโปรโมตสินค้าตามสื่อต่าง ๆ เพื่อสร้าง Brand Awareness ให้ผู้บริโภครู้จัก จนเกิดการทดลองซื้อ

ซึ่งต้องการเม็ดเงินจำนวนมหาศาลถ้าต้องการให้แบรนด์เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว

ปลากระป๋องกัปตันเรือ จึงคิดนอกกรอบการตลาดรูปแบบทั่ว ๆ ไป ด้วยการนำการตลาดในรูปแบบไวรัลมาใช้ในการสื่อสารการตลาดสร้างแบรนด์ เพื่อลดต้นทุนในการใช้เม็ดเงินในการสื่อสาร

เพราะถ้าสิ่งที่สื่อสารเกิดไวรัลจนผู้บริโภคบอกต่อ หรือสื่อนำมาพูดถึง ในรูปแบบ Earn Media แบรนด์จะได้รับผลประโยชน์คือ เป็นที่รู้จักเป็นวงกว้าง โดยไม่ต้องใช้เงินทำ Paid Media มากจนเกินไป

เรามองว่าแคมเปญเจอ 3 จ่ายแสน เป็นการคิดสร้าง Awareness และยอดขายผ่านการทำไวรัลแคมเปญหนึ่ง

เพราะถ้าผู้บริโภคเห็นแคมเปญนี้และมีผู้ได้รับรางวัลจริง จะเกิดการบอกต่อ และเมื่อผู้บริโภคคนอื่นเห็นจะเกิดการทดลองซื้อสินค้ามาเปิดลุ้นเงินรางวัล และส่วนใหญ่แล้วจะซื้อมาเป็นจำนวนมากเพื่อหวังผลรางวัล

เพราะแคมเปญนี้เริ่มครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2564 มีผู้รับรางวัล 31 คน จากแคมเปญในเดือนธันวาคมแบรนด์ลงทุนเม็ดเงินเป็นเงินรางวัล 3.1 ล้านบาท

และครั้งที่สองในเดือนมกราคม 2565 แบรนด์จำกัดให้เพียง 10 คนแรกที่ส่งคลิปเปิดเจอปลา 3 ตัวเข้ามาเท่านั้น เท่ากับว่าแบรนด์ลงทุนเม็ดเงินเดือนมกราคม 1 ล้านบาท และเมื่อรวมเม็ดเงินรางวัลทั้ง 2 เดือน ปลากระป๋องกัปตันเรือใช้เม็ดเงินไป 4.1 ล้านบาท

และยังสามารถสร้างการเติบโตด้านยอดขายได้อย่างรวดเร็ว เพราะผู้บริโภคที่ต้องการลุ้นรางวัลจะรีบซื้อปลากระป๋องมาเปิดหาปลา 3 ตัว ก่อนที่จะมีบุคคลโชคดีครบทั้ง 10 ราย

แต่การตลาดนี้ไม่ได้มีเฉพาะผลบวก แต่ก็มีผลลบที่ส่งผลต่อแบรนด์เช่นกัน

เพราะแบรนด์กัปตันเรือบอกว่าการทำแคมเปญนี้ในรูปแบบนี้เพื่อตอกย้ำมาตรฐานสินค้าของบริษัทว่าปลาในกระป๋องจะมีถึง 4 ตัว หรือมากกว่านั้น

สำหรับเรามองว่าการที่ผู้บริโภคถ่ายคลิปเจอปลากระป๋อง 3 ตัว เป็นจำนวนมาก เช่น แคมเปญเดือนแรกเจอผู้รับรางวัลที่ถ่ายคลิปถูกต้องตามกฎกติกาถึง 31 คน แม้จะเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำมากกว่า 1% เมื่อเทียบกับจำนวนปลากระป๋องของกัปตันเรือที่อยู่ในตลาดจำนวนมหาศาล แต่ในมุมของผู้บริโภคบางกลุ่มมองว่าปลาที่มีอยู่ในกระป๋องบางกระป๋องยังไม่ได้มาตรฐานที่บริษัทกำหนดไว้

และการลุ้นโชคจากการเปิดปลากระป๋องอาจจะสร้างยอดขายเป็นเม็ดเงินมหาศาลอย่างรวดเร็ว แต่ในทางกลับกัน เมื่อแคมเปญนี้หมดลง ยอดจำหน่ายของปลากระป๋องจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากยอดจำหน่ายปลากระป๋อง และความต้องการบริโภคปลากระป๋องผ่านแคมเปญนี้เป็นยอดขายและการบริโภคเกินความต้องการจริง

แต่อย่างไรก็ดี ถ้าปลากระป๋องกัปตันเรือเป็นที่คุ้นปาก และชื่นชอบของผู้บริโภคจะสามารถสร้างโอกาสการเติบโตระยะยาว จากการที่ผู้บริโภคกลับมาซื้อซ้ำและเป็นลูกค้าประจำในอนาคต

ทั้งนี้ แบรนด์ปลากระป๋องกัปตันเรือ เป็นแบรนด์ภายใต้บริษัท เอสพีเอส บาย ซานต้า จำกัด

นอกจากปลากระป๋องกัปตันเรือแล้ว เอสพีเอส บาย ซานต้า ยังจำหน่ายสินค้าน้ำมันเหลืองสมุนไพร บริการคลังสินค้า บริการแพ็กสินค้าลงกล่องพัสดุเพื่อจัดส่ง และบริการขนส่งสินค้าไปยังบริษัทขนส่งต่างๆ

ใน 3 ปีที่ผ่านมา เอสพีเอส บาย ซานต้า มีผลประกอบการดังนี้

2561          รายได้ 22.29 ล้านบาท ขาดทุน 3.79 ล้านบาท

2562           รายได้ 3.95 ล้านบาท ขาดทุน 4.32 ล้านบาท

2563           รายได้ 27.584 ล้านบาท ขาดทุน 5.64 ล้านบาท

I-

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง Line@ : @marketeer

ปลากระป๋องกัปตันเรือ ประวัติ
ปลากระป๋องกัปตันเรือ ประวัติ