การนำ เสนอ ผลงาน ชิ้นงาน ในรูป แบบ ต่างๆ

นางสาลิตา   ศรีแสงอ่อน
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

เนื้อหาโดยสรุป

การนำเสนอเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนแก่ผู้ฟังโดยการพูดประกอบสื่อในระยะเวลาสั้น ๆ องค์ประกอบของการนำเสนอประกอบด้วย ผู้นำเสนอ (Presenter) เนื้อหา (Content) ผู้ฟัง (Audlence) ผู้นำเสนอจะต้องมีบุคลิกภาพ ความเชื่อมั่น ประสบการณ์ การเตรียมตัว ความรู้ ความสามารถ สไตล์การนำเสนอ  เนื้อหาการสำเสนอ จะต้องประกอบด้วย วัตถุประสงค์ รูปแบบ ขั้นตอน ความยากง่าย ความน่าสนใจ สื่อประกอบ โสตทัศนูปกรณ์ ผู้ฟัง (Audlence) จะต้องมีความสนใจ ความรู้ ความเข้าใจ ความเกี่ยวข้อง ทัศนคติ การยอมรับ การเรียนรู้

การนำเสนอที่ดี จะต้องเรียนรู้จากข้อเท็จจริง เรียนรู้จากจำนวนตัวเลข เรียนรู้จากรูปภาพและวีดีโอ เรียนรู้จากคำอธิบาย เรียนรู้จากการแสดงการสาธิต เรียนรู้จากตัวอย่างหรือแบบจำลอง เรียนรู้จากการอภิปรายซักถาม เรียนรู้จากการวิเคราะห์ด้วยตนเอง

ขั้นตอนแบบรายงานข้อมูล (Information Format) ประกอบด้วย

1. กำหนดหัวข้อการนำเสนอ 2. กล่าวความเป็นมา 3. เนื้อหาที่จะนำเสนอ (Outline) 4. นำเสนอข้อมูล  5. ลำดับเหตุการณ์  6.  ยกตัวอย่างประกอบ  7.  สร้างความเข้าใจแบบง่าย ๆ  8. ใช้โสตทัศนูปกรณ์ประกอบ 9. สรุปสาระสำคัญ

สื่อประกอบการนำเสนอ ได้แก่ แผ่นใส สไลด์ วีดีโอเทป ภาพยนตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์คู่มือ-เอกสารประกอบ โปสเตอร์ แผ่นพับ หุ่นจำลอง ตัวอย่างของจริง

โสตทัศนูปกรณ์ ประกอบด้วย โปรเจคเตอร์ (PROJECTOR) เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายวีดีโอเทป  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องคอมพิวเตอร์ & LCD Projector   กระดานขาว (WHITE BOARD) ฟลิปชาร์ท (FLIP CHART)  เครื่องเสียง

ข้อแนะนำในการใช้ Power Point Presentation

ไม่ควรใช้จำนวน Slide มากเกินไป ระมัดระวังการใช้ Animation ให้เหมาะสม   ใช้ภาพประกอบหรือ Clip Arts สร้างความน่าสนใจ  ไม่ใส่เนื้อหาแน่นเกินไป ซ่อนบาง Slide ไว้ เพื่อใช้ประกอบเมื่อจำเป็น Slide Show ให้เต็มจอ กด “B” ทำ

ขั้นตอนการเตรียมการนำเสนอ

  1. กำหนดวัตถุประสงค์
  2. วิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์
  3. กำหนดรูปแบบ (FORMAT)
  4. รวบรวมข้อมูลและหลักฐานอ้างอิง
  5. วางโครงการนำเสนอ
  6. เรียบเรียงเนื้อหา
  7. จัดทำสื่อประกอบการนำเสนอ
  8. เตรียมบท (SCRIPTS)
  9. ตรวจสอบโสตทัศนูปกรณ์
  10. ซักซ้อมให้จอมืด หรือ “W” ทำให้จอสว่าง

