ปัญหา บรรจุ ภัณฑ์ กับ สิ่งแวดล้อม

จากปัญหาขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ประเภทแก้วกระดาษแก้วพลาสติก และกล่องอาหารพร้อมทานที่ซื้อจากร้านสะดวกซื้อ ร้านขายกาแฟ และเครื่องดื่มต่างๆ ถึงแม้บรรจุภัณฑ์บางชนิดจะสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้แต่ก็ต้องใช้เวลานาน ทำให้เกิดการกำจัดขยะอย่างผิดวิธีโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท เช่น การเผาทำให้กลายเป็นปัญหามลภาวะเป็นพิษ

เมื่อขยะประเภทแก้วกระดาษ ถ้วยกระดาษกล่องกระดาษ ขวดแก้ว กระป๋องโลหะ ขวดพลาสติก รวมถึงเศษกระดาษจากบรรจุภัณฑ์ต่างๆ กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การรวบรวมหรือกำจัดขยะอย่างถูกวิธีมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันหาแนวทางในการลดปัญหาขยะเหล่านี้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น

10 วิธีช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแบบง่ายๆ

1.ใช้กระดาษทั้งสองด้านก่อนจะทิ้ง : กระบวนการผลิตกระดาษมีส่วนที่ทำให้เกิดการตัดต้นไม้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องแน่ใจว่ากระดาษแต่ละแผ่นได้ถูกใช้อย่างคุ้มค่า
ที่สุดแล้ว เพราะหากเราละเลยเรื่องนี้ไป การตัดต้นไม้เพื่อทำกระดาษก็จะต้องมีเพิ่มมากขึ้น รักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม

2.ใช้หนังสือพิมพ์รองพื้นกันเลอะ หรือเช็ดกระจกได้ : หนังสือพิมพ์มีสารพัดประโยชน์ ก่อนจะทิ้งลองเอามาใช้รองพื้นเพื่อกันเลอะเวลาที่เราทำงานต่างๆ หรือนำมาเช็ดกระจก ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ไม่น้อยเลย

3.รีไซเคิลขวดน้ำพลาสติก : ขวดน้ำพลาสติกที่ดื่มในแต่ละวัน นอกจากจะใช้บรรจุน้ำดื่มแล้ว ขวดเปล่าที่ไม่มีน้ำยังสามารถนำมาประดิษฐ์กระถางต้นไม้น่ารักๆ นอกจากนี้หากมีขวดน้ำที่ใช้แล้วเป็นจำนวนมากยังสามารถรวบรวมมาจำหน่ายให้กับบริษัทที่รับซื้อขวดพลาสติกนำไปรีไซเคิลได้อีกด้วย

4.ขยะสดแปรรูปเป็นปุ๋ยได้ : ขยะเหลือใช้ในแต่ละวันที่หลายๆ คน ไม่เห็นคุณค่า อย่างเปลือกส้มสามารถนำมาผสมกับน้ำตาลทรายเพื่อทำน้ำเอนไซม์ ช่วยให้ต้นไม้งอกงามดีทีเดียว

5.แยกขยะก่อนทิ้ง : ข้อดีของการแยกขยะก่อนทิ้งจะช่วยลดขยะที่จะต้องนำไปกำจัดน้อยลง เพราะขยะบางอย่างเช่น ขวดแก้ว กระดาษ หรือพลาสติก จะถูกนำกลับไปรีไซเคิลถือเป็นการช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง

6.ปลูกต้นไม้ต้นเล็กๆ : การปลูกต้นไม้นอกจากจะเป็นการสร้างบรรยากาศให้สดชื่นแล้ว ยังช่วยฟอกอากาศเพราะต้นไม้จะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในการสังเคราะห์แสง ต้นไม้ ยิ่งปลูกเยอะ ยิ่งช่วยให้อากาศสะอาด

7.หัดพกกระติกน้ำให้เป็นนิสัย ใช้แทนแก้วน้ำพลาสติก : การพกกระติกน้ำให้เป็นนิสัยไม่ได้ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยฝึกให้เราเป็นคนดื่มน้ำบ่อยๆ ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย ส่งผลให้ผิวพรรณเต่งตึงดูสุขภาพดี

8.ไม่รับถุงพลาสติก : อีกหนึ่งวิธีรักษาสิ่งแวดล้อมง่ายๆ ก็คือการเลือกใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติกห้างสรรพสินค้าบางที่ก็มีการรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติกด้วยการเพิ่มคะแนนสะสมให้ลูกค้า

9.หลีกเลี่ยงการใช้โฟม : โฟม นอกจากจะย่อยสลายยากแล้วเมื่อนำมาใช้บรรจุอาหารร้อนยังมีสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งอีกด้วย

นักวิเคราะห์ชี้อุตสาหกรรมพลาสติกและบรรจุภัณฑ์เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในทวีปเอเชีย จากความต้องการของกลุ่มคนชั้นกลาง แต่ขณะเดียวกันอาจนำมาซึ่งปัญหามลพิษในแหล่งน้ำและมหาสมุทรในภูมิภาคด้วย

นักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมของนิวซีแลนด์ แอนนา ดอว์สัน ปั่นจักรยานเป็นระยะทาง 2 พันกิโลเมตร เพื่อเก็บขยะพลาสติกรอบชายหาดฟิลิปปินส์เมื่อปีที่แล้ว เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้พลาสติกให้ได้มากขึ้น รวมทั้งกดดันภาครัฐบาลให้ลดการผลิตพลาสติกออกสู่ตลาด

คุณแอนนา บอกว่า ธุรกิจอาหารมีการใช้พลาสติกมากที่สุด ซึ่งควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ นั่นคือ การปรับพฤติกรรมการบริโภคสินค้าให้เน้นของสดใหม่ มากกว่าการซื้อของจากซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติกเป็นจำนวนมาก

ปัญหา บรรจุ ภัณฑ์ กับ สิ่งแวดล้อม

FILE - A plastic bottle lies among other debris washed ashore on an Indian Ocean beach in Uswetakeiyawa, north of Colombo, Sri Lanka, Aug. 13, 2015.

ปัญหานี้เกิดขึ้นกับหลายประเทศในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร ANZ ของออสเตรเลีย ระบุว่า อุตสาหกรรมพลาสติกและบรรจุภัณฑ์เติบโตขึ้นต่อเนื่อง โดยในทวีปเอเชียตลอด 60 ปีที่ผ่านมา มีประเทศจีนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในตลาดโลก คิดเป็นสัดส่วน 20 เปอร์เซนต์ และอีก 20 เปอร์เซนต์ก็เป็นผู้ผลิตจากกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดนั้นมาจากความต้องการพลาสติกทั่วโลก ที่เพิ่มขึ้นราว 3 เท่าตัว ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่มีประชากรเพิ่มขึ้น และการขยายตัวของเมือง ขณะเดียวกันตลาดผลิตสำคัญก็กระจุกตัวอยู่ในภูมิภาคนี้ โดยอุตสาหกรรมพลาสติกในเวียดนามขยายตัวถึง 18 เปอร์เซนต์ ในการผลิตและส่งออกถุงพลาสติก

สำหรับใน 10 ชาติอาเซียน ไทยครองแชมป์การใช้พลาสติกสูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยปริมาณการใช้พลาสติกต่อคนมากถึง 40 กิโลกรัมต่อปี รองลงมาคือมาเลเซีย ที่ 35 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และอินโดนีเซีย เฉลี่ย 17 กิโลกรัมต่อคนต่อปี

ปัญหา บรรจุ ภัณฑ์ กับ สิ่งแวดล้อม

FILE - A man pulls a trolley filled with used plastic bottles on a street in Bangkok, Thailand.

​การเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ตามมาด้วยผลกระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อข้อมูลจากวารสาร Nature Communications พบว่า มีพลาสติก 1 ล้าน 1 แสน 5 หมื่น ถึง 2 ล้าน 4 แสน 1 หมื่นเมตริกตัน ที่ถูกปล่อยสู่แหล่งน้ำทุกปี

ที่น่ากังวลกว่านั้นคือ 20 อันดับแรกของแหล่งน้ำที่พบขยะพลาสติกมากที่สุด กระจุกตัวอยู่ในเอเชีย โดยที่เลวร้ายที่สุด คือ แม่น้ำแยงซีของจีน พบขยะพลาสติกมากถึง 3 แสน 3 หมื่นตันที่จะไหลลงสู่ทะเลจีนตะวันออก

ขณะที่ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ก็ตามมาเป็นลูกโซ่ เพราะจะมีพลาสติก 8 ล้านตันที่ถูกทิ้งลงทะเลไปทุกปีนั้น ส่งผลให้นกทะเลประมาณ 1 ล้านตัว รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและปลากว่า 1 แสนตัวต้องตายทุกปี

ที่ผ่านมา หลายประเทศให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาขยะพลาสติก อย่างประเทศไทยที่มีอัตราการใช้พลาสติกมากเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน วางกลยุทธ์ 20 ปีในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในกรุงเทพมหานคร

ปัญหา บรรจุ ภัณฑ์ กับ สิ่งแวดล้อม

FILE - Workers load collected plastic bottles on to a truck at a junk shop in Manila, March 10, 2015. The Philippines placed third among the list of countries with the most ocean plastic pollution per year.

แต่นักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม อย่างคุณธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีซประจำประเทศไทย มองว่า รัฐบาลควรพุ่งเป้าไปที่การบริหารจัดการขยะพลาสติกที่เป็นรูปธรรมและมีเป้าหมายชัดเจนมากกว่านี้

เช่นเดียวกับ คุณเพ็ญชม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะเวศ บอกว่า นี่คือความท้าทายสำคัญของคนไทย ที่คุ้นเคยกับการใช้พลาสติกในทุกรูปแบบการใช้ชีวิต ทั้งการบรรจุอาหาร และบรรจุของใช้ในชีวิตประจำวัน ยิ่งทำให้การลดปริมาณการใช้ในทางปฏิบัติทำได้ยาก

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติ หรือ UN ประกาศสงครามกับมลพิษจากพลาสติก ด้วยการออกแคมเปญลดปริมาณขยะพลาสติกที่ใช้เพียงครั้งเดียวในแหล่งน้ำทั่วโลกให้ได้ภายในปี 2022