การเขียนภาพ คน จัด อยู่ ใน หมวด ใด ของ งานจิตรกรรมไทย

                           5. แสดงจุดสนใจโดยไม่คำนึงถึงสัดส่วน  คือเรื่องราว หรือภาพในตอนใดที่ต้องการให้เด่น  ก็มักจะเขียนภาพนั้นให้เด่นชัดด้วย  โดยการลดส่วนประกอบอื่น ๆ  ลงโดยไม่คำนึงส่วนประกอบมากนัก  เช่น  เมื่อต้องการแสดงเรื่องราวทศกัณฐ์อยู่ในกรุงลงกาก็จะเขียนรูปทศกัณฑ์ตัวโตอยู่ในปราสาท ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ทศกัณฐ์จะยืนขึ้นหรือเคลื่อนไหวไปไหนภายในประสาทไม่ได้เลย  หรือภาพเหล่าเสนา อำมาตย์   ซึ่งในเรื่องจะกล่าวว่า  เฝ้าแหนเป็นจำนวนหมื่น ๆ    ก็จะเขียนลดจำนวนลงเหลือไม่กี่คนหรือเขียนให้ขนาดตัวเล็กลง แต่การแสดงจุดสนใจโดยย่อส่วนประกอบหรือขยายจุดสนใจนี้  แม้จะผิดต่อความเป็นจริงก็ยังมีความกลมกลืนกันเป็นอย่างดีดูแล้วไม่ขัดตานับเป็นการจัดภาพที่ฉลาดของช่างไทยในสมัยโบราณ ในการเน้นจุดสนใจด้วยขนาด

               จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย (Thai Contemporary Painting) จิตรกรรมไทยร่วมสมัยเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของโลก ความเจริญทางการศึกษา การคมนาคม การพาณิชย์ การปกครอง การรับรู้ข่าวสาร ความเป็นไปของโลกที่อยู่ห่างไกล ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและแนวทางการแสดงออกของศิลปินในยุคต่อๆ มาซึ่งได้พัฒนาไปตามสภาพเวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด และความนิยมในสังคม สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่ง อย่างมีคุณค่า เช่นดียวกัน อนึ่ง สำหรับลักษณะเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยร่วมสมัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นแนวทางเดียวกันกับลักษณะศิลปะแบบตะวันตกในลัทธิต่างๆ ตามความนิยมของศิลปินแต่ละคน

ช่างไทยโบราณแบ่งหมวดหมู่ของศิลปะไทยออกได้ 4 หมวดด้วยกัน คือ หมวดกระหนก หมวดนารี หมวดกระบี่ และหมวดคชะ หรือที่ช่างไทยรวมเรียกว่า กระหนก นาง ช้าง ลิง แต่ละหมวดก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไป ดังต่อไปนี้

  1. กนก ภาษาสันสกฤต แปลว่า “หนาม”สำหรับช่างเขียนโบราณ กนก คือ ดงป่าดงไม้ มีแบบฟอร์มคือเปลวไฟเป็นรูปสามเหลี่ยม การฝึกร่างลวดลาย ให้รู้จักความประสานสัมพันธ์กันของเส้นที่ผูกรวมกันเป็นลายไทย โดยเฉพาะกนกแบบต่างๆ เช่น กนกสามตัวกนกใบเทศ กนกเปลว ถือเป็นปฐมบทที่ต้องฝึกฝนให้ชำนาญก่อนที่จะทำการช่างอย่างอื่นต่อไป
  2. นารี คือ การเรียนรู้ฝึกฝนเกี่ยวกับการเขียนหน้ามนุษย์ เทวดา นางฟ้า พระ และนางทั้งด้านหน้าตรงและด้านหน้าเพล่ ซึ่งถือว่าเป็นภาพหลักของภาพไทย เมื่อเขียนได้คล่องแคล่วดีแล้ว จึงฝึกเขียนทั้งตัวในอริยาบถต่าง ๆ ภาพเหล่านี้จะแสดงอารมณ์ด้วย กิริยา ใบหน้าของตัวภาพจะไม่แสดงอารมณ์ดังนั้นจึงฝึกฝนเขียนตัวภาพไทยให้งดงามถูกต้องตามแบบแผนของศิลปะไทย นอกจากการฝึกเขียนตัวภาพหลักดังกล่าวแล้ว ยังต้องฝึกการเขียนภาพกากหรือตัวภาพที่เป็นคนธรรมดาและการเขียนภาพจับสำหรับเขียนเรื่องรามเกียรติ์ให้เกิดความชำนาญด้วย
  3. กระบี่ คือ การฝึกเขียนภาพอมนุษย์ต่าง ๆ ได้แก่ พวกยักษ์ วานร เป็นต้น ในการฝึกจะต้องฝึกจากภาพลิงหรือกระบี่เป็นอันดับแรก เมื่อเขียนได้แม่นยำแล้วจึงฝึกเขียนภาพอื่นต่อไป การฝึกเขียนภาพหมวดนี้จะเป็นประโยชน์ในการเขียนภาพเรื่องรามเกียรติ์
  4. คชะ คือ การฝึกเขียนภาพสัตว์สามัญและภาพสัตว์ประดิษฐ์ต่างๆ โดยเริ่มจากคชะหรือช้างซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่ก่อน แล้วจึงฝึกเขียนภาพสัตว์เล็กๆ ต่อไป ในหมวดนี้จะแบ่งสัตว์ที่เขียนเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือสัตว์ที่มีอยู่บนโลกมนุษย์ เช่น ช้าง ม้า วัว นก เป็นต้น ประเภทที่สอง คือ สัตว์ประดิษฐ์หรือสัตว์หิมพานต์ เช่น กินรี ราชสิงห์ เป็นต้น

การช่างเขียนดังกล่าวถือว่าเป็นวิชาการช่างหลักของการช่างไทย ซึ่งช่างส่วนใหญ่จะต้องเรียนรู้และฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ก่อนที่จะไปเป็นช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์วิหาร หรือประกอบการช่างอื่นต่อไป

กินรี อยู่ในหมวดใด

กินนร-กินรีเป็นอีกเผ่าพันธุ์หนึ่งในเขตหิมพานต์ ทางช่างไทยจึงนับเอากินนร-กินรีเป็น “สัตว์หิมพานต์” ประเภทหนึ่ง

จิตรกรรมไทยแบ่งเป็นกี่หมวดอะไรบ้าง

ช่างไทยโบราณแบ่งหมวดหมู่ของศิลปะไทยออกได้ ๔ หมวดด้วยกัน คือ หมวดกระหนก หมวดนารี หมวดกระบี่หมวดคชะ หรือที่ช่างไทย รวมเรียกว่า กระหนก นาง ช้าง ลิง แต่ละหมวดก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไป

ภาพไทยมีกี่ประเภท

แบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม ที่ปรากฎในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ 1. จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional Painting) 2. จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย (Thai Contempolary Painting.

หมวดลายไทยโบราณหมวดใดเกี่ยวข้องกับภาพอมนุษย์

หมวดหมู่ของศิลปะไทย กระบี่ คือ การฝึกเขียนภาพอมนุษย์ต่าง ๆ ได้แก่ พวกยักษ์ วานร เป็นต้น ในการฝึกจะต้องฝึกจากภาพลิงหรือกระบี่เป็นอันดับแรก เมื่อเขียนได้แม่นยำแล้วจึงฝึกเขียนภาพอื่นต่อไป การฝึกเขียนภาพหมวดนี้จะเป็นประโยชน์ในการเขียนภาพเรื่องรามเกียรติ์