ขั้นตอนการนำเสนอ

  1. ปรากฏตัวบนเวที
  2. ตรวจสอบความเรียบร้อย
  3. ทักทายและเกริ่นนำ
  4. นำเสนอ
  5. เปิดโอกาสให้ซักถาม
  6. สรุปและจบการนำเสนอ

การเริ่มต้นนำเสนอทางธุรกิจมีหลายรูปแบบแล้วแต่ความเหมาะสม

  1. เริ่มต้นโดยเกริ่นนำถึงผลประโยชน์ (Benefits Approach)
  2. เริ่มต้นโดยการพูดถึงปัญหาและทางแก้(Problems & Solutions)
  3. เริ่มต้นโดยกระตุ้นความอยากรู้ (Curiosity Stimulating)
  4. เริ่มต้นโดยกล่าวถึงข้อมูลสำคัญ (Information Giving)
  5. เริ่มต้นโดยการสาธิตที่น่าสนใจ (Dramatic Demonstration)

เนื้อหาการนำเสนอที่น่าสนใจ  จะต้อง เห็นภาพ (Visualization) น่าสนใจ  ใกล้ตัว  เป็นไปได้  แปลกใหม่ มองเห็นประโยชน์   สร้างอารมณ์ร่วม   มีหลักฐาน ตัวอย่าง   ข้อมูลชัดเจน

การจบการนำเสนอ (Closing for Business Presentation)

  1. สรุปเนื้อหาสำคัญ
  2. เน้นยํ้าประโยชน์ที่จะได้รับ
  3. กระตุ้นการตัดสินใจ
  4. สร้างความมั่นใจในการแก้ปัญหา
  5. กล่าวถึงขั้นต่อไป (Next Steps)

ประเภทคำถาม

คำถามที่พบส่วนมากมีดังนี้  สงสัยไม่เข้าใจ  เพิ่มเติมรายละเอียด  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ไม่เห็นด้วย  คำถามเสนอความเห็น  ลองภูมิปัญญา  จ้องจับผิด  ต้องการมีส่วนร่วม  ถามนำ สร้างแนวร่วม  ถามแบบสนุก ๆ

เทคนิคการตอบคำถาม

เทคนิคในการตอถาม จะต้องแสดงความสนใจคำถาม  ชมผู้ถามตามความเหมาะสม  ทวนคำถามยํ้าประเด็น ตอบคำถามให้ตรงประเด็น  ตอบคำถามกับทุกคน  ควบคุมอารมณ์และระมัดระวังการใช้คำพูด  หากเป็นคำถามตอบยากและท้าทายให้หาแนวร่วม  ควบคุมสถานการณ์และเวลา

ประโยชน์ที่ได้รับ

ได้รับความรู้ในเกี่ยวกับรูปแบบ เทคนิค วิธีการนำเสนอ การเตรียมความพร้อมในการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้นำเสนอจะต้องมีทักษะและความเชื่อมั่นในการพูดการนำเสนอ โดยมีการวิเคราะห์และกำหนดประเด็นให้สอดคล้องความสนใจของผู้ฟัง ประกอบด้วย เตรียมตัวและเตรียมการให้พร้อม กำหนดรูปแบบ (Format) ที่เหมาะสม  ใช้หลักฐานอ้างอิง (Evidence) ที่มีนํ้าหนัก จัดทำสื่อประกอบการนำเสนออย่างเหมาะสม นำเสนออย่างมีรูปแบบขั้นตอน ตอบคำถามหรือข้อสงสัยได้อย่างชัดเจน

การนำ เสนอ ผลงาน ชิ้นงาน ในรูป แบบ ต่างๆ

ความหมายของการนำเสนอข้อมูล

การนำเสนอข้อมูล หมายถึง กระบวนการ วิธีการการสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือ ความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่างๆ อันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ

จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ

1. เพื่อให้ผู้รับสาร รับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ

2. เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่อง

3. เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ เช่น ในการฝึกอบรมหรือการสัมมนา ใช้ในการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานต่างๆ

4. เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง

ลักษณะของข้อมูลที่นำเสนอ

          ในการนำเสนอแต่ละครั้งนั้น สามารถนำข้อมูลที่มีลักษณะแตกต่างกันมาร่วมนำเสนอด้วยกันได้ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้นำเสนอ ข้อมูลที่จะนำเสนอแบ่งออกตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่

1. ข้อเท็จจริง หมายถึงข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เรื่องราวที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามความจริง หรือสามารถตรวจสอบให้เป็นที่ประจักษ์ได้ว่าเป็นความจริง อาจเป็นความรู้ที่ได้จากการทดสอบหรือทดลองทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐาน ข้ออ้างอิงสำหรับกล่าวอ้างถึงในการพิสูจน์สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้

2. ข้อคิดเห็น เป็นความเห็นอันเกิดจากประเด็นหรือเรื่องราวที่ชวนให้คิด อาจเป็นความรู้สึก ความเชื่อถือหรือแนวคิดที่ผู้นำเสนอมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความเห็นของแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ข้อคิดเห็นต่างจากข้อเท็จจริง คือ ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องจริงที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่ข้อคิดเห็นอาจมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ฟังเป็นผู้ตัดสินใจว่าข้อคิดเห็นนั้นๆ น่ารับฟังหรือไม่ สมเหตุสมผลเพียงใด

ลักษณะและรูปแบบการนำเสนอ รูปแบบการนำเสนอ(ที่นิยมใช้)  มี 3 วิธีการ คือ

1. มีผู้นำเสนอและใช้เอกสารประกอบ(Handout) เป็นส่วนร่วมในการนำเสนอ

การนำ เสนอ ผลงาน ชิ้นงาน ในรูป แบบ ต่างๆ

2. มีผู้นำเสนอใช้วัสดุ-อุปกรณ์เครื่องฉายเป็นสื่อ และมีเอกสารประกอบเป็นส่วนร่วม

การนำ เสนอ ผลงาน ชิ้นงาน ในรูป แบบ ต่างๆ

3. จัดเป็น Display ในรูปของนิทรรศการ ที่ใช้ Post line เป็นเส้นนำทาง และ (อาจ) มี เอกสารประกอบ เป็นส่วนร่วม

การนำ เสนอ ผลงาน ชิ้นงาน ในรูป แบบ ต่างๆ

องค์ประกอบของสื่อนำเสนอ

หากจะแบ่งสื่อนำเสนอออกเป็นส่วนๆ  ควรประกอบด้วย  3 ส่วน คือ

  1. ส่วนนำเรื่อง Beginning
  2. ส่วนเนื้อหา Middle
  3. ส่วนท้ายเรื่อง End
การนำ เสนอ ผลงาน ชิ้นงาน ในรูป แบบ ต่างๆ

 โดยในการนำเสนอนั้น จะแบ่งทั้ง 3 ส่วน อัตราส่วน ส่วนนำเรื่องและส่วนท้ายเรื่อง รวมกัน 20-25% ส่วนเนื้อหา 75-80%

หลักการออกแบบงานนำเสนอ

      1. ความเรียบง่าย : จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลัง เพื่อเวลาอ่านจะไม่รบกวนสายตา

      2. มีความคงตัว: เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์

      3. ใช้ความสมดุล: การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน หรือ สมดุลไม่มีแบบแผนก็ได้

      4. มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น: ข้อความและสภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาแต่ละแนวคิดเท่านั้น

      5. สร้างความกลมกลืน: ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาใช้แบบอักษรอ่านง่าย แล้ใช้สีที่ดูแล้วสบายตา

      6. แบบอักษร: ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา

      7. เนื้อหา และจุดนำข้อความ: ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้นและควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุด        นำข้อความอยู่ข้างหน้าเพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น 

      8. เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง: การใช้กราฟิกอย่างเหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล

      9. ความคมชัดของภาพ :  เนื่องจากความคมชัดของจอมอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้นภาพกราฟิกที่นำเสอประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความคมชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรูปแบบ JPG ที่มีความคมชัดปานกลาง และขนาดไม่ใหญ่นัก ประมาณ 20-50 KB ควรทำการลดขนาดภาพก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการเก็บบันทึก

การเตรียมงานก่อนการนำเสนอ

  การนำเสนองานควรทำเป็นขั้นตอนโดยเริ่มจากการวางโครงร่าง จัดทำรายละเอียดเนื้อหาและจัดทำเป็นสไลด์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวางโครงร่าง ศึกษากลุ่มผู้ฟังว่ามีลักษณะอย่างไร ต้องมีความเข้าใจข้อมูลที่ต้องการนำเสนออย่างชัดเจนเพื่อจะได้ผลลัพธ์ตรงเป้าหมาย

2. จัดทำรายละเอียดเนื้อหา กำหนดหัวข้อต่างๆ โดยเน้นกลุ่มผู้ชมเป็นหลักว่าสไลด์ควรมีเนื้อหาหรือรูปแบบการจัดวางอย่างไร หรือควรนำเสนอแบบใด เช่น ใส่ภาพ ใส่สี และแนวการนำเสนอ

3. การออกแบบ การใส่ข้อความ ภาพ กราฟในสไลด์ การนำสิ่งต่างๆ ที่ต้องการนำเสนอมาใส่ลงในสไลด์แต่ละแผ่น

          3.1 การใช้ภาพในการนำเสนอ ภาพที่ใช้ประกอบเรื่องที่จะสื่อสาร เพื่อให้สามารถสื่อสารได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น จะมีทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว

การนำ เสนอ ผลงาน ชิ้นงาน ในรูป แบบ ต่างๆ

3.2 การใช้ Animation ในการนำเสนอ เพิ่มความน่าสนใจในการนำเสนอ การใส่เทคนิคการเปลี่ยนแผ่นสไลด์ การเคลื่อนไหวของตัวอักษรมาใช้เพิ่มความน่าสนใจและใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสไลด์

การนำ เสนอ ผลงาน ชิ้นงาน ในรูป แบบ ต่างๆ

3.3 การใช้ตัวอักษรในการนำเสนอ ตัวอักษร มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในการออกแบบสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อสิ่งประดิษฐ์ หรือสื่อคอมพิวเตอร์ก็ตาม

การนำ เสนอ ผลงาน ชิ้นงาน ในรูป แบบ ต่างๆ

3.4 การใช้สีในการนำเสนอ การเลือกใช้คู่สีที่เหมาะสมระหว่างตัวอักษรกับพื้นหลัง ตามหลักสากลก็คือ พื้นสีเข้มตัวอักษรสีอ่อน หรือพื้นสีอ่อนตัวอักษรเข้ม

การนำ เสนอ ผลงาน ชิ้นงาน ในรูป แบบ ต่างๆ

4. เตรียมการนำเสนอจริง ต้องซ้อมการพูดให้เข้ากับแผ่นสไลด์ด้วยการจับเวลา เพื่อจะได้ทราบว่าการบรรยายใช้เวลาอย่างเหมาะสมหรือไม่

5. เตรียมเอกสารประกอบการบรรยาย คือการพิมพ์เอกสารประกอบการบรรยาย การจัดทำเอกสารแจกผู้เข้าฟังเพื่อไม่ให้ผู้ฟังเสียเวลาในการจดบันทึก ให้ใช้เวลาฟังสิ่งที่บรรยายแทน

ทักษะของผู้นำเสนอ

ผู้นำเสนอจะต้องศึกษาและฝึกฝนตนเองให้มีทักษะหลายด้าน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้นำเสนอที่ดี เพราะผู้นำเสนอเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของการนำเสนอ โดยทั่วไปผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะดังต่อไปนี้

