หนังสือรับรองความสัมพันธ์ สามี ภรรยา

มิติงานทะเบียนราษฎร์ – “การจดทะเบียนสมรส เรื่องสำคัญที่คู่บ่าวสาวควรรู้”

หนังสือรับรองความสัมพันธ์ สามี ภรรยา
เครดิตภาพ: http://pinterest.com/

งานเอกสารในแผนกกงสุลนั้นมีมากมายหลายมิตินะคะ วันนี้ขอหยิบยกหัวข้อที่เป็นงานที่มีสถิติการสอบถามข้อมูลเข้ามาบ่อยๆ นั่นคืองานทะเบียนราษฎร์ ซึ่งในหัวข้อนี้ครอบคลุมการให้บริการตั้งแต่รักกัน (จดทะเบียนสมรส) เลิกกัน (การจดทะเบียนหย่า) คนเกิด (การออกใบสูติบัตรไทย) จนถึงคนตาย (การออกใบมรณะบัตรไทย) ให้กับบุคคลสัญชาติไทยซึ่งอาศัยอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งท่านอาศัยอยู่มลรัฐใด เมืองใดก็สามารถสอบถามไปยังฝ่ายกงสุลประจำสถานทูต ณ ประเทศ หรือสถานกงสุล ณ เมืองนั้นๆ ได้เลยค่ะ ซึ่งในฉบับนี้ผู้เขียนขอหยิบยกงานจดทะเบียนสมรส มาอธิบายรายละเอียดเป็นหัวข้อแรก โดยทั่วไปทุกคนที่อยู่ในอเมริกาสามารถแต่งงานกันได้หมด ไม่ว่าจะเป็น citizen, resident หรือผู้ถือวีซ่าชั่วคราวทุกประเภท (นักท่องเที่ยว นักธุรกิจ หรือนักเรียน) แต่ก่อนแต่งงาน จะต้องตรวจสอบด้วยว่ารัฐที่ตัวเองจะไปจดทะเบียนแต่งงาน เค้ามีข้อกำหนดและเงื่อนไขยังไง เพราะแต่ละรัฐในอเมริกา จะมีหลักเกณฑ์ในการแต่งงานที่แตกต่างกันไปค่ะ ก่อนที่เราจะพูดถึงลิสท์เอกสารการขอจดทะเบียนสมรสไทย เรามาดูขั้นตอนคร่าวๆ ของการขอจดทะเบียนสมรสสหรัฐฯ กันด้วยนะคะ แต่โดยทั่วไปมี 3 ขั้นตอนหลักๆ คือ

ขอใบอนุญาตแต่งงาน Marriage License
ไปขอใบอนุญาตแต่งงาน Marriage License จากหน่วยงานใกล้ที่เราอยู่ อาจหาข้อมูลตาม Web Browser ใส่ข้อมูลชื่อเมือง หรือมลรัฐที่เราอยู่ บางที่ทำรายการออนไลน์ก่อนไปได้ บางที่ต้องไปยื่นด้วยตนเอง หรือส่งทางไปรษณีย์
ทำพิธีแต่งงานโดยผู้ที่สามารถทำให้ได้เป็นผู้ทำพิธี
หาข้อมูลก่อนว่าจะไปทำพิธีแต่งงานที่ไหนเพราะผู้ที่ทำพิธีให้เรานั้นต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตทำพิธีที่จะสามารถเซ็นในใบรับรองแต่งงานได้ค่ะ โดยปกติในขั้นแรกเราหาข้อมูลการขอใบอนุญาตแต่งงาน จะมีลิงค์ข้อมูลเหล่านี้ไว้ให้ เลือกโทรติดต่อได้เลย โดยสามารถใช้ Key word : Marriage ceremony providers ตามเมืองที่เราอยู่ค่ะ บางที่เราอาจต้องเตรียมพยานไปด้วย บางที่ก็ไม่จำเป็น สอบถามข้อมูลเรื่องนี้จากผู้ที่จะทำพิธีให้เรานะคะ ถ้าใบ Marriage License ที่ขอมาหมดอายุและยังไม่ได้ทำพิธีแต่งงาน ถ้าจะทำพิธีต้องไปทำเรื่องขอใบ Marriage License ใหม่และจ่ายค่าธรรมเนียมใหม่ค่ะ
นำใบที่ได้ในข้อ 2 ไปบันทึกขึ้นทะเบียนสถานะการสมรสณ หน่วยงานในขั้นตอนที่ 1 และรับใบ Marriage Certificate แต่ละขั้นตอนค่าธรรมเนียมแล้วแต่สถานที่
บางที่ที่ทำพิธีแต่งงาน หากเจ้าหน้าที่ จัดการให้บอกว่าให้รอรับเอกสารทางไปรษณีย์เลยก็สามารถรอรับทางปณ. บางที่ท่านอาจต้องไปรับด้วยตนเอง หรือบางสถานที่ทั้ง 3 ขั้นตอน สามารถทำได้ในบริเวณหน่วยงานเดียวกันทั้งหมด เสร็จภายในวันเดียวหรือในบางที่อาจมี ตัวแทนรับบริการ ช่วยจัดการให้ภายในวันเดียวทุกขั้นตอน อาจมีค่าบริการเพิ่มขึ้น และหลังจากเสร็จสิ้นทั้ง 3 ขั้นตอนคุณจะได้ใบ Marriage Certificate มาเรียบร้อยเพื่อไว้ใช้ดำเนินการ Immigration procedures ต่อไปค่ะ
หมายเหตุ: การจดทะเบียนสมรสสหรัฐฯ ท่านสามารถนำไปปรับข้อมูลการบันทึกฐานะแห่งครอบครัวได้ ณ สำนักงานเขต (ประเทศไทย) ที่ท่านมีทะเบียนบ้านอยู่ และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาแจ้งว่าการจดทะเบียนสมรสไทยที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่มีผลตามกฏหมายท้องถิ่นสหรัฐฯ

