อุปสรรคของการ สื่อสาร ที่เกิดขึ้นในองค์กร

ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่การทำงานระบบทีมนั้นจะเกิดความขัดแย้งขึ้น สิ่งที่องค์กรตลอดจนหัวหน้าทีมควรคำนึงถึงมากกว่าก็คือการบริหารจัดการความขัดแย้งให้เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และขจัดอุปสรรค์ต่างๆ ในการทำงานระบบทีมให้มีความราบรื่นขึ้น เพื่อให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้เช่นเดิม และสามารถจับมือร่วมกันสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด

Show

อุปสรรค 9 ประการ ในการทำงานเป็นทีม

อุปสรรคของการ สื่อสาร ที่เกิดขึ้นในองค์กร

ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานเป็นทีมนั้นมีหลายปัจจัย อุปสรรคต่างๆ นั้นสามารถแบ่งเป็นหมวดใหญ่ได้ 9 ประการ ซึ่งบทสรุปนี้หยิบยกมาจาก The Nine Barriers to Teamwork ที่เผยแพร่ในวารสาร Personal Journal ฉบับเดือนมกราคม ค.ศ.1988 ที่ถึงแม้เวลาจะผ่านมานานแล้วแต่หลักการนี้ยังคงได้รับความน่าเชื่อถือและใช้อ้างอิงกันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ซึ่งตัวชี้วัดอุปสรรคในการทำงานเป็นทีมทั้ง 9 ประการนั้นมีดังนี้

1.ความแตกต่างระหว่างบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล (Personality Differences)

ไม่มีใครสักคนบนโลกนี้ที่เหมือนกัน แต่ละคนย่อมมีความแตกต่าง และความแตกต่างนี้เองมักนำมาซึ่งปัญหาในการทำงานร่วมกัน ทุกคนล้วนมีอคติ (Bias) ส่วนตัวต่อบุคคลอื่นในเหตุผลที่ต่างกัน บุคลิกบางอย่างก็อาจไม่เป็นที่ยอมรับของคนบางคน ทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารระหว่างกัน และเกิดปัญหาในการทำงานได้ บุคลิกบางอย่างเราปรับได้ แต่บุคลิกส่วนบุคคลบางอย่างก็ปรับได้ยาก แต่ถึงอย่างนั้นทุกคนก็ควรเข้าใจและยอมรับในความเป็นส่วนบุคคลของตนเองและคนอื่นได้ด้วย

2.ความไม่เท่าเทียมกันในการมีส่วนร่วม (Unequal Contributions)

ความไม่เท่าเทียมกันเป็นบ่อเกิดของปัญหาเสมอ โดยเฉพาะเรื่องของการทำงานที่หากมีการแบ่งงานให้ทำอย่างไม่เสมอภาคแล้วก็ย่อมเกิดความไม่เท่าเทียมและนำมาซึ่งปัญหาได้ บางคนอาจได้ทำงานเยอะเพราะมีศักยภาพ แต่บางคนได้ทำงานน้อยเพราะขี้เกียจ ตรงจุดนี้ผู้นำทีมอาจจะเป็นตัวแปรสำคัญในการบริหารจัดการแบ่งงานให้เกิดความเท่าเทียมและประเมินผลตามศักยภาพของแต่ละบุคคลให้เหมาะสมด้วยเช่นกัน รวมถึงจัดสรรความรับผิดชอบให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมด้วย

3.การขาดความรู้สึกมีส่วนร่วม (No Sense of Belonging)

ปัจจัยสำคัญมากที่จะทำให้การทำงานระบบทีมประสบความสำเร็จนั้นก็คือการรู้สึกถึงความมีส่วนร่วมของทีมหรือองค์กร รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม สิ่งที่จะสร้างความมีส่วนร่วมได้ดีนั้นก็คือการได้ทำงานที่ตนเองรัก ทำได้ดี มีศักยภาพ แต่อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือความสัมพันธ์ของสมาชิกในทีม เพราะถ้าสมาชิกในทีมมีความสัมพันธ์กันที่แย่ หรือมีความสัมพันธ์ต่ำ ความสามัคคีในการทำงานก็จะเกิดขึ้นได้ยาก และเมื่อสมาชิกไม่มีความรู้สึกร่วมในการทำงานระบบทีมแล้วก็จะขาดความทุ่มเท มุ่งมั่นอย่างเต็มที่ ทำให้การทำงานระบบทีมมีปัญหาได้

