โครงการ พัฒนา ตนเอง เรื่อง ลดน้ำหนัก

บทที่ 1

ลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                ปัจจุบันประชากรที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานของประเทศไทยมีจำนวนมาก ส่งผลให้บุคคลเหล่านั้นประสบปัญหาในการดำรงชีวิตทั้งด้านสุขภาพและจิตใจ โดยจะทำให้เกิดโรคต่างๆง่ายกว่าคนที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน และเคลื่อนไหวร่างกายได้ลำบาก ด้านจิตใจก็จะทำให้ไม่มีความมั่นใจในตนเอง เพราะถูกคนอื่นล้อเลียนเริองสัดส่วน ทำให้ดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างไม่มีความสุข

                ความสำคัญในการลดน้ำหนัก ก็คือจะทำให้ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยจะทำให้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้น โดยส่งเสริมให้มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆที่มากับความอ้วน ทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างคนปกติทั่วไป แนวทางในการแก้ปัญหาคือการจัดทำโครงการเพื่อลดน้ำหนักของบุคคลที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยจัดทำตารางสำหรับลดน้ำหนัก ควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน ลดอาหารที่มีความเสี่ยง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ดส์ อาหารที่มีน้ำมัน และต้องเพิ่มการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง การกระโดดเชือก และการเคลิ่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น

                เป้าหมายในการทำโครงงานนี้คือลดน้ำหนักผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและเพิ่มความมั่นใจในการดำรงชีวิต โดยจะควบคุมปริมาณอาหาร และเพิ่มการออกกำลังกาย ของผู้เข้าร่วมโครงงาน ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาแนวทางในการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนชาวไทยต่อไป

จุดมุ่งหมายของการศึกษา

1.เพื่อทำให้กลุ่มตัวอย่างสามารถลดน้ำหนักได้ทำให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตใจดีขึ้น

2.เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของบุคคลที่มีน้ำหนักขึ้น

สมมติฐานที่ใช้ในการศึกษา

ในการศึกษาผลการทดลองนี้มุ่งหวังจะให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการหันมารักสุขภาพ และควบคุมน้ำหนักของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น โครงการนี้จึงคาดว่าผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะมีน้ำหนักที่ลดลง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้รับความรู้ในการลดน้ำหนักในทางสุขภาพที่ถูกต้องและนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองและคนรอบข้าง

2.ได้รับแนวทางในการลดน้ำหนัก เพื่อลดปัญหาโรคที่มากับความอ้วน

3.ได้มีการพัฒนาประเทศชาติ เพราะช่วยเพิ่มบุคลากรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

บทที่2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

          การศึกษาในครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเนื้อหาของเอกสารงานวิจัยออกเป็นหัวข้อต่างๆดังนี้

1.ความหมายของคนไทยไร้พุง

            ในปัจจุบันคนไทยมีปัญหาน้ำหนักเกินจนกลายเป็นโรคอ้วนกันมากขึ้น ถึงแม้ว่าความอ้วนเกิดจากสาเหตุได้หลายอย่าง แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่ยังคงเกิดจากการบริโภคเกินความสามารถในการเผาผลาญของตนเอง อย่างไรก็ตามในการลดน้ำหนัก แพทย์จำเป็นต้องขจัดสาเหตุที่ก่อโรคอ้วนนั้นด้วยการรักษาจึงจะได้ผลดี เช่นโรค hypothyoid หรือ cushing syndrome และยาอีกหลายชนิด ฯลฯ ชาวเอเชียเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วนได้ง่ายกว่าชาวยุโรป ถึงแม้ว่าคนไทยยังไม่อ้วนมากนัก แต่ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนก็สูงกว่าชาวยุโรป อีกทั้งการรักษา ภาวะแทรกซ้อน ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำดังที่เป็นอยู่ ดังนั้นการลดน้ำหนักจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น พบว่าน้ำหนักยิ่งมากก็ยิ่งประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักได้น้อย จึงได้มีผู้พยายามคิดค้นวิธีการต่าง ๆ หลายอย่างเพื่อที่ช่วยให้การลดน้ำหนักให้สำเร็จ ตั้งแต่การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยนบริโภคนิสัย ส่วนการใช้ยานั้นเป็นตัวส่งเสริมให้การปฏิบัติตัวได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในระยะต้นของการลดน้ำหนัก สำหรับการผ่าตัดนั้นจะใช้ต่อเมื่อวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ผลและผู้ป่วยอ้วนมาก หรือมีปัญหาสุขภาพที่ต้องการลดน้ำหนักอย่างได้ผลรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะปัญหาแทรกซ้อนจากการผ่าตัดมีหลายอย่างและอาจจะร้ายแรง

       การอดอาหารเลยทำให้น้ำหนักตัวลดได้ดีและรวดเร็ว แต่จะมีผลทำให้ร่างกายเสียโปรตีนและสารอาหารสำคัญอื่น ออกจากอวัยวะที่สำคัญของร่างกายจนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ประสบการณ์ในอเมริกาพบว่า แม้ให้ดื่มอาหารเหลวที่เป็นโปรตีน (Liquid protein diet) ซึ่งได้จากการย่อยพวก คอลลาเจน ทุกวันเพื่อลดน้ำหนัก ซึ่งคิดว่ามีโปรตีนมากพอก็ยังมีผู้เสียชีวิตเกือบ 60 คน การควบคุมอาหารยังเป็นวิธีการในการรักษาคนอ้วน ซึ่งอาหารที่ใช้กันมีหลายชนิด โดยมีหลักการเหมือนกันคือ ปริมาณพลังงานที่รับเข้าต้องน้อยกว่าพลังงานที่ต้องใช้ในแต่ละวันอาหารควบคุมน้ำหนักสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ อาหารพลังงานต่ำ (low calorie diets) ซึ่งให้พลังงานต่อวันระหว่าง 10 - 20กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวหรือให้พลังงานประมาณ 800 - 1000 กิโลแคลอรี ซึ่งมีการกระจายตัวของสารอาหารคล้าย ๆ กับอาหารธรรมดาและอาหารพลังงานต่ำมาก (very low calorie diets) ซึ่งมีพลังงานต่อวันน้อยกว่า 10 กิโลแคลอรี ต่อ กิโลกรัมน้ำหนักตัว หรือให้พลังงานน้อยว่า 800 กิโลแคลอรีต่อวันโดยทั่วไปอยู่ประมาณ 400 - 600 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งมีการกระจายตัวของสารอาหารอย่างไม่สมดุล จึงเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารที่จำเป็นบางชนิด ถึงแม้ว่ามีการให้โปรตีนมากและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ หากไม่มีแพทย์ดูแลใกล้ชิด

2. จำนวนของประชากรไทยที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน

ช่วงที่รายงานครบรอบ 10 ปี ทีมงานได้จัดเวทีสอบถามความคิดเห็นของผู้อ่าน ถึงสาระประโยชน์ของรายงานและสิ่งที่ต้องการปรับเปลี่ยน สิ่งที่เราได้รับคำแนะนำ คือ ให้ยังคงเนื้อหาและรูปแบบเช่นเดิม โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเล็กน้อย เช่น ให้มีคำอธิบายตารางหรือแผนภูมิภาพประกอบด้วย และใช้ภาษาที่อ่านง่ายมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งทีมงานก็ได้นำข้อเสนอแนะนั้นมาปรับให้ดียิ่งขึ้น และยังคงรูปแบบของรายงานไว้ตามเดิม สถานการณ์เด่นทางสุขภาพปีนี้ เรื่องที่ยึดครองพื้นที่ข่าวมาอย่างต่อเนื่อง คือ นโยบายจำนำข้าวที่ยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องและยังไม่มีข้อยุติ ส่วนนโยบายอื่นๆ ของรัฐบาลที่สำคัญในปีที่ผ่านมา ได้แก่ โครงการเงินกู้ 2 ล้านล้าน โครงการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และประเด็นสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น กรณีพระนอกรีต กรณีปราสาทพระวิหารที่มีการตัดสินของศาลโลก ได้ถูกนำเสนอในส่วนของ 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพเช่นกัน ท่ามกลางปัญหาบ้านเมืองขณะนี้ ยังคงมี 4 เรื่องดีๆ ให้เห็นในสังคมไทยที่ควรชื่นชมและยกย่อง ได้แก่ นักกีฬาของไทยที่โดดเด่นในเวทีโลก วันดินโลก ศิริราชคว้ารางวัล ธาลัสซีเมีย ระดับโลก และหมอไกรสิทธิ์ได้รับรางวัลนักโภชนาการโลก
ดัชนีชี้วัดทางสุขภาพปีนี้ นำเสนอเรื่อง โรคอ้วนที่เป็นภัยเงียบทางสุขภาพและนำมาสู่การเจ็บป่วยที่เกิดจากภาวะอ้วน ในรายงานได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ มาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความอ้วนของคนไทย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลกระทบ ช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง เพื่อที่จะรู้ทันโรคอ้วน
ทีมงานขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ติดตามรายงานสุขภาพคนไทยตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะ คำติชม พร้อมทั้งส่งกำลังใจให้กับเรา ซึ่งทำให้ทีมงานยิ่งต้องมุ่งมั่นและทุ่มเทให้กับการทำงานมากยิ่งขึ้น สำหรับรายงานสุขภาพคนไทย 2557 เล่มนี้ ทีมงานหวังว่าผู้อ่านจะได้รับสาระประโยชน์และติดตามผลงานของเราเช่นเดิม
คณะทำงานสุขภาพคนไทย
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
ปัจจุบัน การเจ็บป่วยและเสียชีวิต (ก่อนวัยอันควร) ของคนไทยมีสาเหตุมาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases: NCDs) และปัจจัยเสี่ยงที่เป็นผลจากปัญหาพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้น การศึกษาภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พ.ศ. 2552 พบว่า โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงและภัยเงียบสำคัญอันดับ 1 และอันดับ 6 ของการสูญเสียปีสุขภาวะในหญิงไทยและชายไทย ตามลำดับ
การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายทั่วประเทศ ล่าสุดในปี 2552 พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมากกว่า 1 ใน 3 มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน (ดัชนีมวลกาย หรือ BMI ตั้งแต่ 25 กก./เมตร 2 ขึ้นไป) ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับผลการสำรวจรอบแรก ในปี 2534 ข้อมูลต่างๆ ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า คนไทยไม่ว่าชายหรือหญิง เด็ก วัยทำงาน หรือสูงอายุ ฐานะร่ำรวย ปานกลางหรือยากจน อาศัยในเขตชนบทหรือในเขตเมือง กำลัง อ้วนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทียบกันใน 10 ประเทศอาเซียน โรคอ้วนในชายไทยปัจจุบันมีความชุกสูงเป็นอันดับที่ 4 ขณะที่หญิงไทยแซงหน้าไปอยู่ในอันดับที่ 2 เป็นรองเพียงหญิงมาเลเซียเท่านั้น

