Pm 2.5 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ฝุ่นPM 2.5 ภัยร้ายใกล้ตัวเรา

Pm 2.5 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ช่วงนี้อากาศบ้านเราเต็มไปด้วยฝุ่นมลพิษ PM 2.5 โดยมีค่ามลภาวะทางอากาศสูงมากติดอันดับต้นๆ ของโลก ฝุ่น PM 2.5 หลายคนคงคุ้นชื่อ แต่ทราบหรือไม่ว่าฝุ่นมลพิษนี้ทำร้ายร่างกายเราอย่างไรบ้าง?

วันนี้หมอจะมาพูดถึงเจ้าฝุ่น PM2.5 นี้คืออะไร มีผลเสียต่อร่างกายและผิวหนังอย่างไรบ้าง และเราจะป้องกันได้อย่างไร

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?

คือฝุ่นละอองในอากาศที่มีขนาดอนุภาคเล็กมากๆ (ขนาดเล็กกว่า2.5ไมครอน หรือไมโครเมตร)

(PM ย่อมาจาก Particulate Matters)

ด้วยขนาดที่เล็กมากๆ เราจึงมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ถ้าฝุ่นนี้มีปริมาณสูงมากๆ ในอากาศ จะดูคล้ายกับมีหมอกหรือควัน

สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้จากท่อไอเสียของเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ การเผาขยะ เผาหญ้า เผาเชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงงาน เป็นต้น

ฝุ่น PM 2.5นี้ยังสามารถรวมตัวกับสารมลพิษ เช่นสารไฮโดรคาร์บอน และโลหะหนัก

และด้วยขนาดที่เล็กมากจึงสามารถลอดผ่านการกรองของขนจมูก ไปยังหลอดลม และลงลึกจนถึงถุงลมปอดและซึมเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย

ฝุ่น PM 2.5 มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

ในวันที่อากาศไม่ดี มีค่าฝุ่นมลพิษสูง หลายคนคงรู้สึกแสบตา แสบจมูก เจ็บคอ

  • ระบบที่มีผลกระทบมาก คือระบบทางเดินหายใจ เมื่อหายใจเอาฝุ่น PM2.5เข้าไป จะรู้สึกแสบจมูก ไม่สบาย ไอและมีเสมหะได้ ในคนไข้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคภูมิแพ้,โรคปอด (เช่น หอบหืด, ถุงลมโป่งพอง) ต้องระวังสุขภาพเป็นพิเศษ เนื่องจากฝุ่นนี้จะทำให้โรคกำเริบได้ง่าย
  • ในระยะยาวมีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดได้

นอกจากนี้ยังทำลายผิวของเราได้ด้วย

ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มร่างกาย จึงหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญฝุ่นมลพิษได้ยาก

ฝุ่น PM 2.5 มีผลเสีย หรืออันตรายต่อผิวอย่างไรบ้าง?

เนื่องจากฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมากๆ เล็กกว่าขนาดของรูขุมขน จึงสามารถซึมผ่านเข้าผิวหนัง

  • ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบ มีอาการแดงคัน ระคายเคืองผิว โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาผิวแพ้ง่าย โรคภูมิแพ้ผิวหนัง จะมีผื่นกำเริบได้ง่าย
  • ผิวหน้ามันขึ้น น้ำมันบนหน้าและฝุ่นจะทำให้เกิดการอุดตันของผิว และก่อให้เกิดสิว
  • กระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระที่จะทำลายผิว ทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัย และจุดด่างดำ

เมื่ออากาศที่เราจำเป็นต้องสูดหายใจเข้าไปทุกวันๆนั้นเต็มไปด้วยฝุ่นมลพิษทำลายร่างกาย

เราจะป้องกัน และดูแลตนเองอย่างไรดี?

  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรอยู่ในบ้านหรือในอาคารที่มีเครื่องฟอกอากาศชนิดที่มีHEPA filter
  • เมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ควรสวมใส่หน้ากากชนิดที่สามารถกันฝุ่นPM2.5ได้ และใส่ให้ถูกวิธี
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ5หมู่ ทานผลไม้หรือวิตามินที่สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) เช่นวิตามินซี ดื่มน้ำสะอาดเพื่อช่วยในการขับสารพิษจากร่างกาย

การดูแลปกป้องผิวหนังจากฝุ่น PM 2.5 ทำได้อย่างไร?

  • ควรทำความสะอาดผิว/ล้างหน้าให้สะอาดทันที ภายหลังจากต้องสัมผัสกับฝุ่นมลพิษ
  • ใส่เสื้อผ้าแขนยาว เพื่อปกป้องผิวไม่ให้ระคายเคือง และลดการเห่อของผื่น
  • ทาครีมบำรุงผิว เพื่อให้ความชุ่มชื้นและทำให้เกราะป้องกันของผิวแข็งแรงขึ้น

หากป้องกันผิวดีแล้ว แต่ยังเกิดปัญหาผิวหนัง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนะคะ

นอกจากนี้พวกเราควรช่วยกันลดการสร้างฝุ่นมลพิษนี้

  • โดยการพยายามลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ใช้ขนส่งสาธารณะแทน หรือหากจำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนตัว ก็พยายามเดินทางพร้อมๆ กันหลายๆคน
  • ลดการเผาขยะ/กระดาษ/หญ้า, สูบบุหรี่
  • ช่วยกันปลูกต้นไม้เพื่อช่วยดูดซับฝุ่นมลพิษ

#PM 2.5 อันตรายกว่าที่คิด ใส่ใจกันสักนิด เพื่อชีวิตและผิวสวยของเรา

อย่าลืมป้องกัน และช่วยกันลดฝุ่น PM 2.5 นะคะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

ศูนย์ความงามและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 4

โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ถนนแจ้งวัฒนะ (WMC)

นอกจากสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 อีกปัญหาสุขภาพที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม คือ ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ที่กลับมามีปริมาณเกินค่ามาตรฐานพร้อมกับลมหนาว ซึ่งล่าสุด จากการรายงานคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล อยู่ในระดับคุณภาพปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เกินมาตรฐานถึง 69 พื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล  (ข้อมูล ณ วันที่ 21 มกราคม 2564)  ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพสะสมในระยะยาว หากได้รับอย่างต่อเนื่อง

แพทย์หญิงพัชนี แสงถวัลย์ อายุรแพทย์สาขาโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤติ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ อธิบายถึงผลกระทบระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น เมื่อได้รับปริมาณฝุ่น PM 2.5 “ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 คืออนุภาคฝุ่น  มีขนาดน้อยกว่า 2.5 ไมครอน

มีการกำหนดค่ามาตรฐานในบรรยากาศ คือ ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและค่าเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศไทยกำหนดค่ามาตรฐาน PM 2.5 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและค่าเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร”

Pm 2.5 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

“หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมฝุ่นจิ๋วนี้ถึงไม่หายจากประเทศไทย ต้องแยกก่อนว่า สาเหตุของฝุ่นมีแหล่งกำเนิดมาจาก 2 แหล่ง คือ

  • แหล่งกำเนิดปฐมภูมิ เช่น การคมนาคมขนส่ง, การเผาในที่โล่งแจ้ง, โรงงานอุตสาหกรรม, โรงงานผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
  • แหล่งกำเนิดทุติยภูมิ เช่น การปฏิกิริยาเคมีในอากาศโดยมีสารเคมีกลุ่มซัลเฟอร์ หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น รวมทั้งสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตราย เช่น ปรอท, แคดเมียม, อาร์เซนิก, โพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งจำนวนมาก

“ปัจจัยที่ทำให้ PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหาในปัจจุบัน คือ ยังคงมีแหล่งสร้างมลพิษทางอากาศซึ่งเรายังไม่สามารถควบคุมให้ปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งที่มาเหล่านี้ลดลงได้ รวมถึงสภาพความกดอากาศต่ำ ทำให้การเคลื่อนย้ายของฝุ่นมลภาวะทางอากาศไม่ถ่ายเทออกไปโดยง่าย”

Pm 2.5 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

สัญญาณบ่งบอกร่างกายกำลังได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5

ฝุ่น PM 2.5 สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั่วไประยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะถ้ามีการสะสมในร่างกายเป็นระยะเวลานานๆ เช่น