รายละเอียดการบันทึกฐานะแห่งครอบครัว และการเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรส หรือหลังการหย่า ทางผู้เขียนขออนุญาตนำเสนอเป็นฉบับต่อเนื่องค่ะ คราวนี้ลองมาดูขั้นตอนการขอจดทะเบียนสมรสไทยกันบ้างนะคะ

การขอจดทะเบียนสมรสไทย
• คู่สมรสกรุณาติดต่อนัดหมายและส่งเอกสารล่วงหน้าเพื่อตรวจความถูกต้องและเตรียมจัดพิมพ์เอกสาร ทางอีเมล์ที่
• คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องมีสัญชาติไทย
• คู่สมรสต้องมาจดทะเบียนสมรสด้วยตนเองพร้อมกัน

หนังสือรับรองความสัมพันธ์ สามี ภรรยา

ผู้ร้องยื่นคำร้องที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ฝ่ายกงสุล โดยเตรียมเอกสาร ดังนี้:
➡ แบบฟอร์ม* คำร้องขอนัดหมายจดทะเบียนสมรส
➡ แบบฟอร์ม* คำร้องขอจดทะเบียนสมรส
➡ แบบฟอร์ม* คำร้องนิติกรณ์สำหรับการจดทะเบียนสมรส ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงคนละ
1 ชุด (แบบคำร้องมี 2 กรณี คือ กรณีที่ไม่เคยจดทะเบียนสมรสและกรณี เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน)
*ดาวโหลดแบบฟอร์มที่ www.thaiembdc.org/th
➡ หนังสือเดินทางไทยที่มีอายุใช้งาน พร้อมสำเนา
➡ บัตรประชาชนไทย หรือทะเบียนบ้านของคู่สมรสคนไทย
🙂 เอกสารอื่นๆ
• หนังสือรับรองความเป็นโสดของคู่สมรส และหากฝ่ายชายไม่ใช่คนไทยต้องมีหนังสือรับรองการทำงาน
• หากคู่สมรสอายุไม่ครบ 17 ปี บิดาและมารดาจะต้องลงชื่อให้ความยินยอม
• หากคู่สมรสเป็นข้าราชการไทย หรือ เป็นนักเรียนในความดูแลของสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา ต้องมีหนังสืออนุมัติให้จดทะเบียนสมรสจากสำนักงานต้นสังกัดมาแสดง
• หากเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน จะต้องมีใบสำคัญการหย่ามาแสดง
• หากฝ่ายหญิงเคยหย่า ต้องเปลี่ยน ชื่อสกุลในหนังสือเดินทางและทะเบียนราษฎรเป็นชื่อสกุลเดิมก่อนสมรส และการหย่าได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่ได้คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น หรือ จะสมรสกับคู่สมรสเดิม หรือ มีใบแพทย์รับรองว่ามิได้มีครรภ์ หรือมีคำสั่งศาลไทยให้สมรสได้

หนังสือรับรองความสัมพันธ์ สามี ภรรยา

ผู้เขียนเชื่อว่าคู่บ่าวสาวที่กำลังจะเข้าพิธีวิวาห์คงมีการพูดคุยกันเรื่อง “ทะเบียนสมรส” เช่น จะจดทะเบียนสมรสดีไหม จดกับไม่จดแตกต่างกันอย่างไร การจดทะเบียนสมรสมีขั้นตอนยุ่งยากหรือเปล่า หรือ ทะเบียนสมรสมีผลดีต่อชีวิตคู่และทายาทอย่างไรบ้าง ซึ่งบางคู่เข้าใจตรงกัน บางคู่ก็เข้าใจแตกต่างกัน ดังนั้น นอกเหนือจากรายละเอียดเอกสารการจดทะเบียนสมรสที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว เราขอนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้อดีของการจดทะเบียนสมรสมาเล่าให้ฟังกันค่ะ
💡 ทะเบียนสมรสสำคัญอย่างไร
การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรสมีความสำคัญต่อคู่แต่งงาน สามีภรรยา เพราะเป็นเอกสารทางกฎหมายที่ใช้สำหรับยืนยันความสัมพันธ์ และเป็นหลักฐานที่ใช้สำหรับการยืนยันสิทธิ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา เช่น การรับรองบุตร ซึ่งจะทำให้บุตรได้รับสิทธิ์ต่างๆ ตามกฎหมาย การแบ่งสินสมรส การฟ้องหย่าในกรณีสามีภรรยามีชู้ เป็นต้น
การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรสอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสามีภรรยาบางคู่ ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น คู่สามีภรรยาที่ทำธุรกิจ ซึ่งการจดทะเบียนสมรสทำให้ต้องมีการตรวจสอบทางบัญชีการเงินของทั้งสามีภรรยา เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรืออาจเกิดการฟ้องร้องได้ การแต่งงานแบบนี้จึงอาจไม่มีเรื่องทะเบียนสมรสโดยความยินยอมและตกลงของสามีภรรยาเอง แต่ในขณะเดียวกันการแต่งงานโดยไม่จดทะเบียนสมรสก็กลายเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายที่ทำให้สามีหรือภรรยาโอนทรัพย์สินของตัวเองไปยังบัญชีของอีกฝ่าย เพื่อเลี่ยงการตรวจสอบหรือการเสียภาษีได้เช่นกัน

💡 ประโยชน์ของทะเบียนสมรส
➡ การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน นั่นหมายความว่าสามีจะหาเลี้ยงภรรยา หรือภรรยาจะหาเลี้ยงสามี หรือจะช่วยดูแลกันก็ได้
➡ การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงหรือภรรยามีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของสามี หรือจะไม่ใช้ก็ได้
➡ การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงต่างชาติมีสิทธิ์ขอสัญชาติไทยตามสามีได้ (ถ้าอยากถือสัญชาติไทย)
➡ การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์จัดการสินสมรสร่วมกัน (ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรส)
➡ การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน
➡ การจดทะเบียนสมรสทำให้มีสิทธิ์รับเงินจากทางราชการหรือนายจ้าง เช่น กรณีคู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือการรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน
➡ การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้
➡ การจดทะเบียนสมรสทำให้บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้นามสกุลพ่อได้ สมัครเข้าเรียนได้ และรับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้ (บุตรเป็นสิทธิ์ตามชอบธรรมของแม่อยู่แล้ว)
➡ การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาสามารถหึงหวงคู่สมรสของตัวเองได้อย่างออกหน้าออกตาตามกฎหมาย และหากพบว่าคู่สมรสมีชู้ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสของตัวเองและเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายชู้ได้อีกด้วย
➡ การจดทะเบียนสมรสทำให้ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้
➡ การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายคู่สมรสของตัวเองได้

💡 ทะเบียนสมรสมีผลทางกฎหมายนานแค่ไหน อายุของทะเบียนสมรส
การจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทะเบียนสมรสก็จะมีผลทางกฎหมายหรือมีอายุยาวตลอดไปจนกว่าจะมีการจดทะเบียนหย่า ซึ่งการจดทะเบียนหย่าก็เป็นไปตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายหรือถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องมีการฟ้องหย่าโดยให้ศาลเป็นผู้พิจารณา เพื่อใช้เหตุผลและหลักฐานต่างๆ ประกอบ รวมถึงการหาข้อตกลงต่างๆ เช่น การแบ่งสินสมรส สิทธิ์การดูแลบุตร ค่าเลี้ยงดู เป็นต้น

💡 การจดทะเบียนสมรสซ้อน
ตามกฎหมายระบุว่าการจดทะเบียนสมรซ้อนนั้นผิดกฎหมาย และไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายระบุว่าการจดทะเบียนสมรสครั้งหลังถือเป็นโมฆะ หากการจดทะเบียนสมรสครั้งแรกยังไม่มีการจดทะเบียนหย่าที่สมบูรณ์ และภรรยาที่จดทะเบียนสมรสซ้อนจะไม่มีสิทธิ์รับสิทธิ์ตามกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น

💡 บริการตรวจสอบทะเบียนสมรส
ทางอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์ www.khonthai.com หรือกรมการปกครองงานทะเบียนราษฎร์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 1548
มาถึงตรงนี้ทุกท่านพอจะทราบถึงความสำคัญและประโยชน์ของการจดทะเบียนสมรสหรือใบทะเบียนสมรสกันแล้ว ใครที่กำลังจะแต่งงาน หรือแต่งงานไปแล้วแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลองกลับมาทบทวนกันอีกครั้งนะคะว่าจริงๆ แล้วการจดทะเบียนสมรสดีกับเราหรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกใจและเหตุผลของแต่ละท่านแต่ละคู่นะคะ
ทางทีมเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล แผนกทะเบียนราษฎร์มีความยินดีและเต็มใจให้บริการสอบถามข้อมูลกับทุกท่านตลอดเวลาทำการค่ะ หากท่านต้องการโทรศัพท์เข้ามาหรือสอบถามเพิ่มเติมทางอีเมล์ก็สามารถติดต่อได้ตามช่องทางดังนี้
คุณอรัญญา : โทรศัพท์ : (202)640-5325  Email:
พบกันใหม่กับงานสาระกงสุลฉบับหน้าเร็วๆ นี้ ขอบคุณสำหรับการติดตามกันอย่างต่อเนื่องนะคะ 😉

(ณัฐพร ซิมเมอร์แมน) – รายงาน
พฤษภาคม 2560