สำหรับคนไทย โรคอ้วนยังคงเป็นปัญหาในกลุ่มคนรวยหรือผู้มีอันจะกิน แต่กินอย่างไม่ถูกต้องมากกว่ากลุ่มคนจนหรือผู้มีรายได้น้อย จากแนวโน้มของระดับราคาอาหารจานด่วนและอาหารขยะ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเป็นส่วนประกอบสูงที่ถูกลงเมื่อเทียบกับกำลังซื้อของคนไทยทั่วไปที่เพิ่มขึ้นคาดว่า อีกไม่นานปัญหานี้จะกลายมาเป็นภัยเงียบคุกคามสุขภาพของกลุ่มคนรายได้ปานกลางและรายได้น้อย ที่มีข้อจำกัดในด้านกำลังซื้อและทางเลือกในการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น เหมือนที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว

สถานการณ์โรคอ้วนที่กำลังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นนี้ มีที่มาที่ไปจากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งปัจจัยในระดับปัจเจกบุคคล และปัจจัยสิ่งแวดล้อมเชิงโครงสร้างทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ลักษณะการทำงานที่ใช้แรงงานน้อยลง รวมถึงการเดินทางคมนาคมติดต่อสื่อสารที่สะดวกสบายกว่าแต่ก่อน ทำให้คนไทยโดยเฉพาะในสังคมเมือง มีการเคลื่อนไหวร่างกายและมีกิจกรรมทางกายที่ลดลง ใช้เวลาในแต่ละวันไปกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์หรือโทรศัพท์ และการเดินทางบนท้องถนน ซึ่งมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างน้อยเป็นส่วนใหญ่ในแต่ละวัน หากไม่นับเวลานอน (ประมาณ 8.4 ชั่วโมง) โดยเฉลี่ยคนไทยใช้เวลากับการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยมากถึง 13.3 ชั่วโมง นอกจากนี้ การสำรวจในปี 2555 พบว่าชายไทยและหญิงไทยที่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ เพียงร้อยละ 71.7 และ 62.4 ตามลำดับ
ขณะที่ การใช้พลังงานจากกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายมีแนวโน้มลดลง แต่การรับพลังงานจากการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเกินความต้องการ โดยเฉพาะจากอาหารขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่ม ที่มีปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมเป็นส่วนประกอบสูง การทานอาหารนอกบ้านและการซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทานที่บ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยที่อาหารส่วนใหญ่มักมีรสชาติหวาน มัน เค็ม และให้พลังงานที่สูงกว่าอาหารปรุงเอง ในทางตรงกันข้ามการบริโภคผักและผลไม้กลับน้อยและไม่เพียงพอตามปริมาณที่แนะนำ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพที่พบมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมด้านอาหารที่เปลี่ยนไป การเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดและอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจร้านอาหาร ซูเปอร์สโตร์และร้านสะดวกซื้อแฟรนไชส์ส่งผลก ระทบต่อ จำนวนชนิดและประเภทของอาหารที่มีการจำหน่าย (availability) และการเข้าถึงอาหารของคนกลุ่มต่างๆ (accessibility) โดยเฉพาะอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งมีความหลากหลายเพิ่มขึ้น เข้าถึงหรือหาซื้อได้ง่ายโดยคนทุกวัยในทุกพื้นที่ ทั้งนี้ส่วนใหญ่มักมีเด็กและวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ ค่านิยมและทัศนคติบางประการที่ยังคงมีอยู่ในสังคมไทย เช่น มุมมองต่อเด็กอ้วนจ้ำม่ำว่า น่ารัก เป็นเด็กสมบูรณ์แข็งแรง โตขึ้นแล้วก็จะผอมเอง เป็นอีกเรื่องที่ควรต้องมีการปรับและสร้างความเข้าใจใหม่ เช่นเดียวกับการปลูกฝังข้อคำนึงในการเลือกซื้ออาหารที่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องหลักโภชนาการเกี่ยวกับคุณค่าสารอาหาร และสมดุลของพลังงานที่ จะได้รับ มากกว่าเพียงเรื่องรสชาติความชอบหรือความอยากที่จะกินอาหาร
สุขภาพคนไทย 2557 ฉบับนี้ นำเสนอ 11 หมวดตัวชี้วัด โรคอ้วนโดยแบ่งพื้นที่การนำเสนอเป็น 3 ส่วนหลัก เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาโรคอ้วน รวมถึงภาระและผลกระทบ ในหมวด 1-3 ปัจจัยและสาเหตุที่มาของปัญหาโรคอ้วนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในหมวด 4-9 และส่วนสุดท้าย หมวด 10 และ 11 เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ข้อเสนอแนะในระดับบุคคล รวมถึงนโยบายและแนวทางในการจัดการปัญหาโรคอ้วนที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาของประเทศไทย.
1.คนไทยอ้วนแค่ไหน
กว่า 1 ใน 3 ของคนไทย มีภาวะ น้ำหนักเกินและ 1 ใน 10 “อ้วนในระยะ 2 ทศวรรษ (ปี 2534-2552) คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีอัตราของภาวะน้ำหนักเกินเพิ่มขึ้น 2 เท่า (จาก 17.2% เป็น 34.7%) และภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า (จาก 3.2% เป็น 9.1%) ปัญหาโภชนาการเกิน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน เป็นวาระทางสุขภาพสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักและร่วมมือแก้ไข
น้ำหนักเกิน ไม่เกิน อ้วน ไม่อ้วน ประเมินง่ายๆ จากค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) ซึ่งคำนวณจากน้ำหนักตัว (กก.) หารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (เมตร2) หากมีค่าตั้งแต่ 25 กก./ตร.ม. ขึ้นไปตามเกณฑ์สากล นั่นคือ น้ำหนักเกินและตั้งแต่ 30 กก./ตร.ม.ขึ้นไป คือ อ้วนหรือหากวัดด้วยความยาวเส้นรอบเอว ชายตั้งแต่ 90 ซม.และหญิงตั้งแต่ 80 ซม.ขึ้นไปถือว่า อ้วนลงพุง
ความอ้วนดูเหมือนจะแปรผันตามระดับการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิต ความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนของคนไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่หญิงไทยมีแนวโน้มจะอ้วนสาหัสกว่าชายไทยในทุกตัวชี้วัด หากเปรียบเทียบในระดับภูมิภาค ปัจจุบันคนไทยอ้วนมากเป็นอันดับ 2 ใน 10 ประเทศอาเซียน รองจากมาเลเซีย ซึ่งหากแยกดูตามเพศชายไทยอ้วนเป็นอันดับที่ 4 ขณะที่หญิงไทยอ้วนเป็นอันดับที่ 2 ที่น่ากังวลคือ สถานการณ์เด็กอ้วนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเช่นกัน จากการสำรวจในปี 2552 เด็กไทยปฐมวัย (อายุ 1-5 ปี) และวัยเรียน (อายุ 6-14 ปี) ประมาณ 1 ใน 10 คน มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน หากสังคมไทยยังไม่ตระหนักถึงปัญหานี้และช่วยกันแก้ไข เด็กอ้วนในวันนี้ก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่อ้วนในวันหน้า ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงของสถานการณ์โรคอ้วนและผลกระทบต่างๆ มากยิ่งขึ้นในอนาคต นอกจากคนไทยจำนวนมากยังคงไม่รู้ตัวว่าตนเองมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน การตระหนักและรับรู้ในประเด็นนี้เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความอ้วนในระดับปัจเจกบุคคล ซึ่งต้องเกิดขึ้นควบคู่กับการดำเนินนโยบายและมาตรการจัดการปัญหา โรคอ้วนในภาพรวม โดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2.ความอ้วนที่เหลื่อมล้ำ
คนรวย ยังคงเสี่ยงอ้วนมากกว่า คนจนโรคอ้วนเป็นปัญหาของ คนรวยในประเทศยากจนและคนจนในประเทศร่ำรวยแม้ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนของคนไทยยังเกิดขึ้นในคนรวยมากกว่าคนจน แต่ปัญหานี้มีแนวโน้มกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่คนจนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระดับการพัฒนาของประเทศและรายได้ต่อหัวประชากรที่สูงขึ้น สถานการณ์ โรคอ้วนของคนไทยมีความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค โดยทิศทางความรุนแรงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามระดับการพัฒนาและฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน มีอัตราสูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร (โดยเฉพาะในผู้หญิงสูงเกือบ 50%) และต่ำที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหากจำแนกตามเขตปกครอง โรคอ้วนในคนเมืองสูงกว่าคนชนบทอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อแบ่งคนไทยเป็น 5 กลุ่มตามระดับรายได้ จะเห็นว่ากลุ่มคนรวยที่สุด 20% มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนมากกว่ากลุ่มคนจนที่สุด 20% ถึงประมาณ 1.5 เท่า