1. ทักษะในการคิด (conceptual skill) ผู้นำเสนอจะต้องเรียนรู้ และสร้างความชำนาญชัดเจนในการคิดแม้ว่าจะมีเนื้อหาสาระจากข้อมูลที่มีอยู่ ผู้นำเสนอก็จะต้องคิดพิจารณาเลือกใช้ข้อมูล และลำดับความคิดเพื่อจะนำเสนอให้เหมาะแก่ผู้รับการนำเสนอ ระยะเวลา และโอกาส

2. ทักษะในการฟัง (listening  skill) ผู้นำเสนอจะต้องสดับรับฟัง และสั่งสมปัญญาเป็นการรอบรู้จากการได้ฟัง  ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะนำเสนอเพื่อนำมากลั่นกรอง  เรียบเรียงเป็นเนื้อหาในการนำเสนอ

3. ทักษะในการพูด (speaking  skill) ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการพูด เพื่อบอกเล่าเนื่องโน้นน้าวจูงใจ ให้ผู้รับฟังการนำเสนอเห็นด้วย อันจะเป็นทางทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ

4. ทักษะการอ่าน (reading  skill) ผู้นำเสนอจะต้องเป็นนักอ่านที่มีความชำนิชำนาญชัดเจนในการสั่งสมข้อมูล  สามารถประมวลความรู้นำมาใช้ในการนำเสนอได้เพียงพอแก่ความต้องการของผู้รับการนำเสนอ

5. ทักษะในการเขียน (writing  skill ) ผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะการเขียน เพราะการเขียนเป็นการแสดงความคิด ความเชื่อ ความรู้ ความรู้สึก อารมณ์ และทัศนคติของผู้เขียนให้ผู้อ่านได้ทราบโดยใช้ตัวอักษร การนำเสนอด้วยการเขียนจึงต้องมีความประณีต พิถีพิถันในการเลือกใช้คำด้วยการรู้ความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ  และใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องเหมาะสม

6. ทักษะในการถ่ายทอด (delivery  skill) ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสถานการณ์ในการนำเสนอ

อ้างอิง

โครงการสารานุกรมไทยฯ . “โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล (Graphic Presentation Program)”. http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=25&chap=1&page=t25-1-infodetail04.html.

เว็บไซต์มุสลิมไทยโพสต์ . “ความหมายของการนำเสนอ (Presentation) ”. http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=29&id=10762.

tupnoon . “  ความหมายของการนำเสนอข้อมูล”. https://tupnoon.wordpress.com. 2013

บัญชา โพธิพิทักษ์. “(บทสรุป) การนำเสนอคืออะไร”. http://mediathailand.blogspot.com/2012/05/blog-post.html. 2012

อ้างอิง : อ.สมิต. “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการนำเสนอ”. http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=667&pageid=1&read=true&count=true. 2008

รูปแบบของการนำเสนอผลงานมีกี่รูปแบบอะไรบ้าง

1. การนำเสนอโดยวิธีธรรมชาติ (Nature Presentation) เช่น ทำตัวอย่างให้ดู สาธิตให้เห็นโดยใช้พฤติกรรมตามธรรมชาติ 2. การนำเสนอด้วยการพูด (Oral Presentation) เช่น พูดและแสดงให้เห็นจริง 3. การนำเสนอด้วยสื่อต่างๆ (Presentation Media) เช่น สิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ วีดีทัศน์ ภาพยนตร์ นิทรรศการ

การนําเสนอโครงงาน มีอะไรบ้าง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การนำเสนอและประเมินโครงงานคอมพิวเตอร์.
ชื่อโครงงาน.
ชื่อผู้จัดทำโครงงาน.
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา.
คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน.
วิธีการดำเนินการที่สำคัญ.
การสาธิตผลงาน.
ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน.

ความสําคัญของการนําเสนองาน มีอะไรบ้าง

1. เพื่อให้ผู้รับสารรับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ 2. เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 3. เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ 4. เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง