วิจัยภาวะซึมเศร้าในนักศึกษา

Authors

  • นุชนาถ แก้วมาตร
  • จันทนา เกิดบางแขม
  • ชนัดดา แนบเกษร

Keywords:

นักศึกษาพยาบาล, สุขภาพจิต, รูปแบบการดำเนินชีวิต, ภาวะซึมเศร้า

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 462 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 แบบประเมินภาวะซึมเศร้า CES-D Scale (Center of Epidemiological Studies Depression Scale) ส่วนที่ 3 แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของโรเซนเบิร์ก (Rosenberg Selfe-steem Scale) ส่วนที่ 4 แบบวัดรูปแบบการใช้ชีวิตขององค์การอนามัยโลก และ ส่วนที่ 5 แบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ โดยแบบสอบถาม ในส่วนที่ 2, 3, 4 และ 5 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .87, .87, .74 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis)  ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 35.9 ของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพามีภาวะซึมเศร้า ปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าของนิสิตพยาบาลได้แก่ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (β = -.41, p < .001) รูปแบบการใช้ชีวิตด้านการรับรู้ต่อภาวะเครียด (β = .30, p <.001) และด้านการรับรู้ต่อภาวะสุขภาพ (β = -.14, p <.001)  และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ (β = -.15, p <.001) โดยร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพาได้ร้อยละ 53.4  The purposes of this descriptive research were to examine depression and its influencing factors among nursing students of Burapha University. Participants were 462 nursing students studying at Faculty of Nursing, Burapha University. Research instruments included : Part 1: Demographic Questionnaire; Part 2: the  Depression inventory (Center of Epidemiological Studies Depression Scale); Part 3: the Rosenberg’s Self-esteem; Part 4 : the Life Style Inventory developed by WHO; Part 5: the Emotion Support Scale. The Cronbach’s alpha coefficients of instruments in part 2, 3, 4 and 5 were .87, .87, .74 and .83 respectively. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis.  The findings revealed that the prevalence of depression among nursing students of Burapha University was 35.9 %. The significant factors which predicted depression included self-esteem (β = -.41, p < .001), life style regarding perceptions related to stress status (β = .30, p < .001) and perceptions related to physical health status (β = -.14, p < .001) and emotional support (β = -.33, p < .001). The percentage of total variance explained by these factors among nursing students at Faculty of Nursing, Burapha University was 53.4%.

References

เจริญชัย หมื่นห่อ. (2553, มิถุนายน). คุณภาพชีวิตนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง กำลังคนด้านสุขภาพกับการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Show

ฉันทนา แรงสิงห์. (2550). คุณภาพการนอนหลับและภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณิชากร รุจิรดา และอุมาพร ตรังคสมบัติ. (2552). ภาวะซึมเศร้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 54(4), 337-346.

ตติรัตน์ สุวรรณสุจริต และพิริยา ศุภศรี. (2552). การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของสตรีวัยรุ่น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 17(3), 1-13.

ประภาส ธนะ. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ผ่องศรี ศรีมรกต. (2536). ผลของการให้คำปรึกษาแบบประคับประคองต่อการรับรู้ภาวะความเจ็บป่วย ระดับความรู้สึกมีคุณค่าตนเองแห่งตน และขวัญกำลังใจในผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Beck, A.T. (1973). The diagnosis and management of depression. Philadelphia : University of Pensylvania Press.

Beck, A.T. (1967). Depression: Clinical, experimental, and theoretical aspects. New York : Harper & Row.

Chabrol, H., Rodgers, R., & Rousseau, A (2007). Relations between suicidal idea and dimensions of depressive symptoms in high school students. Journal of Adolescence, 30(3), 587-600.

Fergusson, D.M. & Horwood, L.J. (2002). Teenage pregnancy and female educational underachievement: A prospective study of a New Zealand birth cohort. Journal of Marriage and Family, 62(1), 147-161

Kaewboonchoo O, Saipech T, Chandanasotthi, P., & Arphorn S. (2009). Mental health status among Thai hospital nurses. Journal Med Assoc Thai, 92 (Suppl), 83-87.