การ ทดลอง วิทยาศาสตร์ สอดคล้อง กับ ปัญญา 3 ใด บ้าง

การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาและการคิดแบบวิทยาศาสตร์นั้น มีความสอดคล้องกันเป็นอันมากจนมีบางคนกล่าวว่า พระพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตใจ (Spiritual / Mental Science) และโดยเหตุที่พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ก่อนวิทยาศาสตร์กว่า 2 พันปี จึงน่าจะกล่าวได้ว่าหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง ไปสอดคล้องกับหลักการและวิธีการของพระพุทธศาสนามากกว่า ทั้งพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์มีจุดเน้นเหมือนกัน คือ สอนมิให้คนงมงาย ควรนำสิ่งต่าง ๆ มาพิจารณาด้วยเหตุผล มีการทดสอบทดลอง ตรวจสอบ จนเกิดความแน่ใจและเชื่อด้วยตนเอง ด้วยปัญญาที่สั่งสมไว้ของตนเอง พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนมิให้คนเชื่ออะไรง่าย ๆ (กาลามสูตร ติกนิบาต อังคุตรนิกาย) หรือมีศรัทธาแบบตาบอด 10 ประการ คือ

1. อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา
2. อย่าเชื่อโดยเข้าใจว่าเป็นของเก่าสืบ ๆ กันมา
3. อย่าเชื่อเพราะตื่นข่าว
4. อย่าเชื่อเพราะตำรากล่าวไว้
5. อย่าเชื่อโดยนึกเดา
6. อย่าเชื่อโดยการคาดคะเน
7. อย่าเชื่อโดยพิจารณาตามอาการ
8. อย่าเชื่อเพราะชอบใจว่าสอดคล้องกับความเชื่อเดิมหรือลัทธิของตน
9. อย่าเชื่อเพราะนับถือตัวผู้พูดว่าควรเชื่อได้
10. อย่าเชื่อเพราะผู้บอกเป็นครู อาจารย์ของตน

หลักการเหล่านี้ไม่แตกต่างกับหลักการของวิทยาศาสตร์ ซึ่งเน้นเรื่อง “วิกฤต วิจารณญาณ” คือ การพิจารณาสิ่งใดต้องรอบคอบและถี่ถ้วนมากที่สุด แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของสรรพสิ่ง ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต หากนำมาเปรียบเทียบกันระหว่างวิทยาศาสตร์กับพระพุทธศาสนา จะเห็นว่ามีความสอดคล้องกันอย่างดี ดังเปรียบเทียบต่อไปนี้

(วิทยาศาสตร์) สรรพสิ่งในจักรวาลอาจแบ่งออกได้เป็น 2 องค์ประกอบ คือ

1. สสาร
2. พลังงาน 

การ ทดลอง วิทยาศาสตร์ สอดคล้อง กับ ปัญญา 3 ใด บ้าง


(พระพุทธศาสนา)สรรพสิ่งในจักรวาลอาจแบ่งออกได้เป็น 2 องค์ประกอบ คือ

1. รูป
2. นาม

การ ทดลอง วิทยาศาสตร์ สอดคล้อง กับ ปัญญา 3 ใด บ้าง

(วิทยาศาสตร์)1. สสาร แบ่งเป็น 3 สถานะ

การ ทดลอง วิทยาศาสตร์ สอดคล้อง กับ ปัญญา 3 ใด บ้าง

(พระพุทธศาสนา)1. รูปต่าง ๆ แบ่งออกได้เป็น “ธาตุ” หรือ “ธรรมชาติ” 4 ประเภท

การ ทดลอง วิทยาศาสตร์ สอดคล้อง กับ ปัญญา 3 ใด บ้าง

(วิทยาศาสตร์) 2. พลังงาน เช่น ความร้อน… แสง เสียง ฯลฯ
(พระพุทธศาสนา) 2. นามหรือ “จิต” หรือ “วิญญาณ” เป็น “ธาตุรู้” หรือธรรมชาติที่รู้ได้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิต

จากข้อมูลเปรียบเทียบด้านบนจะเห็นได้ว่า วิทยาศาสตร์อธิบาย “ธรรมชาติ” โดยมีแนวคิดว่ามี 2 องค์ประกอบ คือ สสารกับพลังงาน และใช้แนวคิดนี้อธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้เป็นส่วนมาก (กล่าวแล้วในตอน 1.1) แนวคิดดังกล่าวนี้สอดคล้องพอดีกับ “รูป” ในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งประกอบด้วย สสารและพลังงาน แต่พระพุทธศาสนายังมีองค์ประกอบตัวใหม่ซึ่งไม่มีในวิทยาศาสตร์ นั่นคือ องค์ประกอบที่เรียกว่า “นาม” หรือ “จิต” หรือ “มโน” หรือ “วิญญาณ” ซึ่งเป็นธรรมชาติที่แตกต่างไปจากรูปนาม ประกอบด้วย

1. ความรู้สึก
2. ความจำ
3. ความคิดปรุงแต่ง ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์ / สังเคราะห์
4. การรับรู้ทุกสิ่ง

พระพุทธศาสนาอธิบายว่า “ชีวิต” ย่อมประกอบด้วยรูป หรือส่วนที่เป็นร่างกายและนาม คือส่วนที่เป็นจิตใจซึ่งมีความสามารถ 4 ประการ ดังกล่าว และจากหลักการข้อนี้ พระพุทธศาสนาสามารถอธิบายได้ถึงสภาพการเกิดทุกข์ สาเหตุของการเกิดทุกข์ การเวียนว่ายตายเกิด กฏแห่งกรรม ตลอดจนวิถีทางทำให้ทุกข์ลดลง จนกระทั่งดับไปในที่สุด สิ่งเหล่านี้วิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบ จึงถือได้ว่าพระพุทธศาสนาก้าวไกลกว่าวิทยาศาสตร์มากมายนักในการอธิบายธรรมชาติของชีวิต

ข้อแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนาที่น่าสังเกต ประการหนึ่ง คือ แนวความคิดเกี่ยวกับ “ปัญญา” ซึ่งพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. สูตปยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการได้รับฟัง ได้เห็น ได้ประสบมาด้วยตนเองจากประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น การได้รับทราบจากหนังสือ จากการบอกเล่าของครู จากการเห็นผู้อื่นทำ ฯลฯ
  2. จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณา ไตร่ตรอง วิเคราะห์ วิจารณ์ต่าง ๆ เช่น การแก้ปัญหาโจทย์เลขคณิต การทดลองวิทยาศาสตร์ การค้นคว้าวิจัย ฯลฯ
  3. ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการอบรมจิตของตนเองให้มีความสะอาด สงบ ก็จะเกิดความ “สว่าง” คือ ปัญญาชนิดนี้ขึ้น เป็นปัญญาที่ไม่จำเป็นต้องมาจากประสบการณ์หรือการนึกคิดพิจารณา เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเองในจิต จะได้คำตอบจากคำถามที่ตั้งขึ้น โดยไม่ต้องคิดความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็คือ ตัวอย่างสูงสุดของปัญญาชนิดที่ 3 ซึ่งเรียกอีกนัยหนึ่งว่าปัญญาทาง “ธรรม” ส่วนปัญญา 2 ประเภทแรก เรียกว่า ปัญญาทาง “โลก”

จุดแตกต่างที่เห็นได้ชัด คือ ปัญญาวิทยาศาสตร์ จะตรงกันกับปัญญา 2 ประเภทแรกของพระพุทธศาสนา การศึกษาค้นคว้าวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะกระทำต่อเนื่องนาน ลึกซึ้ง หรือเข้มข้นมากเท่าใด ก็เกิดปัญญาเพียง 2 ประเภทแรกเท่านั้น จะไม่มีปัญญาประเภทที่ 3 เกิดขึ้นเลย หากต้องการปัญญาประเภทที่ 3 พระพุทธองค์ก็ตรัสสอนบันไดไว้ 3 ขั้น คือ ให้ผู้นั้น

  1. รักษาศีล คือ รักษากาย และวาจา ให้เรียบร้อยปกติ
  2. เจริญสมาธิภาวนา ซึ่งประกอบด้วยสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน
  3. เจริญปัญญา โดยอาศัยหลัก “โยนิโสมนสิการ” คิดแบบแยบคายหรือถูกวิธี เช่น คิดแบบสืบสาวไปหาเหตุปัจจัย คิดแบบแยกองค์ประกอบ คิดแบบหาคุณโทษแล้วพิจารณาทางเลือก เป็นต้น รวมเรียกว่า ไตรสิกขา หรือ การศึกษา 3 ขั้น

อาจสรุปได้ว่าทั้งพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์มีความสอดคล้องกัน คือ

