การจัดการขยะพลาสติก ในสิงคโปร์

ล่าสุดเชียงใหม่ถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีมลพิษสูงสุดอันดับ 1 ของโลกในขณะนี้ (30 มีนาคม 2562) ด้วยค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน 500 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับชาวกรุงเทพฯ เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา

และจากรายงานของข่าวหลายสำนักกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ได้เร่งดำเนินการฉีดน้ำเพื่อให้ฝุ่นเบาบางลง และจะหามือวางเพลิงอย่างจริงจังเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

สาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษ มีทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรม การขนส่ง ฯลฯ

แต่จะพบว่าสาเหตุหลักคือ การเผาไหม้ในพื้นที่โล่ง ซึ่งคิดเป็น 54% ของที่มามลพิษทั้งหมด

หมายถึงทั้งการเผาพืชไร่ ป่ารกร้าง และการลักลอบเผาขยะ

การจัดการขยะพลาสติก ในสิงคโปร์

แต่การเกิดของมลพิษไม่ใช่แค่เพียงว่าเผาวันนี้ แล้ววันรุ่งขึ้นก็เกิดค่าสูงเกินมาตรฐานเลยทันที มันเกิดจากการสะสมของมลพิษเป็นระยะเวลานาน

ซึ่งจะพบว่า นอกจากการเผาป่าหญ้ารกร้างเพื่อการทำเกษตรที่มักจะเกิดในช่วงฤดูเพาะปลูกแล้ว ก็จะมีการลักลอบเผาขยะที่พบได้ในหลายพื้นที่ของประเทศตลอดเกือบทั้งปี

อย่างเมื่อช่วงปี พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา ก็ได้มีข่าวเกี่ยวกับกรณีที่ชาวกาฬสินธุ์ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐจัดการกับปัญหาลักลอบเผาขยะที่ชาวบ้านต้องทนรับมลพิษจากการเผาไหม้ของขยะมานานกว่า 20 ปี

หรือแม้แต่หลังบ้านผู้เขียนเองก็ยังพบกับการแอบทิ้งขยะในที่ดินรกร้างและเผาขยะจนลุกลามไหม้ไปทั่วป่าหญ้าป่ากก เป็นประจำทุกปี

จะเห็นได้ชัดว่าการลักลอบเผาขยะพบได้ในหลายพื้นที่ของประเทศและเป็นเหตุสำคัญ จนทำให้เกิดการสะสมของมลพิษ และในที่สุดก็ทำให้ภาวะค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนอย่างมาก เขม่าควันที่เกิดจากการเผาไหม้ลอยเข้าจับ ปกคลุมข้าวของ เสื้อผ้า อาหาร และการต้องทนสูดหายใจรับอากาศสกปรกเข้าไปสูบฉีดหล่อเลี้ยงเลือดในร่างกาย

แต่นั่น เรากำลังมองปัญหาที่ปลายเหตุอยู่หรือเปล่า การจับคนที่ลงมือเผาขยะทั้งหมดไว้ได้ ก็ไม่ได้ทำให้มลพิษหายไปไหน ทำไมไม่ตระหนักว่า การลักลอบเผาขยะที่เกิดขึ้น เป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงระบบการจัดการขยะที่ไร้ประสิทธิภาพ

การเผาขยะ ไม่ได้เป็นวิธีการกำจัดขยะที่ผิด แต่ไม่ได้มีระบบรองรับการจัดการขยะทั้งหมดอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากพอ

การจัดการขยะพลาสติก ในสิงคโปร์

อย่างประเทศสิงคโปร์ มีการกำจัดขยะโดยใช้วิธีเผา เพราะสามารถลดปริมาตรของขยะได้กว่า 90% แต่ระบบจัดการขยะของเขา ไม่ได้เพียงแค่นำขยะมาแล้วเข้ากระบวนการเผาเลย

ระบบที่ดี ต้องดีตั้งแต่เริ่มจนจบ

ขั้นแรก สิงคโปร์มีการรณรงค์ ส่งเสริมและควบคุมอย่างเข้มงวดในเรื่องการทิ้งขยะ และแยกขยะตามประเภทอย่างชัดเจน ทั้งยังจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามปริมาณขยะของแต่ละบ้านที่ผลิตออกมา

และไม่ใช่แค่เพียงสอนให้คนรู้จักแยกทิ้งขยะให้ถูกต้องเท่านั้น เวลาจัดเก็บขยะจากตามบ้านมาแล้ว รถเก็บขยะเองก็ต้องคัดแยกด้วย ยิ่งพอมาถึงโรงงานเผาขยะ ก็มีการแยกอีกรอบหนึ่ง เพื่อคัดแยกขยะที่ไม่สามารถเผาได้ นำไปฝังกลบในพื้นที่จัดสรรไว้ และขยะที่เผาได้ก็นำไปสู่กระบวนการโรงงานเผาต่อไป

การจัดการขยะพลาสติก ในสิงคโปร์

พอหลังจากเข้าสู่กระบวนการเผาขยะ สิ่งที่หลงเหลือจะเป็นก๊าซ ก็จะมีระบบการดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต เพื่อให้ได้อากาศที่บริสุทธิ์ก่อนจะปล่อยออกไป และส่วนที่เป็นเถ้าจะถูกส่งไปยังสถานีโอนถ่ายขยะ พร้อมกับขยะที่เผาไม่ได้ เพื่อนำไปทำเป็นอิฐก่อสร้างหรือไปถมเป็นพื้นที่เกาะอย่างเกาะเซมาเกา ซึ่งสามารถต่อยอดเป็นแหล่งทำเงินให้ประเทศได้อีกด้วย

ทั้งหมดที่ยกมาเป็นตัวอย่าง ก็เพียงอยากจะให้ทุกคนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาได้ตระหนักกันใหม่ ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นในประเทศแบบระยะยาวและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

บริษัท Magorium ก่อตั้งขึ้นเมื่อกลางปี 2019 และพัฒนานวัตกรรมย่อยสลายถุงช้อปปิ้ง ขวด และขยะพลาสติกอื่น ๆ ให้เป็นวัตถุดิบที่มีคุณลักษณะคล้ายน้ำมันดิน (Tar) ซึ่งใช้ในการก่อร้างถนนได้แทนส่วนผสมปกติ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ น้ำมันดินจากขยะพลาสติกนี้ถูกใช้เพื่อสร้างถนนจริงแล้วเรียบร้อย โดยเป็นถนนในพื้นที่ของเอกชน นั่นคือโรงงานแห่งหนึ่งในทูอัส (Tuas) และคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในแมรีเมานต์ (Marymount)

นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะทางบริษัทตั้งเป้าจะขยายการใช้นวัตกรรมนี้ออกไปอย่างแพร่หลาย

โอ ฉู่เสียน (Oh Chu Xian) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Magorium กล่าวว่า “เราได้ทำการทดสอบหลายครั้ง สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราได้ผลลัพธ์ที่ครอบคลุมที่เราต้องการ”

โอ ฉู่เสียน เล่าว่า เธอได้รับแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรมนี้มาจากบริษัทรับเหมาก่อสร้างถนนแห่งหนึ่งที่ค้นคว้าเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับมองเห็นปัญหาภาวะโลกร้อนและมลพิษต่าง ๆ ที่เกิดจากขยะพลาสติก

มลพิษจากขยะพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วนที่สุดทั้งของสิงคโปร์และทั้งโลก เนื่องจากการผลิตและการบริโภคพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวสร้างภาระให้กับโลกมหาศาล

คุณลักษณะที่ย่อยสลายตามธรรมชาติได้ยาก ทำให้ขยะพลาสติกสร้างมลพิษต่อทั้งพื้นดินและในมหาสมุทร และทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเลวร้ายลงอีกด้วย

การจัดการขยะพลาสติก ในสิงคโปร์

รายงานประจำปี 2019 โดยศูนย์กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศระบุว่า การผลิตและการเผาพลาสติกทั่วโลกจะเพิ่มก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 850 ล้านเมตริกตันในชั้นบรรยากาศ

ข้อมูลของสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (NEA) ชี้ว่า เมื่อปี 2019 ในสิงคโปร์มีขยะพลาสติกประมาณ 930,000 ตัน ซึ่งมีการรีไซเคิลอย่างถูกต้องเพียง 37,000 ตันหรือ 4% เท่านั้น

ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์โควิด-19 ผ่านมา ยังส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคในสิงคโปร์เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าและอาหารออนไลน์ ซึ่งมีการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะจากบรรจุภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ช้อนส้อมพลาสติก รวมถึงพลาสติกกันกระแทกสำหรับส่งพัสดุ

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในเดือนมิถุนายนพบว่า “เฉพาะอาหารที่ซื้อกลับบ้านและฟู้ดเดลิเวอรีในช่วง 2 เดือน สิงคโปร์มีขยะพลาสติกจำนวน 1,334 ตันเกิดขึ้น หลังรัฐบาลประกาศห้ามรับประทานอาหารร้าน และโรงเรียนรวมถึงออฟฟิศต่าง ๆ ต้องปิดทำการชั่วคราว”

เอเดรียล เอง (Adriel Ng) หัวหน้าเจ้าหน้าที่การเงินของ Magorium เสริมว่า “สังคมมักพูดกันว่าขยะพลาสติกเกิดขึ้นอยู่เสมอเพราะผู้คนไม่รู้จักวิธีรีไซเคิล แต่ไม่ใช่แค่นั้น จริง ๆ แล้วผู้คนสามารถรีไซเคิลได้มากเท่าที่เราต้องการ แต่หากไม่มีตลาดรีไซเคิลที่เพียง คุณก็ต้องส่งขยะพลาสติกไปยังเตาเผาขยะและหลุมฝังกลบ ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ”

สิงคโปร์การฝังกลบขยะในหลุมฝังที่มีอยู่เพียงแห่งเดียว จพทำให้หลุมขยะเต็มภายในปี 2035 ซึ่งเร็วกว่าที่ประเมินไว้หนึ่งทศวรรษ

ปัจจุบันเทคโนโลยีของ Magorium ซึ่งพัฒนามาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี สามารถรีไซเคิลพลาสติกได้อย่างน้อย 6 ชนิดให้เป็นน้ำมันดิน

เทคโนโลยีของ Magorium ย่อยสลายขยะพลาสติกออกมาได้เป็นวัตถุดิบ 3 ลักษณะ คือ เป็นผง เป็นชิ้น และเป็นเม็ด ซึ่งนำไปผสมทำยางมะตอยได้

คุณโอกล่าวว่านอกเหนือจากการนำพลาสติกที่ทิ้งแล้วกลับมาใช้ใหม่ซึ่งอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมน้อยลงแล้ว นวัตกรรมนี้ยังช่วยลดการใช้น้ำมันดิน ที่ปกติได้จากถ่านหิน ไม้ และน้ำมันดิบ ลงถึงร้อยละ 10-20 นอกเหนือจากนั้นการใช้พลาสติกยังช่วยเพิ่มความทนทานของถนนได้ถึง 3 ปี

“พลาสติกมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ เช่น กันน้ำ และมีความยืดหยุ่น ดังนั้นเมื่อเพิ่มมันลงในถนน ก็จะถ่ายทอดคุณสมบัติบางอย่างเหล่านี้และช่วยให้ถนนคงทนมากขึ้น” โอ ฉู่เสียน กล่าวเสริม