สาธารณสุข สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม เงินเดือน

  • 6. สาธารณสุข

สาธารณสุข สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม เงินเดือน

 

6. สาธารณสุข

อาชีพสาธารณสุข

สาธารณสุข สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม เงินเดือน

                สาธารณสุขศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการดูแลและจัดการสุขภาพทั้งปวงของชุมชนโดยอิงตามการวิเคราะห์ด้านสุขภาพของประชากร เป้าหมายคือสภาพของการมีชีวิตทางกายภาพ ทางจิตใจ และทางสังคมที่สมบูรณ์ ไม่ใช่เพียงไม่มีโรคภัยหรือความแข็งแรงทางกายเท่านั้น

1. แนวทางในการประกอบอาชีพ

                ปฏิบัติงานได้ในกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ภาคเอกชน ในสถานบริการสาธารณสุข โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และเอก
                คณะสาธารณสุขศาสตร์มุ่งศึกษา ค้นคว้า วิจัย การบริการด้านสาธารณสุข โดยศึกษาทางด้านการป้องกันโรค การควบคุมโรค และการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนทั่วไป บัณฑิตที่จบการศึกษาทางด้านนี้จะมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุข สามารถประยุกต์ความรู้เพื่อพัฒนางานสาธารณสุข ให้เกิดการป้องกัน การสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยแก่ประชาชนและสังคม

2. สาขาที่เปิดสอน
                สาขาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม
                สาขาวิทยาศาสตร์สุขาภิบาล
                สาขาการบริหารโรงพยาบาล
                สาขาสุขศึกษา
                สาขาโภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร
                สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อสุขภาพ
                สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
                สาขาอนามัยชุมชน
                สาขาสร้างเสริมสุขภาพ

3. คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

                จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) สายวิทยาศาสตร์ และมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

4. แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ

                บัณฑิตที่จบการศึกษาทางด้านสาธารณสุขศาสตร์สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน เป็นนักวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อม นักวิชาการสุขาภิบาล นักวิชาการสาธารณสุข การควบคุมโรคต่างๆ นักวิชาการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย นักวิชาการสุขศึกษา นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกันนี้ในบริษัทเอกชนต่างๆ ในฐานะนักวิชาการสิ่งแวดล้อม นักสุขาภิบาล หรือปฏิบัติงานในศูนย์ค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์ เป็นอาจารย์ หรือครูสอนในสถาบันการศึกษาต่างๆ และยังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศได้อีกด้วย

5. สถาบันที่เปิดสอน

                มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
                มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                มหาวิทยาลัยนเรศวร
                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                มหาวิทยาลัยมหิดล
                มหาวิทยาลัยบูรพา
                มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
                มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
                มหาวิทยาลัยทักษิณ
                มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
                มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
                มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