  • ต่อระบบผิวหนัง ทำให้มีปัญหาผื่นคัน ผื่นแพ้, ลมพิษ, ผิวหน้าเหี่ยวแพ้ง่าย และเกิดริ้วรอยบริเวณร่องแก้มมากยิ่งขึ้นด้วย
  • ต่อระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นภูมิแพ้, โรคหืด, โรคถุงลมโป่งพอง, ทำให้เกิดปัญหาโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, มะเร็งปอด
    ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง
  • มีผลต่อการพัฒนาการสติปัญญาของเด็ก
  • กระทบต่อการเจริญเติบโตของร่างกายในเด็ก และสามารถส่งผลถึงทารกในครรภ์มารดาทำให้เจริญเติบโตช้าหรือคลอดก่อนกำหนดได้

“ทุกคนทุกวัยมีความเสี่ยงต่อฝุ่น PM 2.5 ดังนั้น ควรป้องกันการรับฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายกันทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดผลกระทบรุนแรง อาทิ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด, โรคหัวใจ ฯลฯ หญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี”

วิธีป้องกัน และดูแลสุขภาพจากฝุ่น PM 2.5 แนะนำ 3 วิธีหลักๆ คือ

  • ใช้หน้ากากที่มีคุณภาพ เช่น N95 หากไม่มีอาจใช้หน้ากากอนามัยซ้อนกัน 2 ชั้น แต่การสวมใส่หน้ากาก ควรสวมใส่อย่างถูกต้อง คือ ควรสวมใส่ปิดให้แนบสนิทกับใบหน้าทุกส่วน
  • ควรอยู่ในอาคาร บ้าน หรือพื้นที่ปิดมิดชิดมากกว่าการอยู่นอกบ้านหรือในพื้นที่โล่ง เพราะจะมีโอกาสสัมผัสฝุ่นน้อยลง
  • ควรเปิดเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองที่มีคุณสมบัติในการกรองฝุ่น PM 2.5 ในกรณีที่ไม่มีการเปิดแอร์ ก็ควรเปิดพัดลมร่วมกับเปิดเครื่องฟอกอากาศ โดยปิดห้องให้มิดชิดไม่ให้อากาศภายนอกเข้ามาภายในห้อง”

ผู้ที่เขียนบทความ

Pm 2.5 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

แพทย์ประจำสาขาโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลไทยนครินทร์

PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร

ระบบหลอดเลือด (หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองเสื่อม โรคstrokeของหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ หลอดเลือดดำอุดตัน) ระบบสมอง(สมองด้อยประสิทธิภาพ สมองเสื่อม สมาธิสั้นและระบบจิตประสาท (อารมณ์แปรปรวน ความผิดปกติทางจิตแบบซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย) มีส่วนทำให้เกิดมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ (โดยเฉพาะมะเร็งปอด)

ฝุ่น PM 2.5 อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร

อาการและผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ระยะสั้น : ทำให้ระคายเคืองตา ตาแดง คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ อาการภูมิแพ้และหอบหืดกำเริบ ทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น ผิวหนังอักเสบมีผื่นคันที่ผิวหนัง

PM 2.5 ส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร

จากข้อมูลการประมาณการณ์ความเสียหายจากฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ปี 2563 พบว่า กรุงเทพฯ ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจกว่า 3 หมื่นล้านบาท ทั้งค่าเสียโอกาสด้านสุขภาพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเครื่องฟอกอากาศ ค่าเสียโอกาสด้านการท่องเที่ยว และค่าเสียโอกาสของภาคธุรกิจ

PM 2.5 เกิดจากอะไรมากที่สุด

สำหรับแหล่งกำเนิดของฝุ่น PM 2.5 ก็มักมาจากควันท่อไอเสียรถยนต์, โรงงานไฟฟ้า, โรงงานอุตสาหกรรม, ควันที่เกิดจากการหุงต้มอาหารด้วยฟืน, ควันจากการเผาขยะ, ไฟป่า รวมทั้งการทำปฏิกิริยาของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ก็มีส่วนก่อให้เกิดฝุ่นประเภทนี้ได้ด้วยเช่นกัน