4.ความล้มเหลวในการประเมิน (Failure of Evaluation)

การทำงานที่ดีควรมีการประเมิลเพื่อนำผลมาวิเคราะห์ว่าการทำงานประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ควรปรับวิธีการ แก้ไขสิ่งไหน หรือควรพัฒนาสิ่งไหนให้ดียิ่งขึ้นไป หากการประเมินผลไร้ประสิทธิภาพก็อาจทำให้เกิดการแก้ไขที่ผิดทิศทางได้ การประเมินผลที่ดีควรยึดหลักความถูกต้องตามความเป็นจริงเป็นหลัก อย่าประเมินผลเพื่อให้ผลงานสวยหรูโดยปิดบังข้อเท็จจริงไว้ การประเมินผลที่ดีนั้นควรจะต้องติดตามและตรวจสอบรายละเอียดการทำงานอย่างสม่ำเสมอ วิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมา และสามารถเสนอแนะวิธีการจัดการกับปัญหาได้อย่างเหมาะสมด้วย หากการประเมินมีประสิทธิภาพ จะเป็นผลประโยชน์ต่อทีมและองค์กรในระยะยาว

5.อำนาจของผู้นำ (Power of the Leader)

หัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีมอีกอย่างหนึ่งก็คือการมีผู้นำที่ดี ผู้นำเปรียบเสมือนกัปตันเรือที่จะคอยบังคับเรือไปในทิศทางที่ถูกต้อง การให้อำนาจผู้นำในการบริหารตลอดจนการตัดสินใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และหากผู้นำใช้อำนาจนี้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะเกิดการทำงานที่มีศักยภาพเช่นกัน ตรงกันข้ามหากผู้นำใช้อำนาจที่ผิดก็อาจสร้างปัญหาตามมาได้อีกหลายประการ อีกมุมหนึ่งในเรื่องอำนาจของผู้นำที่จำเป็นต่อการทำงานระบบทีมนี้ก็คือการที่ผู้นำมีศักยภาพจนได้รับการยอมรับจากสมาชิกในทีม หากผู้นำไม่มีศักยภาพพอจนสมาชิกไม่ยอมรับ การทำงานระบบทีมก็จะไม่แข็งแกร่ง เกิดปัญหาในที่สุด ขณะเดียวกันผู้ที่เป็นหัวหน้าทีมก็จะต้องรู้จัการใช้อำนาจในการบริหารงานตลอดจนบริหารบุคคลในทีมอย่างเหมาะสมด้วย

6.การขาดแคลนทางเลือก (Lack of Alternative)

ปัญหาในการขาดแคลนทางเลือกนี้มักเกิดขึ้นกับทีมที่มีจำนวนสมาชิกน้อย หรือทีมที่มีสมาชิกมีความเป็นเอกภาพส่วนตัวสูงจนเกินไป สิ่งเหล่านี้ทำให้งานไม่เกิดความหลากหลาย หรือสมาชิกมีอัตตาในการทำงานที่ยึดถือตนเป็นหลัก แต่ไม่ได้มองสภาพตามสถานการณ์ที่เป็นจริง ก็อาจจะขาดทางเลือกที่เหมาะสมและถูกต้อง ทำให้เกิดการตัดสินใจผิด ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงได้ การขาดแคลนทางเลือกนี้ยังรวมไปถึงการขาดคนที่มีศักยภาพมาร่วมทีม นั่นทำให้โอกาสที่จะประสบความสำเร็จมีน้อยลงตามไปด้วย

7.การปิดบัง (Concealment)

การทำงานระบบทีมจะล้มเหลวทันทีหากเกิดการปิดบังข้อเท็จจริงกัน ทั้งการไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริงระหว่างสมาชิกในทีม ไปจนถึงการปิดบังข้อเท็จจริงต่อองค์กร บางคนปิดบังข้อเท็จจริงไว้เพราะไม่อยากให้ผลงานของตนดูแย่ หรือบางคนไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาให้คนอื่นรู้เพราะอยากให้ผลงานของตนเองโดดเด่นที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการปิดบังในรูปแบบนั้นย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อการทำงานระบบทีมทั้งนั้น และก่อให้เกิดความเสียหายกับองค์กรในที่สุด

8.การวินิจฉัยทีมต่ำ (Short of Teamwork Diagnosis)

ทีมที่มุ่งปฎิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายโดยเร็วที่สุดโดยละเลยการตรวจสอบให้ชัดเจนตลอดจนเพิกเฉยในการตรวจสอบระบบการทำงานของทีมตนเอง อาจทำให้ทีมไม่พบจุดบกพร่องที่ควรจะแก้ไข หรือละเลยที่จะแก้ปัญหาที่ควรจะทำ ปัญหาเหล่านี้อาจถูกซ่อนเร้น ค่อยๆ ก่อตัวจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ในที่สุด และอาจจะสายเกินแก้ในภายหลัง การทำงานระบบทีมที่ดีนั้นนอกจากจะตรวจสอบผลงานแล้วก็ควรตรวจสอบตนเองด้วย วินิจฉัยทีมให้ได้ว่ามีจุดบกพร่องอะไรหรือเปล่า มีสิ่งผิดพลาดอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ หรืออะไรควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน เป็นต้น

9.ขาดการกระจ่ายข่าวสู่ระดับล่าง (Lack of Spreading News to Lower Level)

การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ การกระจายข่าวสารและข้อมูลระหว่างคนในทีมก็ควรให้ความสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะการกระจายข่าวสารจากระดับบริหารสู่ระดับล่าง บางครั้งหัวหน้างานอาจได้รับข้อมูลข่าวสารมาแต่ไม่กระจายสู่สมาชิกทีมระดับล่าง ก็อาจเกิดการไม่รู้ข้อมูลได้ เมื่อไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริงก็อาจทำให้การทำงานผิดพลาดได้เช่นกัน การกระจายข่าวสารไม่ครบถ้วนนั้นก็เกิดปัญหาได้ ทำให้การทำงานระบบทีมติดขัด ผู้นำทีมจึงควรตระหนักในการกระจายข่าวสารสู่ระดับล่างให้ดีด้วย

CHECK!

สร้างทีมงาน (Team Work) ให้มีศักยภาพเพื่อการทำงานระบบทีม (Teamwork) ที่มีประสิทธิภาพ

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

อุปสรรคของการ สื่อสาร ที่เกิดขึ้นในองค์กร

Q: เพิ่งได้เป็นผู้จัดการตั้งแต่อายุยังน้อย ลูกน้องไม่รัก ไม่เปิดใจ ไม่เคารพ ทำยังไงดีครับ

ผมเป็นผู้จัดการตั้งแต่ อายุ 26 ผมเคยแต่ทำตัวเลขทำยอด ปิดเป้าบริษัท ตลอด ผมกลับบริหารให้ลูกน้องรักไม่ได้ ผมควรทำไงให้ลูกน้องเข้าใจ และไว้วางใจเราครับ

 

A: เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างคลาสสิกเรื่องหนึ่งของการบริหารจัดการคน

เราอาจเคยได้ยินผู้บริหารหลายท่านพูดว่า เราเสียนักขายมือทองไป เพื่อไปเป็นผู้จัดการที่เฮงซวย ซึ่งเรื่องนี้มีข้อแนะนำให้ผู้จัดการมือใหม่ สามข้อ ดังนี้ครับ

1) เข้าใจบทบาทของ พนักงาน และ ผู้จัดการ

2) ชนะใจด้วยสมการความเชื่อใจ Credit (น่าเชื่อถือ)

3) มอบหมายให้ชัด ติดตามงานให้บ่อย และให้ Feedback สม่ำเสมอ..

อุปสรรคของการ สื่อสาร ที่เกิดขึ้นในองค์กร

วิธีการบริหารจัดการความขัดแย้ง

อุปสรรคของการ สื่อสาร ที่เกิดขึ้นในองค์กร

การบริหารจัดการความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพนั้นสามารถทำได้ทั้งก่อนและหลังเกิดความขัดแย้ง บางครั้งเมื่อคาดการณ์ว่าจะเกิดความขัดแย้งได้ก็สามารถที่จะหาวิธีป้องกันไว้ก่อนได้เช่นกัน ขณะเดียวกันเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นแล้วก็ต้องรีบหาวิธีแก้ไขเพื่อลดความขัดแย้งลงโดยเร็ว เพราะหากปล่อยไว้อาจกลายเป็นไฟลามทุ่ง สร้างความเสียหายอันใหญ่หลวงให้กับองค์กรได้เช่นกัน

การหลีกเลี่ยง

วิธีนี้เป็นการตัดไฟแต่ต้นลมหรือป้องกันก่อนเกิดเหตุ โดยเป็นวิธีการที่ทีมงานตลอดจนหัวหน้าทีมหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งภายในทีมขึ้นได้ พยายามหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อการทำงานระบบทีม แต่หากเกิดความขัดแย้งขึ้นจริงๆ แล้วทีมก็ไม่ควรหลีกเลี่ยงปัญหา ควรตั้งรับและพร้อมที่จะแก้ไข

การประณีประนอม

วิธีการนี้นี้เป็นการบริหารความขัดแย้งในรูปแบบ Win-Win Situation ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้ประโยชน์ และเกิดความประณีประนอมกันขึ้น เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นแล้วก็ควรที่จะหันหน้าหารือ คุยกัน หรือยอมถอยหลังกันคนละก้าว เพื่อมานั่งตกลงร่วมกันหาข้อสรุปที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย หากประณีประนอมกันได้ก็อาจไม่เกิดความขัดแย้งที่หนักขึ้น และสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้ แต่การประณีประนอมนี้ก็ต้องขึ้นอยู่บนพื้นฐานการตกลงเห็นพ้องต้องกันทั้งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกัน ไม่ใช่การเจราให้อีกฝ่ายประณีประนอมเพื่ออีกฝ่าย ซึ่งนั่นอาจสร้างความขัดแย้งในระดับต่อไปได้อีก และก็ไม่ใช่การบังคับให้ทั้งสองฝ่ายต้องเห็นพ้องต้องกัน ควรเกิดจากความสมัครใจ เพราะถ้าเกิดจากการบังคับ วันหนึ่งอาจจะเกิดการระเบิดที่ก่อปัญหาหนักขึ้นก็เป็นได้

การยอมเสียสละ

การยอมเสียสละในที่นี้ต้องมีอยู่บนพื้นฐานการเสียผลประโยชน์หรือเสียเปรียบที่ร้ายแรง เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นจะต้องมีการเจรจากัน หากอีกฝ่ายยอมเสียสละได้ ยอมถอยแต่ฝ่ายเดียว ก็จะเป็นการดี แต่ไม่ใช่การยอมเสียสละแล้วฝ่ายนั้นโกรธแค้น หรือไม่ยินดี การเสียสละเป็นสปิริตที่ดี แต่หัวหน้างานเองก็ต้องควรพิจารณาความเหมาะสมด้วย เพราะบางครั้งเหตุผลของการเสียสละอาจไม่ได้เกิดผลลัพธ์ที่ดีก็ได้ การเสียสละควรเกิดจากความเต็มใจ และไม่เดือนร้อน บาดหมางกัน บางครั้งการเสียสละก็เพื่อที่จะสร้างความผิดพลาดให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดกับองค์กร ซึ่งหัวหน้างานควรพิจารณาเป็นกรณีให้ดี

การร่วมมือกัน

บางครั้งความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นคนละทิศทาง แต่ทิศทางต่างๆ ต่างก็ดีกับการทำงานทั้งสองทาง การหาทางออกร่วมกันที่ดีที่สุดอีกวิธีหนึ่งก็คือการดึงมาทำงานร่วมกัน อาจหารือให้ทุกอย่างลงตัวกลายเป็นข้อสรุปเพียงหนึ่งเดียวสำหรับการทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกันนี้อันที่จริงยิ่งส่งผลดีต่อระบบทีมเข้าไปอีก แต่ก็ต้องดูกรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยว่าสามารถนำมารวมกันแล้วทำงานร่วมกันได้จริงหรือไม่ หากดันทุรังทำสิ่งที่ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้จริง อาจยิ่งเกิดปัญหาเข้าไปอีก แต่หากทำงานร่วมกันได้ก็จะขจัดปัญหาความขัดแย้งในทีมได้เป็นอย่างดี

การแข่งขัน

ในเมื่อไม่สามารถหาทางออกในการทำงานร่วมกันได้ก็ปรับเปลี่ยนเป็นการแข่งขันกันเสียเลย นั่นเป็นอีกทางออกหนึ่งของการขจัดความขัดแย้งในการทำงานระบบทีม แต่การแข่งขันนี้จะต้องมีการปรับรูปแบบให้เหมาะสม แข่งขันกันทำงานในทีม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน ไม่ใช่แข่งขันกันเพื่อที่จะหาผู้ชนะ หรือชิงดีชิงเด่นกัน ทีมต้องปรับการแข่งขันให้เป็นเชิงบวก เป็นแรงผลักดันในการทำงานที่ดี และต้องยอมรับในความสามารถของกันและกันด้วย การแข่งขันนั้นย่อมต้องมีผู้ชนะ แต่ผู้ชนะสำหรับการแข่งขันภายในทีมควรมีการตัดสินอย่างยุติธรรมและรัดกุม และไม่ส่งเสริมจนให้เกิดความเกลียดชัง แต่ส่งเสริมให้ทุกคนร่วมยินดีกับชัยชนะและกระตุ้นให้อยากชนะบ้างในวันข้างหน้า เพื่อทำผลงานให้ได้ดีที่สุด ไม่ใช่เพื่อที่จะเอาชนะเพื่อนร่วมทีม หากปรับเปลี่ยนการแข่งขันให้เป็นประโยชน์ จะทำให้การทำงานระบบทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้เลยทีเดียว

 

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

อุปสรรคของการ สื่อสาร ที่เกิดขึ้นในองค์กร

Q: จะออกแบบให้การเมืองในบริษัทเบาบางลงได้อย่างไรคะ

รู้สึกว่าที่ Office การเมืองแรงมาก เกิดการดราม่า แบ่งฝักแบ่งฝ่าย พูดคุยนินทากันลับหลังข้ามแผนก มันทำให้การทำงานขาดคามร่วมมือ มีมวลความเครียดบางอย่างในที่ทำงาน เราจะจะออกแบบให้การเมืองในบริษัทเบาบางลงได้อย่างไรคะ

 

A: เป็นปัญหา classic ในที่ทำงานนะคะ

การทำงานแบบแบ่งฝักแบ่งฝ่าย การเมืองในบริษัท ถ้าให้แก้ไขหมดไปเลยคงยาก แต่ให้ลดลงแบบค่อยเป็นค่อยไป น่าจะเห็นภาพที่จะเกิดขึ้นได้มากกว่าค่ะ แนะนำ guideline ทั้งระดับองค์กรและระดับ HR ดังนี้ค่ะ

 

อุปสรรคของการ สื่อสาร ที่เกิดขึ้นในองค์กร

 

