โรมันในสมัยจักรวรรดิ


����ѵ���ʵ������繢ͧ�ѡ���ô����ѹ
     1. ��þ����ɢͧ������ѹ;¾�����㹤Һ��ط��Ե��� ���������� 2,000 �� ��͹���ʵ��� ������ժ���Է��ʤҹ (Etruscan) �ҡ���������������ִ��ͧ�Թᴹ����Һ�ҵ���� (Latium) ����Դ��ü����ҹ�ҧ��ҹ���ͪҵԡ����繪�����ѹ�������
     2. ����Է��ʤҹ��Ӥ�����ԭ���������� ����������������������ҹ�ɵá�����Ѻ�����繹���Ѱ (City-State) �ա���ҧ�ѧ���ͧ���������º �ա�þѲ�ҧҹ����ѡ����ͧ��鹴Թ�� ��С�÷����ظ���з����ҹ��բ��
     3. �����Ҹ�ó�Ѱ���ѹ�ա�û���ͧ�¾ǡ�ع�ҧ ���¡��� �кͺ��Ԫ�ҸԻ�� (Aristocracy) ���ؤ�����������ӹҨ��û���ͧ�͡����ҧ���ҧ��ҧ���ǤҺ��ط��Ե��� �໹ ����Ϳ�ԡ��˹�� �����駡�ա��������Ź�ʵԡ ������Ҩ�Ǻ����ع�ҧ��·��÷�軡��ͧ�Թᴹ���������ҧ������ҹ�������ҧ���ԧ �ǡ�������֡�١��Ҵ��͹��������ç�ҹ�ӹǹ�ҡ
     4. 㹻շ�� 48 ��͹���ʵ��� ��·��ê��� ������� �ի��� (Julius Caesar) ���ӹҨ����ͧ��� ��л�Һ����������ͧ����秢��������� ���������ҹ�١�ͺ�ѧ��� ��è�Ҩ���觪ԧ�ӹҨ㹡�ا����Դ����ա����˹�� 㹷���ش�ͤ����¹ (Octavian) �ժ���˹�� ���� �͹ⷹ� (Mark Antony) �����ʶһ�ҵ��ͧ�繨ѡþ�ô� ������¡���˹觹����� "�͡�ʵ��" (Augustus) ������ؤ�Ҹ�ó�Ѱ��軡��ͧ�¢ع�ҧ��·�������شŧ
     5. ���¨ѡ���ô����ѹ �����ͧ���»��á�դ�����ԭ������ͧ���㹴�ҹ��û���ͧ�����Ż�������� ����ö�Ǻ���������Ҫ���������ӹҨ�ͧ��������ҧ������º���觷������令Ǻ��� ��о�������١�ѧ�Ѳ��������ѹ��������еԹ����誹�ҵ��ҳҹԤ� ���й��֧�١���¡��� "�ѹ�����ѹ" (Pax Romana) ��ѧ�ҡ��� �ѡ���ô����ѹ������ �������ӹҨŧ ������ѹ��Ѻ�������������� ������ 㹤��ʵ�ȵ���ɷ�� 3 �ѡ���ôԨ֧�١���͡�� 2 ��ǹ ��� �ѡ���ô����ѹ���ѹ�� ���ٹ���ҧ����ا��� ��Шѡ���ô����ѹ���ѹ�͡ �����ͧ��ǧ����ا�͹�ᵹ������ (�Ѩ�غѹ ��� ��ʵѹ��� ���ͧ��ǧ�ͧ����ȵ�á�㹻Ѩ�غѹ)

โรมันในสมัยจักรวรรดิ

�ѡɳ���Ż�Ѳ��������ѹ
     1. �ѡɳТͧ�ҹ���ҧ��ä���Ż�Ѳ��������ѹ �繡�ü����ҹ��Ż�Ѳ�������ա�����ҡѺẺ��Ѻ����ͧ�� �»���ء��������Դ����ª���٧�ش �����������繹ѡ��ԺѵԷ���դ�������ö 㹢�з���ǡ�ա���������繹ѡ�Դ����ѧ��ä�ŧҹ���ҧ������� �������ѹ���ѺẺἹ�ҡ��ա��й��ҾѲ��������˹����觢�鹡������ �����ҹ��Żж١���������ª������з�͹������ԧ���ҡ���
     2. ��Ż�Ѳ��������ѹ�դ���ᵡ��ҧ仨ҡ�ѡɳТͧ��ա ����Ǥ�� ���з�͹�֧����������º�Թ���˹�������Ҿ��ǹ�ؤ�� ������觷���������������� �鹡����þ��ӹҨ��Ф����Ѻ�Դ�ͺ��ͺ�ҹ���ͧ �ѡɳТͧ�ҹ��Ż���ѹ ������觷�������������� ���繡���Ѻ���·ʹ�ҡ���¸���
��ա ��й��ҾѲ�����բ�� ���������Ż�Ѳ�������ա����٭��¨��֧�ء�ѹ���

โรมันในสมัยจักรวรรดิ

โรมันในสมัยจักรวรรดิ
The five good emperors (Nerva, Trajan, Hadrian, Antoninus Pius and Marcus Aurelius) (96 A.D. – 180 A.D.),

       

โรมันในสมัยจักรวรรดิ
        จักรวรรดิโรมันเคยมีดินแดนอยู่ในการครอบครองมากมาย ได้แก่ อังกฤษและเวลส์ ยุโรปส่วนใหญ่ (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์และทางใต้ของเทือกเขาแอลป์) ชายฝั่งของแอฟริกาเหนือ บริเวณมณฑลใกล้เคียงของอียิปต์ แถบบอลข่าน ทะเลดำ เอเชียไมเนอร์ และส่วนใหญ่ของบริเวณลีแวนท์ ซึ่งดินแดนเหล่านี้ จากตะวันตกสู่ตะวันออกในปัจจุบันได้แก่ โปรตุเกส สเปน อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี แอลเบเนียและกรีซ แถบบอลข่าน ตุรกี ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของเยอรมนี ทางภาคใต้จักรวรรดิโรมันได้รวบรวมตะวันออกกลางไว้ ซี่งในปัจจุบันก็ได้แก่ซีเรีย เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน จากนั้นในภาคตะวันตกเฉียงใต้ จักรวรรดิได้รวบรวมอียิปต์โบราณไว้ทั้งหมด และได้ทำการยึดครองต่อไปทางตะวันตกซึ่งเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลซี่งในปัจจุบันคือประเทศลิเบีย ตูนิเซีย แอลจีเรียและโมร็อกโก จนถึงตะวันตกของยิบรอลตาร์ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิโรมันเรียกว่าชาวโรมัน และดำเนินชีวิตภายใต้กฎหมายโรมัน การขยายอำนาจของโรมันได้เริ่มมานานตั้งแต่ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเรืองอำนาจสูงสุดในสมัยจักรพรรดิทราจัน ด้วยชัยชนะเหนือดาเซีย (ปัจจุบันคือประเทศโรมาเนียและมอลโดวา และส่วนหนึ่งของประเทศฮังการี บัลแกเรียและยูเครน) ในปี ค.ศ.106 และเมโสโปเตเมียในปี ค.ศ. 116 (ซึ่งภายหลังสูญเสียดินแดนนี้ไปในสมัยจักรพรรดิฮาเดรียน) ถึงจุดนี้ จักรวรรดิโรมันได้ครอบครองแผ่นดินประมาณ 5,900,000 ตร.กม. (2,300,000 ตร.ไมล์) และห้อมล้อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งชาวโรมันเรียกทะเลนี้ว่า mare nostrum “ทะเลของเรา” อิทธิพลของโรมันได้ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านภาษา ศาสนา สภาปัตยกรรม ปรัชญา กฎหมายและระบบการเมืองมาจนถึงทุกวันนี้

โรมันในสมัยจักรวรรดิ

        จักรวรรดิถูกแบ่งออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกในสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน และถือว่าจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงในช่วงเวลาประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 476 เมื่อจักรพรรดิโรมิวลุส ออกุสตุส จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกขับไล่และเกิดการจลาจลขึ้นในโรม (ดูในการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน) อย่างไรก็ตาม จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่รู้จักกันในชื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก็ได้รักษากฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบกรีก-โรมัน รวมถึงศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ไว้ได้ในอีกสหัสวรรษต่อมา จนถึงการล่มสลายเมื่อเสียกรุงคอนแสตนติโนเปิลให้กับจักรวรรดิออตโตมัน ในปีค.ศ. 1453

 

            เมื่อพระจักรพรรดิคอนสแตนติน ย้ายเมืองหลวงจากตะวันตกไปตะวันออกก็ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกแตกแยกระหว่างตะวันตกและตะวันออก  จนถึง ค.. 400 ก็บ่งชัดว่าเป็นจักรวรรดิตะวันตก  จักรวรรดิตะวันออก  จักรวรรดิตะวันออกมีอายุยืนยาวมาจนถึงสมัยที่ถูกพวกเตอร์กรุกรานในปี ค.. 1453   สำหรับจักรวรรดิโรมันตะวันตกนั้นได้ถูกพวกอนารยชนเยอรมัน (Teutonic) ล้มล้างไปตั้งแต่ปี ค.. 476

 

สาเหตุความเสื่อมของจักรวรรดิ

                1. หลังปี ค.. 180 เนื่องจากไม่มีกำหนดการสืบตำแหน่งไว้ในรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดการแย่งอำนาจในหมู่นายพล

            2. การถูกโจมตีจากศัตรูภายนอกและเกิดรัฐอิสระขึ้นตามชายแดนที่ถูกคุกคาม

            3. ที่ดินแทบทั้งจักรวรรดิตกอยู่ในเงื้อมมือชนชั้นสูงส่วนน้อยเท่านั้น ชาวนาที่สิ้นเนื้อประดาตัวกลายเป็นโคโลนุส (Colonus) ซึ่งจะได้รับที่ดินชิ้นหนึ่งจากเจ้าของที่ดิน เพื่อทำการเพาะปลูกโดยเสรี แต่จะต้องชดใช้เจ้าของที่ดินด้วยแรงงานของตน เมื่อนานวันเข้าก็เปลี่ยนสภาพเป็นกึ่งทาส (serdom)

            4. สงครามกลางเมือง ทำให้กระทบกระเทือนระบบการค้า

 ภารสิ้นสุดจักรวรรดิโรมันตะวันตก

            เพื่อความเข้าใจในเหตุการณ์จึงแทรกลำดับพระจักรพรรดิของโรมันเฉพาะที่สำคัญๆ ไว้ตามลำดับดังนี้คือ          1. ออกุสตุส (Augustus) 30 ปีก่อน ค..–.. 14  นับเป็น ยุคทองของโรม

            2. ทิเบริอุส (Tiberius) .. 14-37 เพิ่มอำนาจจักรพรรดิและลดอำนาจของสภาราษฎร

            3. คลอดิอุส (Claudius) .. 41-54 ได้ปกครองภาคใต้ของอังกฤษ และเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณี วรรณคดี และภาษาของโรมันไปสู่ประเทศนั้น นอกจากนี้ยังยินยมให้มีตัวแทนจากมณฑลอื่น ๆ เข้าร่วมประชุมสภาซีเนท นับว่าเป็นการรวมที่ได้ผลวิธีหนึ่ง

            4. เนโร (Nero) .. 54-68 เป็นจักรพรรดิที่โหดเหี้ยมมาก เพราะทรงฆ่าพระมารดา, พระอนุชา, ชายา 2 องค์ รวมทั้งพระอาจารย์ของพระองค์เองคือ เซเนคา (Seneca) ปรัชญาเมธีผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง รวมทั้งเป็นผู้ที่ทำการจุดไฟเผากรุงโรมเพียงเพื่อความบันเทิงของตัวเอง ป้ายความผิดให้พวกคริสเตียน และประหารชีวิตเสียเป็นจำนวนมาก ในปลายรัชสมัยของพระองค์ได้เกิดจลาจลขึ้นในโรม จักรพรรดิเนโรปลงพระชนม์พระองค์เอง ใน ค.. 68 นับเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์จูเลียน

            5. เวสปาเชียน (Vespasian) .. 69-79 เดิมเป็นแม่ทัพที่ปราบปรามจลาจลในโรมตอนปลายสมัยเนโรได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิราชวงศ์เลเวียน (Flavian) งานชิ้นสำคัญคือโคลอสเซียม (Colosseum) ได้ทรงส่งโอรสติตุส (Titus) ไปปราบปรามและทำลายกรุงเจรูซาเล็มในปาเลสไตน์

            6. ทราจัน (Trajan) .. 98-177 รวมรูมาเนีย (ดาเซีย) เข้ามาอยู่ในบังคับของโรมและขยายอาณาจักรโรมันออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น

            7. เฮเดรียน (Hadrian) .. 117-138 ทรงขยายแนวป้องกันการรุกรานออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษ ในยุโรปกลาง ระหว่างลุ่มแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบ เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกอารยชน

            8. มาร์คุส ออเรลีอุส (Marcus Aurelius) .. 161-180 นับว่าเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นจักรพรรดิที่มี 5 พระองค์ (.. 96-180) ทรงเขียนหนังสือ ”Meditations” บรรยายหลักปรัชญาในแนวสโตอิค คือถือความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ รัชสมัยของพระองค์นี้ถือว่าเป็นสมัยสุดท้ายของสันติภาพโรมัน(Pax Romana) ซึ่งคงอยู่ระหว่าง 27B.C.–180A.D.  นับเป็นปีแห่งสันติสุขโรมัน และเป็นช่วงระยะที่อารยธรรมเฮลเลนิสติคแผ่ขยายออกไปในจักรวรรดิมากที่สุด

            9. ไดโอเคลเชียน (Diocletian) .. 284-305 เป็นกษัตริย์พระองค์เดียวที่สามารถทรงจัดการระงับการจลาจลวุ่นวายภายหลังสันติภาพโรมัน พระองค์ปกครองอาณาจักรภาคตะวันออกของโรมันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางตะวันตกได้ทรงแต่งตั้งผู้ปกครองอีกองค์หนึ่ง ซึ่งการแบ่งเช่นนี้ได้นำไปสู่การแบ่งอาณาจักรโรมันออกเป็นภาคตะวันตกและตะวันออกในสมัยต่อมา

โรมันในสมัยจักรวรรดิ

((ภาพแสดงอาคารศาลาประชาคม))

           10. คอนสแตนติน (Constantine) .. 312-337  รวมจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิเดียวกันได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และย้ายเมืองหลวงจากโรมไป ไบแซนติอุม (Byzantium) เปลี่ยนเรียกชื่อใหม่ว่า คอนสแตนติโนเปิล” (Constantinople) ตามพระนามของพระองค์ (ปัจจุบันคือเมืองอิสตันบุล) โดยเจตนาจะให้เป็นศูนย์กลางของการปกครองดินแดนทั้งภาคตะวันตกและตะวันออก แต่การทั้งนี้กลับทำให้ประชาชนเริ่มรู้สึกแบ่งแยกทางจิตใจ ทางตะวันตกซึ่งมีอิตาลี สเปน โลกยังยึดอารยธรรมโรมันอยู่ (Romanization) แต่ทางตะวันออกซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล และเอเชียโมเนอร์ต่างรับอารยธรรมกรีก (Hellenization) และเมื่อคอนสแตนตินประกาศ กฤษฎีกาแห่งมิลาน” (Edict of Milan) แล้ว คริสตศาสนาก็สามารถเผยแพร่ในอาณาจักรโรมได้

        พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (ภาษาอังกฤษ: Edict of Milan) เป็นจดหมายเวียนลงชื่อโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 and จักรพรรดิลิซินิอุสซึ่งประกาศให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาต่อประชาชนในจักรวรรดิโรมันจดหมายฉบับนี้ออกเมื่อปี ค.ศ. 313 หลังจากสมัยของการปราบปรามผู้นับถือศาสนาคริสต์โดยจักรพรรดิไดโอคลีเชียน

       จดหมายที่ลงชึ่อโดยจักรพรรดิสององค์เป็นจดหมายเวียนในกลุ่มเจ้าเมืองทางจักรวรรดิโรมันตะวันออก  ซึ่งประกาศว่าจักรวรรดิจะเป็นทำตัวเป็นกลางในการนับถือศาสนาของประชาชน ซึ่งเป็นการยกเลิกอุปสรรคต่างๆ ในการนับถือคริสต์ศาสนาและศาสนาอื่นๆ จดหมาย “ประกาศอย่างจะแจ้งว่าผู้ลงชื่อของกฏนี้ไม่มีความประสงค์จะลงโทษผู้นับถือลัทธินิยมที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา”((กฤษฎีกาแห่งมิลาน ค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่http://home.snu.edu/~dwilliam/f98/milan/history.htm))

 ((เมืองอิสตันบุล ประเทศตุรกี ค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่http://www.thaigoodview.com/node/4483))

โรมันในสมัยจักรวรรดิ

โรมันในสมัยจักรวรรดิ

  ((แผนที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล)) 

         11. จัสติเนียน  ( Justinian)  ..527-565  เป็นพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออกในสมัยแรก

            ย้อนกล่าวถึงในสมัยเมื่อ  มาร์คัส  ออเรลิอุส  สิ้นพระชนม์แล้ว  สันนิษฐานว่าสาเหตุคงจะเนื่องจากเกิดโรคระบาดใหญ่ในจักรวรรดิ  พระจักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็อ่อนแอและสนใจเฉพาะแต่การกีฬาและการบันเทิง ในที่สุดก็ถูกลอบปลงพระชนม์และตำแหน่งจักรพรรดิก็กลายเป็นตำแหน่งที่ราชองครักษ์นำไปขายให้แก่ผู้ที่ให้ราคาดีที่สุด  พวกทหารตามมลฑลต่างๆ ก็ถือโอกาสแต่งตั้งพระจักรพรรดิของตนเป็นจักรพรรดิ  แม่ทัพคนหนึ่งแห่งแม่น้ำดานูบ คือ เซปติมิอุส  ซีเวรุส ( Septimius Severus)  ชาวอัฟกันถือโอกาสเดินทัพเข้าสู่กรุงโรม  ปราบปรามคู่ต่อสู้คนอื่นๆและสถาปนาตนเองเป็นพระจักรพรรดิ

โรมันในสมัยจักรวรรดิ
((ประติมากรรมพระจักรพรรดิแห่งโรมันที่เป็นชาวอัฟกัน”Septimius Severus”))

            เนื่องจากการขึ้นครองราชย์ด้วยการสนับสนุนของทหารนี่เอง  พระองค์จึงต้องพยายามเอาใจทหารอย่างมาก  วินัยเริ่มหย่อน  การให้เสบียงอาหารและสิทธิพิเศษต่างๆต้องเพิ่มมากขึ้น  การเปลี่ยนแปลงดังนี้  รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการป้องกันชายแดนเพิ่มมากขึ้น  รวมทั้งต้องมีการจัดตั้งกองทหารลีเจียนขึ้นอีกสามกอง ทำให้การเงินเริ่มขาดแคลน  ซึ่งทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มภาษีจากราษฎรมากขึ้นและมากขึ้น  พวกคนรวยพยายามหลีกเลี่ยงการเกี่ยวข้องกับรัฐบาลเพราะกลัวต้องเดือดร้อนรวมทั้งอาจจะถูกพวกทหารแย่งกิจการงานของตนไปดื้อๆ  ในขณะเดียวกันคนจนก็มีจำนวนมากขึ้น  จนมีทีท่าว่าจะก่อจลาจลขึ้น  พระจักรพรรดิก็ต้องรีบแก้ไขด้วยการจัดหาอาหารให้  ให้เงิน  และให้ยารักษาโรค  ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มภาระทางด้านการเงินแก่รัฐบาลอีกส่วนหนึ่ง  เมื่อจนทางมากขึ้นก็ใช้วิธีการลดจำนวนทองและเงินที่ใช้ทำเงินเหรียญ  ทำให้เพิ่มจำนวนเหรียญได้มากขึ้น  แต่ก็ซื้ออะไรไม่ได้มากขึ้น    ของขึ้นราคาเป็นการใหญ่ ค่าจ้างแรงงานลดค่าลงและยิ่งทำให้คนจนเพิ่มมากขึ้น

            ในขณะเดียวกันตามชายแดนของอาณาจักรโรมันก็ถูกรุกรานมากขึ้น  กองทหารโรมันระเบียบวินัยหย่อนลง  การโจมตีรุนแรงขึ้นจนทางจักรวรรดิต้องเร่งสร้างกำแพงเมืองป้องกันตัว  การค้าขายหยุดชะงัก  ของราคาแพงและหายากขึ้นคนจนต้องกลายเป็นโจรเพื่อจะให้ยังชีวิตพวกตนอยู่ได้  และเพื่อให้ผู้คนยังคงนับถือพระจักรพรรดิในสภาพบ้านเมืองแบบนี้ก็หันไปลงโทษว่าเป็นความผิดของพวกคริสเตียน  ทำให้คนเห็นใจพวกคริสเตียนมากขึ้นและอำนาจของวัดก็ค่อยๆเพิ่มมากขึ้นด้วย

            จนถึงปี 284  สงครามกลางเมืองก็สิ้นสุดลง  ไดโอเคลเชียน ( Diocletion )  ได้เป็นจักรพรรดิเผด็จการ  ทรงยุบกองทัพลีเจียนให้เล็กลงเพื่อจะให้แม่ทัพมีทหารใต้บังคับบัญชาน้อยลง  มีการเสริมกำลังชายแดนให้มั่นคงขึ้น  มณฑลถูกลดขนาดให้เล็กลงเพื่อลดอำนาจของผู้ว่าการ  รวมมลฑล  ( Provinces)  เข้าเป็น  ไดโอซีส  ( dioceses)  xd8iv’Ffp  “ vicar”  แล้วรวมไอโอซีส เข้าเป็น 4   อยู่ภายใต้อำนาจของ  prefect

                                                1  Emperor

                                                2  Prefects

                                                Vicars

                                                                                    4 Governors

         ต่อจากนั้นก็ทรงแต่งตั้งจักรพรรดิองค์หนึ่งขึ้นปกครองทางด้านตะวันตก  ในขณะที่พระองค์ปกครองทางภาคตะวันออก  และเริ่มปกครองแบบที่เรียกว่า  “ Tetrarchy “  (การบริหารโดยคณะสี่บุคคล)

           

                         Augustus                     Augustus

                          Caesar                         Caesar

            ในปี ค..305  ไดโอเคลเชียนก็ลาออกจากตำแหน่งพระจักรพรรดิ  ทหารก็ทำท่าจะเข้ามาควบคุมการแต่งตั้งพระจักรพรรดิอีก  ถึงปี ค..324  คอนสแตนตินก็สถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็นกษัตริย์แต่ลำพังพระองค์เดียว  โดยมีข้ออ้างว่าได้ทรงนิมิตเห็นภาพไม้กางเขนในท้องฟ้าพร้อมด้วยจารึกว่าขอให้มีชัยชนะด้วยเครื่องหมายนี้   ดังนั้นภายหลังชัยชนะจึงทรงประกาศให้อิสระภาพในการนับถือศาสนา  และทรงมีประกาศ “ Edict  of  Milan “  ประกาศคืนทรัพย์สมบัติทั้งมวลของชาวคริสเตียนที่เคยถูกยึดในปี

ค..325  โปรดให้มีการประชุมสงค์ทั้งโลกสังคายนาธรรม

            ก่อนหน้านี้หนึ่งปี  พระเจ้าคอนสแตนตินให้โปรดให้สถาปนาเมืองหลวงใหม่ขึ้น คือ กรุงคอน สแตนตินติโนเปิล  ที่บริเวณเมืองไบแซนติอุมเก่าของกรีก

            กษัตริย์คอนสแตนตินทรงสิ้นพระชนม์เมื่อปี ค..337  หลังจากนั้นก็เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างราชโอรสสององค์  และเหตุการณ์ต่อมาที่ควรจะกล่าวถึงก็คือราชวงศ์ของพระองค์  องค์หนึ่งคือ จูเลียน ( 361-363)  ก็ได้พยายามที่ล้มศาสนาคริสต์เสียและหันไปหาลัทธิโรมันแบบเก่า

            อย่างไรก็ตาม  การรุกรานของพวกอนารยชนก็ดำเนินต่อไปจนถึงสมัยเธโอโดสิอุสมหาราช

( Theodosius   the Great )  ค.ศ.379-395  ก็สามารถเจรจากับพวกกอธได้  โดยกษัตริย์เธโอโดสิอุส ทรงยินยอมให้พวกอนารยชนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในจักรวรรดิ  โดยมีสัญญาว่าพวกกอธจะช่วยเหลือในการป้องกันจักรวรรดิให้พ้นจากการรุกรานของพวกอนารยชนอื่น ๆ พวกที่เข้ามาเป็นพันธมิตรทางทหารนี้เรียกกันว่า “foederati”

((รูปปฏิมากรรมคนเหมือนเพิ่มเติมRoman Portrait Sculpture))

http://www.romancoins.info/Caesar-Sculpture-3b.HTML

            ในเดือนมกราคม ค.. 395 จักรพรรดิเธโอเดสิอุส (Theodosius) สิ้นพระชนม์  โอรสสององค์ก็แบ่งจักรวรรดิออกเป็นสองส่วน คือ เป็นอาณาจักรภาคตะวันตกและภาคตะวันออก  ทำให้อาณาจักรโรมันถูกแบ่งจากกันอย่างเด็ดขาดตั้งแต่นั้นมา การรุกรานก็ยังคงดำเนินต่อไปจนถึงปี ค.. 410 อลาริค หัวหน้าพวกวิสิกอธก็เข้าโจมตีโรม  ซึ่งอันที่จริงนอกจากพวกวิสิกอธแล้วก็ยังมีพวกแฟรงค์เบอร์กันเดียน และแวนดัลในโกล  สเปน  และอัฟริกา  ซึ่งหลังจากการโจมตีโรมในปี ค.. 410  แล้วโรมก็เผชิญการรุกรานอย่างหนักหน่วงอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี ค.. 455  และในที่สุดเมื่อปี ค.. 476  โรมิวลุส  ออกุสตุลุส (Romulus  Augustulus) จักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันตะวันตกพระองค์สุดท้ายก็ถูกบังคับให้ออกจากโรมโดยโอโดเอเซอร์ (Odoacer) หัวหน้าพวกเยอรมันหรือฮันนิค (Hunnic)

            อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่าจะได้มีการพิจารณาถึงรายละเอียดของการสิ้นสุดอาณาจักรโรมันตะวันตกแล้วด้วยประการต่างๆจนกระทั่งถึงสมัยสิ้นสุดอาณาจักรลงจริงๆ  แล้วนักประวัติศาสตร์บางท่านก็ลงความเห็นสรุปว่า  แท้จริงอาณาจักรโรมันตะวันตกนั้นมีสาเหตุแห่งความเสื่อมมานานถึงสองศตวรรษ  พวกอนารยชนเยอรมันอาจเป็นเพียงเครื่องมือที่ทำลายอาณาจักรให้สิ้นสุดลงเท่านั้น  ดังที่นักประวัติาสตร์ชาวฝรั่งเศสลงความเห็นว่า อารยธรรมโรมันนั้นมิได้สิ้นสุดลงด้วยสาเหตุตามธรรมชาติ แต่สิ้นสุดลงเพราะถูกฆาตกรรม  และอีกหนึ่งความเห็นหนึ่งของนักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน สรุปว่า สงครามกับพวกอนารยชนอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อนาจักรโรมันสิ้นสุดลงแต่แท้จริงแล้วสาเหตุ  ที่แน่นอนกว่าอาจจะเนื่องมาจากเพราะความเสื่อมทางเศรษฐกิจด้วยก็ได้  เช่นเดียวกับอาณาจักรอื่นๆ  ในยุคโบราณที่ต้องสิ้นสุดลงเพราะปัญหาเรื่องผลผลิตตกต่ำด้วยกันเกือบทั้งหมด

 จักรวรรดิโรมันและการเผยแพร่คริสตศาสนา

            ในสมัยการปกครองของจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่องค์แรกของโรมันคือจักรพรรดิออกุสตุสนั้นกินเวลาทั้งสิ้นประมาณ 45  ปี  ได้รับการยกย่องว่าเป็นสมัยสันติสุขซึ่งเป็นที่รู้จักว่า “Pax Romana”  คือสมัยสันติสุขของโรมัน

            อาณาจักรของโรมันแผ่ขยายออกไป  จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนถึง  90  ล้านคนซึ่งกลายเป็นพวกที่มีส่วนในการสร้างอารยธรรมของโรมัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสถาปนานครต่างๆที่พยายามลอกเลียนแบบกรุงโรมทุกประการ  กล่าวคือมีผู้ปกครองนครคือ มาจิสเตรท ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยพวกเคาน์ซิล  พวกมาจิสเตรทเหล่านี้จะได้รับเกียรติอย่างสูงและมีสิทธิบางอย่าง  แต่ในทำนองเดียวกันมาจิสเตรทก็มีหน้าที่ตอบแทนรัฐด้วยการเสียสละเงินทองเพื่อปรับปรุงงานภายในนครซึ่งราคาสิ่งก่อสร้างและค่าทำนุบำรุงสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็เลยหาผู้ที่จะดำรงตำแหน่งมาจิสเตรทไม่ได้

            รายได้ส่วนใหญ่ของโรมันคือการค้า  มีเรือค้าไปถึงอเล็กซานเดรีย  อินเดีย  ในสมัยจักรพรรดิมาร์คุส  โอเรลิอุสนั้นเปิดเส้นทางการค้ามาถึงจีน  นอกจากนี้ชนทุกชาติทุกภาษาก็มีสิทธิเดินทางไปมาค้าขายในจักรวรรดิได้  สิ่งที่พวกเหล่านี้นำติดตัวเข้ามาด้วยก็คือประเพณีและศาสนาของพวกตน  เช่น การนับถือมิทรัส  ซึ่งถือว่าเป็นสุริยเทพของเปอร์เชียนก็กลายเป็นเทพที่นับถือทั้งจักรวรรดิโดยเฉพาะพวกทหาร

            อย่างไรก็ตาม ศาสนาตามทางการของโรมันนั้นมีรากฐานมาจากเทพเจ้ากรีซ  กล่าวคือแต่ละครอบครัวก็จะมีเทพประจำ  การประกอบพิธีการทางศาสนาเป็นหน้าที่ของพระ  และชาวโรมันก็มีวิธีการเรียนรู้ความต้องการของเทพเจ้าโดยศึกษาจากสภาพของซากสัตว์ที่ใช้ในการบูชายัญ  สำหรับในสมัยจักรวรรดินั้นพระจักรพรรดิที่สิ้นพระชนม์พระองค์แรกและได้รับการยกย่องขึ้นเป็นเทพเจ้าก็คือ “Pontifex  Maximus” หรือหัวหน้าพระ ทรงได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้าตั้งแต่ในสมัยที่ยังทรงพระชนม์อยู่  และประชาชนที่จงรักภักดีต่อโรมก็จะต้องบูชาพระองค์เพื่อแสดงความจงรักภักดีอันนั้น

   

โรมันในสมัยจักรวรรดิ

             ตามตำนานเทพปกรณัมโรมัน เทพีเทอร์ร่า (Terra Mater หรือ Tellus Mater) เป็นเทพีบุคลาธิษฐานแห่งโลก พระนามของนางแปลว่า “พระแม่ธรณี” ในภาษาละติน ชาวโรมันจะสวดอ้อนวอนต่อนางเพื่อป้องกันแผ่นดินไหว นอกจากนี้นางและเทพีเซเรส (Ceres) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ยังมีส่วนช่วยในเรื่องผลผลิตของไร่นา เทพีเทอร์ร่ายังมีความเกี่ยวข้องกับการสมรส ความเป็นมารดา สตรีตั้งครรภ์ และสัตว์ที่ตั้งครรภ์อีกด้วย พระนามของนางในตำนานเทพปกรณัมกรีกคือเทพีไกอา (Gaia) ซึ่งเป็นพระมารดาของเทพีฟาม่า (Fama) เทพีแห่งเกียรติศักดิ์ชื่อเสียงและข่าวลือ

              นักภาษาศาสตร์ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับภาษาในแถบอินโด-ยูโรเปียนเชื่อว่าคำว่า เทลลุซ (Tellus) ดัดแปลงมาจากวลี tersa tellus ซึ่งแปลว่า “ผืนดิน” ถ้าความคิดนี้เป็นจริง คำว่า Tellus อาจเป็นต้นฉบับดั้งเดิมที่เก่าแก่ที่สุดของพระนามของนางก็เป็นได้ ดิกชันเนอร์รี่อ๊อกซ์ฟอร์ดได้ระบุไว้ว่า คำว่า Terra หมายความถึงธาตุดิน (หนึ่งในธาตุพื้นฐานทั้งสี่ อันได้แก่ ดิน ลม น้ำ และไฟ) และคำว่า Tellus หมายถึงเทพผู้ปกป้องคุ้มครองโลกมนุษย์ ซึ่งก็คือโลกของเรานี่เอง การใช้คำสองคำนี้ในภาษาละตินแท้จริงแล้วไม่มีความแต่งต่างกันอย่างข้อกล่าวอ้างข้างต้น

             งานเทศกาลสำหรับเทพีเทอร์ร่าเรียกว่า งานฟอร์ดิเซีย (Fordicia) หรืองานฮอร์ดิซิเดีย (Hordicidia) จะจัดขึ้นทุกๆ ปีในวันที่ 15 เมษายน งานเทศกาลจะมีการบูชายัญโคที่กำลังตั้งครรภ์ และจะจัดการโดยพระชั้นสูงที่เรียกว่า พอนติเฟกซ์ แม็กซิมุซ (pontifex maximus) และหลุ่มนักบวชหญิงนาม เวสทัล เวอร์จิ้นส์ (Vestal Virgins) เหล่านักบวชหญิงพรหมจรรย์จะเก็บเถ้ากระดูกของลูกโคไว้จนกระทั่งพิธีชำระล้างในงานพาริเลีย (Parilia) มีงานเทศกาลสองงานที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม งานหนึ่งเพื่อเป็นการบอกลาฤดูหนาว เรียกว่า งานเซเมนทิเว (Sementivae) ซึ่งจะจัดขึ้นในเมือง และอีกงานหนึ่งคือ งานพากานาเลีย (Paganalia) ซึ่งส่วนใหญ่จะจัดขึ้นในเขตชนบท ช่วงแรกของงานเซเมนทิเวจะจัดขึ้นในวันที่ 24 ถึง 26 มกราคม เพื่อเป็นการยกย่องเทพีเทอร์ร่า ส่วนช่วงที่เหลือของเทศกาลจะเป็นการเฉลิมฉลองแด่เทพีเซเรส

             ต่อมาเมื่อคริสตศาสนาเผยแพร่เข้ามา  ศาสนานี้ก็ถูกห้ามและผู้ที่นับถือก็จะถูกลงโทษ เพราะศาสนาคริสต์อนุญาตให้บูชาพระเจ้าได้องค์เดียว พวกนี้จึงไม่สามารถไปประกอบพิธีบูชาอนุสาวรีย์ของจักรพรรดิได้ การกระทำดังนี้ชาวโรมันถือว่าเป็นการกบฏและกลายเป็นพวกที่ต้องรับบาปทุกครั้งที่เกิดทุกขพิกภัยต่าง ๆ เช่นเกิดโรคระบาด ไฟไหม้ รวมทั้งการที่จักรวรรดิต้องถูกรุกรานทุกครั้งด้วย พวกนี้จะถูกแขวนบนไม้กางเขน ถูกเผาทั้งเป็นและบางทีก็ถูกส่งให้สัตว์ป่าฉีกเนื้อจนตายในการต่อสู้ที่โคลอยเซียม  เมื่อตายพวกคริสเตียนก็ถูกห้ามนำศพไปฝัง ณ บริเวณหลุมฝังของโรมัน แต่จะต้องนำไปฝังที่อุโมงค์ใต้ดินนอกเมืองเรียกว่า “Catacombs” ซึ่งพวกนี้ได้อาศัยประกอบพิธีการทางศาสนาของตนด้วย

            จนกระทั่งต่อมาในปี ค.. 313 ศาสนาคริสต์จึงได้มีการยอมรับเป็นทางการโดย กฤษฎีกาแห่งมิลานของพระจักรพรรดิคอนสแตนติน ซึ่งได้ทรงยอมกระทำพิธี ศีลจุ่มขณะบรรทมใกล้สิ้นพระชนม์ จักรวรรดิและศาสนาจักรเริ่มหันเข้ามาผูกพันกันมีการใช้เครื่องหมายของคริสเตียนบนเงินเหรียญโรมัน รวมทั้งตำแหน่ง “Pontifex  Maximus” ของพระจักรพรรดิ ก็ได้ถูกนำไปใช้กับ Pope หรือ Pontiff  ในฐานะประมุขของศาสนาจักรด้วย

มรดกทางอารยธรรมของโรมันมีอะไรบ้าง

          1. กฎหมาย, มรดกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโรมัน กฎหมายฉบับแรกที่สุดคือ กฎหมายสิบสองโต๊ะ” (The  Twelve  Tables) เมื่อปี 450 B.C. ซึ่งได้รับการพัฒนาตามลำดับมากกว่า 1,000 ปี มาเป็น กฎหมายจัสติเนียนในคริสตศตวรรษที่ 6 ซึ่งสิ่งที่รวมอยู่ในรูปแบบของกฎหมายก็คือ เรื่องวิธีการ   ปกครองของพระจักรพรรดิ วิธีการพิพากษาคดี และแนวนิยมการปกครองแบบสาธารณรัฐมีการพัฒนาการทั้งในด้านกฎหมายบุคคลและกฎหมายสาธารณชน จนกระทั่งเมื่อมีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายมากขึ้นโดยอยู่ภายใต้กฎหมายละติน (jus gentium) ซึ่งควบคุมสิทธิของชาวต่างประเทศไว้ด้วย

            กฎหมายโรมันนี้ได้ชื่อว่าเป็นกฎหมายที่มีความยุติธรรม เที่ยงตรง และมีมนุษยธรรมด้วย โดยหลักใหญ่ก็คือการถือว่ามนุษย์มีสิทธิเท่าเทียมกันตามกฎหมาย รวมทั้งหลักการที่ว่าผู้ต้องหาจะยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นผู้มีความผิดจริง และถือว่าการทรมานเพื่อให้ยอมรับสภาพนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

จักรวรรดิโรมันเจริญสูงสุดสมัยใด

อินทรีจักรวรรดิ จักรวรรดิโรมันในช่วงสูงสุดเมื่อ ค.ศ. 117 ในช่วงที่จักรพรรดิไตรยานุสสวรรคต (รัฐบริวารเป็นสีชมพู) เมืองหลวง โรม

ยุคโรมันจัดอยู่ในยุคสมัยใด

สาธารณรัฐโรมัน.

บุคคลใดได้สถาปนาจักรวรรดิโรมันและดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิโรมันพระองค์แรก

อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส (ละติน: IMPERATOR CAESAR DIVI FILIVS AVGVSTVS; 23 กันยายน 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 19 สิงหาคม ค.ศ. 14) เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ทรงปกครองจักรวรรดิแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 14.

จักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโรมันคือใคร

อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ทรงปกครองจักรวรรดิแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 14.