  1. มีหลักการเหมือนกัน คือ มีการสังเกต บันทึก พิสูจน์ ทดลอง ใช้เหตุผลอย่างเต็มที่ ไม่เชื่องมงาย
  2. เชื่อเหมือนกันว่าผลย่อมมาจากเหตุ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์มิได้เกิดจากการดลบันดาลของเทพเจ้า หากเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลผู้นั้นนั่นเอง เช่นเดียวกับกฎของแรงปฏิกิริยาจะเกิดเท่ากับแรงกิริยา บุคคลประสบผลของกรรมดีเพราะได้กระทำความดีไว้ก่อน เป็นต้น
  3. ทั้งพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์มีความเห็นสอดคล้องกันในเรื่องวิวัฒนาการของชีวิตว่าชีวิตค่อย ๆ เปลี่ยนแปรรูป ใช้เวลานานแสนนาน (4 อัคคัญญสูตร ทีฆนิกาย) เริ่มวิวัฒนาการจากชีวิตทีไม่มีเพศ จนกระทั่งเกิดมีเครื่องหมายเพศชัดเจน จากสัตว์เซลล์เดียว เป็นหลายเซลล์ สัตว์มีกระดูกสันหลัง ครึ่งบกครึ่งน้ำ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จนกระทั่งมนุษย์
  4. ทั้งพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์มีความเห็นสอดคล้องกันในเรื่องของวิทยาศาสตร์กายภาพโดยเฉพาะสสารและพลังงาน ตลอดจนขนาดของปรมานู

ในด้านความแตกต่าง พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์มีแนวคิดไม่ตรงกัน คือ

  1. พระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์เข้าใจธรรมชาติโดยเน้นเรื่องจิตใจ และให้ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ส่วนวิทยาศาสตร์ศึกษาธรรมชาติหนักไปในทางวัตถุ เพื่อมาประยุกต์ความรู้ ใช้ประโยชน์ในทางโลกมิได้มีความคิดลึกซึ้งจะหนีทุกข์แต่ประการใด
  2. คำสั่งสอนของพระพุทธองค์เป็นสัจธรรม ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ส่วนความคิดเห็นทางวิทยาศาสตร์อาจแปรเปลี่ยนไปได้ หากมีเหตุผลหรือหลักฐานอื่นน่าเชื่อถือกว่า
  3. พระพุทธองค์ทรงบรรลุปัญญาขั้นที่ 3 และปราศจากกิเลสตัณหาต่าง ๆ เพราะยังมิได้ชำระจิตให้สะอาด
  4. แนวคิดในเรื่องจิตยังไม่มีในวิทยาศาสตร์ เหมือนพระพุทธศาสนาจึงไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์อีกหลายอย่างได้เหมือนพระพุทธศาสนา

ความสอดคล้องและความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์

  1. หลักไตรลักษณ์ คืออนิจจัง (impermanent) ทุกขัง (conflict) และอนัตตา (no-self)
  2. การยอมรับโลกที่อยู่พ้นสสารวัตถุ (Metaphysics) ทั้งวิทยาศาสตร์และพุทธศาสตร์ยอมรับสสารวัตถุ ซึ่งรู้จักได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ว่ามีจริง โลกที่พ้นจากสสารวัตถุวิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับเพราะเชื่อว่าประสาทสัมผัสเป็นเครื่องมือสุดท้ายที่จะต้องตัดสินความจริงพุทธศาสนาเชื่อว่า สัจธรรมชั้นสูงคือมรรค ผลนิพพาน ไม่อาจจะรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส รู้ได้ด้วยปัญญินทรีย์
  3. การอธิบายความจริงวิทยาศาสตร์ถือว่า ความจริงเป็นสิ่งสาธารณะสามารถพิสูจน์ได้สัจธรรมทางพุทธ มีทั้งสิ่งสาธารณะและปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ – อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน

สรุปความว่า ความแตกต่างระหว่างพุทธศาสตร์ กับ วิทยาศาสตร์ที่สำคัญคือวิทยาศาสตร์ไม่สนใจเรื่องศีลธรรม ความดีความชั่ว วางตัวเป็นกลางในเรื่องถูกผิด การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ให้ทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ ส่วนคำสอนทางพุทธ-ศาสนานั้น เป็นเรื่องศีลธรรม ความดี ความชั่ว มุ่งที่จะให้มนุษย์ในสังคมมีความสุขเป็นลำดับขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงความสงบสุขอันสูงสุดแล้วแต่ว่าใครจะไปได้แค่ไหน