การประเมินความเสี่ยงเพื่อวางแผนการตรวจ สอบ อย่าง ง่าย แบบฉบับ ของ อป ท

การประเมินความเสี่ยงเพื่อวางแผนการตรวจ สอบ อย่าง ง่าย แบบฉบับ ของ อป ท

แบบประเมินความเสี่ยงเพื่อการวางแผนการตรวจสอบภายในประจำปีงบประมาณ 2566 หน่วยตรวจสอบภายใน  เทศบาลนครอุบลราชธานี

ชื่อหน่วยงาน  สถานศึกษา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี

คำชี้แจง      แบบสอบถามนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงและจัดลำดับหน่วยงานเพื่อวางแผนการตรวจสอบภายในประจำปี พ.ศ.  2566  จึงขอความร่วมมือจากท่านในประเมินข้อมูลตามการปฏิบัติงานจริง และขอขอบคุณในความร่วมมือจากท่าน มา ณ ที่นี้       

ชื่อหน่วยงานที่กรอกแบบประเมิน *

ปัจจัยเสี่ยง : ด้านกลยุทธ์ Strategic (S)

1. โครงสร้างองค์กร (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) แบ่งแยกสายการบังคับชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และได้จัดทำขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงานครบทุกภารกิจ

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) แบ่งแยกสายการบังคับชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และได้จัดทำขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงานบางภารกิจ

ความเสี่ยงระดับสูง(3) แบ่งแยกสายการบังคับชัดเจน ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ได้จัดทำขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงาน

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

2. การจัดทำแผนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร การสื่อสารและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบตามแผนครบตามวัตถุประสงค์

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร การสื่อสารและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบตามแผนบางวัตถุประสงค์

ความเสี่ยงระดับสูง(3) ไม่มีแผนการดำเนินงานที่ชัดแจนเป็นลายลักษณ์อักษร การสื่อสารและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบตามแผนครบตามวัตถุประสงค์

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

3. การโอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงงบประมาณ (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) ไม่มีการโอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงงบประมาณ

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) มีการโอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงงบประมาณ 3-5 ครั้งต่อปี

ความเสี่ยงระดับสูง(3) มีการโอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงงบประมาณ มากกว่า 5 ครั้งต่อปี

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

4. มีการติดตามประเมินผลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการทำงานและมีข้อเสนอแนะนำมาปรับปรุงแก้ไข (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) มีการติดตามประเมินผลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการทำงาน และมีข้อเสนอแนะนำมาปรับปรุงแก้ไข

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) มีการติดตามประเมินผลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการทำงาน และมีบางข้อเสนอแนะนำมาปรับปรุงแก้ไข

ความเสี่ยงระดับสูง(3) ไม่มีการติดตามประเมินผลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการทำงาน และมีข้อเสนอแนะนำมาปรับปรุงแก้ไข

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

5. จำนวนอัตรากำลังที่ปฏิบัติงาน (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) อัตรากำลังที่มีจริงไม่น้อยกว่า80 % ของอัตรากำลังตามกรอบอัตรากำลัง

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) อัตรากำลังที่มีจริงมากกว่า70%แต่ไม่ถึง 80 % ของอัตรากำลังตามกรอบอัตรากำลัง

ความเสี่ยงระดับสูง(3) อัตรากำลังที่มีจริงน้อยกว่า 70%ของอัตรากำลังตามกรอบอัตรากำลัง

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

6. การตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) ตรวจสอบครั้งสุดท้ายภายใน 6 เดือน และข้อตรวจพบไม่ใช่ข้อผิดพลาดที่เป็นสาระสำคัญ

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) ตรวจสอบครั้งสุดท้ายภายใน 6 เดือน – 1 ปี และข้อตรวจพบมีสาระสำคัญ แต่ไม่ส่ง ผลกระทบต่อการดำเนินงานและได้รับการแก้ไข

ความเสี่ยงระดับสูง(3) ตรวจสอบครั้งสุดท้ายเกินกว่า 1 ปี และข้อตรวจพบมีสาระสำคัญส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและไม่สามารถแก้ไขภายในระยะเวลา

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

ปัจจัยเสี่ยง : ด้านการดำเนินงาน (Operation : O)

7. ระบบการควบคุมภายใน (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) มีระบบควบคุมภายในทุกภารกิจ และจัดทำเอกสารเผยแพร่ให้บุคลากรทุกระดับถือปฏิบัติ

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) มีระบบควบคุมภายในทุกภารกิจ แต่ไม่จัดทำเอกสารเผยแพร่ให้บุคลากรทุกระดับถือปฏิบัติ หรือเผยแพร่ไม่เพียงพอ

ความเสี่ยงระดับสูง(3) มีระบบควบคุมภายในไม่ครอบคลุมทุกภารกิจ แต่ไม่จัดทำเอกสารเผยแพร่ให้บุคลากรทุกระดับถือปฏิบัติ หรือเผยแพร่ไม่เพียงพอ

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

8. การปฏิบัติงานสารบรรณและธุรการ (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) สามารถดำเนินงานได้ทันตามกำหนดเวลา ครบถ้วน และงานมีคุณภาพ

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) สามารถดำเนินงานได้ทันตามกำหนดเวลา ไม่ครบถ้วน และงานมีคุณภาพ

ความเสี่ยงระดับสูง(3) ไม่สามารถดำเนินงานได้ทันตามกำหนดเวลา ครบถ้วน และงานมีคุณภาพ

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

9. การใช้และรักษารถยนต์ 1) มีการจัดทำบัญชีแยกประเภทรถประจำตำแหน่ง (แบบ 1) รถส่วนกลาง(แบบ 2) 2) มีการจัดทำใบขออนุญาตใช้รถส่วนกลาง(แบบ 3) 3) มีการบันทึกการใช้รถส่วนกลาง (แบบ 4) 4.) เมื่อมีการสูญหายหรือเสียหายรายงานผู้บริหาร (แบบ5) 5) มีการบันทึกรายการซ่อมบำรุงรถแต่ละคัน (แบบ6) 6) มีการทำตราเครื่องหมายและอักษรชื่อ อปท. จัดทำโดยใช้สีพ่น 7) มีการสำรวจและกำหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงของรถทุกคัน (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) มีการดำเนินงาน ครบ 7 ข้อ

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) มีการดำเนินงาน ครบ 6-7 ข้อ

ความเสี่ยงระดับสูง(3) มีการดำเนินงาน น้อยกว่า 5 ข้อ

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

10. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเงิน (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) มีการบันทึกบัญชีจัดทำทะเบียนคุมและสามารถปิดบัญชีทันตามกำหนดระยะเวลา

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) มีการบันทึกบัญชีจัดทำทะเบียนคุม แต่ไม่สามารถปิดบัญชีทันตามกำหนดระยะเวลา

ความเสี่ยงระดับสูง(3) ไม่มีการบันทึกบัญชีจัดทำทะเบียนคุมครบถ้วน และไม่ปิดบัญชีตามกำหนดระยะเวลา

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

11. บุคลากรปฏิบัติด้านการเงิน/พัสดุ (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) มีตำแหน่งบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ด้านการเงิน/พัสดุ

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) ไม่มีตำแหน่งบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ด้านการเงิน/พัสดุ แต่มีการแต่งตั้งคำสั่งมอบหมายให้ปฏิบัติงานการเงิน/พัสดุ

ความเสี่ยงระดับสูง(3) ไม่มีตำแหน่งบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ด้านการเงิน/พัสดุ และไม่มีการแต่งตั้งคำสั่งมอบหมายให้ปฏิบัติงานการเงิน/พัสดุ

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

12. ยานพาหนะ (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) 1 – 5 คัน

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) 6 – 10 คัน

ความเสี่ยงระดับสูง(3) 11 คันขึ้นไป

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

ปัจจัยเสี่ยง : ด้านกฎระเบียบ ข้อบังคับ Compliance (C )

13. การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องและการติดตามแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหนังสือสั่งการและไม่มีข้อทักท้วงจากหน่วยงานตรวจสอบ

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหนังสือสั่งการและมีข้อทักท้วงจากหน่วยงานตรวจสอบ และ ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ

ความเสี่ยงระดับสูง(3) ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหนังสือสั่งการและ มีข้อทักท้วงจากหน่วยงานตรวจสอบ และ แต่ไม่ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

14. การกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง หากพบข้อผิดพลาดมีการรายงานผลให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) มีการกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องหากพบข้อผิดพลาดได้รายงานผลให้หัวหน้าหน่วยงานทราบทันทีเมื่อตรวจพบ และร่วมกันแก้ไขทุกครั้ง

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) มีการกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องหากพบข้อผิดพลาดได้รายงานผลให้หัวหน้าหน่วยงานทราบภายหลังจากแก้ไขข้อผิดพลาด

ความเสี่ยงระดับสูง(3) ไม่มีการกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง หากพบข้อผิดพลาด ไม่มีการรายงานผลให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

ปัจจัยเสี่ยง : ด้านการบริหารความรู้ Knowledge Management (K)

15. คุณวุฒิและประสบการณ์ในตำแหน่งของหัวหน้างาน (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) มีคุณวุฒิตรงตำแหน่งและมีประสบการณ์ในงานที่ปฏิบัติ มากกว่า 3 ปี หรือคุณวุฒิไม่ตรง แต่มีประสบการณ์ในงานที่ปฏิบัติมากกว่า 5 ปี

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) มีคุณวุฒิตรงหรือไม่ตรงกับตำแหน่งและมีประสบการณ์ในงานที่ปฏิบัติ มากกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี

ความเสี่ยงระดับสูง(3) มีคุณวุฒิตรงหรือไม่ตรงกับตำแหน่งและมีประสบการณ์ในงานที่ปฏิบัติ น้อยกว่า 1 ปี

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)

16. การเข้ารับการอบรมของบุคลากรในหน่วยงาน (เกณฑ์ความเสี่ยง) *

ความเสี่ยงระดับต่ำ(1) บุคลากรในหน่วยงานได้รับการอบรบจำนวนมากกว่า 50 % ต่อปี

ความเสี่ยงระดับปานกลาง(2) บุคลากรในหน่วยงานได้รับการอบรบจำนวน 10-50 % ต่อปี

ความเสี่ยงระดับสูง(3)บุคลากรในหน่วยงานได้รับการอบรบจำนวน 10 % ต่อปี

หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา *

ขอแก้ไขเป็น : ในกรณีที่ไม่เห็นด้วย(เหตุผล)