สาเหตุที่ออกจากงาน เขียนใบสมัคร

          การตอบคำถามนี้เคยกล่าวเอาไว้แล้วในบทที่ เกี่ยวกับการกรอกใบสมัครแต่ไม่เป็นอะไรเพราะจะมาทบทวนอีกซักครั้งว่า เราไม่ควรพูดอะไรให้เสื่อมเสียแก่เจ้านาย หรือที่ทำงานเก่าเป็นอันขาด ซึ่งจะทำให้ไม่เป็นผลดีต่อตัวคุณเองเลย สิ่งที่คุณควรพูด ถึงก็ควรพูดในสิ่งที่เป็นด้านดีๆ และให้เหตุผลที่ออกจากงานเดิมก็ไม่ควรเป็นเหตุผลที่ให้ร้ายแก่บริษัทเก่า โดยให้เหตุผลกลางๆ ไปเช่น “ต้องการความก้าวหน้า” เป็นต้น

          แต่ในกรณีที่ออกจากที่ทำงานเก่า อาจะเป็นเพราะคุณมีการขัดแย้งกับเจ้านายจริงๆ คุณคงต้องพูดความจริงกับผู้สัมภาษณ์ เพราะจะดีกว่า ให้เขารู้ผ่านคนอื่นในวงการเดียวกัน อาจไม่เป็นผลดีกับคุณ แต่การพูด “ความจริง” คุณก็ควรใช้ศิลปะในการพูดให้ออกมา “ดูดี” เช่น “บริษัทมีการ ปรับเปลี่ยนหัวหน้าใหม่ และเผอิญรูปแบบการทำงานของกระผมและของเขา มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง” หรือหากคุณเปลี่ยนงานจากลักษณะงานเดิม ที่แตกต่างออกไป คุณก็อาจจะตอบว่า “ในที่ทำงานเก่าผมทำงานด้านกราฟิกมาสามปี และตอนนี้ผมอยากเรียนรู้งานด้านบริการลูกค้าดูบ้าง เพราะมี ความท้าทายสูง และบริษัทของท่านก็มีชื่อเสียงในด้านนี้มาก” เป็นต้น

          เมื่อคุณถูกถามจริงๆ แล้วอาจจะไม่ต้องตอบคำถามให้ยืดยาวก็ได้ พยายามตอบให้ตรงจุด และสั้นมากที่สุด เพราะการตอบแบบยาวๆ มักจะแสดงให้เห็นถึงการแก้ตัว ผู้ตอบตั้งใจที่จะให้ผู้ฟังเข้าใจว่า ตัวเขาเอานั้นไม่ได้ทำผิดอะไรที่ต้องออกมาจากที่ทำงานเก่า ซึ่งคุณไม่จำเป็น ต้องทำแบบนั้นเลย เพราะคนเรานั้นมีการเข้า และออกจากงาน กันอยู่ตลอด และผู้ถามก็ไม่ได้ต้องการอะไรมากมาย เพียงแต่อยากให้คุณตอบ แบบจริงใจและตรงเป้าหมายซะมากกว่า

          “ตำแหน่งที่คุณสมัครนั้นต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคบาง ประการในด้านการตลาด คุณคิดว่าทำได้หรือเปล่า?” ความหมายของคำถามทำนองนี้ ผู้ว่าจ้างต้องการดูว่า ผู้สมัครมีความรู้จริงในด้านเนื้อหาวิชา และมีความสามารถที่จะประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ที่ต่างออกไปจากที่เคยเรียน หรือเคยมีประสบการณ์หรือไม่อย่างไร และวิธีตอบคำถามแนวนี้คือ “แม้ว่าผมจะไม่เคยทำงานด้านวิเคราะห์ตลาดโดยตรงก็ตาม แต่จาก ประสบการณ์ที่มีอยู่ทางด้านการขายประกอบกับสิ่งที่จะได้จากการชี้แนะของหัว หน้างาน ผมเชื่อว่าสามารถที่จะเรียนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในเวลาอันรวดเร็ว”