แม้ปัจจุบัน โรคอ้วนจะเป็นปัญหาของคนรวยมากกว่าคนจน แต่จากประสบการณ์ในหลายประเทศเมื่อระดับการพัฒนาประเทศสูงขึ้นและคนในประเทศอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น กลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนจะกลายเป็นกลุ่มคนจน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีทางเลือกในการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพน้อยกว่าประชากรกลุ่มอื่น อาหารฟาสต์ฟู้ดจานด่วนซึ่งมีแนวโน้มราคาถูกลง (เมื่อเทียบกับกำลังซื้อของคนทั่วไปที่สูงขึ้น) และอาหารขยะที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำแต่ให้พลังงานสูงและราคาถูก จะกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอ้วนในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ข้อมูลจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทั้งประเทศรายได้สูง กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาชี้ให้เห็นว่า ระดับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมของคนในประเทศมีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันกับความรุนแรงของสถานการณ์โรคอ้วน กล่าวคือ ยิ่งมีความเหลื่อมล้ำสูง ความชุกโรคอ้วนในประเทศยิ่งสูงตามไปด้วย ดังนั้นการจัดการกับปัญหาโรคอ้วนจึงไม่ใช่เพียงการดำเนินการในระดับปัจเจกเท่านั้น แต่ต้องเป็นในระดับเชิงโครงสร้างที่มุ่งเน้นสร้างความเท่าเทียมทางสังคมและเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแก่คนในประเทศมากยิ่งขึ้น
3.ความเสี่ยงจากโรคอ้วน
คนอ้วนเสี่ยงเบาหวานกว่าคนไม่อ้วนถึงสามเท่า ความดัน หัวใจ ข้อเข่าเสื่อม กว่าสองเท่า
ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนอื่นซึ่งล้วนส่งผลกระทบด้านลบต่อคุณภาพชีวิตและความสุขในการใช้ชีวิตของคนไทย
งานศึกษาทางการแพทย์หลายชิ้นได้ยืนยันแล้วว่า คนอ้วนมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ หรือ Relative Risk ในการเจ็บป่วยด้วยโรคหรืออาการผิดปกติต่างๆ มากกว่าคนที่มีดัชนีมวลกายเหมาะสม กลุ่มอาการหรือปัญหาสุขภาพที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสูงมากจากโรคอ้วน ได้แก่ เบาหวานในผู้ใหญ่ โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี ไขมันในเลือดสูง ภาวะหายใจลำบากและหยุดหายใจขณะหลับ กลุ่มที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นปานกลาง ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง ข้อเสื่อม และภาวะกรดยูริกสูง โรคเกาต์
พิจารณาจากข้อมูลความชุกของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ และข้อเข่าเสื่อมในคนไทยเมื่อปี 2552 เห็นได้ชัดเจนว่าคนไทยที่อ้วน (BMI?30 กก./ตร.ม.) มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคและอาการข้างต้นมากกว่าคนที่มีน้ำหนักเหมาะสมถึง 2-3 เท่าในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานทั้งหมด 1 ใน 4 ของผู้ป่วยชาย และกว่าครึ่งของผู้ป่วยหญิงมีสาเหตุหลักมาจากโรคอ้วน ซึ่งนับว่าสูงมากเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่คิดเป็นประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยชายและ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยหญิง
นอกจากความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพกายที่เพิ่มขึ้น ผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจของคนที่มีภาวะอ้วนก็เป็นอีกเรื่องที่ละเลยไม่ได้ ข้อมูลการสำรวจความสุขคนทำงานในประเทศไทยปี 2555 ชี้ให้เห็นว่า ระดับความพึงพอใจและความสุขของคนทำงานที่มีต่อสุขภาพกายตนเอง ลดลงตามค่าดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ค่านิยม คลั่งผอมโดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง ยิ่งทำให้คนอ้วนเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตหรือปัญหาจากความเครียดสูงขึ้น
4.ภาระโรคและผลกระทบ
ปัจจุบันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 ที่ส่งผลต่อสุขภาพของหญิงไทย
โรคติดต่อ การขาดสารอาหารในเด็ก เคยเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชากรในอดีต แต่ในปัจจุบันโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน กลับกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิตเป็นอันดับต้น
โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการสูญเสียปีสุขภาวะเพิ่มขึ้นทุกปีทั่วโลก โดยการสูญเสียปีสุขภาวะหรือ Disability-Adjusted Life Years (DALYs) นี้ เป็นวิธีการหนึ่งในการวัดสถานะสุขภาพของประชาชน ซึ่งรวมความสูญเสียที่เกิดจากการตายก่อนวัยอันควร และความสูญเสียจากการเจ็บป่วยหรือพิการ สถานการณ์โรคอ้วนของประชากรโลกทวีความรุนแรงขึ้น เห็นได้จากการสูญเสียปีสุขภาวะ และจำนวนการเสียชีวิตทั่วโลกจากการมีดัชนีมวลกายสูงที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วงเวลา 20 ปี (2533-2553) ในประเทศไทยเองเริ่มเห็นแนวโน้มนี้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน โดยกลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้หญิงไทย ที่มีการสูญเสียปีสุขภาวะจากน้ำหนักเกินและโรคอ้วนมากกว่าผู้ชายเกือบเท่าตัว และที่สำคัญคือ ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 ที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้หญิงในปัจจุบัน แซงหน้าการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ที่เคยเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 ของผู้หญิงในปี 2547 นอกจากนั้น การสูญเสียปีสุขภาวะจากโรคอ้วนยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะต้องใช้ทรัพยากรดูแลรักษาผู้ที่ป่วยจากโรคอ้วน และยังต้องสูญเสียกำลังแรงงานจากความเจ็บป่วยหรือการตายก่อนวัยอันควรอีกด้วย
ในปี 2552 พบว่าต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จากโรคอ้วนทั้งสิ้นอยู่ที่ 12,142 ล้านบาท โดยต้นทุนนี้สามารถแยกได้เป็นต้นทุนทางตรงและทางอ้อม ต้นทุนทางตรง ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลความเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคอ้วน คิดเป็นเงิน 5,584 ล้านบาท ส่วนต้นทุนทางอ้อมนั้น มาจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ประกอบกับการขาดงานเนื่องจากเกิดความเจ็บป่วยจากโรคอ้วน ทำให้ประเทศขาดกำลังแรงงาน ต้นทุนทางอ้อมนี้มีมูลค่ำถึง 6,558 ล้านบาท
5.วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
เด็กไทยใช้เวลากับสื่อมากขึ้น ทั้งเล่นอินเทอร์เน็ต ดูโทรทัศน์ คุยโทรศัพท์ หรือแช้ต 8-9 ชั่วโมงต่อวัน
วิถีชีวิตของคนสมัยนี้แตกต่างจากอดีตอย่างเห็นได้ชัด จากงานที่ต้องใช้แรงงาน ก็กลายเป็นงานนั่งโต๊ะ การเดินทางก็สะดวกสบาย ไม่ว่าจะด้วยยานพาหนะส่วนตัว หรือระบบการขนส่งสาธารณะที่ทันสมัยและครอบคลุม หรือแม้แต่เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถสร้างความบันเทิงได้โดยไม่ต้องแม้แต่ขยับตัว
เคยลองนึกบ้างหรือไม่ว่าในแต่ละวันตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า จนกระทั่งเข้านอนตอนกลางคืน เราใช้เวลาไปกับการทำอะไรบ้าง และกิจกรรมเหล่านั้นส่งผลต่อสุขภาพของเราอย่างไร วิถีชีวิตของคนยุคใหม่เปลี่ยนแปลงอย่างมาก ปัจจุบันคนไทยโดยเฉลี่ยใช้เวลากับกิจกรรมเคลื่อนไหวน้อย เช่น การนั่งๆ นอนๆ ถึงวันละ 13 ชั่วโมงครึ่ง ในขณะที่มีกิจกรรมทางกายรวมทุกประเภทเพียง 2 ชั่วโมงต่อวัน กลุ่มที่มีกิจกรรมทางกายน้อย คือ กลุ่มผู้หญิงที่มีเพียงร้อยละ 62 ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ นอกจากนี้การออกกำลังกายและเล่นกีฬาของทุกกลุ่มยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะคนในวัยทำงาน ซึ่งพบว่าน้อยกว่าร้อยละ 20 ได้เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ เทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับชีวิตคนยุคนี้ ทำให้คนสมัยใหม่ใช้เวลากับสื่อมากยิ่งขึ้นกว่าเคย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษาที่ใช้เวลาหน้าจอในแต่ละวันมากจนน่าตกใจ คือ วันละ 8-9 ชั่วโมงในการเล่นอินเทอร์เน็ต ดูโทรทัศน์ และคุยโทรศัพท์หรือแช้ต กิจกรรมหน้าจอเหล่านี้เบียดเบียนเวลาการมีกิจกรรมทางกาย ทำให้มีโอกาสน้ำหนักเกินหรืออ้วนสูงยิ่งขึ้น การมีพื้นที่สีเขียวให้เพียงพอต่อประชากร เป็นหนึ่งในวิธีสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอและยั่งยืน กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวต่อคนเพียง 3 ตารางเมตร ซึ่งน้อยกว่าพื้นที่สีเขียวเฉลี่ยของเมืองสำคัญต่างๆ ในเอเชียที่ 39 ตารางเมตรต่อคน และน้อยกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ที่ 9 ตารางเมตรต่อคน