6. แผนการเรียนหรือวิชาที่ต้องเรียนในคณะสาธารณสุข
วิชาเอกทั้งปี1-2มี15วิชา
               
1.กายวิภาคและสรีรวิทยามนุษย์
               
2.การสาธารณสุขเบื้องต้น
               
3.จุลชีววิทยาสาธารณสุข
               
4.ปรสิตวิทยาสาธารณสุข
               
5.ชีวเคมีสาธารณสุข
               
6.ชีวสถิติสาธารณสุข
               
7.พฤติกรรมสุขภาพและการสุขศึกษา
               
8.เพศศึกษาและอนามัยครอบครัว
               
9.โภชนาศาสตร์
               
10.สารเสพติดและสุขภาพจิตชุมชน
               
11.การพัฒนาสุขภาพชุมชน
               
12.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
               
13.โรคติดต่อและไม่ติดต่อ
               
14.ระบาดวิทยา
               
15.ภูมิคุ้มกันวิทยาและการสร้างภูมิคุ้มกัน
วิชาแกน

                1.ชีววิทยา
               
2.ปฏิบัติการชีววิทยา
               
3.เคมี
               
4.ปฏิบัติการเคมี
               
5.ฟิสิกส์
               
6.ปฏิบัติการฟิสิกส์
               
7.แคลคูลัส
               
ปัจจุบันนี้คณะสาธารณสุขศาสตร์ ประกอบด้วย
13ภาควิชาคือ ภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีวสถิติ ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข ภาควิชาปรสิตวิทยา ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข ภาควิชาโภชนวิทยา ภาควิชาระบาดวิทยา ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล ภาควิชาอนามัยครอบครัว ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสถานฝึกอบรมและวิจัยอนามัยชนบท
คณะสาธารณสุขศาสตร์มี
3 หมวดสาขาวิชาที่จะเน้นหนักได้
                1. อนามัยสิ่งแวดล้อม
                2. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
                3. การส่งเสริมสุขภาพ
1.
อนามัยสิ่งแวดล้อม
                สาขากลุ่มวิชานี้จะเน้นให้ความชำนาญในเรื่องการตรวจสอบเฝ้าระวัง การวัดผลและระดับของมลพิษ โดยใช้อุปกรณ์ทันสมัยชนิดต่าง ๆ และการดูแลรักษาสุขอนามัย และความปลอดภัยในที่อยู่อาศัย และสถานที่ทำงาน นักศึกษาจะได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถหลักในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหาร จัดการมลพิษ นอกจากจะได้รับการฝึกอบรมในห้องเรียนภาคทฤษฏีแล้ว ยังมีโอกาสเรียนถึงการแก้ปัญหาในสภาพความเป็นจริง โดยผ่านกรณีศึกษาต่าง ๆ การร่วมการสัมมนา ตลอดจนการออกฝึกงาน อันนี้จะคล้าย นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมอนามัยสิ่งแวดล้อมทำงานเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษตามโรงงานหรือโรงพยาบาล โรงแรมใหญ่ๆก็ได้

2.
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
                กลุ่มสาขาวิชานี้จะเน้นหนักในการให้ความรู้นักศึกษาที่จะสำเร็จออกไปเพื่อไปจัดระบบให้เกิดสุขอนามัยและความปลอดภัยให้กับพนักงานในโรงงานหรือบริษัท ตลอดจนในชุมชนข้างเคียง นักศึกษาจะถูกฝึกให้สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจได้ถูกต้องในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติเรื่องสุขอนามัย ความปลอดภัย และการรักษาสิ่งแวดล้อมตลอดจนระเบียบข้อบังคับอื่น ๆ ของทางราชการ นักศึกษาจะได้มีโอกาสเรียนรู้จากตัวอย่างจริงจากการร่วมสัมมนาตลอดจนการออกฝึกงานภาคสนามอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทำงานในโรงงานเหมือนกันแต่จะคล้ายกับว่าดูแลพนักงานในโรงงานใครเจ็บป่วยสาขานี้จะได้เรียนจิตวิทยาเบื้องต้น และก็การรักษาเบื้องต้นด้วย

3.
สาขาส่งเสริมสุขภาพ
                กลุ่มวิชาสาขาส่งเสริมสุขภาพจะเน้นศึกษาเกี่ยวกับวิธีพิจารณาปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขพลานามัย แล้วช่วยพัฒนาเกื้อกูลและส่งเสริมโครงการส่งเสริมสุขภาพต่าง ๆ เพื่อทำให้สุขอนามัยของคนทำงาน นักเรียน และคนในชุมชนมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น นักศึกษาจะถูกฝึกให้พัฒนาความชำนาญในการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมสุขภาพในองค์กรเอกชน ในโรงเรียน และในชุมชน นักศึกษาจะได้มีโอกาสได้เรียนรู้จากตัวอย่างที่เป็นจริง จากการร่วมสัมมนาและจากการออกฝึกงานภาคสนาม
                ทั้ง
3 สาขา 2 ปีแรกจะเรียนเหมือนกันหมด พอขึ้น ปี 3 จะเรียนแยกของแต่ละสาขา โดยปี1-2จะต้องเรียน ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เรียนเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ด้วย และวิชาที่ถือว่ายากก็เช่น biochem


7. อาชีพที่สามารถเข้าทำงานได้หลังจากเรียนจบ

จำแนกได้
4 ประเภทคือ
                1.นักสุขาภิบาล เกี่ยวกับงานสุขาภิบาล และสิ่งแวดล้อม
                2.เจ้าหน้าที่สุขศึกษาสาธารณสุข เกี่ยวข้องกับงานด้านสุขศึกษา
                3.เจ้าหน้าที่โภชนาการสาธารณสุข เกี่ยวกับงานด้านโภชนาวิทยา
                4.
นักวิทยาศาสตร์อาชีวอนามัย เกี่ยวกับงานด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย
                การศึกษาเน้นการป้องกันโรค การควบคุมโรค และส่งเสริมสุขภาพ วิชาที่ศึกษาจะมีหมวดวิชาที่สำคัญ ๆ คือ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการสาธารณสุข และมีสาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย โภชนาวิยา สุขศึกษา อาหารและโภชนาการ และสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต

8. เงินเดือนหรือค่าจ้างในการทำงาน

               
1.ตำแหน่งประเภทบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ระดับย่อยภายใน โดยขั้นสูงได้รับเงินเดือน 61,860-63,920 บาท เงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท ขั้นต่ำได้รับเงินเดือน 46,820-51,620 บาท เงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท
               
2.ตำแหน่งประเภทอำนวยการ แบ่งออกเป็น 2 ระดับย่อย โดยขั้นสูงได้รับเงินเดือน 48,600-57,470 บาท เงินประจำตำแหน่ง 10,000 บาท ขั้นต่ำได้รับเงินเดือน 22,330-27,450 บาท เงินประจำตำแหน่ง 5,600 บาท
               
3.ตำแหน่งประเภทวิชาการ แบ่งออกเป็น 5 ระดับย่อย ได้แก่
                               
3.1 ระดับปฏิบัติการขั้นสูงได้รับเงินเดือน 21,360 บาท ขั้นต่ำได้รับเงินเดือน 9,320 บาท
                               
3.2 ระดับชำนาญการขั้นสูงได้รับเงินเดือน 34,630 บาท ขั้นต่ำได้รับเงินเดือน 13,770 บาท พร้อมเงินประจำตำแหน่ง 3,500 บาท
                               
3.3 ระดับชำนาญการพิเศษขั้นสูงได้รับเงินเดือน 47,100 บาท ขั้นต่ำได้รับเงินเดือน 20,260 บาท พร้อมเงินประจำตำแหน่ง 5,600 บาท 3.4 ระดับเชี่ยวชาญขั้นสูงได้รับเงินเดือน 57,470 บาท ขั้นต่ำได้รับเงินเดือน 24,860 บาท พร้อมเงินประจำตำแหน่ง 9,900 บาท
                               
3.5 ระดับทรงคุณวุฒิได้รับเงินเดือน 61,860 บาท และเงินประจำตำแหน่ง 13,000 บาท ขั้นต่ำได้รับเงินเดือน 28,980 บาท และเงินประจำตำแหน่ง 15,600 บาท
               
4.ตำแหน่งประเภททั่วไป แบ่งออกเป็น 4 ระดับย่อย ได้แก่
                               
4.1 ระดับปฏิบัติการขั้นสูงได้รับเงินเดือน 17,490 บาท ขั้นต่ำได้รับเงินเดือน 5,460 บาท
                               
4.2 ระดับชำนาญการขั้นสูงได้รับเงินเดือน 26,440 บาท ขั้นต่ำได้รับเงินเดือน 8,000 บาท
                               
4.3 ระดับอาวุโสขั้นสูงได้รับเงินเดือน 39,640 บาท ขั้นต่ำได้รับเงินเดือน 12,730 บาท

                               
4.4 ระดับทักษะพิเศษขั้นสูงได้รับเงินเดือน 57,470 บาท ขั้นต่ำได้รับเงินเดือน 16,490 บาท
               
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คู่คุณธรรม เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่แข็งแกร่ง เป็น ศูนย์กลางวิชาการ วิจัย บริการวิชาการ บริหารทรัพยากร และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุขแนวใหม่อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งส่งเสริมประยุกต์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการดำเนินชีวิต

9. การออกใบประกอบวิชาชีพสาธารณสุข

               
1.สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่งตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยมาตรฐานการประกอบวิชาชีพสาธารณสุข
               
2.คณะอนุกรรมการฯ จัดทำหลักสูตรมาตรฐานการประกอบวิชาชีพสาธารณสุข
               
3.สมาชิกฯ เข้ารับการอบรมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพสาธารณสุข

               
4.ทดสอบความรู้และทักษะการประกอบวิชาชีพสาธารณสุข
               
5.ใบประกอบวิชาชีพสาธารณสุข

วิดีโอ YouTube