พระพุทธเจ้าแสดงอนัตตลักขณสูตร วันใด

หลังจากพระพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แล้ว ถัดจากนั้น ๕ วัน คือในวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ทรงแสดงธรรมชื่ออนัตตลักขณสูตรโปรดปัญจวัคคีย์อีกครั้ง เมื่อแสดงธรรมจบ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์

บทสวดมนต์ อนัตตลักขณสูตร

พิจารณาธรรมโดยความเป็นอนัตตา

เอวัมเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย. ตัต๎ระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ.

รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา. รูปัญจะหิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ รูเป เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ. ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อะนัตตา ตัส๎มา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ รูเป เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อะโหสีติ.

เวทะนา อะนัตตา. เวทะนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ เวทะนายะ เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ. ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อะนัตตา ตัส๎มา เวทะนา อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ เวทะนายะ เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อะโหสีติ.

สัญญา อะนัตตา. สัญญา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ สัญญายะ เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ. ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว สัญญา อะนัตตา ตัส๎มา สัญญา อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ สัญญายะ เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อะโหสีติ.

สังขารา อะนัตตา. สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ นะยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังวัตเตยยุง ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ. ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว สังขารา อะนัตตา ตัส๎มา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันติ นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อะเหสุนติ.

วิญญาณัง อะนัตตา. วิญญาณัญจะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ ลัพเภถะ จะ วิญญาเณ เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ. ยัส๎มา จะ โข ภิกขะเว วิญญาณัง อะนัตตา ตัส๎มา วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเณ เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อะโหสีติ.

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว รูปัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ. อะนิจจัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว เวทะนา นิจจา วา อะนิจจา วาติ. อะนิจจา ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สัญญา นิจจา วา อะนิจจา วาติ. อะนิจจา ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว สังขารา นิจจา วา อะนิจจา วาติ. อะนิจจา ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.

ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว วิญญาณัง นิจจัง วา อะนิจจัง วาติ. อะนิจจัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริณามะธัมมัง กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง เอตัง มะมะ เอโสหะมัส๎มิ เอโส เม อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต. ตัส๎มาติหะ ภิกขะเว

ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หีนัง วา ปะณีตัง วา ยันทูเร สันติเก วา สัพพัง รูปัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง.

ยา กาจิ เวทะนา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนา วา ปะณีตา วา ยา ทูเร สันติเก วา สัพพา เวทะนา เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง.

ยา กาจิ สัญญา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนา วา ปะณีตา วา ยา ทูเร สันติเก วา สัพพา สัญญา เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง.

เย เกจิ สังขารา อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนา อัชฌัตตา วา พะหิทธา วา โอฬาริกา วา สุขุมา วา หีนา วา ปะณีตา วา เย ทูเร สันติเก วา สัพเพ สังขารา เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง.

ยังกิญจิ วิญญาณัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หีนัง วา ปะณีตัง วา ยันทูเร สันติเก วา สัพพัง วิญญาณัง เนตัง มะมะ เนโสหะมัส๎มิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง.

เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุต๎วา อะริยะสาวะโก รูปัส๎มิงปิ นิพพินทะติ เวทะนายะปิ นิพพินทะติ สัญญายะปิ นิพพินทะติ สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ วิญญาณัส๎มิงปิ นิพพินทะติ. นิพพินทัง วิรัชชะติ. วิราคา วิมุจจะติ. วิมุตตัส๎มิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ. ขีณา ชาติ วุสิตัง พ๎รัห๎มะจะริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ.

อิทะมะโวจะ ภะคะวา. อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง.อิมัส๎มิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส๎มิง ภัญญะมาเน ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ.

ใจความสำคัญ : เป็นบทพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๒ ที่ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา เป็นธรรมที่ลึกซึ้งควรค่าแก่การศึกษาทำความเข้าใจ หากเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วก็เป็นทางเข้าถึงความพ้นทุกข์

อนัตตลักขณสูตร แปล

ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี  ที่นั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป(คือร่างกายนี้) มิใช่ตัวตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ หากรูปนี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ รูปนี้คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์พึงได้ในรูปตามใจปรารถนาว่าขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด ขอรูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่รูปมิใช่ตัวตน ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ก็ไม่ได้ในรูปตามใจปรารถนาว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด ขอรูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้

เวทนา(คือความรู้สึกนี้) มิใช่ตัวตน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็หากเวทนานี้ จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ เวทนานี้คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์พึงได้ในเวทนาตามใจปรารถนาว่า ขอเวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด ขอเวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่เวทนามิใช่ตัวตน ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ก็ไม่ได้ในเวทนาตามใจปรารถนาว่าขอเวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด ขอเวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้

สัญญา (คือความรู้จำ) มิใช่ตัวตน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็หากสัญญานี้ จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ สัญญานี้คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์พึงได้ในสัญญาตามใจปรารถนาว่า ขอสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด ขอสัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สัญญามิใช่ตัวตน ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ก็ไม่ได้ในสัญญาตามใจปรารถนาว่าขอสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด ขอสัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้

สังขาร(คือความคิดปรุงแต่ง)ทั้งหลาย มิใช่ตัวตน ภิกษุทั้งหลายก็หากสังขารทั้งหลายนี้ จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ สังขารทั้งหลายนี้คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์พึงได้ในสังขารทั้งหลายตามใจปรารถนาว่า ขอสังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด ขอสังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายมิใช่ตัวตน ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ก๋ไม่ได้ในสังขารทั้งหลายตามใจปรารถนาว่า ขอสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด ขอสังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้

วิญญาณ (คือความรู้อารมณ์) มิใช่ตัวตน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็หากวิญญาณนี้ จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ วิญญาณนี้คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์พึงได้ในวิญญาณตามใจปรารถนาว่า ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด ขอวิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่วิญญาณมิใช่ตัวตน ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และสัตว์ก็ไม่ได้ในวิญญาณาตามใจปรารถนาว่าขอวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด ขอวิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในก็ตามภายนอกก็ตาม หยาบก็ตามละเอียดก็ตามขี้เหร่ก็ตามสวยงามก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดเป็นเพียงสักว่ารูปเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในก็ตามภายนอกก็ตาม หยาบก็ตามละเอียดก็ตามขี้เหร่ก็ตามสวยงามก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม เวทนาทั้งหมดเป็นเพียงสักว่าเวทนาเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในก็ตามภายนอกก็ตาม หยาบก็ตามละเอียดก็ตามขี้เหร่ก็ตามสวยงามก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม สัญญาทั้งหมดเป็นเพียงสักว่าสัญญาเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในก็ตามภายนอกก็ตาม หยาบก็ตามละเอียดก็ตามขี้เหร่ก็ตามสวยงามก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม สังขารทั้งหมดเป็นเพียงสักว่าสังขารเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในก็ตามภายนอกก็ตาม หยาบก็ตามละเอียดก็ตามขี้เหร่ก็ตามสวยงามก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดเป็นเพียงสักว่าวิญญาณเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ฟังและเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธรรมปริยายนี้ จบลงแล้ว. ภิกษุปัญจวัคคีย์ต่างมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณ์นี้อยู่ จิตของภิกษุปัญจวัคคีย์ ได้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน ดังนี้แล.


ประวัติ : หลังจากพระพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แล้ว ถัดจากนั้น ๕ วัน คือในวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ทรงแสดงธรรมชื่ออนัตตลักขณสูตรโปรดปัญจวัคคีย์อีกครั้ง เมื่อแสดงธรรมจบ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์

ที่มา : พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๘๒-๘๕ ข้อที่ ๑๒๗-๑๓๐

ประยุกต์ใช้ : อนัตตลักขณสูตร พระพุทธเจ้าทรงมุ่งสอนให้พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นความจริงที่มีอยู่เป็นอยู่ แต่คนทั่วไปไม่รู้ไม่เห็น อนัตตา โดยความหมายคือ ไม่ใช่ตัวตน, ไม่เป็นไปในอำนาจ หรือไม่อาจสั่งการให้เป็นไปอย่างที่ต้องการได้ ความจริงของขันธ์ ๕ เป็นอย่างหนึ่ง แต่คนทั้งหลายอยากให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อความจริงไม่เป็นดังที่เราต้องการจึงทำให้เราเป็นทุกข์ รูปร่างกายมีความแก่ มีความเจ็บไข้ มีความเสื่อมโทรม เป็นธรรมดา แต่เราต้องการให้มันไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่เสื่อมโทรม พอมันแก่มันเจ็บมันเสื่อมโทรมจึงเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะไม่ยอมรับความจริง ทุกข์เพราะไม่รู้อนัตตา ถ้าเรารู้จักอนัตตา ยอมรับอนัตตาได้ ใจเราก็เป็นอิสระไม่ทุกข์