แบบทดสอบ เรื่อง ความมีวินัยในตนเอง พร้อม เฉลย

คำสั่ง  ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท(x)ทับข้อที่ถูกที่สุดพียงข้อเดียว
1.ภายในโรงเรียนประกอบด้วยใครบ้าง.
ก.  ครู  นักเรียน ข.  ผู้อนวยกาโรงเรียน  ครูฝ่่่ายบริหาร  ครูฝ่ายสนับนุนการสอน
ค.  คนงาน ภารโรง  พ่อบ้าน  แม่บ้าน  แม่ค้าขายอาหารในโรงอาหาร
ง.   ถุกทุกข้อ   เฉลยข้อ  ง
2.ครูมีหน้าที่่เป็นผู้ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนปฏิบัตนเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน
ในเรื่องใดบ้าง.
ก.  คุณธรรม  จริยธรรม   ข.  ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย
ค.  การเป็นประชาธิปไตย    ง.  ถูกทุกข้อ    เฉลยข้อ  ง
3.การเป็นนักเรียนที่ดีไม่ได้หมายถึงการเป็นนักเรียนที่เรียนเก่งเพียงอย่างเดียว
แต่รวมถึงการเป็นคนดี คำว่าคนดีหมายถึงข้อใดบ้าง.
ก.  มีคุณธรรม ข.  ยึดมั่นในคุณงามความดี ค.  เป็นคนดีของสังคม
ปฏิบัติตามวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมไทย  ง.  ถูกทุกข้อ
4.ข้อใดคือคุณสมบัติพื้นฐานของนักเรียนที่ดี.
ก.  ขยัน  ประหยัด  ซื่อสัตย์   ข.  มีวินัย  สุภาพ ค.  สะอาด สามัคคีมี น้ำใจ  ง.ถูกทุกข้อ
5.นักเรียนคนใดมีน้ำใจ.
ก.  นางสาววราพร  มูสารอยากซื้อโทรศัพท์แต่ก่อนจะซื้อคิดถึงความจำเป็น
ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอใช้สิ่งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า
ข.  นางสาวสุภาพร  สีใสคำเป็นคนเรียบร้อย อ่อนโยน มีกิริยามารยาทงาม
มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ก้าวร้าว ไม่วางอำนาจข่มขู่ผู้อื่น
ค.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความพร้อมเพรียง ความกลมเกลียว
ความปรองดองและร่วมใจกันในการเป็นแกนนำในการจัดกีฬาสีภายใน
ง.  นายอุเทน  โรมรันต์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ให้ความสนใจในความต้องการ
ความจำเป็นความทุกข์สุขของเพื่อนในห้องทุกคนและะพร้อมจะให้ความช่วยเหลือ
6.นักเรียนที่ดีจะต้องมีทั้งคุณสมบัติพื้นฐานและคุณสมบัติเฉพาะคุณสมบัติเฉพาะ
หมายถึงข้อใด.
ก.   ความอดทน  ความรับผิดชอบ  ข.  ความเสียสละ  ความละอายและเกรงกลัวการทำบาป
ค.   การยึดมั่นในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุข
ง.   ถูกทุกข้อ
7.ข้อใดคือหน้าที่ของนักเรียนที่มีต่อครู- อาจารย์.
ก.  มีสัมมาคารวะต่อครูอาจรย์ทั้งกายวาจาใจโดยการทำความเคารพครูเมื่อพบเห็น
ข.   เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสังสอนอบรมของครุทั้งในห้องเรียนและนอห้องเรียน
ค  กตัญญกตเวทีต่อครู อาจารย์ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเคารพและปฏิบัติ
ตามกฏระเบียบของโรงเรียน  ช่วยเหลืองานครูตามโอกาสและความสามารถของตนอง
ง.  ถูกทุกข้อ
8.ข้อใคือหน้าที่ของนักเรียนที่มีต่อเพื่อนนักรียน.
ก.  รักใคร่ปองปรองกัน  ข.  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน  ค.   ส่เสริมเพื่อนในทางที่ถุกที่ควร
ง.  ถูกทุกข้อ
9.ข้อใดคือหน้าทีของนักเรียนที่มีต่อโรงเรียน.
ก.  รับผิดชอบงานในหน้าที่  ร่วมกิจรรมส่งเสริมหลักสูตร
ข.   การเข้าร่วมกิจกรรมที่ัจัดในโรงเรียน  เสียสละทรัพย์สินเพือส่วนรวม
ค.  อาสาสมัครเป็นตัวแทนของนักเรียน  บำรุงรักษาโรงเรียน เคารพปฏิบัติตามกฏ
 ข้อบังคับ  และประเพณีของโรงเรียน
ง.  ถูกทุกข้อ
10.ประโยชน์ของการปฏิบัติตามหน้าที่และบทบาทในฐานะสมาชิกของโรงเรียน.
ก.  เกิดความรักความสามัคคีในโรงเรียน
ข.  ทำให้โรงเรียนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความภาคภุมิใจในตนเอง
ค.  ทำให้โรงเรียนมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง เกิดความเป็นมนุษย์ที่สมบรณ์
ง.  ถูกทุกข้อ
คำศัพท์ประจำหน่วย
1.ขนบธรรมเนียม   ขะ-หนบ-ทำ–เนียม   หมายถึง  แบบอย่างทีปฏิบัติกันมา
2.บรรทัดฐาน   บัน-ทัด–ถาน   หมายถึง   แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ
3.เสมอภาค    สะ – เหมอ – พาก หมายถึง  มีส่วนเท่่ากัน   เท่าเทียมกัน
คำศัพท์น่ารู้
1.democracy  ดิมมอค   คระซี แแปลว่าประชาธิปไตย
2.resqonsibility  ริสสพอนซะบิล ละที  แปลว่าความรับผิดชอบ
3.sacrifice  แซค  ระไฟซุ   แปลว่า  การเสียสละ
หลักธรรมในการผูกมิตร
1.ทาน    คือ  การให้
2.ปิยวาจา  คือ  การพูดจาไพเราะอ่อนหวานไม่พูุดนินทาให้ร้ายผู้อื่น
3.อัตถจริยา   คือ   การทำตนให้เป็นประโยชน์
4.สมานัตตา  คือ   การทำตนเสมอต้นเสมอปลาย