3.สาเหตุที่คนไทยมีพุง

       โรคอ้วนลงพุงหรือ Metabolic syndrome เป็นภาวะที่อ้วนโดยเฉพาะส่วนเอวและทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายหลายระบบ Metabolic syndrome คำนี้เป็นคำศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้การอย่างแพร่หลาย หมายถึงกลุ่มโรคที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกต ิส่งผลทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ในที่สุดจะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง สมัยก่อนเรียกกลุ่มโรคนี้ว่า Syndrome X, insulin resistance syndrome

       3.1. กรรมพันธุ์
                ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งสองคนลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 80 ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งอ้วนลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 40 แต่คุณไม่ควรจะวิตกกังวลจนเกินเหตุไม่ใช่ว่าคุณจะหมดโอกาสผอมหรือหุ่นดีเหมือนคนอื่น
       3.2. นิสัยในการรับประทานอาหาร
                คนที่มีนิสัยการรับประทานที่ไม่ดี ที่เรียกว่ากินจุบกินจิบไม่เป็นเวลาก็ทำให้อ้วนได
       3.3. ขาดการออกกำลังกาย
                ถ้ารับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ แต่ได้ออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้อ้วนช้าลง แต่หลายท่านที่รับประทานพอดีหรือมากกว่าความต้องการของร่างกายแล้วนั่ง ๆ นอน ๆ โดยไม่ได้ยืดเส้นยืดสายออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมใด ๆ ในไม่ช้าจะเกิดการสะสมเป็นไขมันในร่างกาย
       3.4. จิตใจและอารมณ์
                มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่การรับประทานอาหารนั้นขึ้นอยู่กับจิตใจและอารมณ์ เช่น การรับประทานอาหาร เพื่อดับความโกรธ ความคับแค้นใจ กลุ้มใจ กังวลใจหรือดีใจ บุคคลเหล่านี้จะรู้สึกว่าอาหารทำให้จิตใจสงบ จึงหันมายึดเอาอาหารไว้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ ตรงกันข้ามกับบางคนกลุ้มใจเสียใจก็รับประทานอาหารไม่ได้ถ้าในระยะเวลานาน ๆ ก็มีผลทำให้ขาดอาหารเป็นต้น
       3.5. ความไม่สมดุลระหว่างความรู้สึกอิ่มกับความหิวหรือความอยากอาหาร
               เมื่อใดที่ความอยากเพิ่มขึ้นเมื่อนั้นการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้นที่เรียกว่า กินจุในที่สุดก็จะทำให้อ้วน
       3.6. เพศ
               เพศหญิงมักมีโอกาสอ้วนได้ง่ายกว่าเพศชาย เพราะโดยธรรมชาติมักสรรหาอาหารมารับประทานกันได้ตลอดเวลา อีกทั้งเพศหญิงจะต้องตั้งครรภ์ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เพราะต้องรับประทานอาหารมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์ และหลังจากคลอดบุตรแล้วก็ไม่สามารถลดน้ำหนักลงมาให้เท่ากับเมื่อก่อนตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ ในขณะตั้งครรภ์นั้นมักจะรับประทานอาหารในประมาณที่มาก ทำให้ติดเป็นนิสัยจึงทำให้น้ำหนักยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
     3.7. อายุ
             เมื่อมีอายุมากขึ้นก็มีโอกาสอ้วนง่ายขึ้นทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งอาจเนื่องมาจากการใช้พลังงานน้อยลง
     3.8. กระบวนการทางเคมีที่เกิดขึ้นในร่างกาย
            อัตราการเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในร่างกาย คือ อัตราความสามารถในการใช้พลังงานของร่างกายจะค่อย ๆ ลดลงตามอายุ นอกจากนี้อัตราการเผาผลาญยังขึ้นอยู่กับเพศ รูปร่าง กรรมพันธุ์และวิธีการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลด้วย
    3.9. ยา
            ผู้ป่วยบางโรค จะได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์เป็นเวลานานก็ทำให้อ้วนได้ และในเพศหญิงที่ฉีดยาหรือรับประทานยาคุม กำเนิดก็ทำให้อ้วนได้เช่นกัน
 

4.ผลเสียของการมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน

       4.1.ทำให้เสี่ยงต่อโรคอ้วนได้ง่าย

       4.2.เสี่ยงการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคเบาความ  โรคความดันโลหิตสูง

       4.3.เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก อาจจะทำให้เกิดโรค เช่น โรคข้อกระดูกเสื่อม

       4.4.ทำให้มีผลกระทบทางด้านจิตใจ อาจทำให้เสียบุคลิกภาพได้

       4.5.เหนื่อยง่าย

       4.6.ไม่มีความมั่นใจในการทำกิจกรรมต่างๆ

5.การแก้ไขปัญหาของคนไทยที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน

ในสมัยก่อนความอ้วนมิได้ถูกมองว่าเป็นปัญหาด้านสุขภาพมากนักโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่อดอยาก
 ในปัจจุบัน แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะรู้แล้วว่า ความอ้วนเป็นภัยต่อสุขภาพแต่บางคนก็ห้ามไม่ได้ที่ต้องปล่อยให้ตัวเองมีสภาพอ้วนจนขาดความสวยงาม คนบางกลุ่มจึงนึกสนุกจัดประกวด ราชินีช้าง คล้ายกับเป็นการประชดชีวิตไปเสียเลย บางคนอยากได้ตำแหน่งมากถึงกับพยายามเพิ่มน้ำหนักด้วยการตั้งหน้าตั้งตากินกันขนาดใหญ่ก่อนประกวดเพียงไม่กี่วันซึ่งนับว่าเป็นการกระทำที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ในทางการแพทย์ถือว่าความอ้วนเป็นพยาธิสภาพอย่างหนึ่งและเรียกว่า โรคอ้วน (Obesity)  สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน เป็นเพราะพลังงานที่บริโภคเข้าสู่ร่างกายมีปริมาณมากกว่าพลังงานที่ใช้ออกไป พลังงานส่วนเกินนั้นจึงสะสมในร่างกายเป็นไขมันตามส่วนต่างๆ
กลไกการเกิดโรคอ้วน จึงขึ้นจากปัจจัย 2 อย่างคือ 
1. กินอาหารมากเกินไป
2. ใช้พลังงานน้อยเกินไป

คนที่กินอาหารมากเกินไปโดยไม่สามารถยับยั้งความต้องการของตนเองได้นั้น ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ
Sigmund Freud เชื่อว่าเป็นเพราะมีปมขัดแย้งในจิตใจที่เกิดขึ้น ตั้งแต่วัยขวบแรกของชีวิต ซึ่งเป็นวัยที่มีความสุขอยู่ที่ปาก (Oral stage) เด็กที่ได้รับความสุขมากเกินไปหรือมีความกระทบกระเทือนทางจิตใจในวัยนี้ทำให้พัฒนาการชะงักงัน หรือติดตรึงอยู่ในวัยนี้ บุคลิกภาพเมื่อโตขึ้นอาจมีความต้องการพึ่งพิงคนอื่นมาก และมีการแสดงออกในรูปแบบต่างๆเช่น การติดสุรา ติดบุหรี่ อันที่จริงคนที่กินแล้วหยุดไม่ได้ ก็เป็นเสมือนเสพย์ติดอาหาร คนบางคนอาจมีพฤติกรรมการกิน ที่แตกต่างจากคนทั่วไป อย่างที่มีคำเรียกว่า "ยัด" หรือ "สวาปาม" พฤติกรรมแบบนี้ ย่อมทำให้เกิดโรคอ้วนได้แน่นอน สารอาหารที่เลือกกิน มีส่วนทำให้เกิดโรคอ้วนได้ คนที่มีแนวโน้มจะอ้วนมักชอบกินอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่นเนื้อสัตว์ติดมัน อาหารที่มแป้งและน้ำตาลสูง ขนม เวลากินก๋วยเตี๋ยวก็ชอบใส่น้ำตาล ดื่มกาแฟก็ใส่ครีมใส่น้ำตาลมาก อารมณ์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อพฤติกรรมการกินของคน บางคนเวลาเครียดหรือซึมเศร้า ก็กินอาการบ่อยขึ้นมากขึ้น บางคนชอบกินจุบกินจิบ สารอาหารที่คนเรากินเข้าไป เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ส่วนหนึ่งจะต้องถูกนำมาใช้ ในการให้พลังงานแก่ร่างกาย การใช้พลังงานให้พอดีกับอาหารที่ได้รับ เป็นกลไกสำคัญ ที่ทำให้ไม่เกิดโรคอ้วนคนที่ใช้พลังงานน้อยจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อ้วน การออกกำลังกายเป็นวิธีที่ช่วยเผาผลาญพลังงานได้รวดเร็วที่สุด แต่ในชีวิตจริง คนเราอาจไม่มีโอกาสออกกำลังกายเป็นกิจลักษณะได้ทุกคน การใช้พลังงานในการทำงาน เป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันโรคอ้วน คนที่เป็นกรรมกรแบกหาม กับสามล้อ หรือเกษตรกรจึงไม่ค่อยเป็นโรคอ้วน คนที่มีพฤติกรรมชอบความสะดวกสบาย ขี้เกียจแม้ในกิจวัตรประจำวันเล็กๆ น้อยๆ เช่น ขึ้นลงตึกเพียง 1-2 ชั้น ก็ต้องใช้ลิฟต์ ระยะทางไม่กี่สิบเมตรก็ต้องขับรถไป พฤติกรรมแบบนี้ มีส่วนทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคอื่นๆ อีกหลายอย่าง การรักษาโรคอ้วน ต้องใช้หลักพลังงานใช้ไปมากกว่าพลังงานที่รับเข้าสู่ร่างกาย ต้องเลือกสารอาหารที่กินให้เป็นพวกพลังงานต่ำ มีเส้นใยอาหารมาก โดยไม่ขาดสารอาหารที่จำเป็น ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินให้กินเป็นมื้อเป็นคราวที่เหมาะสม ไม่กินจุบกินจิบ ไม่ควรอดอาหาร เพราะจะยิ่งทำให้เกิดการชดเชยและอยากอาหารมากขึ้น
พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ช่วยป้องกันและแก้ไขโรคอ้วนได้ คือ การลดการใช้เครื่องอำนวย ความสะดวกต่างๆ เช่น ลิฟต์ และรถยนต์ หันมาใช้การเดินหรือขี่จักรยานมากขึ้น ลดการใช้เครื่องซักผ้า และหันมาซักด้วยมือ สิ่งหนึ่งที่มีคนสนใจมากคือ ยาลดความอ้วน หลายคนมีความเชื่อว่า มียาบางอย่างที่สามารถเนรมิต ให้ตนผอมลงได้เองโดยไม่ต้องปฏิบัติตัวอย่างใดเป็นพิเศษ คล้ายกับคนที่เชื่อว่ามียากินให้ฉลาด ยากินให้สวยให้หล่อ ยากิน ให้สมองดี ความจำแม่น หรือยาอายุวัฒนะ ความเชื่อเหล่านี้ไม่น่าจะเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง ยาที่มีผู้นำไปใช้ลดความอ้วนนั้นส่วนใหญ่เป็นยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีอาการตื่นตัว ไม่ง่วงนอน และมีผลข้างเคียงทำให้ความอยากอาหารลดลง สรรพคุณของยากลุ่มนี้จึงเหมือนกับยาบ้า ที่นิยมใช้เป็นสารเสพติด ยาอาจทำให้น้ำหนักลดลง ได้ค่อนข้างเร็วแต่ผลแทรกซ้อนมีมากมายเช่น ทำให้นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ หากใช้เกินขนาดอาจถึงตายได้ ผลข้างเคียงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของยากลุ่มนี้ก็คือทำให้เกิดประสาทหลอน หลงผิดหรือเป็นโรคจิตได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตภายหลังจากไปกินยาลดความอ้วนพบได้บ่อยพอสมควรบางคนที่เคยป่วยอยู่ก่อน และอาการทุเลาแล้วพอไปใช้ยาพวกนี้ เลยทำให้อาการกำเริบขึ้นมาอีก ผลเสียจากการใช้ยาลดความอ้วนมีมากมาย จนไม่คุ้มที่จะหวังพึ่งฤทธิ์ของมันในการช่วยลดความอยากอาหารและช่วยลดน้ำหนัก
การป้องกันและการรักษาโรคอ้วน 
จึงควรใช้วิธีปฏิบัติตัวในการควบคุมการกินอาหาร และเพิ่มการใช้พลังงานตามที่กล่าวตอนต้น น้ำหนักตัว
ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นสัญญาณอันตรายอย่างหนึ่ง หากไม่ทราบสาเหตุควรรีบไปพบแพทย์
ตรวจสุขภาพโดยด่วน คนที่เป็นโรคอ้วน ควรลดน้ำหนักลงอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป อย่าได้พยายามลด
ฮวบฮาบเป็นอันขาด เพราะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี หากพยายามลดความอ้วนอย่างไรก็ไม่เป็นผล ก็ควรทำใจยอมรับเสียเถิด คิดเสียว่า "อ้วนตายดีกว่าอดตาย" ก็แล้วกัน 
"ความอ้วนเป็นปัญหาของผู้คนจำนวนมากในบ้านเรา ผู้ที่ให้ความสำคัญกับรูปร่างโดยเฉพาะผู้หญิง ดูจะห่วงเรื่องนี้เป็นพิเศษ ความอ้วนทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลายอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน การรักษาความอ้วน มีหลายวิธี การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การผ่าตัด และการใช้ยาเป็นวิธีหลักๆ ที่ใช้มากมียาใหม่ๆ ออกสู่ตลาดเรื่อยๆ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึง การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุด สำหรับการลดความอ้วนระยะยาว
ความอ้วนกับโรคภัยไข้เจ็บ
การมีน้ำหนักมากเกินมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นครับ หมายความว่า คนอ้วนตายมากกว่า
คนผอมและยังสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ต่อการตายที่สูงขึ้นของโรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวานอีกด้วย ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีอยู่ไม่น้อย ที่เกี่ยวกับ น้ำหนักตัวมากเกินไป คนอ้วนมีโอกาสที่จะมีโคเลสเตอรอลในเลือด สูงกว่าคนผอมถึง 50% และยังมักมีไขมันชนิดอื่นสูงอีกด้วย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันก็ชอบคนอ้วนครับเป็นมากกว่าคนผอม หรือคนไม่อ้วนแยะทีเดียว โรคเบาหวานก็เป็นอีกโรคที่ชอบความอ้วน อ้วนปานกลางจะทำให้เป็นโรคเบาหวานสูงถึง 5 เท่า ถ้าอ้วนมาก จะเป็นเบาหวานสูงขึ้น 10 เท่าเลยล่ะ สำหรับผู้ชายอ้วนมีโอกาสตายจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็ง ต่อมลูกหมากสูงกว่าคนไม่อ้วน ในผู้หญิงอ้วนก็มีโอกาสเสียชีวิตสูง จากมะเร็งของโพรงมดลูก, ถุงน้ำดี, ปากมดลูก, รังไข่ และมะเร็งเต้านมครับ คนอ้วนโดยทั่วไปจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเกิดโรคของถุงน้ำดี, โรคปอด, โรคเกาต์, มะเร็ง และโรคข้ออักเสบ ครับ เรียกว่า รับเลอะเลยทีเดียว สิ่งที่ตามมาติดๆ ก็คือ การเสียเงินเสียทองเยียวยารักษา เป็นภาระอันหนักอึ้งแสนสาหัสของครอบครัวและของรัฐบาลด้วย                                                            สาเหตุของความอ้วน 
คนอ้วนส่วนใหญ่อาจเรียกได้ว่า "อ้วนเอง" ครับคือ ไม่ได้มีโรค อันเป็นเหตุให้อ้วนโดยตรง นอกเหนือจากการกินเข้ามามากกว่า การใช้ออกไป มีน้อยมากครับที่อ้วนจากโรค เช่น โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด, โรคทางพันธุกรรม, อ้วนจากยาหรือจากโรคของระบบประสาท ปัจจุบันเราถือว่า การอ้วนเป็นภาวะอันเกิดจาก หลายปัจจัยร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธ์, วัฒนธรรม, สังคมเศรษฐกิจ, พฤติกรรม และปัจจัยด้านสถานการณ์รอบด้านครับ
แนวทางแก้ไขความอ้วน
คงต้องยอมรับครับว่า การลดความอ้วนให้ได้ผลระยะยาวนั้น เป็นเรื่องยาก ตัวแปรหลักอยู่ที่ตัวผู้อ้วนเอง
ไม่ใช่หมอ สำหรับหมอ เราก็ถือว่า ความอ้วนก็เช่นเดียวกับเบาหวานหรือความดันสูง คือ เป็นโรคเรื้อรัง หาย
ขาดยาก ได้แค่บรรเทา คือ คุมไว้อย่าให้กำเริบ และก็ยังเหมือนกับโรคเรื้อรังอื่น ตรงที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยรวดเร็ว จะว่าไปแล้วก็ยังไม่มีวิธีรักษาที่ถูกใจคนไข้เลย เพราะคนไข้จะพอใจก็ต่อเมื่อต้องได้ผลดี คือ ผอมเร็ว และผอมนานไม่กลับมาอ้วนอีก ในทางทฤษฎีแล้วจะต้องเผาผลาญพลังงานไปถึง 3500 กิโลแคลอรี่ จึงจะลดไขมันลงไปได้ 1 ปอนด์ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ไม่ควรลดน้ำหนักลงเร็วกว่า 1-2 ปอนด์ต่อสัปดาห์ เห็นไหมล่ะครับว่า จะลดน้ำหนักกันเร็วๆ ไม่ได้ไม่ควรทำ และโรคอ้วนนี่ก็ชอบกลับมา เป็นซ้ำเป็นซากอยู่นั่นแหละ ไม่ยอมหายขาดซะที ใช้ยาลดน้ำหนัก ผู้หญิงดูจะใช้มากเป็นพิเศษ วิธีที่ใช้ส่วนใหญ่ก็เป็นที่ยอมรับ ทางการแพทย์ แต่บางวิธีก็ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพหรือไม่ครับ ในบรรดาวิธีต่างๆ ที่ใช้ควบคุมความอ้วน วิธีเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งรวมถึง การปรับเปลี่ยนการกินอาหาร
นับเป็นวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด วิธีใช้ยาดูเหมือนว่าตอนแรกจะลดน้ำหนักได้เร็ว แต่ในระยะยาวแล้ว
สู้วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้เพราะคุมความผอมไว้ได้นานกว่า การปรับเปลี่ยนอาหารเริ่มจาก การให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสารอาหาร พลังงานจากอาหารและชนิดของอาหารต่างๆ จุดประสงค์เพื่อให้สามารถเลือกรับประทานอาหารได้เหมาะสม, สามารถคิดปริมาณพลังงานจากสารอาหารได้ และรู้หลักของ การจัดอาหารให้สมดุล ผู้ที่ต้องการควบคุมอาหารมากๆ อาจจำกัดพลังงานอาหาร ให้เหลือเพียง 400-800 กิโลแคลอรีต่อวัน กิจกรรมออกกำลัง มีความสำคัญในการลดน้ำหนักมากครับ เพราะช่วยเร่งการใช้พลังงาน หรือเผาผลาญไขมันที่สะสมไว้ออกไปอีกทางหนึ่ง รวมแล้ว พลังงานแต่ละวันก็จะติดลบ คือ ใช้มากกว่าที่รับประทานเข้าไป น้ำหนักก็จะลดลง
พลังงานที่ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับผู้ที่หนัก 70 กิโลกรัม 

กิจกรรม

 พลังงานที่ใช้ (กิโลแคลอรี่ต่อนาที)

เดินช้า ๆ

 3-6

เดินเร็ว ๆ

 6-8

วิ่งช้า ๆ

 10-13

วิ่งเร็ว

 15-18

ปั่นจักรยานช้า ๆ

 4-8

ปั่นจักรยานเร็ว

 10-15

กายบริหารเบา ๆ

 4

เต้นรำ

 5-8

เล่นสเก็ตน้ำแข็ง

 6-11

ขึ้นบันไดปกติ

 6

ขึ้นบันไดเร็ว ๆ

 8-10

ทำความสะอาดบ้าน

 4 

ว่ายน้ำธรรมดา

 6

กวาดสนามหญ้า

 5

ตัดหญ้า

 5

การใช้ยาลดความอ้วน
ยาลดน้ำหนัก เมื่อใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร จะช่วยลดน้ำหนักได้ เมื่อใช้ยาแล้วอาจจะทำให้ไม่หิว หรือ
รู้สึกอิ่มเมื่อรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อย ผู้ที่อ้วนมากๆ จึงควรใช้ยาลดน้ำหนักครับ อ้วนน้อยๆ ไม่จำเป็น ใช้แค่คุมอาหาร และออกกำลังกายก็พอ ยาลดน้ำหนัก เมื่อหยุดใช้อาจกลับมาอ้วนอย่างเดิมอีก จึงต้องเปลี่ยนการรับประทานอาหาร และการออกกำลังด้วยเสมอ ต้องพยายามด้านนี้ให้มากครับ ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำตลอดไปเลย ผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของยา ก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงครับ ยาบางชนิดอาจทำให้กระวนกระวาย หงุดหงิด ปวดศีรษะ ปากคอแห้ง คลื่นไส้ และท้องผูก บางชนิดก็ทำให้อารมณ์ซึมเศร้า ง่วงนอน ปวดท้อง ท้องเดิน นอนไม่หลับ หรือฝันมาก บางทียาพวกนี้อาจเพิ่มความดันโลหิตให้สูง หรือหัวใจ เต้นผิดปกติได้ครับ ที่ร้ายแรงคือ เกิดแรงดันเลือดในปอดสูง การใช้ยาเหล่านี้จึงต้องอยู่ในความดูและของแพทย์อย่างใกล้ชิดครับ อย่าซื้อมากินเอง แล้วกินไปเรื่อยๆ เพราะอยากผอมจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
แพทย์จะคอยติดตามอาการ และเฝ้าระวังผลข้างเคียงจากยา วัดดูความดันโลหิต ดูการเต้นของหัวใจ และ
เฝ้าดูปัญหาทางหัวใจ ที่อาจแฝงเร้นอยู่โดยไม่ทราบมาก่อน ถ้าเกิดผลข้างเคียงหรือสงสัย ต้องหยุดยาทันทีครับ
ผลเสียต่อร่างกาย จากการใช้ยาลดความอ้วน
1.มีรายงานการเกิดภาวะความดันโลหิตในหัวใจห้องขวา และในระบบไหลเวียนของปอดสูงขึ้นได้จากยา
   ลดความอ้วน กลุ่ม anorexic drug(กลุ่มที่ทำให้มีอาการเบื่ออาหาร)
2.มีรายงานพบว่า การรรับประทานยาลดความอ้วน จะเกิดภาวะลิ้นหัวใจรั่วได้
3.อาการข้างเคียงอย่างอื่น เช่น ใจสั่น,หงุดหงิด เป็นลม หน้ามืด หรือ ท้องผูกได้
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับสูตรยาที่ใช้(regimens) ต้องสอบถามจากแพทย์ผู้นั้นโดยตรง เพราะว่าอาจมี
ยาอื่นเสริมมาด้วย เช่น ยาทัยรอยด์ฮอร์โมน,ยาขับปัสสาวะ,ยาระบาย ซึ่งอาจมีผลต่อระบบสรีรวิทยาของ
ร่างกาย (metabolism&physiology)ด้วย ยาลดความอ้วนเฉพาะส่วน เท่าที่ทราบยังไม่มี ยกเว้นการออกกำลังโดยวิธีที่ถูกต้อง

โรคกลัวอ้วน

โรคนี้ภาษาแพทย์เรียกว่า ANOREXIA NERVOSA หรือ แอเนอะเร็กเซีย เนอร์โวซส ครับ คนที่เป็นโรคนี้ จะเป็นคนที่กลัวอ้วน กลัวเอามากๆ เห็นน้ำหนักตัวเองเป็นศัตรู ปฏิเสธอาหารอย่างมากจนผ่ายผอมครับ ถ้าจะสังเกตดีๆ จะเห็นว่าสังคมปัจจุบันสนใจน้ำหนักตัว ไม่ต้องการอ้วน ไม่ต้องการหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน สื่อชนิดต่างๆ ไม่ว่า ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ จะพบข้อความหรือโฆษณาเกี่ยวข้อง กับการควบคุมน้ำหนักด้วยกรรมวิธีต่างๆ เกี่ยวข้องกับผลเสียของความอ้วน หรือไขมันมากเกินอยู่เสมอ
อาจเรียกว่าค่านิยมใหม่ได้รับการปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ เยาวชนรุ่นใหม่รับไปเรียบร้อยแล้ว เชื่อไหมครับว่า
ในอเมริกา สาววัยรุ่นอายุ 18 ปี กว่าครึ่งคิดว่าตัวเองอ้วน (น้ำหนักมากไป) ทั้งๆ ที่เมื่อชั่งแล้วน้ำหนักยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ค่านิยมนี้ จะเห็นเด่นชัดในกลุ่มนักศึกษาหญิงครับ
นิยมน้ำหนักตัวน้อย เคร่งครัดควบคุม
อาหารการกินมาก
ระบาดวิทยา
โรคกลัวอ้วนเสียจนผอมเกินไปนี้คาดว่ามีคนป่วยราว 0.2 ถึง 1.3 เปอร์เซ็นต์ของประชากร มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นราว 5-10 รายต่อประชากร 1 แสนคน พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า ในผู้ป่วยทั้งหมดจะเป็นผู้ชาย ไม่เกิน 5-10 เปอร์เซ็นต์ครับ อาการของโรคมักเริ่มตอนวัยรุ่น โดยเฉลี่ยจะเริ่มเป็นเมื่ออายุ 17 ปี มีบ้างที่เป็นตอนเรียนมัธยมต้นหรือตอนโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว พบมากในประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศที่เจริญแล้ว ประเทศด้อยพัฒนาจะพบน้อยกว่า
อาการ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียน หรือนักศึกษาสาวที่ขยันเรียน มีความรับผิดชอบสูง ผลการเรียนดี เป็นคน
ค่อนข้าง "สมบูรณ์แบบ" บิดามารดามักประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานสูง ผู้ป่วยมักไม่ชอบงานสังคม
สังสรรค์นัก
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานราว 15% เช่น ควรหนัก 60 กิโลกรัม ก็หนักเพียง 50 กก.หรือควรหนัก 50 กก. ก็เหลือแค่ 42 กก. หรือน้อยกว่าเป็นต้น โรคนี้ถือเป็นความผิดปกติทางจิตใจชนิดหนึ่งครับ โดยมีความเชื่อผิดเกี่ยวกับน้ำหนักและรูปร่างตัวเอง บางคนยังเชื่อว่า น้ำหนักมากเกินไปทั้ง ๆ ที่ความจริงอยู่ในขั้นผอมแห้ง บางคนเชื่อว่าอวัยวะบางส่วนของตัวอ้วนไป ผู้ป่วยจะกลัวมากๆ เกี่ยวกับการที่น้ำหนักเพิ่มขึ้น และที่แปลกคือ เมื่อยิ่งผอม (น้ำหนักลด) กลับยิ่งกลัวมากขึ้นไปอีก ความกลัวน้ำหนักเพิ่มนั้น มากเสียยิ่งกว่ากลัวตายจากการปฏิเสธอาหาร แทนที่จะรู้สึกผ่อนคลายหรือเบาใจ เมื่อน้ำหนักลดลงได้เขากลับกลัวมากขึ้นไปอีก จะพบอาการไม่มีประจำเดือนได้บ่อยในผู้ป่วยโรคนี้ สาเหตุเกิดจากความเครียดอย่างรุนแรงจากการอดอาหาร
ทำให้ฮอร์โมนของสมองที่ควบคุมการมีประจำเดือนลดลง
พฤติกรรมของผู้ป่วยมีได้ 2 แบบครับ
แบบจำกัด หมายถึงจะรับประทานอาหารน้อย และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีพลังงานสูง พวกนี้มักจะออกกำลังกายมากและหนัก
แบบกินมาก / ออกมาก หมายถึงเมื่อรับประทานอาหารแล้วใช้วิธีทำให้ตัวเองอาเจียน ใช้ยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ หรือสวนอุจจาระ
ผู้ป่วยมักมีความประพฤติแบบย้ำคิด-ย้ำทำ ร่วมด้วย ชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยพิธีรีตอง ส่วนตัวอาจนับเมล็ด
ข้าวที่รับประทาน คำนวณพลังงานที่ได้จากอาหาร ชั่งน้ำหนัก วัดสัดส่วนของร่างกาย ฯลฯ ผู้ป่วยโรคนี้จะปฏิเสธความเจ็บป่วยของตัวเองไม่ยอมรับว่าป่วย ทำให้รักษาลำบาก เขาคิดว่าความคิดของเขา
ถูกต้อง และคนอื่น กำลังพยายามทำให้เขาอ้วน เขาคิดว่าตัวเองปกติ ส่วนคนอื่นทั้งโลก ต่างหากที่เพี้ยนไป
การพัฒนาทางเพศจะล่าช้าใน
ผู้ป่วยพวกนี้ สาเหตุอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น ผู้ป่วยมักแยกตัวจากสังคม
เพราะขาดความเชื่อมั่น / นับถือตัวเองและกลัวว่าเมื่อเข้าสังคมแล้วจะดำเนินชีวิตอย่างที่ทำอยู่ไม่ได้
การอดอาหารยังไปกดการหลั่งของฮอร์โมนเพศ ทำให้ขาดความสนใจทางเพศ ที่ว่าคนเป็นโรคกลัวอ้วนไม่หิวนั้น เป็นความเข้าใจผิดครับ เขายังหิว และหิวอยู่เสมอ แต่การเอาชนะความหิว ทำให้เขารู้สึกว่าเขามีอำนาจเหนือร่างกายของเขาเอง ความคิดของเขาจะเต็มไปด้วยเรื่องเกี่ยวกับอาหาร น้ำหนักตัว และการควบคุมอาหาร ในที่สุดเมื่อเขาสนใจแต่เรื่องพวกนี้ เขาก็จะไม่มีเวลาสนใจเรื่องอื่น ทำให้การเรียน การทำงาน และมนุษยสัมพันธ์แย่ลง ความซึมเศร้าก็จะตามมา
โรคแทรกซ้อน
โรคแทรกซ้อนส่วนใหญ่เกิดจากผลของการอดอาหารครับ เป็นความพยายามของร่างกายที่จะอนุรักษ์พลังงานไว้ใช้ในภาวะที่ขาดแคลน ผู้ป่วยที่ใช้วิธีอาเจียน ถ่ายท้อง หรือขับปัสสาวะจะสูญเสียธาตุโปตัสเซียม เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะและกล้ามเนื้อเกร็งได้ โรคแทรกทางหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยโรคนี้ อาจหัวใจเต้นช้าแค่ 40 ครั้งต่อนาที อาเจียนบ่อยๆ ทำให้เคลือบฟันสึกกร่อน และต่อมน้ำลายบวมคล้ายเป็นคางทูม กล้ามเนื้อกระเพาะและลำไส้จะลีบและอ่อนลงจาการที่ใช้งานน้อย ทำให้อาหารคงอยู่ในและท้องผูก ผิวหนังจะแห้ง ผมบนศีรษะบางลง มีขนอ่อนตามลำตัวและแขนขามากขึ้น  อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง กระดูกบางลง กระดูกหักง่าย  ไตทำงานปกติ อาจเกิดไตวายเรื้อรัง
เม็ดโลหิตและเกร็ดเลือดลดน้อยลง
ทำไมถึงเป็นโรคนี้
ยังไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมบางคนจึงเป็นโรคกลัวความอ้วน ขนาดสาหัสเช่นนี้ครับ เป็นความเบี่ยงเบนทางจิต ที่เกิดความพอใจจากการที่ผอมลง
จะรักษาอย่างไร
ก่อนรักษาแพทย์จะต้องประเมินว่าผู้ป่วยมีโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่ และมีโรคแทรกซ้อนอะไรบ้าง เป้าหมาย
เบื้องต้นในการรักษาคือ ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากการอดอาหาร ผู้ป่วยและครอบครัว จะได้รับคำแนะนำและอธิบายถึงแผนการรักษา เพื่อนๆ ของผู้ป่วย ก็มีส่วนร่วมในการรักษาด้วย นักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ นักจิตวิทยา และจิตแพทย์ ล้วนมีความสำคัญในการร่วมทีมรักษา เริ่มแรก
ต้องค่อยๆ เพิ่มอาหาร เพื่อป้องกันกระเพาะขยายตัว ป้องกันการบวมและหัวใจล้มเหลวบางกรณีต้องรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล เช่น ผู้ป่วยที่น้ำหนักลดมากกว่า 30% ของน้ำหนักปกติ ผู้ป่วย
ที่มีความคิดฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยที่ติดยาระบาย หรือยาขับปัสสาวะและกรณีที่รักษาแบบผู้ป่วยนอกแล้วไม่ได้ผล การรักษาในโรงพยาบาลจะใช้เวลาประมาณ 10-12 สัปดาห์ จึงจะเพียงพอสำหรับการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ ก่อนจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน ควรลองปล่อยผู้ป่วยกลับบ้านเฉพาะวันหยุดดูก่อน เพื่อปรับตัวสักระยะหนึ่ง เมื่อกลับบ้านได้แล้วยังต้องนัดกลับมาติดตามการรักษาไปอีกเป็นเดือน หรือเป็นปีทีเดียว เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การรักษาทางจิต มีความสำคัญมาก ต้องเริ่มตั้งแต่ก้าวแรกเลย และติดตามไปเรื่อยๆ จนผู้ป่วยปกติ พฤติกรรมบำบัด ก็มีส่วนในการรักษามากทั้งวิธีให้รางวัลและลงโทษ ในผู้ป่วยอายุน้อยการใช้วิธีครอบครัวบำบัดจะได้ผลดีมาก ต้องระลึกเสมอว่าโรคนี้มีผลกระทบต่อครอบครัวทั้งหมด การให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวเพื่อแก้ปัญหาในสิ่งแวดล้อมของครอบครัว จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
อาการเตือนล่วงหน้า
มีอาการบางอย่างที่พอจะอาศัยเป็นสัญญาณเตือนได้สำหรับสังเกตว่า คนในครอบครัวของเราอาจเริ่มเป็น
โรคกลัวอ้วนอย่างหนักหรือไม่ครับ อาการที่ว่าได้แก่
 -
ตั้งใจอดอาหารด้วยตัวเอง และน้ำหนักลดลง
 -
กลัวการเพิ่มน้ำหนักตัว
 -
ปฏิเสธการรับประทานอาหาร
 -
ปฏิเสธความหิว
 -
ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
 -
มีขนอ่อนมากขึ้นตามตัวแขนขา หรือใบหน้า
 -
ขี้หนาว
 -
ประจำเดือนไม่มาหรือไม่สม่ำเสมอ
 -
ผมบางลง
 -
มีความรู้สึกว่าตัวเองอ้วนทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงผอมมาก

6.ประโยชน์ที่ได้รับจากการลดน้ำหนัก

       6.1.ร่างกายแข็งแรง

       6.2.ลดอาการเกิดโรคต่างๆได้

       6.3.มีความมั่นใจมากขึ้น                                                                                                

       6.4.ร่าเริง แจ่มใส

       6.5.ลดเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง

       6.6.มีภูมิคุ้มกันที่ดีมากขึ้น

บทที่ 3

วิธีการดำเนินการ

           ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาเรื่อง การลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ  ซึ่งมีวิธีการดังนี้

ระเบียบวิธีการที่ใช้ในการศึกษา

            ในการศึกษาใช้รูปแบบการทดลอง สืบค้นข้อมูล จากหนังสือ อินเตอร์เน็ต

ประชากรที่ใช้ในการศึกษา

            1.ประชากร

                      ประชากรที่ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน

เป็นนักเรียนทั้งสิ้น 5 คน

           2.กลุ่มตัวอย่าง

                      กลุ่มตัวอย่างที่ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เป็นนักเรียนทั้งสิ้น 5 ได้มา

โดยทำการเลือก จำนวน 1 ห้องเรียน เพื่อทดลองการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ

            3.ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา

                      ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558

วิธีดำเนินการศึกษา

ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาดังนี้

1. กำหนดเรื่องที่จะศึกษา โดยสมาชิกทั้ง 4 คน ประชุมร่วมกัน และร่วมกันคิดและวางแผน ว่าจะศึกษาเรื่องใด

2. สำรวจผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และคิดหาวิธีแก้ไขปัญหา

3. เลือกเรื่องที่จะศึกษา ที่สมาชิกสนใจมากที่สุด คือ เรื่องการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ

4. ตั้งชื่อเรื่องโดยมีชื่อเรื่องว่า การลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ

5. เขียนความสำคัญความเป็นมาของปัญหา  วัตถุประสงค์ สมมติฐาน ขอบเขตการวิจัย และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยศึกษาเรื่อง การลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ โดยศึกษาจากหนังสือ และสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และสอบถามผู้ที่มีประสบการณืในการลดน้ำหนัก

6. รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ สืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และสอบถามจากผู้ที่มีประสบการณ์ในการลดน้ำหนัก

7. วิเคราะห์โดยนำข้อมูลการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้อง

8. สรุปการศึกษาการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพโดยการนำข้อมูลที่เท็จจริงและถูกต้องมาสรุป

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล             การลดน้ำหนักของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน

ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2               โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย   สุพรรณบุรี              

ตารางที่ 1 แสดงพัฒนาการการลดน้ำหนักของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

น้ำหนัก

สัปดาห์ที่ 1

สัปดาห์ที่ 2

สัปดาห์ที่ 3

สัปดาห์ที่ 4

สัปดาห์ที่ 5

สัปดาห์ที่ 6

ด.ญ.กรยตา   กลิ่นหอม

70

70

69.5

69.2

70.4

71

70.5

ด.ญ.ณัฐินันท์ ไมตรี

82

81.5

81.3

80

80.1

81.2

81

ด.ญ.เพ็ญพิชชา โตแย้ม

72

73

72.4

74

73.4

73

72

ด.ญ.ศุภาพิชญ์  ม่วงแก้ว

85

85.5

84

84.1

83.2

83.1

83

ด.ญ.สุชานันท์ เพ็ชรศักดา

71

70

69.8

69.5

69.2

69.1

69.1

จากตารางที่ 1 พบว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานที่ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้    เนื่องจากผู้เข้าร่วมโครงการไม่ปฎิบัติตามตารางควบคุมการลดน้ำหนักที่ได้อย่างเคร่งครัดโครงการจึงไม่ประสบความสำเร็จ

ตารางที่ 2 แสดงพัฒนาการการลดน้ำหนักของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

ผู้เข้าร่วมโครงการ

น้ำหนักก่อนเข้าร่วมโครงการ

น้ำหนักหลังเข้าร่วมโครงการ

ด.ญ.กรยตา   กลิ่นหอม

70

70.5

ด.ญ.ณัฐินันท์ ไมตรี

82

81

 ด.ญ.เพ็ญพิชชา โตแย้ม

72

72

 ด.ญ.ศุภาพิชญ์  ม่วงแก้ว

85

83

 ด.ญ.สุชานันท์ เพ็ชรศักดา

71

69.1

จากตารางที่ 2  พบว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานที่ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้                เนื่องจากผู้เข้าร่วมโครงการยังมีพฤติกรรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมโครงการจึงไม่ประสบความสำเร็จ

บทที่ 5

สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

จากการศึกษาครั้งนี้เพื่อ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี ในภาคเรียนที่ 2

ปีการศึกษา 2558 ซึ่งสามารถสรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ได้ดังนี้

1.                วัตถุประสงค์ของการศึกษา

2.                สมมุติฐานของการศึกษา

3.                ขอบเขตของการศึกษา

4.                เครื่องมือที่ในการศึกษา

5.                วิเคราะห์ข้อมูล

6.                สรุปผลการศึกษา

7.                ข้อเสนอแนะ

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

                เพื่อเพื่อทำให้กลุ่มตัวอย่างสามารถลดน้ำหนักได้ทำให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตใจดีขึ้นและเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของบุคคลที่มีน้ำหนักขึ้น

สมมุติฐานของการศึกษา

                ในการศึกษาผลการทดลองนี้มุ่งหวังจะให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการหันมารักสุขภาพ และควบคุมน้ำหนักของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น โครงการนี้จึงคาดว่าผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะมีน้ำหนักที่ลดลง

ขอบเขตของการศึกษา

                1.ประชากรที่ใช้ในการศึกษา

                                ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน

เป็นนักเรียนทั้งสิ้น 5 คน

2.กลุ่มตัวอย่างที่ในการศึกษา

กลุ่มตัวอย่างที่ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เป็นนักเรียนทั้งสิ้น 5 ได้มา

โดยทำการเลือก จำนวน 1 ห้องเรียน เพื่อทดลองการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

       เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน1ฉบับ เรื่องการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี จำนวน  ข้อ5ข้อ

การวิเคราะห์ข้อมูล

       ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนที่มีต่อการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพจากตารางที่1 พบว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักเกินมาตาฐานที่ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้เนื่องจากผู้เข้าร่วมโครงการไม่ปฏิบัติตามตารางควบคุมการลดน้ำหนักที่ได้อย่างเคร่งครัดโครงการจึงไม่ประสบความสำเร็จ

สรุปผลการศึกษา

       ผลการศึกษาที่มีต่อการศึกษาเรื่องการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานที่ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ไม่สามรถลดน้ำหนักได้เนื่องจากผู้เข้าร่วมโครงการยังมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายไม่เหมาะสมโครงการจึงไม่ประสบความสำเร็จ

การอภิปรายผล

       จากการศึกษาการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยสุพรรณบุรีพบว่านักเรียนทุกคนในกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานที่ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ไม่สามรถลดน้ำหนักได้เนื่องจากผู้เข้าร่วมโครงการยังมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายไม่เหมาะสมโครงการจึงไม่ประสบความสำเร็จ

ข้อเสนอแนะ

       ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้

       1.ผู้เข้าร่วมโครงการควรควบคุมพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย

       2.ควรมีเวลามากขึ้น

บรรณานุกรม

health.kapook.com/view113773.html

health.kapook.com/diet

ประวัติผู้ศึกษา

ชื่อ – นามสกุล                             ด.ญ. ณัฐฐิดา    จิราโรจน์

วัน เดือน ปี สถานที่เกิด              4  กรกฏาคม 2544

                                                    เกิดที่ ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี                                                   

ประวัติการศึกษา                         ประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเตือนจิตร ตำบลทุ่งคอก

                                                    อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี                                                                 

                                                    ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4  

                                                   โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประวัติผู้ศึกษา

ชื่อ – นามสกุล                             ด.ญ. พิมนภัส  ภัทรวาทิต

วัน เดือน ปี สถานที่เกิด              15 กุมภาพันธ์ 2545

                                                    เกิดที่ ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

ประวัติการศึกษา                         ประถมศึกษา โรงเรียนแม่พระประจักษ์ ตำบลสองพี่น้อง 

                                                    อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

                                                    ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4  

                                                    โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประวัติผู้ศึกษา

ชื่อ – นามสกุล                             ด.ญ. ภัณธิรา  ภัทรโกศล

วัน เดือน ปี สถานที่เกิด              12  กุมภาพันธ์  2545

                                                    เกิดที่ ตำบลท่าระหัด อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ประวัติการศึกษา                         ประถมศึกษา โรงเรียนสุพรรณภูมิ ตำบล ท่าระหัด 

                                                    อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

                                                    ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4  

                                                    โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ประวัติผู้ศึกษา

ชื่อ – นามสกุล                             ด.ญ. วันเลิศ  ลิ้มบรรจง

วัน เดือน ปี สถานที่เกิด              17  สิงหาคม 2544

                                                    เกิดที่ ตำบล หนองโพธิ์ อำเภอ หนองหญ้าไทร

                                                    จังหวัด สุพรรณบุรี

ประวัติการศึกษา                         ประถมศึกษา โรงเรียนดอนเจดีย์พิทยาคม ตำบลหนองโพธิ์ 

                                                    อำเภอหนองหญ้าไซร จังหวัดสุพรรณบุรี

                                                    ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4  

                                                    โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี