การปฏิบัติตนให้ได้ชื่อว่า

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

บทบาทและหน้าที่ที่ควรจะมีของพลเมืองดี

การปฏิบัติตนให้ได้ชื่อว่า

การที่ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าได้นั้น พลเมืองในประเทศต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง หากเราทุกคนทำหน้าที่ของตนเองได้เป็นอย่างดี เชื่อว่าบ้านเมืองจะเจริญก้าวหน้าไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

พลเมืองที่ดี หมายถึง ผู้ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องทำและควรทำได้อย่างครบถ้วน สอดคล้องกับหลักธรรม วัฒนธรรม ประเพณีที่ได้กำหนดไว้ มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ถือได้ว่า พลเมืองเป็นส่วนสำคัญของสังคม ทุกสังคมต่างต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาพลเมืองให้มีคุณภาพที่ดี คือ

  1. ให้ทราบถึงบรรทัดฐานของสังคม
  2. รู้จักการปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น
  3. ต้องเคารพกฎหมาย มีระเบียบวินัย ตามที่สังคมได้วางไว้
  4. ปรับทัศนคติและค่านิยมที่ดีในสังคม

ลักษณะของพลเมืองที่ดี คือ

  1. ต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน คือ ต้องมีความอดทน ขยัน ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ เห็นความสำคัญในประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าของตนเอง
  2. ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ คือ สามารถประพฤติ ปฏิบัติได้อย่างที่สังคมต้องการ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีเหตุผล

การปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีตามแนวทางประชาธิปไตยทำได้หลายด้านเช่น

  • ด้านสังคม พลเมืองที่ดีต้องแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสมมีเหตุผล, รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น, ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้เป็นอย่างดี ร่วมพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้า เสียสละเพื่อส่วนรวม
  • ด้านเศรษฐกิจ ต้องรู้จักประหยัด อดออม, มีความซื่อสัตย์สุจริต, ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • ด้านการเมืองการปกครอง ต้องเคารพกฎหมายบ้านเมือง, ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

หน้าที่ของพลเมืองดี ที่พึงปฏิบัติ คือ

  1. นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มากกว่าประโยชน์ส่วนตน
  2. มีระเบียบ วินัย เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยความเรียบร้อย
  3. รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
  4. มีความอดทน สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีแม้ว่าจะต้องเหตุการณ์ที่สร้างความไม่พอใจก็ตาม
  5. รู้จักประหยัด อดออม ไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้จ่ายยามจำเป็น ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
  6. มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักการให้อภัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
  7. มีความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา
  8. เคารพกฎหมายและปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้เป็นอย่างดี
  9. มีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี

ทุกสังคมต้องการพลเมืองที่ดี เพื่อที่จะสามารถนำพาความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมและประเทศชาติได้อย่างมั่นคง เราควรเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กได้รู้จักหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี โดยมีผู้ใหญ่ทำตัวเป็นแบบอย่าง เพราะเมื่อเด็กเติบโตขึ้น พวกเขาจะได้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพอย่างที่ทุกคนในสังคมต้องการ

บทเรียนสําเร็จรูป

เรื่อง 

พลเมืองตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 

การปฏิบัติตนให้ได้ชื่อว่า

จัดทำโดย

นางควนคนึง   เสาม่วง

 ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

                                                                                                                       คำนำ

บทเรียนสำเร็จรูปเล่มนี้เป็นเรื่อง ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อการเรียนการสอน เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนสามารถศึกษาและทดสอบความเข้าใจด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน  และได้กำหนดเนื้อหาไว้เป็นตอนภายในกรอบ จึงช่วยทำให้นักเรียนอ่านเข้าใจง่ายและไม่สับสน ภายในกรอบเนื้อหาความรู้จะมีข้อกำหนดที่นักเรียนสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้

บทเรียนสำเร็จรูปนี้ ได้ทดลองใช้กับนักเรียนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงหวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย

หากบทเรียนสำเร็จรูปนี้ผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าขออภัยมา ณ ที่นี้

                                                                                                             ควนคนึง  เสาม่วง

                                                                                                           ผู้จัดทำ

ข้อเสนอแนะในการใช้บทเรียนสำเร็จรูป

เรื่อง   พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  ตระหนักถึงคุณค่าในความเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยของตนเองและของบุคคลอื่นที่มีศักยภาพในการทำประโยชน์ให้แก่สังคม จังหวัด  และภาค

จุดประสงค์การเรียนรู้   1.  อธิบายความหมายของพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยได้

