คำ คล้องจอง หน่วย เทคโนโลยี และการ สื่อสาร

คำ คล้องจอง หน่วย เทคโนโลยี และการ สื่อสาร

รุจิรา เจริญรัตน์

เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 5 ปี ที่แล้ว

หน่วย การสื่อสาร

แนวคิด

การสื่อสาร คือ การติดต่อ ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความต้องการจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีหลายวิธี เช่น จดหมาย โทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หนังสือ ในการสื่อสารถึงกันทุกครั้งผู้สื่อสารควรมีมารยาทที่ดีในการสื่อสาร และในการสื่อสารแต่ละครั้งจำเป็นต้องมีองค์ประกอบในการสื่อสารให้ครบ เพื่อสะดวกในการรับข้อมูลข่าวสารที่สมบูรณ์และครบถ้วน ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญมี 3 ประการ คือ ผู้ส่งสาร สาร ผู้รับสาร

จุดประสงค์

1.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการสื่อสารและเครื่องมือสื่อสารได้

2.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญในการสื่อสารและประโยชน์ของการสื่อสารได้

3.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆ ในการสื่อสารเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับมารยาทที่ดีในการสื่อสาร

4.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจ่าหน้าซองจดหมาย เพื่อให้เด็กสามารถส่งจดหมายได้ด้วยตนเอง

เสนอแนะเพิ่มเติม

1.ครูส่งเสริมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยการให้เด็กรู้จักวิธีการทำอย่างตั้งใจ การพูดด้วยถ้อยคำที่สื่อความ-หมายชัดเจน สุภาพ โดยครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก

2.ครูอาจจัดกิจกรรมเพิ่มเติมในการเก็บสะสมแสตมป์ หรือการเก็บสะสมบัตรโทรศัพท์ เพื่อปลูกฝังการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เรื่อง วิธีการสื่อสารและความหมายของการสื่อสาร

จุดประสงค์

1. เพื่อให้เด็กสามารถบอกชื่อเครื่องมือสื่อสารได้

2. เพื่อให้เด็กสามารถบอกความหมายของการสื่อสารได้

3.เพื่อให้เด็กสามารถใช้เครื่องมือสื่อสารได้อย่างถูกวิธี

สาระที่ควรเรียนรู้

การสื่อสาร คือ การติดต่อถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความต้องการจากฝ่ายหนึ่งไปสู่อีกฝ่ายหนึ่ง ด้วยวิธีการต่างๆ เครื่องมือสื่อสารมีจดหมาย โทรศัพท์ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครื่องเล่น แถบบันทึกเสียง

ประสบการณ์สำคัญ

1. การบอกชื่อเครื่องมือสื่อสาร

2. การทดลองใช้เครื่องมือในการสื่อสาร

กิจกรรมและประสบการณ์

ขั้นนำครูนำภาพเครื่องมือสื่อสารมาให้เด็กดู จากนั้นให้เด็กบอกชื่อเครื่องมือสื่อสารแต่ละชนิด

ขั้นสอนเด็กๆ ตอบคำถามอะไรเอ่ยเกี่ยวกับเครื่องมือสื่อสารต่างๆ และครูเฉลยโดยการเปิดผ้าคลุมเครื่องมือ

สื่อสาร (ของจริง) ออกให้เด็กดู โดยใช้คำถามนำ เช่น

- สี่เหลี่ยมผืนผ้า ดูได้ ฟังได้ ให้ความสนุกสนาน ทายซิอะไร

- ร้องดัง กริ๊ง กริ๊ง พูดได้ ฟังได้ อยู่ใกล้หรือไกลก็ได้ยินเสียง

- ตัวหนังสือมากมายมีทั้งสนุก และให้ประโยชน์

- มีเสียงมากมายมีไว้ฟัง จะเบาหรือดังก็สนุกเพลิดเพลิน

ขั้นสรุปครูให้เด็กบอกวิธีการใช้เครื่องมือสื่อสารแบบต่างๆ และทดลองใช้เครื่องมือสื่อสารแต่ละชนิด

สื่อการเรียนรู้

รูปภาพโทรทัศน์ เครื่องเล่นแถบบันทึกเสียง โทรศัพท์ จดหมาย หนังสือพิมพ์

ประเมินผล

1. สังเกตการบอกวิธีการใช้เครื่องมือสื่อสารแบบต่างๆ ของเด็ก

2. สังเกตการตอบคำถามของเด็ก


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)

สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2565)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)

ระดับปฐมวัย  ปีที่ 1          โรงเรียนบ้านศรีศรัทธามิตรภาพที่  176

                                        สาระที่  3    เรื่อง  สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก    ชื่อหน่วย    การสื่อสาร                   

วันที่ ....5....สอนวันที่  ........  เดือน.................... พ.. 25……  เวลา………………. .

กิจกรรม การเคลื่อนไหวและจังหวะ    

จุดประสงค์

                1.  เคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้

                2.  พัฒนาการปฏิบัติตามสัญญาณและคำสั่ง

                3.  ท่องคำคล้องจองน้ำได้

                4.  ทำกายบริหารประกอบคำคล้องจองได้    

สาระการเรียนรู้

1.  สาระที่ควรรู้

                                1.1  ฟังและทำท่ากายบริหารประกอบคำคล้องจอง

                2.  ประสบการณ์สำคัญ

ด้านร่างกาย

ด้านอารมณ์

ด้านสังคม

ด้านสติปัญญา

-ทำกายบริหารประกอบคำคล้องจอง

-การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด

-สนุกสนาน

-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

-เมื่อใช้ของร่วมกันต้องรู้จักการรอคอย

-การให้อภัย

-จำคำคล้องจองแต่ละท่อน

-คิดท่าทางประกอบคำคล้องจอง

-เลียนแบบท่าทางประกอบคำคล้องจองของเพื่อน

-พูดเกี่ยวกับท่าทางตัวเอง

-การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง

กิจกรรมการเรียนรู้

                                ขั้นนำ

1.             กิจกรรมพื้นฐาน ให้นักเรียนเคลื่อนไหวร่างกายไปทั่วบริเวณอย่างอิสระ เมื่อได้ยินสัญญาณให้หยุด ให้หยุดในท่านั้นทันที

2.             นักเรียนและครูร่วมกันท่องคำคล้องจองน้ำ

                    ฉันคือน้ำใส                          หากใครดื่มกิน

        สิ้นความกระหาย                                อาบฉันแล้วสบาย

        ช่วยผ่อนช่วยคลาย                              หายจากร้อนเอย

ขั้นดำเนินการ

1.              แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม

                                                                กลุ่ม 1  ท่องคำคล้องจองการสื่อสาร

                                                                กลุ่ม 2  ทำกายบริหารประกอบคำคล้องจอง

                                                                (ผลัดเปลี่ยนกันทำ)

2.             ให้นักเรียนเคลื่อนไหวร่างกายอิสระ เมื่อได้ยินสัญญาณหยุด ให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรมข้อ 1 พร้อมกัน       

สรุป

                ครูสนทนาคำคล้องจองกับนักเรียนแล้วทำท่าทางประกอบเพิ่มเติม

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

                                1.  เครื่องให้จังหวะ           

การวัดผล/ประเมินผล

                                1.  สังเกตการเคลื่อนไหว

                                2.  สังเกตการปฏิบัติตามคำสั่ง

                                        สาระที่  3    เรื่อง  สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก    ชื่อหน่วย    การสื่อสาร                   

วันที่ ....5....สอนวันที่  ........  เดือน.................... พ.. 25……  เวลา………………. .

กิจกรรม สร้างสรรค์     

จุดประสงค์

                                1.  วาดภาพและระบายด้วยสีเทียนได้

                                2.  เลือกสีได้ถูกต้องและสวยงาม

                                3.  จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์เข้าที่ได้เรียบร้อย        

สาระการเรียนรู้

1.  สาระที่ควรรู้

                                                1.1  สีต่าง ๆ

                                                1.2  วิธีการวาดภาพ

                                2.  ประสบการณ์สำคัญ     

ด้านร่างกาย

ด้านอารมณ์

ด้านสังคม

ด้านสติปัญญา

-วาดและระบายสีกระทงด้วยสีเทียน

-การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด

-อดทน

-ชื่นชมผลงานตัวเอง

-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

-เมื่อใช้ของร่วมกันต้องรู้จักการรอคอย

-วาดกระทงตามความคิดตัวเอง

-ระบายสีตามความคิดตัวเอง

-รู้จักสี

กิจกรรมการเรียนรู้

                                ขั้นนำ

                                 ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง

                                ขั้นดำเนินการ

1.             ครูสาธิตวิธีการวาดภาพกระทงแบบง่าย ๆ และการวาดภาพเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง

2.             ให้นักเรียนวาดภาพประเพณีการลอยกระทงตามเหตุการณ์ที่นักเรียนเคยเห็น

3.             ใช้สีเทียนระบายให้เรียบร้อยและสวยงาม

                                ขั้นสรุป

1.             เก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมให้เรียบร้อย  

2.             ครูตรวจชิ้นงาน

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

                                1.  สีเทียน

                                2.  กระดาษวาดภาพ          

การวัดผล/ประเมินผล

                                1.  สังเกตพฤติกรรม

                                2.  สังเกตการทำงาน

                                3.  สังเกตการร่วมกิจกรรม

                                4.  ตรวจผลงาน

ระดับปฐมวัย  ปีที่ 1          โรงเรียนบ้านศรีศรัทธามิตรภาพที่  176

                                        สาระที่  3    เรื่อง  สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก    ชื่อหน่วย    การสื่อสาร                   

วันที่ ....5....สอนวันที่  ........  เดือน.................... พ.. 25……  เวลา………………. .

กิจกรรม เสริมประสบการณ์    

จุดประสงค์

                                                1.  นักเรียนบอกรูปร่างและลักษณะเครื่องมือสื่อสารได้

2.  นักเรียนฝึกทักษะด้านการพูดและการฟัง

สาระการเรียนรู้

1.  สาระที่ควรรู้

                                                                นักเรียนรู้และบอกรูปร่างของเครื่องมือสื่อสารได้ เช่น ทีวี เป็นกล่องสี่เหลี่ยมและใช้รีโมตเปลี่ยนช่องรายการที่ให้ความรู้ได้

                                                2.  ประสบการณ์สำคัญ

ด้านร่างกาย

ด้านอารมณ์

ด้านสังคม

ด้านสติปัญญา

-การร้องเพลง

-การระบายสี

-การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด

-อดทน

-ชื่นชมผลงานตัวเอง

-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

-เมื่อใช้ของร่วมกันต้องรู้จักการรอคอย

-การคิดวิเคราะห์และจับคุ่ได้

-การอธิบายเรื่องราว

-การฝึกสมาธิ

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการสื่อสาร โดยใช้คำถามดังนี้

-          เราใช้เครื่องมืออะไรในการพูดคุยกันเมื่อครูและนักเรียนอยู่ไกลกันมาก

-          เครื่องมือนั้นมีลักษณะอย่างไร

ขั้นดำเนินการ

ครูให้นักเรียนร้องเพลง  “โทรศัพท์”

                                ขั้นสรุป

1.             ครูแจกใบเสริมประสบการณ์ที่ 5 ให้นักเรียน

2.             ครูอ่านปริศนาคำทายให้นักเรียนฟัง แล้วให้นักเรียนระบายสีภาพที่เป็นคำตอบ

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

1.             เพลง  โทรศัพท์

2.             ใบเสริมประสบการณ์ที่ 5         

การวัดผล/ประเมินผล

                                สังเกตพฤติกรรมนักเรียนดังนี้

                                1.  การสนทนาและตอบคำถาม

                                2.  การร่วมกิจกรรม

                                3. ผลตรวจใบเสริมประสบการณ์ที่ 5

เพลง  โทรศัพท์

โทรศัพท์เครื่องมือสื่อสาร

ส่งสัญญาณไปทั่วแดนไทย

ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล  (ซ้ำ)

โทรศัพท์ก็สื่อกันได้ทุกเวลา (ซ้ำ)

ระดับปฐมวัย  ปีที่ 1          โรงเรียนบ้านศรีศรัทธามิตรภาพที่  176

                                        สาระที่  3    เรื่อง  สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก    ชื่อหน่วย    การสื่อสาร                   

วันที่ ....5....สอนวันที่  ........  เดือน.................... พ.. 25……  เวลา………………. .

กิจกรรม กลางแจ้ง    

จุดประสงค์

                                1.  เล่นเกมจับคู่กระโดดได้อย่างสนุกสนานถูกต้องตามกติกา

                                2.  เล่นอิสระและเครื่องเล่นสนามได้อย่างปลอดภัย

                                3.  ร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ      

สาระการเรียนรู้

1.  สาระที่ควรรู้

                                                1.1  การเล่นเกมรองน้ำใส่ขวด

2.  ประสบการณ์สำคัญ

ด้านร่างกาย

ด้านอารมณ์

ด้านสังคม

ด้านสติปัญญา

-การวิ่งแข่ง

-ถือภาชนะไว้ไม่ให้ตก

-จับขวดไม่ให้ล้มเมื่อกรอกน้ำลงไป

-การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด

-อดทน

-ชื่นชมผลงานตัวเอง

-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

-เมื่อใช้ของร่วมกันต้องรู้จักการรอคอย

-ทำงานเป็นทีม

-เข้าใจวิธีการเล่น

-คิดวิธีการประคองแก้วไม่ให้น้ำหก

-รู้วิธีการเทน้ำใส่ขวด

-การใช้กรวย

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

นักเรียนและครูลงสู่สนาม อบอุ่นร่างกายและฟังครูอธิบายวิธีการเล่น แบ่งเด็กออกเป็น 2 ทีมทีมละ 5 คน โดยให้ทั้ง 2 ทีมหันไปทางเดียวกัน

ขั้นดำเนินการ

1.             นักเรียนนำขวดเปล่าพร้อมด้วยกรวยกรองน้ำไปวางไว้บนเก้าอี้ห่างจากทีมประมาณ 5 เมตรทั้ง 2 ทีม ครูเตรียมน้ำและแก้วน้ำสำหรับตักกรอกไว้

2.             เมื่อได้ยินเสียงนกหวีด ให้คนแรกหยิบแก้วตักน้ำให้เต็มแก้ววิ่งไปกรอกลงให้เต็มขวดที่เตรียมไว้ด้านหน้า  แถวไหนกรอกได้เต็มก่อนเป็นฝ่ายชนะ

ขั้นสรุป

 เมื่อนักเรียนเล่นเสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลที่ได้จากการเล่นเกม และนักเรียนทำความสะอาดร่างกายเข้าชั้นเรียน            

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

                                1.  นักเรียนเล่นเกม เกมกรอกน้ำใส่ขวด

                                2.  กรวยกรอกน้ำ แก้วน้ำ ขวดเปล่า การสื่อสาร

การวัดผล/ประเมินผล

                                สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

                                1.  ความสนใจในการเล่นและการร่วมกิจกรรม

                                2.  ความสนุกสนานเพลิดเพลิน

ระดับปฐมวัย  ปีที่ 1          โรงเรียนบ้านศรีศรัทธามิตรภาพที่  176

                                        สาระที่  3    เรื่อง  สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก    ชื่อหน่วย    การสื่อสาร                   

วันที่ ....5....สอนวันที่  ........  เดือน.................... พ.. 25……  เวลา………………. .

กิจกรรม เสรี    

จุดประสงค์

                1.  ร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจและรู้จักการรอคอย

                2.  ปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกัน

                3.  นักเรียนเลือกเล่นตามมุมประสบการณ์ตามความสนใจ

                4.  เมื่อเลิกเล่นให้นักเรียนร่วมกันเก็บอุปกรณ์การเรียนให้เรียบร้อย        

สาระการเรียนรู้

1.  สาระที่ควรรู้

                                1.1 การเล่นตามมุมประสบการณ์

                2.  ประสบการณ์สำคัญ

ด้านร่างกาย

ด้านอารมณ์

ด้านสังคม

ด้านสติปัญญา

-ยกมือแย้งกันตามคำถาม

-ลากโยงเส้นตามวัฏจักรการเกิดฝน

-เดินออกไปดูแหล่งน้ำใต้ดิน

-มีความภาคภูมิใจที่ได้เล่นบทบาทครู นักเรียน หมอ คนไข้ เป็นต้น

-สนุกสนานเพลิดเพลิน

-การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

-รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

-เล่นบทบาทสมมติเป็นแม่ค้า ครู  หมอ นักเรียน คนไข้

-ต่อบล็อกเป็นบ้าน มีดดาบ  และต่อจิ๊กซอว์

กิจกรรมการเรียนรู้

                                 ขั้นนำ

                                 เปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกเล่นในมุมที่ตนสนใจ

                                ขั้นดำเนินการ

1.             ในขณะที่นักเรียนเล่น  ครูร่วมสนทนาซักถามเกี่ยวกับกิจกรรมที่นักเรียนเล่น

2.              เตือนนักเรียนก่อนหมดเวลา โดยดูตัวเลขที่เข็มนาฬิกา

                                 ขั้นสรุป

เก็บของเล่นเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

                                1.  เครื่องเล่นตามมุมประสบการณ์

การวัดผล/ประเมินผล

                                1.  สังเกตการเล่นและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้

ระดับปฐมวัย  ปีที่ 1          โรงเรียนบ้านศรีศรัทธามิตรภาพที่  176

                                        สาระที่  3    เรื่อง  สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก    ชื่อหน่วย    การสื่อสาร                   

วันที่ ....5....สอนวันที่  ........  เดือน.................... พ.. 25……  เวลา………………. .

กิจกรรม เกมการศึกษา    

จุดประสงค์

                                1.  นำชิ้นส่วนของภาพมาต่อให้เป็นภาพที่สมบูรณ์ได้

                                2.  เล่นเกมการตัดต่อภาพการอนุรักษ์ได้      

สาระการเรียนรู้

1.  สาระที่ควรรู้

                                                1.1  การสังเกตสิ่งที่เหมือนกันหรือสิ่งที่ต่างกันเกี่ยวกับสี รูปร่างหรือขนาด

                                                1.2  การเล่นเกมการอนุรักษ์ภาพตัดต่อ อนุรักษ์น้ำ

                                2.  ประสบการณ์สำคัญ

ด้านร่างกาย

ด้านอารมณ์

ด้านสังคม

ด้านสติปัญญา

-หยิบภาพตัดต่อทีละชิ้น

-ใช้สายตาเปรียบเทียบภาพตัดต่ด

-สนุกสนานเพลิดเพลิน

-อดทน

-การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

-รู้จักการรอคอย

-รู้จักยอมรับกฏกติกา

-เล่นตามกฏกติกาได้ถูกต้อง

-เปรียบเทียบภาพตัดต่อทุกชิ้นกับภาพตัวอย่าง

-วางภาพตัดต่อถูกตำแหน่ง

-รู้การอนุรักษ์น้ำ

กิจกรรมการเรียนรู้

                ขั้นนำ

                                 ครูแนะนำวิธีการเล่นเกมภาพตัดต่อ  โดยให้นักเรียนต่อภาพให้เหมือนภาพตัวอย่างที่กำหนดให้

                                ขั้นดำเนินการ

1.             แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ  5 คน เล่นเกมภาพตัดต่อ

2.             ครูแจกเกมส์ภาพตัดต่อให้แต่ละกลุ่ม ภาพแต่ละกลุ่มที่ได้จะไม่เหมือนกัน

                                 ขั้นสรุป

3.             ครูสนทนากับนักเรียนว่านักเรียนกำลังเล่นเกมภาพตัดต่อและภาพที่นักเรียนกำลังต่อคือภาพอะไร

4.             จัดเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

                                1.  เกมภาพตัดต่อการอนุรักษ์น้ำ    

การวัดผล/ประเมินผล

                                1.  สังเกตการเล่นเกมที่ถูกต้อง

2.  ความเข้าใจในการเล่นเกม