งานวิจัยเกี่ยวกับสามจังหวัด ชายแดน ใต้

การวิจัย เรื่องวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนกับการพัฒนาความมั่นคงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลผลการวิจัย พบว่า ประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การส่งเสริม และสนับสนุนต่อการสร้างกระบวนการทางวัฒนธรรมแบบมี ส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาความมั่นคงเพื่อความสงบสุข และสันติในพื้นที่ได้อย่างมีนัยสำคัญ ประกอบด้วย ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ด้านการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ด้านการพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม ด้านการพัฒนาระบบการศึกษา ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้านการพัฒนาการค้าและการลงทุน ด้านการพัฒนาสังคมจิตวิทยา และด้านการพัฒนาการเมืองตามลำดับ ทั้งนี้ การที่ภาครัฐได้ดำเนินยุทธศาสตร์สนองรับแนวทางตามพระราชดำริ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ได้สร้างความเชื่อมั่นต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ในขณะเดียวกันประชาชนในพื้นที่ก็มีความต้องการเข้าไปมี ส่วนร่วมในการพัฒนาความมั่นคงภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนา เพื่อให้การแก้ไขปัญหาความไม่สงบสามารถดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามทิศทางที่ควรจะเป็น ดังนั้น ภาครัฐจึงควรผลักดันการเสริมสร้างกระบวนการทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกมิติ


งานวิจัยเกี่ยวกับสามจังหวัด ชายแดน ใต้

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้กับสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา
ผู้วิจัย

นายคอลัฟ ต่วนบูละ
ผศ.มาหะมะดารี แวโนะ
นายมัดบัศรี อูเส็ง
นายมูฮำหมัดราพีร์ มะเก็ง
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า
ประจำปีงบประมาณ 2559

           การวิจัยเรื่อง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้กับสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา ปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อ รวมถึงกิจกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พุทธและมุสลิม 2) เพื่อศึกษาสิทธิทางวัฒนธรรมในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พุทธและมุสลิม และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทาง มาตรการ การสร้างความเข้าใจถึงสิทธิทางวัฒนธรรมระหว่างทั้งสองศาสนาตามแนวคิดหลักศาสนสัมพันธ์ในการป้องกันแก้ไขและเยียวยาปัญหาในสังคม “พหุวัฒนธรรม” ซึ่งได้ดำเนินการวิจัยตามแนวทางเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Approach) ที่เน้นการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พุทธและมุสลิม และผู้รู้ทางศาสนาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้พร้อมกับเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และสรุปพร้อมเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการบรรยายเชิงพรรณนา

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (70 ครั้ง) ดาวน์โหลด


Share :
งานวิจัยเกี่ยวกับสามจังหวัด ชายแดน ใต้
งานวิจัยเกี่ยวกับสามจังหวัด ชายแดน ใต้

กลับไปหน้าหลัก


งานวิจัยเกี่ยวกับสามจังหวัด ชายแดน ใต้

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้กับสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา
ผู้วิจัย

นายคอลัฟ ต่วนบูละ
ผศ.มาหะมะดารี แวโนะ
นายมัดบัศรี อูเส็ง
นายมูฮำหมัดราพีร์ มะเก็ง
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า
ประจำปีงบประมาณ 2559

           การวิจัยเรื่อง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้กับสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา ปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อ รวมถึงกิจกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พุทธและมุสลิม 2) เพื่อศึกษาสิทธิทางวัฒนธรรมในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พุทธและมุสลิม และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทาง มาตรการ การสร้างความเข้าใจถึงสิทธิทางวัฒนธรรมระหว่างทั้งสองศาสนาตามแนวคิดหลักศาสนสัมพันธ์ในการป้องกันแก้ไขและเยียวยาปัญหาในสังคม “พหุวัฒนธรรม” ซึ่งได้ดำเนินการวิจัยตามแนวทางเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Approach) ที่เน้นการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พุทธและมุสลิม และผู้รู้ทางศาสนาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้พร้อมกับเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และสรุปพร้อมเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการบรรยายเชิงพรรณนา

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (70 ครั้ง) ดาวน์โหลด


Share :
งานวิจัยเกี่ยวกับสามจังหวัด ชายแดน ใต้
งานวิจัยเกี่ยวกับสามจังหวัด ชายแดน ใต้

กลับไปหน้าหลัก