                                      2.  บอกวิธีปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยได้

                                      3.  เห็นคุณค่าและความสำคัญของการเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิต         

                                           ประชาธิปไตย.ในสังคมปัจจุบัน

            บทเรียนสำเร็จรูปฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้

1.             เพื่อให้นักเรียนได้ใช้บทเรียนสำเร็จรูปนี้ ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นอกเหนือจากเอกสารประกอบการเรียนที่มีอยู่

2.             เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ตรงตามสาระวิชาที่ถูกต้องสมบูรณ์เป็นไปตาม     จุดประสงค์การเรียนรู้

3.             เพื่อให้ครูผู้สอนได้มีบทเรียนสำเร็จรูป ควบคู่กับการเรียนของนักเรียน

บทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วย

1.             จุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทาง

        การเรียน เมื่อศึกษาแล้วได้รับประโยชน์จากการเรียนอย่างไร และให้นักเรียนทราบถึง 

        ขอบข่ายของสาระการเรียนรู้และจุดเน้นที่ต้องการ  ซึ่งจะเป็นแนวทางในการจัด

        การเรียนการสอนได้อย่างถูกต้อง

2.             ส่วนประกอบ 3 ส่วน

-                   ส่วนที่ 1 เป็นเนื้อหา

-                   ส่วนที่ 2 เป็นคำถามทดสอบความเข้าใจในตอนนั้น ๆ

-                   ส่วนที่ 3 เป็นคำตอบสำหรับคำถามในตอนนั้น ๆ

   คำแนะนำในการเรียนด้วยตนเอง

1.    ทำแบบทดสอบก่อนเรียน  20 ข้อ

2.   ทำความเข้าใจจุดมุ่งหมายของการเรียนให้เข้าใจอย่างชัดเจน

3.             ศึกษาเนื้อหาของบทเรียนทีละกรอบ ไม่ควรรีบร้อนเกินไป

4.             เมื่อเข้าใจในสาระการเรียนรู้ของบทเรียนแต่ละกรอบแล้ว ให้ตอบคำถาม

                    ในแต่ละกรอบ

5.             เปิดดูเฉลยคำตอบในแต่ละกรอบว่าที่ตอบคำถามไปแล้วถูกต้องหรือไม่

6.             ถ้าถูกต้องให้นักเรียนเรียนกรอบต่อไป  แต่ถ้าตอบผิด ให้นักเรียนอ่านและทำ

                     ความเข้าใจใหม่แล้วจึงเรียนในกรอบต่อไป

7.             ทำแบบทดสอบหลังเรียน

8.             ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนจากเฉลยแล้ว เปรียบเทียบผลการเรียนรู้

แบบทดสอบก่อนเรียน

วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม                                                              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย

คำสั่ง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1.             บุคคลใดได้ชื่อว่าเป็นพลเมืองดี ในสังคมประชาธิปไตย

                                       ก. รับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน

                                       ข. ติดตามข่าวสารบ้านเมือง

                                       ค. เคารพกฎหมายบ้านเมือง

                                       ง.  ป้องกันมิให้ผู้ใดละเมิดสิทธิของตน

        2. นักเรียนในฐานะที่ยังเป็นเด็ก  นักเรียนจะทำตนเป็นพลเมืองดี ได้อย่างไร

                                              ก.  ช่วยสอดส่องดูแลชุมชนแทนตำรวจ

                                              ข.  ยืนตรงเคารพธงชาติทุกวัน

                                              ค.  สนับสนุนคนดีเป็นผู้นำ

                                              ง.  ปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว

        3.  ข้อใดไม่ใช่ความหมายของพลเมืองในประเทศไทย

                                              ก. คนไทยที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในประเทศไทย

                                              ข. คนที่เกิดในประเทศไทย

                                              ค. คนที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย

                                              ง. คนที่มีพ่อแม่เป็นคนไทย

         4.  พลเมืองของประเทศจะมีสิทธิและหน้าที่มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับอะไร

                                              ก. ความสามารถ

                                              ข. กฎหมาย

                                              ค. ความเสมอภาค

                                              ง. เสรีภาพ

           5. ประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย สิทธิของประชาชนที่สำคัญที่สุดคือข้อใด

                                              ก. สิทธิในการปกครองตนเอง

                                              ข. สิทธิในการนับถือศาสนา

                                              ค. สิทธิในการเลือกคู่ครอง

                                              ง. สิทธิในการเลือกที่อยู่อาศัย

           6. วิถีชีวิตประชาธิปไตย คือความหมายของข้อใด

                                              ก. การร่วมปกครองประเทศ

                                              ข. ทางเดินของประชาธิปไตย

                                              ค. การอยู่ร่วมกันเคารพสิทธิผู้อื่น

                                              ง. การปฏิบัติตามแบบคนอื่นๆ

           7. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของสังคมประชาธิปไตย

                                              ก. สันติภาพ           

                                              ข. สันติสุข

                                              ค. เสรีภาพ             

                                              ง. ภราดรภาพ

            8. คุณธรรมที่ต้องใช้เวลาปลูกฝังเป็นเวลานาน ต้องปฏิบัติสม่ำเสมอจนเกิดความเคยชินเมื่อ

                 ปฏิบัติแล้วทำให้สังคมสงบสุข มีความเรียบร้อย และเจริญรุ่งเรือง คือข้อใด

                                              ก. ความสามัคคี

                                              ข. ความเสียสละ

                                              ค. ความอดทน

                                              ง. ความมีระเบียบวินัย

             9. ข้อใดไม่ใช่พื้นฐานของการประพฤติตนเป็นพลเมืองดี

                                              ก. ความไม่ประมาท

                                              ข. การรักษาศีล

                                              ค. การทำทาน

                                              ง. การคบคนพาล

               10. สิ่งที่ถือว่าเป็นเครื่องหมายของ คนดีปฏิบัติแล้วมีคนยกย่องนับถือคือข้อใด                                            

                                              ก. การรักษาวินัย

                                              ข.  การพัฒนาท้องถิ่น

                                              ค. ความกตัญญูกตเวที

                                              ง.  การไม่คบคนพาล

              11. ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีคือข้อใด

                                              ก.จิตใจแจ่มใส

                                              ข.มีความร่ำรวยขึ้น

                                              ค.ได้รับรางวัล

                                              ง.ไม่มีใครอยากคบด้วย

              12. หน้าที่ของพลเมืองข้อใด เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง

                                              ก. มีศีลธรรมตามหลักศาสนา

                                              ข. เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาชุมชน

                                              ค. สืบสานศิลปวัฒนธรรม

                                              ง.  เข้ารับการศึกษาภาคบังคับ

             13.  สังคมที่มีประชาชนประพฤติตนเป็นพลเมืองดี แสดงถึงลักษณะประชากรของสังคม

                     นั้นในด้านใด

                                              ก. ด้านคุณภาพประชากร

                                              ข. ระดับการศึกษาของประชากร

                                              ค. ความซื่อสัตย์สุจริตของประชากร

                                              ง.  ฐานะทางเศรษฐกิจ

            14.  การปฏิบัติตนให้ได้ชื่อว่าเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน ควรทำอย่างไรก่อนเป็น

                     ลำดับแรก

                                              ก. สร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน

                                              ข. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน

                                              ค. บริจาคเงินซื้ออุปกรณ์การเรียน

                                              ง. นำผู้ปกครองเยี่ยมชมอาคารสถานที่

               15. การปฏิบัติตนให้ได้ชื่อว่า ช่วยรักษาชื่อเสียงของโรงเรียน คือข้อใด

                                             ก. แต่งชุดเครื่องแบบนักเรียน

                                             ข. ร่วมร้องเพลงชาติ

                                             ค. ร่วมบริจาคเงินทำบุญให้วัด

                                             ง. ประพฤติดีทั้งกายและวาจา

16.       คุณธรรมของพลเมืองดีข้อใด สอดคล้องกับวิถีชีวิตประชาธิปไตย

                              ก. ความรักพวกพ้อง

                              ข. ความรักในอิสระเสรี

                              ค. การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

                              ง. ความอดทนต่อความยากลำบาก

                17.  ผลดีที่ประเทศชาติมีประชาชนเป็นพลเมืองดีเป็นส่วนใหญ่

                                              ก. รัฐสภาต้องตรากฎหมายใหม่

                                              ข. มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

                                              ค.  เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ต้องทำงานหนัก

                                              ง. สังคมสงบสุขและเป็นระเบียบเรียบร้อย

18.  ลักษณะของพลเมืองดีที่มีความกล้าหาญในการทำความดี ไม่อายใคร คือข้อใด

                                               ก. จูงคนตาบอดข้ามถนน

                                               ข. ชำระค่าน้ำ ค่าไฟตรงเวลา

                                               ค. ใช้คำพูดสุภาพกับผู้อื่น

                                               ง.  พาลูกมาส่งโรงเรียนทุกวัน

19.      คำพังเพยข้อใด แสดงถึงสังคมขาดแคลนพลเมืองดี

                  ก. รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

                  ข. มือใครยาว สาวได้สาวเอา

                  ค. เขียนเสือให้วัวกลัว

                  ง. รำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง

20.      สังคมทุกประเทศต้องการให้มีพลเมืองดีจำนวนมากเพื่ออะไร

                                ก. ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว

                                ข.  ลดรายจ่ายด้านการปราบปรามโจรผู้ร้าย

                                ค. รัฐบาลมีเสถียรภาพ ไม่เปลี่ยนแปลงผู้นำบ่อยๆ

                                 ง.  สังคมสงบสุข มีความเจริญก้าวหน้า มั่นคง

                                                    แบบทดสอบหลังเรียน

วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม                                                              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย

คำสั่ง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

           1.   ข้อใดไม่ใช่ความหมายของพลเมืองในประเทศไทย

                                              ก. คนที่มีพ่อแม่เป็นคนไทย

                                              ข. คนที่เกิดในประเทศไทย

                                              ค. คนไทยที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในประเทศไทย

                                              ง. คนที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย

          2. นักเรียนในฐานะที่ยังเป็นเด็ก  นักเรียนจะทำตนเป็นพลเมืองดี ได้อย่างไร

                                              ก.  สนับสนุนคนดีเป็นผู้นำ

                                              ข.  ยืนตรงเคารพธงชาติทุกวัน

                                              ค.  ปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว

                                              ง.  ช่วยสอดส่องดูแลชุมชนแทนตำรวจ

        3.  บุคคลใดได้ชื่อว่าเป็นพลเมืองดี ในสังคมประชาธิปไตย

                                       ก. รับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน

                                       ข. ติดตามข่าวสารบ้านเมือง

                                       ค. เคารพกฎหมายบ้านเมือง

                                       ง.  ป้องกันมิให้ผู้ใดละเมิดสิทธิของตน

        4.  ประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยสิทธิของประชาชนที่สำคัญที่สุดคือข้อใด

                                              ก. สิทธิในการปกครองตนเอง

                                              ข. สิทธิในการนับถือศาสนา

                                              ค. สิทธิในการเลือกคู่ครอง

                                              ง. สิทธิในการเลือกที่อยู่อาศัย

      5.   พลเมืองของของประเทศจะมีสิทธิและหน้าที่มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับอะไร

                                              ก. ความสามารถ

                                              ข. กฎหมาย

                                              ค. ความเสมอภาค

                                              ง. เสรีภาพ

         6.   คุณธรรมที่ต้องใช้เวลาปลูกฝังเป็นเวลานาน ต้องปฏิบัติสม่ำเสมอจนเกิดความเคยชินเมื่อ

               ปฏิบัติแล้วทำให้สังคมสงบสุข มีความเรียบร้อย และเจริญรุ่งเรือง คือข้อใด

                                              ก. ความสามัคคี

                                              ข. ความเสียสละ

                                              ค. ความอดทน

                                              ง. ความมีระเบียบวินัย

          7.  ข้อใดไม่ใช่พื้นฐานของการประพฤติตนเป็นพลเมืองดี

                                              ก. ความไม่ประมาท

                                              ข. การรักษาศีล

                                              ค. การทำทาน

                                              ง. การคบคนพาล

           8.  วิถีชีวิตประชาธิปไตย คือความหมายของข้อใด

                                              ก. การร่วมปกครองประเทศ

                                              ข. ทางเดินของประชาธิปไตย

                                              ค. การอยู่ร่วมกันเคารพสิทธิผู้อื่น

                                              ง. การปฏิบัติตามแบบคนอื่นๆ

           9.   สิ่งที่ถือว่าเป็นเครื่องหมายของ คนดีปฏิบัติแล้วมีคนยกย่องนับถือคือข้อใด                                            

                                              ก. การรักษาวินัย

                                              ข.  การพัฒนาท้องถิ่น

                                              ค. ความกตัญญูกตเวที

                                              ง.  การไม่คบคนพาล

           10.  ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของสังคมประชาธิปไตย

                                              ก. สันติภาพ           

                                              ข. สันติสุข

                                              ค. เสรีภาพ             

                                              ง. ภราดรภาพ

               11.  การปฏิบัติตนให้ได้ชื่อว่าเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน ควรทำอย่างไรก่อนเป็น