          หากคุณทำงานที่นี่จากนี้ 5 ปี คุณเห็นตัวเองกำลังทำงานอะไรอยู่? ผู้ถามต้องการรู้ว่า คุณเป็นคนที่ชอบวางโครงการ หรือมีทิศทางอะไรในชีวิต หรือเปล่า เพราะคุณไม่ใช่ประเภทที่ปล่อยให้ชีวิตลอยไปลอยมาตามทางลมที่พัดไปหรอกนะ และเมื่อคุณเข้าทำงานแล้ว คุณอาจมีตำแหน่งเพียง พนักงาน แต่คุณจะเป็นพนักงานไปจนตายได้อย่างไร? เพราะคนเราชอบความก้าวหน้า และบริษัทที่จ้างเราเขาก็หวังว่าจะให้พนักงานเหล่านั้น มีการเลื่อนตำแหน่ง มีการหมุนเวียนในหน้าที่ต่างๆ ด้วยความหวังในการก้าวไปข้างหน้าของพนักงานจึงเป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนต้อง การ ซึ่งคุณอาจ จะเล่าว่าคุณมีเป้าหมายชีวิตในอีก 5-7ปี คุณจะก้าวไปสู่ตำแหน่งใด

สาเหตุที่ออกจากงาน เขียนใบสมัคร
          คุณสมัครไว้ที่อื่นหรือเปล่า? เป็นอีกสิ่งที่บริษัทต่างๆ มีปัญหามากที่สุดเพราะเขาต้องสูญเสียพนักงานที่มีความรู้ความสามารถไปให้กับ หน่วยงาน หรือบริษัทอื่น หลังจากที่คุณได้ทุ่มเทเวลาและเงินทองในการฝึกพนักงานผู้นั้นไว้อย่างดีแล้ว การลาออก หรือเปลี่ยนงานของพนักงาน ในระยะเวลาอันสั้น จึงไม่เป็นที่พอใจของบริษัทด้วยประการทั้งปวง ซึ่งคุณควรตอบคำถามในทำนองนี้ว่า คุณมีความตั้งใจจริงที่จะอยู่กับเขาไปนานๆ เพราะบริษัทมีชื่อเสียง มีหลักประกันที่มั่นคง และบอกเขาว่าแม้ว่าคุณจะไปสมัครงานที่อื่นไว้ด้วยเพื่อให้เขารู้ว่าคุณนั้น ไม่เป็นคนประมาทจึงต้อง สมัครงานมากกว่า 1 แห่ง แต่ถ้าหากเขารับคุณคุณก็บอกไปเลยว่า “คุณก็จะอยู่กับเขาที่นี่แหล่ะ”

ที่มา : www.pantown.com

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แต่งกายอย่างไรในวันสัมภาษณ์งาน

ชนิดและกรรมวิธีของการสัมภาษณ์งาน

แม้ส่วนใหญ่ในยุคนี้เราจะใช้เรซูเม่เป็นหลักในการสมัครงานและเป็นสิ่งที่บริษัทต่างๆ จะใช้เป็นตัวพิจารณาในการโทรเรียกมาสัมภาษณ์งาน แต่เมื่อถึงวันที่เราได้เข้าไปสัมภาษณ์งานแล้ว บริษัทส่วนใหญ่ก็มักจะนำใบสมัครของตัวเองมาให้ว่าที่พนักงานกรอกอีกครั้งอยู่ดี ซึ่งรายละเอียดที่เรากรอกในใบสมัครงานก็จะแตกต่างกันไปตามที่แต่ละบริษัทกำหนด เพราะฉะนั้นมาดูกันดีกว่า ว่าจะมีเทคนิคอย่างไรบ้างในการกรอกใบสมัครงานให้โดนผู้ว่าจ้างมากที่สุด

สาเหตุที่ออกจากงาน เขียนใบสมัคร
กรอกใบสมัครงานอย่างไรให้ได้งาน

หาข้อมูลบริษัท

อันดับแรกเลยคือเราควรศึกษารายละเอียดของบริษัทที่เราอยากสมัครงานให้ดีก่อน เพื่อจะได้เป็นข้อมูลพื้นฐานก่อนเข้าไปสัมภาษณ์งาน อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าเราใส่ใจในองค์กรนั้นๆ และอยากเข้าทำงานที่นี่จริงๆ

สมัครงานให้ตรงตำแหน่ง

เราควรวิเคราะห์คุณสมบัติของเราก่อนว่า เรามีทักษะและประสบการณ์ที่ตรงกับตำแหน่งนั้นๆ แค่ไหน อย่าพยายามส่งงานทั้งๆ ที่เราขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง แล้วคิดว่าบริษัทนั้นจะรับ เพราะอย่าลืมว่าเขาก็ต้องมีผู้สมัครงานคนอื่นรอเป็นคู่แข่งเราอยู่ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดอื่นๆ ที่ไม่ควรข้ามอีก เช่น

– การกำหนดเพศของผู้สมัคร

– การกำหนดช่วงอายุ

– เรียนจบในสาขาที่ไม่ตรงกับสายงาน

ทำความเข้าใจในใบสมัครให้ถี่ถ้วน

ก่อนเริ่มใส่ข้อมูล ควรรีวิวใบสมัครให้ครบถ้วนก่อนสักหนึ่งครั้งก่อนลงมือกรอก เพราะบางทีในใบสมัคร อาจมีคำแนะนำหรือคำสั่งอื่นๆ ให้ปฏิบัติตาม เช่น ให้พิมพ์หรือให้เขียน ภาษาที่ต้องใช้ควรเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ เป็นต้น จากนั้นให้ทำตามคำแนะนำอย่างถูกต้อง

เอกสารต้องพร้อม รายละเอียดต้องครบ

ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญทั้งหมด ควรเตรียมไปให้ครบทั้งแบบตัวจริงและแบบสำเนา ในส่วนของสำเนานั้น ควรเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบทุกใบ โดยเอกสารที่ควรเตรียมไปให้พร้อม ได้แก่

– บัตรประชาชน พร้อมเลขที่บัตร และวันหมดอายุบัตร

– ทะเบียนบ้าน

– ใบทรานสคริปต์

– ใบรับรองการจบการศึกษา หรือ วุฒิการศึกษา

– ใบรับรองผลการตรวจเลือกทหาร (สด. 43) สำหรับพนักงานผู้ชาย

– เรซูเม่

อุปกรณ์ต่างๆ ก็จำเป็นไม่แพ้กัน

ใบสมัครงานส่วนใหญ่มักจะให้กรอกด้วยลายมือ ดังนั้นควรเตรียมปากกาของตนเองไปให้พร้อม ไม่ควรลืมเด็ดขาด เพราะหากต้องไปยืมหยิบยืมปากกาที่บริษัทที่เราไปสัมภาษณ์ อาจทำให้ไม่ดูดีและดูไม่เป็น Professional ได้ นอกจากนี้ยังควรเตรียมกาวหรือลวดเย็บกระดาษไปเผื่อได้ สำหรับการใช้แนบรูปลงในใบสมัครงาน

โชว์สกิลวิชาคัดไทยสมัยยังเด็ก

เรื่องของความเรียบร้อยก็เป็นสิ่งสำคัญนะ ควรกรอกด้วยลายมือที่อ่านง่ายและชัดเจน หากเขียนด้วยลายมือที่อ่านยาก ฝ่ายบุคคลอาจจะอ่านไม่ออก ทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้ หรือให้อีกแง่เขาอาจจะมองไม่ดี ทำให้เราดูไม่น่าเชื่อถือได้เช่นกัน ด้านปากกาที่ใช้ควรเป็นปากกาหมึกสีน้ำเงินหรือสีดำเท่านั้น ห้ามใช้ปากกาสีอื่นโดยเด็ดขาด ก่อนเขียนควรทบทวนข้อมูลในแน่ใจเสียก่อน เพื่อป้องกันการเขียนผิด รวมไปถึงเรื่องการสะกดคำด้วย แต่หากเขียนผิดจริงๆ ให้ใช้น้ำยาลบคำผิด ลบแล้วเขียนทับให้เรียบร้อย

กรอกรายละเอียดให้ครบทุกช่อง

ในใบสมัครงาน มักมีรายละเอียดให้กรอกมากมาย เราควรกรอกให้ครบทุกช่อง ไม่ควรเว้นว่างเอาไว้ เพราะทุกข้อมูลที่บริษัททำไว้ใบในสมัครงาน คือข้อมูลทั้งหมดที่เขาต้องการจากเรา ไม่ได้เป็นตัวเลือกว่าจะสามารถกรอกไม่กรอกอันไหนก็ได้ เพราะถ้าเรากรอกไม่ครบ ฝ่ายบุคคลอาจจะมองว่าเราขาดคุณสมบัติในบางข้อ แล้วทำให้เขาหันไปเลือกคู่แข่งคนอื่นที่มีข้อมูลครบได้

ส่วนช่องไหนที่เราไม่มีข้อมูลนั้นจริงๆ ให้กรอกเครื่องหมาย (-) ลงไป ไม่ควรเว้นว่างเอาไว้เช่นกัน

ใส่ข้อมูลการศึกษาและประวัติการทำงานให้ชัดเจน

อีกหนึ่งข้อมูลสำคัญอย่างยิ่งในใบสมัครงาน คือเรื่องของการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน เพราะเป็นรายละเอียดที่บริษัทจะพิจารณาว่าเราเรียนจบมาตรงสายไหม ประสบการณ์ตรงแค่ไหน เพื่อนำมาพิจารณารับเราเข้าทำงาน โดยรายละเอียดการกรอกควรเป็นดังนี้

– เริ่มกรอกจากปัจจุบันก่อน แล้วค่อยย้อนไปยังอดีต

– ระบุปี พ.ศ. ที่เริ่มต้นและสิ้นสุดให้ชัดเจน

– ที่ทำงานล่าสุด หากยังทำงานอยู่ ให้ใส่ ปี พ.ศ. ก่อน แล้วตามด้วย (-ปัจจุบัน)

– ข้อมูลการศึกษา ควรระบุชื่อสถานศึกษา ชื่อคณะ ชื่อวิชาเอก

– ข้อมูลการทำงาน ควรระบุชื่อบริษัท ชื่อตำแหน่ง และหน้าที่การทำงานแบบคร่าวๆ

เด็กจบใหม่ล่ะ กรอกอย่างไรดี

หากเป็นเด็กจบใหม่ ยังไม่มีประสบการณ์การทำงาน ให้เปลี่ยนมาใส่รายละเอียดในการฝึกงาน การอบรม หรือกิจกรรมที่เคยทำสมัยเรียนแทน ในส่วนการอบรมหรือกิจกรรมนั้น ควรใส่เฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่เราสมัครเท่านั้น

ความสามารถพิเศษและทักษะเสริม

หากมีความสามารถพิเศษอื่นใดที่มี สามารถระบุลงไปได้เลย แต่ก็ควรเป็นความสามารถที่ดูเป็นน่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับงานเท่านั้น ส่วนทักษะเสริมก็ใส่ลงไปได้เช่นกัน ส่วนใหญ่ที่ระบุกัน จะเป็นทักษะด้านคอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่างๆ ทักษะภาษาที่ 2 หรือ 3 โดยทักษะเหล่านี้ ให้ระบุเป็นระดับ เช่น ดีมาก ดี ปานกลาง และควรใส่ตามความเป็นจริง

รูปถ่าย

รูปประกอบใบสมัครงาน ควรดูเป็นทางการและดูเรียบร้อย ทั้งในเรื่องของทรงผมและชุด แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เวลาถ่ายรูป เราสามารถอมยิ้มได้นิดๆ ไม่ต้องทำหน้านิ่งเหมือนสมัยก่อนแล้ว เพื่อเพิ่มความเป็นมิตรและดูธรรมชาติมากขึ้น ในส่วนของรายละเอียดที่ควรคำนึง ประกอบด้วย

– พื้นหลังควรเป็นสีฟ้า สีน้ำเงิน หรือสีขาว

–  ขนาดรูปภาพควรเป็น 1 หรือ 2 นิ้ว และควรนำติดไปทั้ง 2 ขนาด

– ควรถ่ายรูปไม่เกิน 3-6 เดือน

กรอกใบสมัครงานเป็นภาษาอังกฤษ

ในยุคนี้บริษัทส่วนใหญ่มักใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร ใบสมัครงานบางที่แทบจะเป็นภาษาอังกฤษล้วนด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นควรฝึกปรือสกิลการกรอกใบสมัครงานเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วย และหากบริษัทไหนที่ใบสมัครงานเป็น 2 ภาษา เราควรเลือกกรอกเป็นภาษาอังกฤษ จะได้ดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น อีกทั้งยังถือเป็นการโชว์สกิลด้านภาษาของเราไปในตัวอีกด้วย

บุคคลอ้างอิง

หากมีการต้องระบุชื่อบุคคลอ้างอิงลงในใบสมัครงาน เราจะต้องแจ้งบุคคลนั้นก่อน ว่าเราจะเอาชื่อของเขาไปใส่ในใบสมัครงาน เพราะบางทีฝ่ายบุคคลอาจมีการโทรไปถาม เพื่อเช็คนิสัย ความประพฤติ และการทำงานในอดีตของเรา โดยเราควรระบุบุคคลอ้างอิงอย่างน้อย 2 คน หรือตามจำนวนที่บริษัทนั้นๆ ทำช่องว่างไว้ในใบสมัครงาน ซึ่งบุคคลที่เราเลือกไม่ควรเป็นพ่อแม่ ญาติพี่น้อง แต่อาจจะหัวหน้าเก่าหรือเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น ในส่วนของรายละเอียดที่ต้องระบุ ได้แก่

– ชื่อ นามสกุล พร้อมคำนำหน้า

– ตำแหน่งงาน

– เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้

เงินเดือน

ในเกือบทุกใบสมัครงานมักมีช่องเงินเดือนที่ต้องการให้เรากรอก โดยเราควรระบุเป็นช่วงเดือน เช่น 25,000-35,000 บาท โดยควรพิจารณากรอกตามความเป็นจริง ห้ามกรอกสูงจนเกินไป หรือไม่เช่นนั้นหากไม่กรอกเป็นตัวเลข อาจกรอกด้วยข้อความอื่นได้ เช่น เงินเดือนตามแต่ตกลง

ข้อมูลติดต่อต้องชัดเจนและครบถ้วน

ปิดท้ายด้วยสิ่งสำคัญที่สุด ที่ห้ามผิดพลาดโดยเด็ดขาด คือเรื่องข้อมูลการติดต่อของเรา ต้องชัดเจนครบถ้วนและห้ามผิดพลาด เพราะจุดนี้แหละที่บริษัทจะใช้ในการติดต่อกลับเรา ในกรณีที่เราได้รับข่าวดีในการเข้าทำงาน ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่ปัจจุบัน เบอร์โทรศัพท์มือถือ หรืออีเมลล์ ควรระบุให้ชัดเจน ถูกต้อง และตรวจทานอย่างละเอียดก่อนส่งใบสมัคร

สรุปวิธีกรอกใบสมัครงานอย่างไรให้ได้งาน

แท้จริงแล้วการกรอกใบสมัครงานอาจดูเป็นเรื่องใกล้ตัวและไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความละเอียดและความรอบคอบเป็นหลัก เพราะมีดีเทลที่ค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นเมื่อกรอกข้อมูลทุกอย่างครบถ้วนแล้ว ควรอ่านซ้ำอีกหนึ่งรอบ เพื่อเช็คความถูกต้อง จะได้ไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น แล้วขั้นตอนต่อไปในการสมัครงานจะได้ราบรื่น ก้าวไปสู่หนทางอาชีพที่สดใสต่อไป

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

สาเหตุที่ออกจากงาน เขียนใบสมัคร

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

นานเท่าไรบริษัทจึงจะติดต่อมาหลังมหกรรมสมัครงานออนไลน์
การสมัครงานแบบ Walk-in ได้ผลดีแค่ไหนในปัจจุบัน
ช่างน่าอาย ตกงานเพราะรูปถ่ายสมัครงาน