รายงาน เรื่อง สิ่งแวดล้อม และ ทรัพยากรธรรมชาติ

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ชื่อเรื่อง                            ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ผู้ศึกษาค้นคว้า                  1.  ด.ญ. ชิษณุชา     ประธรรมสาร

                                      2.  ด.ญ. เพชรดา   จิตสนธิ

                                      3.  ด.ญ. อารีย์   หมั่นเขตกิจ

คุณครูที่ปรึกษาค้นคว้า     ครู  ปรฺิญญา  วิชัย

ระดับชั้น                          3/6

โรงเรียน                         วัชรวิทยา

ปีการศึกษา                     2559

บทคัดย่อ

       ในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติทั้งโลก ทั้งภายในประเทศและในท้องถิ่น มีแนวโน้มถูกทลาย เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน สิ่งแวดล้อม ทางวัฒนธรรม กลับเพิ่มมาแทนมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้เนื่องจาก ใน ปัจจุบันจำนวนประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการประดิษฐ์และพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้อำนวย ประโยชน์ต่อมนุษย์เพิ่ม มากขึ้น ผลจากการทำลายสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติส่งผลกระทบต่อ มนุษย์หลาย ประการเช่น ปัญหาการแปรปรวนของภูมิอากาศโลกการร่อยหรอ ของทรัพยากรธรรมชาติภัยพิบัติมี แนวโน้ม รุนแรงมากขึ้น มลพิษสิ่งแวดล้อมขยายขอบเขต กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงอยู่ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ เพื่อป้องกัน ปัญหา ดังกล่าวทุกคนจึงต้อง ตระหนักถึงปัญหาร่วมกันโดย ศึกษาถึงลักษณะของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น ตลอดจนแสวงหาแนวทางในการ ป้องกันเพื่อแก้ปัญหา

บทที่  1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

        สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน แต่ ปัญหาที่เกิดขึ้นจาการใช้ทรัพยากรของมนุษย์อย่างไม่ประหยัดและขาดความรับผิด ชอบก่อให้เกิดปัญหามลพิษและปัญหาอื่น ๆ ซึ่งเป็นภาวะการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมาก ซึ่งภาวการณ์ดังกล่าวไม่เป็นที่พึงปรารถนาและควรมีการกระทำบางอย่างเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นนอกจากนี้ยังมีปัญหาเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ดิน แร่ธาตุ สัตว์ และ พืชและปัญหาเสื่อมโทรมของคุณค่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์เช่น ดิน น้ำ อากาศ เป็นต้น รวมถึงปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศตามธรรมชาติ ตลอดจนปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดทางเศรษฐกิจและสังคมอันมีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงสนใจที่จะศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตในปํจจุบันต่อไป

คำถามในการศึกษา

1. ความหมายของมลพิษทางอากาศคืออะไร

2. จะป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างไร

3. สิ่งแวดล้อมมีกี่ประเภท

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1. เพื่อศึกษาความหมายของมลพิษทางอากาศ

2. เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม

3. เพื่อศึกษาประเภทของสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์

1. ได้ทราบคามหมายของมลพิษทางอากาศ

2. ได้รู้ประเภทของสิ่งแวดล้อม

3. ได้รับรู้แนวทางในการแก้ปํญหาสิ่งแวดล้อม

บทที่  2

เอกสารที่เกี่ยวข้องและแนวงานวิจัย

ความหมายของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

           เกษม จันทร์แก้ว ( 2524 ) ได้ให้ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติว่า หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่ง

ถ้าสิ่งนั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ก็ไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติ และได้ให้ความหมายของสิ่งแวดล้อมว่า หมายถึง สิ่งแวดล้อมนั้น เป็นทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก (อาจรวมไปถึง

จักรวาล) เป็นทั้งของแข็ง ของเหลว ก๊าซ สารเคมี สัตว์ มนุษย์ ดิน หิน ต้นไม้ แร่ อากาศ วัตถุธาตุ สิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน ถนน โรงเรียน วัด เมือง ชุมชน วัฒนธรรม ศาสนา 

ประเพณี กฎระเบียบ ข้อบังคับ ฯลฯ เป็นต้น

          ทวี ทองสว่าง และทัศนีย์ ทองสว่าง ได้ให้ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติว่า หมายถึง สิ่งที่ปรากฏตามธรรมชาติหรือเกิดขึ้นเอง ซึ่งอานวยประโยชน์แก่มนุษย์และ

สภาวะธรรมชาติด้วยกันเอง และได้ให้ความหมายของสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ช่วยอานวยประโยชน์ในการดารงชีวิตทางตรงหรือทางอ้อม หรือเป็น

อุปสรรคเมื่อสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นพิษ

สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 ประการคือ

1. การเพิ่มของประชากร (2556)(Population growth) ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตราทวีคูณ (Exponential Growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน

2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก็ช่วยเสริมให้วิธีการนำทรัพยากรมาใช้ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น

แนวทางการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม

           ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (2554) เป็นปรากฏการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมาย มีผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลก ทั้งยังเกี่ยวโยงถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลเสียโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญเสียสิ่งมีชีวิต หรือนำไปสู่สภาวะที่พืชและสัตว์บางชนิดสูญพันธุ์ไปได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีการจัดทำแนวทางและวิธีดำเนินการในการป้องกัน ยับยั้ง ชะลอ และขัดขวาง การเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

     1.  การป้องกัน
          การป้องกัน หมายถึง การป้องกันคุ้มครองทรัพยากรที่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้เอง เพื่อให้มีอัตราในการนำทรัพยากรมาใช้อยู่ในะระดับที่สามารถเกิดขึ้นมาทดแทนได้ทัน 

ซึ่งจะช่วยให้มีทรัพยากรนั้นไว้ใช้อย่างยั่งยืนทั้งยังรวมถึงการป้องกันทรัพยากรที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่เกิดการลุกลามจนทำให้สภาวะสิ่ง

แวดล้อมเสียสมดุลไป การป้องกันนี้อาจทำได้โดยการใช้มาตรการต่าง ๆ ตั้งแต่การใช้กฎหมาย การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ และความเข้าใจแก่ประชาชนในการใช้ทรัพยากร

อย่างเหมาะสม เพื่อมีทรัพยากรเกิดขึ้นหมุนเวียนสำหรับใช้งานได้อย่างยั่งยืนสืบไป

     2.  การแก้ไขและฟื้นฟู
          การแก้ไข หมายถึงการดำเนินการแก้ไขหรือซ่อมแซมทรัพยากรที่ลดลงหรือเสื่อมสลายของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
         
 การฟื้นฟู หมายถึงการดำเนินการกับทรัพยากรที่ลดลงหรือเสื่อมโทรมให้สามารถฟื้นคืนกลับสู่สภาพเดิมได้โดยการปิดกั้นไม่ให้มีการรบกวนระบบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ระบบสิ่งแวดล้อมมีเวลาในการฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิมสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก เช่น การฟื้นฟูไร่เลื่อนลอย การฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลน เป็นต้น ดังนั้นหากกล่าวโดยรวมแล้ว การแก้ไขและฟื้นฟูจะเป็นขั้นตอนดำเนินการภายหลังจากที่เกิดการเสื่อมหรือเสียสภาพของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการแก้ไขปรับปรุง ตลอดจนการบำบัดฟื้นฟูสภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นและเหมาะสมสำหรับการใช้ประโยชน์ต่อไป

     3.  การอนุรักษ์
          การอนุรักษ์ หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยความฉลาดและใช้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์มากที่สุด โดยหลีกเลี่ยงให้เกิดผลเสียต่อ

สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดกระบวนการดำเนินการอนุรักษ์อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ต้องครอบคลุมทั้งปัญหาด้านการทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจนเกิดความ

เสื่อมโทรมรวมถึงปัญหาการก่อมลพิษแก่สิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบกลับมาสู่ตัวมนุษย์เองด้วย โดยแนวทางในการอนุรักษ์ประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

             1.  การใช้อย่างยั่งยืน หมายถึง การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไป โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และมีของเสีย

ที่เกิดจากการใช้งานน้อยที่สุดหรือไม่มีของเสียเกิดขึ้นเลย

การใช้อย่างยั่งยืนนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทำให้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมสามารถฟื้นตัวหรือเกิดขึ้นมาใหม่ได้ทันกับความต้องการใช้

งานมนุษย์
               

             2.  การเก็บกักทรัพยากร หมายถึง การรวบรวมและการเก็บกักทรัพยากรที่มีแนวโน้มจะเกิดการขาดแคลนในบางช่วงเวลาไว้ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในกิจกรรมที่

เหมาะสมได้ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เชน การเก็บกักทรัพยากรน้ำที่มีมากในฤดูน้ำหลากไว้ เพื่อนำมาใช้ในฤดูแล้งที่ขาดแคลนน้ำ ซึ่งการเก็บกักน้ำมาใช้ในฤดูแล้งจะทำให้

สามารถนำน้ำ

มาใช้ประโยชน์ได้มากกว่า เมื่อเทียบกับการใช้น้ำในฤดูน้ำหลากหรือในช่วงที่มีน้ำมาก หรือการเก็บผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าว ไว้เป็นเสบียงอาหารในช่วงเวลาอื่น ๆ ที่

ไม่ใช่ฤดูเก็บเกี่ยว เป็นต้น
               

            3.  การรักษา หมายถึง การดำเนินการกับทรัพยากรที่ลดลงหรือเสื่อมโทรมให้สามารถฟื้นคืนกลับสู่สภาพเดิมได้โดยอาศัยวิธีการทางเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้นเข้า

มาช่วย ดำเนินการซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย จนทำให้สิ่งแวดล้อมสามารถกับสู่สภาพเดิมได้อีก เช่น การใช้เทคโนโนยีในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานให้กลับเป็นน้ำสะอาด 

เป็นต้น

            4.  การพัฒนา หมายถึง การพัฒนาปรับปรุงสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น เป็นการเร่งหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้ผลผลิตทีดีขึ้น การพัฒนาทรัพยากรจะต้องมีการนำเทคโนโลยีที่

ก้าวหน้ามาใช้ควบคู่กับกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอน ทั้งยังรวมถึงการพัฒนาเทคนิควิธีที่ทำให้ใช้ทรัพยากรในปริมาณน้อยแต่ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ด้วย
               

            5.  การสงวน หมายถึง การเก็บสงวนทรัพยากรไว้ไม่ให้มีการนำมาใช้งาน เนื่องจากทรัพยากรนั้นกำลังจะหมดหรือสูญสิ้นไป ทรัพยากรบางชนิดเมื่อสงวนไปในระยะเวลาหนึ่ง

แล้วอาจจะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นจนสามารถนำมากใช้ใหม่ได้ ซึ่งเมื่อถึงเวลาดังกล่าวอาจมีการอนุญาตให้นำทรัพยากรมาใช้ได้ โดยมีกฎเกณฑ์หรือมาตรการต่าง ๆ ควบคุม 

เช่น การสงวนพันธุ์สัตว์ป่า เป็นต้น 

            6.  การแบ่งเขต หมายถึง การจัดแบ่งกลุ่มหรือประเภทของทรัพยากรเพื่อให้สามารถดำเนินการอนุรักษ์ได้ผลดีขึ้น การดำเนินการนี้อาจมีการแบ่งพื้นที่ควบคุมเพื่อให้มีสภาวะ

ที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร เช่น การจัดพื้นที่เป็นป่าอนุรักษ์หรืออุทยานซึ่งจะทำให้สภาพดิน พืช สัตว์ และป่าไม้มีสภาพที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์ 

ดำรงพันธุ์ และเจริญเติบโต นอกจากนี้การแบ่งเขตยังช่วยให้สามารถกำหนดมาตรการดำเนินการต่าง ๆ ได้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ด้วย พื้นที่ที่มีการจัดการแบ่งเขตควบคุม 

ได้แก่ พื้นที่เขตต้นน้ำ เขตวนอุทยาน อุทยานแห่งชาติ เขตป่าสงวน เขตห้ามล่าและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นต้น

บทที่  3

วิธีการดำเนินการศึกษา

ในการศึกษาเรื่อง “ปัญหาสิ่งแวดล้อม” คณะผู้จัดทำได้มีการจัดวิธีการดำเนินการศึกษาตามขั้นตอน  ดังนี้

1.              วัสดุ    อุปกรณ์   เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้

1.1.  เครื่องคอมพิวเตอร์   พร้อมเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

1.2.   เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารหรือหาข้อมูล  www.facekbook.com  www.google.com

2.              ขั้นตอนในการดำเนิน

2.1.  ประชุมปรึกษาหารือเสนอความคิดเห็นและคัดเลือกเรื่องที่จะศึกษา และคิดหัวข้อเพื่อเสนอครูประจำวิชา

2.2.  ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม

2.3.  จัดทำโครงร่างต่ออาจารย์ประจำวิชา  

2.4.  ศึกษาวิธีการจัดทำโครงงานทางวิชาการเป็นรูปเล่ม

2.5.  นำเสนอความก้าวหน้าเป็นระยะๆตามระยะเวลาที่ครูประจำวิชากำหนด  เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า

2.6.  ศึกษาวิธีกาเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม

2.7.  จัดทำร่างโครงงานทางวิชาการเป็นรูปเล่ม

2.8.  ตรวจสอบความถูกต้องของรายงานทางวิชาการ

2.9.  จัดทำรายงานเป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์


บทที่  4

ผลการดำเนินการศึกษา

       จากการศึกษาเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมผู้ศึกษามีผลการศึกษาดังนี้

ความหมายของมลพิษทางอากาศ  อ้างอิงจากweb.ku.ac.th(2554) 

          มลพิษทางอากาศหมายถึง ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลา นานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า ก๊าซธรรมชาติอากาศเสียที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติเป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยมาก เพราะแหล่งกำเนิดอยู่ไกลและปริมาณที่เข้าสู่สภาพ แวดล้อมของมนุษย์และสัตว์มีน้อย กรณีที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ มลพิษจากท่อไอเสีย ของรถยนต์จากโรงงานอุตสาหกรรมจากขบวนการผลิตจากกิจกรรมด้านการเกษตรจากการระเหย ของก๊าซบางชนิด ซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย เป็นต้น

แนวทางแก้ปัญหาสภาพแวดล้อม   อ้างอิงจากwww.gotoknow.org(2557)

          1. การพัฒนาคนการพัฒนาคนหมายถึงการให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างจิตสำนึกร่วมกันของมนุษย์ในสังคมโลกโดยการจัดเป็นหลักสูตรการเรียนทั้งในระดับการ

ศึกษาขึ้นพื้นฐานและอุดมศึกษารวมทั้ง เผยแพร่ความรู้ทางสื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสาร เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของสภาพแวดล้อมนั้นไม่ใช่เป็น

เรื่องของคนใดคนหนึ่งแต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของมนุษยชาติทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาและช่วยกันแก้ปัญหา

          2. การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องนี้องค์การสหประชาชาติได้จัดการประชุมเพื่อระดมความร่วมมือในการแก้ปัญหาหลายครั้งโดยการจัดตั้งองค์กรความ

ร่วมมือระหว่างชาติขึ้นดูแลในเรื่องสภาพแวดล้อมคือโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Program : UNEP) ผลจากการรณรงค์และการทำงานของ

องค์การสหประชาชาติและจากแต่ละประเทศนอกจากนี้ยังมีกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่เรียกว่ากลุ่มกรีนพืช (GreenPeace) ออกปฏิบัติการต่อด้านพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสภาพ

แวดล้อมเป็นพิษ

              3. การใช้มาตรการบังคับในหลายประเทศได้มีการออกกฎหมายควบคุมการถ่ายเทน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมกฎหมายบังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องสร้างปล่อย

ควันให้สูงเพื่อไม่ให้ควันและสารพิษทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ตลอดจนการออกกฎหมายควบคุมควันดำจากท่อไอเสียรถยนต์นอกจากการควบคุมที่ใช้มาตรการทางกฎหมายแล้ว

ในหลายประเทศได้จัดระบบเฉพาะเกิดขึ้นควบคุมสภาพแวดล้อมด้วย เช่น การห้ามรถยนต์บางชนิดวิ่งในถนนบางสายหรือการกำหนดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซค์ในอากาศ

ไม่ให้สูงเกินมาตรฐานกำหนดถึงแม้การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้วางเครือข่ายอย่างกว้างขวางก็ตาม หากประเทศใดละเลยก็จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดี เช่น กรณี

คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปฟ้องดำเนินคดีกับอังกฤษกรีซและอิตาลีทั้ง 3 ชาติว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายยุโรปโดยปล่อยให้เกิดระดับเสียงดังเกินมาตรฐานและก่อให้เกิด

มลพิษในอากาศซึ่งกฎหมายนี้บังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2001 แต่ทั้ง 3 การฟ้อง ทั้ง 3 ประเทศนี้ในคดีอื่นๆพร้อมกับประเทศไอร์แลนด์และสเปนกรณีที่ไม่บังคับใช้

กฎหมายว่าด้วยการรักษาคุณภาพอากาศอีกด้วย

           4. การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในปัจจุบันประเทศต่างๆได้จัดงบประมาณเพื่อการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้คืนสู่สภาพปกติเป็นเงินโดยรวมนับหลายหมื่นล้าน

เหรียญเช่นการเพิ่มก๊าซออกซิเจนในน้ำ การลงทุนในปฏิบัติการฟอกอากาศในโรงงาน

           5.  การจัดวางผังเมืองหลายประเทศตื่นตัวมากขึ้นเริ่มมีการกำหนดพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนตามหลักวิชาการโดยการกำหนดว่าที่ใดเป็นเขตที่อยู่อาศัยพื้นที่ใดเป็นเขต

อุตสาหกรรมเพื่อไม่ให้มลพิษทำลายสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างไรก็ตามการแก้ไขตามแนวทางที่กล่าวมานั้นจะไม่ได้ผลหากไม่ได้รับความร่วมมือจากประชากรของทุก

ประเทศในสังคมโลกโดยเฉพาะในเรื่องจิตสำนึกร่วมกันที่จะอนุรักษ์สภาพแวดล้อมแม้กระทั่งนายจอร์จบุชอดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกายังให้ความสำคัญในการแก้ปัญหา

สิ่งแวดล้อม โดยได้ประกาศให้เป็น 1 ใน 4 ของการจัดระเบียบโลกใหม่ 

ประเภทของสิ่งแวดล้อม  อ้างอิงจากhttp://nakarin.wikispaces.com (2556)

       ประเภทของสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่คือ

1.สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

          สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ สัตว์ป่า ฯลฯ สิ่งแวดล้อมประเภทนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอาจใช้เวลาเร็วหรือช้าเพียงใด

ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภท สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ ฃ

          1) สิ่งมีชีวิต (Biotic Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ มีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตเช่น พืช สัตว์และมนุษย์เราอาจจะเรียกว่าสิ่งแวดล้อม

ทางชีวภาพ (Biological Environment) ก็ได้

           2) สิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ไม่มีชีวิต อาจจะมองเห็นหรือไม่ก็ได้ เช่น ดิน น้ำ ก๊าซ อากาศ ควัน แร่ธาตุ เมฆ รังสีความ

ร้อน เสียง ฯลฯ เราอาจเรียกว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ได้เช่นกัน 

2.สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น

       สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Make Environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ความรู้ความสามารถที่ได้รับการสั่งสอนสืบทอดและพัฒนากันมาตลอดซึ่งได้แบ่งไว้2ประเภทคือ 
       1) สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือสิ่งแวดล้อมที่สามารถมองเห็นได้ เช่น บ้านเรือน เครื่องบิน โทรทัศน์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกหรือตอบสนองความ

ต้องการในการดำรงชีวิตบางอย่างอาจมีความจำเป็นแต่บางอย่างเป็นเพียงสิ่งฟุ่มเฟือย 

       2) สิ่งแวดล้อมทางสังคม หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม(SocialEnvironment)หรือ(Abstract Environment)เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบสำหรับอยู่

ร่วมกันอย่างมีความสุขสิ่งแวดล้อมทางสังคมได้แก่ระบอบการปกครอง ศาสนา การศึกษา อาชีพ ความเชื่อ เจตคติ กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ระเบียบข้อบังคับ ฯลฯ สิ่ง

แวดล้อมที่มองไม่เห็นจะแสดงออกมาในรูปพฤติกรรม 

บทที่  5

สรุปและข้อเสนอแนะ

       จากการศึกษาเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมผู้ศึกษาสรุปผลการศึกษาดังนี้

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1.             เพื่อศึกษาความหมายของมลพิษทางอากาศ

2.             เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม

3.             เพื่อศึกษาประเภทของสิ่งแวดล้อม                                                                                                                                     

เครื่องมือในการศึกษา

1.             คอมพิวเตอร์

2.             โทรศัพท์

3.             หนังสือ

สรุปผล

       ในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติทั้งโลก ทั้งภายในประเทศและในท้องถิ่น มีแนวโน้มถูกทลาย เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน สิ่งแวดล้อม ทางวัฒนธรรม กลับเพิ่มมาแทนมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้เนื่องจาก ใน ปัจจุบันจำนวนประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการประดิษฐ์และพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้อำนวย ประโยชน์ต่อมนุษย์เพิ่ม มากขึ้น ผลจากการทำลายสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติส่งผลกระทบต่อ มนุษย์หลาย ประการเช่น ปัญหาการแปรปรวนของภูมิอากาศโลกการร่อยหรอ ของทรัพยากรธรรมชาติภัยพิบัติมีแนวโน้ม รุนแรงมากขึ้น มลพิษสิ่งแวดล้อมขยายขอบเขต กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงอยู่ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ เพื่อป้องกัน ปัญหาดังกล่าวทุกคนจึงต้อง ตระหนักถึงปัญหาร่วมกันโดย ศึกษาถึงลักษณะของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น ตลอดจนแสวงหาแนวทางในการ ป้องกันเพื่อแก้ปัญหา

 ข้อเสนอแนะ

1.             ควรตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลว่าถูกต้องหรือไม่

2.             ควรหาข้อมูลจากหลายๆทาง

บรรณานุกรม

 เกษม จันทร์แก้ว  ความหมายของสิ่งแวดล้อม

       สืบค้นจาก    https://sites.google.com/site/apiratparnthong2/payha-sing-waedlxm

      วันที่สืบค้น   8/01/59

ดร.ฤทธิ์ วัฒนชัยยิ่งเจริญ  ชื่อเรื่อง  แนวทางการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม

       สืบค้นจาก    http://www.trueplookpanya.com/  วันที่สืบค้น  13/01/59

ความหมายของมลพิษทางอากาศ

       สืบค้นจาก     web.ku.ac.th  วันที่สืบค้น  13/02/59

แนวทางแก้ปัญหาสภาพแวดล้อม

       สืบค้นจาก     www.gotoknow.org วันที่สืบค้น   13/02/59

ประเภทของสิ่งแวดล้อม 

        สืบค้นจาก   http://nakarin.wikispaces.com  วันที่สืบค้น  13/02/59