                     ลำดับแรก

                                              ก. บริจาคเงินซื้ออุปกรณ์การเรียน

                                              ข. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน

                                              ค. สร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน

                                              ง. นำผู้ปกครองเยี่ยมชมอาคารสถานที่

            12.  สังคมที่มีประชาชนประพฤติตนเป็นพลเมืองดี แสดงถึงลักษณะประชากรของสังคม

                     นั้นในด้านใด

                                              ก. ฐานะทางเศรษฐกิจ

                                              ข. ระดับการศึกษาของประชากร

                                              ค. ความซื่อสัตย์สุจริตของประชากร

                                              ง.  ด้านคุณภาพประชากร

             13.  ประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีคือข้อใด

                                              ก.ได้รับรางวัล

                                              ข. มีความร่ำรวยขึ้น

                                              ค. จิตใจแจ่มใส

                                              ง.ไม่มีใครอยากคบด้วย

             14.  หน้าที่ของพลเมืองข้อใด เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง

                                              ก. เข้ารับการศึกษาภาคบังคับ

                                              ข. เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาชุมชน

                                              ค. สืบสานศิลปวัฒนธรรม

                                              ง.  มีศีลธรรมตามหลักศาสนา

             15.  ผลดีที่ประเทศชาติมีประชาชนเป็นพลเมืองดีเป็นส่วนใหญ่

                                              ก. รัฐสภาต้องตรากฎหมายใหม่

                                              ข. สังคมสงบสุขและเป็นระเบียบเรียบร้อย

                                              ค.  เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ต้องทำงานหนัก

                                              ง. มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

                         16.  คุณธรรมของพลเมืองดีข้อใด สอดคล้องกับวิถีชีวิตประชาธิปไตย

                              ก. ความรักพวกพ้อง

                              ข. ความรักในอิสระเสรี

                              ค. การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

                              ง. ความอดทนต่อความยากลำบาก

             17.  การปฏิบัติตนให้ได้ชื่อว่า ช่วยรักษาชื่อเสียงของโรงเรียน คือข้อใด

                                             ก. แต่งชุดเครื่องแบบนักเรียน

                                             ข. ร่วมร้องเพลงชาติ

                                             ค. ร่วมบริจาคเงินทำบุญให้วัด

                               ง. ประพฤติดีทั้งกายและวาจา

            18.   คำพังเพยข้อใด แสดงถึงสังคมขาดแคลนพลเมืองดี

                  ก. รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

                  ข. มือใครยาว สาวได้สาวเอา

                  ค. เขียนเสือให้วัวกลัว

                                               ง. รำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง

    19.  สังคมทุกประเทศต้องการให้มีพลเมืองดีจำนวนมากเพื่ออะไร

                                ก. ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว

                                ข.  ลดรายจ่ายด้านการปราบปรามโจรผู้ร้าย

                                ค. รัฐบาลมีเสถียรภาพ ไม่เปลี่ยนแปลงผู้นำบ่อยๆ

                                 ง.  สังคมสงบสุข มีความเจริญก้าวหน้า มั่นคง

          20. ลักษณะของพลเมืองดีที่มีความกล้าหาญในการทำความดี ไม่อายใคร คือข้อใด

                                               ก. จูงคนตาบอดข้ามถนน

                                               ข. ชำระค่าน้ำ ค่าไฟตรงเวลา

                                               ค.  ใช้คำพูดสุภาพกับผู้อื่น

                                               ง.  พาลูกมาส่งโรงเรียนทุกวัน

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

เรื่อง  พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย

ก่อนเรียน

หลังเรียน

ข้อ

คำตอบ

ข้อ

คำตอบ

1

1

2

2

3

3

4

4

5

5

6

6

7

7

8

8

9

9

10

10

11

11

12

12

13

13

14

14

15

15

16

16

17

17

18

18

19

19

20

20

เอกสารอ้างอิง

ชูวงศ์  ฉายะบุตรและคณะ.  หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ม.2. กรุงเทพฯ :

                วัฒนาพานิช, 2547. (หน้า 3-13)

วิทยา  ปานะบุตร.  คู่มือสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ม.2.  กรุงเทพฯ :  พ.ศ.พัฒนา, 2550.

                 (หน้า  203)

ชิด  ภิบาลแทน.  พจนานุกรมนักเรียนฉบับสมบูรณ์.  กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์, 2541.

                 (หน้า 299, 498)

ราชบัณฑิตยสถาน.  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542.  กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊ค   

                  พับลิเคชั่นส์, 2546. (หน้า 656, 769, 1075 )