Posted on ตุลาคม 27, 2013, in Uncategorized. Bookmark the permalink. ใส่ความเห็น.

ความรู้

แบบทดสอบ การสร้างวินัยให้ตนเอง ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา

แบบทดสอบ เรื่อง ความมีวินัยในตนเอง พร้อม เฉลย

แบบทดสอบ การสร้างวินัยให้ตนเอง ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา

วันนี้ KP ได้นำแบบทดสอบออนไลน์มาฝากครับ แบบทดสอบที่กล่าวถึงนั้นก็คือ แบบทดสอบ การสร้างวินัยให้ตนเอง ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งแบบทดสอบที่ KP นำมาฝากนี้ข้อสอบมีจำนวน 20 ข้อ เป็นแบบเลือกตอบชนิด 2 และ 4 ตัวเลือก หากท่านทำการทดสอบผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ขึ้นไป  ถึงจะได้รับใบเกียรติบัตรสวยๆ ฟรีๆ โดยเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ครับ

ก่อนอื่น KP จะพูดถึงขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนที่จะทำ แบบทดสอบ การสร้างวินัยให้ตนเอง ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ในขั้นตอนแรกให้ทุกท่านเข้าไปดูโจทย์ของแบบทดสอบก่อนว่าแบบทดสอบนั้นต้องการให้เราศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอะไร เมื่อเรารู้แล้วว่าโจทย์ต้องการให้เราศึกษาในเรื่องใด เราก็ไปค้นคว้าหาคำตอบโดยใช้วิธีการศึกษาที่หลากหลายตามที่เราถนัด เช่น ศึกษาจากเอกสาร ตำรา หนังสือเรียนที่มีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ค้นคว้าจากเว็บไซต์ที่มีข้อมูลและเชื่อถือได้ เป็นต้น โดยคนส่วนมากจะค้นหาในเว็บไซต์เป็นส่วนใหญ่เพราะสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการค้นคว้า เมื่อเราค้นคว้าและศึกษาข้อมูลมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการทำแบบทดสอบถ้าข้อไหนที่เรายังไม่มั่นใจให้กลับไปศึกษาข้อมูลมาใหม่แล้วค่อยมาทำแบบทดสอบออนไลน์ต่อก็ได้ เนื่องจากแบบทดสอบไม่ได้จำกัดเวลาในการทำครับ และนี่ก็คือแนวทางในการทำแบบทดสอบออนไลน์ ที่ KP ได้คะแนนเต็มในทุกๆครั้งที่ทำแบบทดสอบไม่ว่าจะแบบทดสอบไหนก็ได้คะแนนเต็มอยู่ตลอด นี่ก็คือข้อดีของการศึกษาค้นคว้ามาก่อน และในการทำแบบทดสอบนี้ยังเป็นผลดีต่อเราในทางอ้อมได้ด้วย หลายท่านยังสงสัยว่ามีผลดีอย่างไร ผลดีก็คือเราได้ศึกษาและได้รับความรู้จากการค้นคว้าหาคำตอบในการทำแบบทดสอบนี้เองครับ

แบบทดสอบ การสร้างวินัยให้ตนเอง ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา จัดทำขึ้น เพื่อให้ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ได้ความรู้เรื่องการสร้างวินัยให้ตนเอง ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ในแบบทดสอบนี้จะทำให้เรารู้ความสำคัญของวินัยในตนเอง ซึ่งคำว่าวินัย คือ ความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองให้เป็นไปตามที่ตนมุ่งหวัง โดยเกิดจากการสำนึกขึ้นมาเอง ก่อให้เกิดความเจริญต่อตนเองและผู้อื่นโดยไม่ขัดต่อระเบียบของสังคมและศีลธรรม มีความตั้งใจ และมั่นใจในพฤติกรรมที่แสดงออกมาว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อตนเองและสังคม ซึ่งในทางหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน คือ ต้องประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบ ในศีลธรรม ไม่ผิดต่อจารีตประเพณี และทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง คนรอบข้างและสังคมด้วย

ซึ่งในส่วนของข้อมูลหรือเนื้อหาที่ละเอียดกว่านี้ทุกท่านสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ตามวิธีที่ KP ได้แนะนำไว้ในข้างต้น KP หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านที่ได้เข้ามาอ่านบทความและทำแบบทดสอบนี้จะได้รับความรู้อย่างมากมายจากที่ได้ศึกษาความรู้ด้วยตนเองและได้เกียรติบัตรเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการทำผลงานต่างๆ และสามารถนำความรู้ที่ได้เหล่านี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันหรือในโอกาสอื่นๆได้

ความคิดเห็น

แบบทดสอบ เรื่อง ความมีวินัยในตนเอง พร้อม เฉลย

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์