บทบาทของผู้นำในการบริหารจัดการความขัดแย้งของทีมงาน

อุปสรรคของการ สื่อสาร ที่เกิดขึ้นในองค์กร

การทำงานระบบทีมนั้นตำแหน่งที่มีความสำคัญยิ่งก็คือผู้นำทีมนั่นเอง กรณีเกิดความขัดแย้งภายในทีมนั้นผู้นำทีมอาจจะเหมาะสมในการเป็นผู้บรรเทาตลอดจนจัดการปัญหาได้ดีที่สุดเช่นกัน รวมถึงการมองการไกลในการป้องกันที่จะไม่ให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นกับการทำงานระบบทีมด้วย บทบาทของผู้นำที่ดีนั้นควรมีดังนี้

1.เข้าใจบทบาท หน้าที่ ตลอดจนศักยภาพของสมาชิกในทีมทุกคน : หัวหน้าทีมควรรู้ศักยภาพ จุดอ่อน จุดแข็ง ตลอดจนบทบาท และหน้าที่ของแต่ละคน และวางแผนให้แต่ละคนทำงานให้ถูกต้องเหมาะสมกับศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด รู้จุดอ่อน จุดแข็งของสมาชิกในทีมให้ได้ ทุกอย่างจะสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาในยามเกิดความขัดแย้งได้ รวมถึงป้องกันความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นได้ด้วย

2.บริหารโดยให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานที่เท่าเทียม : การให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้นจะทำให้ระบบการทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพ เพราะทุกคนมีส่วนสำคัญต่อการทำงานเป็นทีมหมด บางครั้งหัวหน้างานอาจคิดเอาเองว่าเรื่องบางเรื่องสมาชิกบางคนไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ นั่นอาจหมายถึงการกีดกันหรือปกปิดข้อมูลที่ทำให้การทำงานในระบบทีมเกิดปัญหา ฉะนั้นหัวหน้างานต้องบริหารตรงจุดนี้ให้ดี

ชี้แจง … ให้ชัดเจน

แน่นอนว่าคนเราทุกคนมีความสามารถและศักยภาพที่ไม่เหมือนกัน กรณีที่จำเป็นต้องแบ่งงานกันตามศักยภาพของแต่ละคนจนอาจเกิดความไม่เท่าเทียมในการทำงานนี้อาจแก้ปัญหาได้ด้วยการชี้แจงสมาชิกทุกคนในทีมให้ชัดเจนถึงหน้าที่ขอบข่ายความรับผิดชอบของแต่ละคน ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์ของงานที่จะเข้ามาให้ทำของแต่ละคนด้วย และหากเกิดการทำงานที่ไม่เท่าเทียมกันจริงๆ หัวหน้างานก็ควรประเมินอัตราจ้างให้เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละคนด้วย ก็สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้เช่นกัน

3.เคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล : คนที่จะบริหารจัดการความแตกต่างของคนในทีมได้ดีที่สุดก็คือหัวหน้าทีมนั่นเอง หัวหน้าทีมควรรู้และเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคลของคนในทีมทุกคน ไม่ลำเอียงต่อคนใดคนหนึ่ง และจัดการความแตกต่างให้เหมาะสมกับการทำงาน รวมถึงประสานความแตกต่างให้อยู่รวมกันได้ ตลอดจนสามารถช่วยปรับความแตกต่างของสมาชิกแต่ละคนให้ดีขึ้น หรือทำงานร่วมกันได้

4.มีทัศนคติที่ดีกับ “ปัญหา” และ “อุปสรรค” : ปัญหามักเกิดขึ้นเสมอ ผู้นำที่ดีไม่ควรหนีปัญหา ควรเตรียมตัวรับมือตลอดเวลา และเป็นหลักในการช่วยสมาชิกแก้ปัญหาด้วย และควรมีทัศนคติที่ดีกับปัญหาและอุปสรรค์ เพราะบางอย่างเกิดขึ้นเพื่อให้เราแก้ไขให้การทำงานดีขึ้น หรือเป็นบทเรียนสำคัญที่จะทำให้เราไม่ประมาท เป็นต้น หากมองปัญหาเป็นเรื่องแย่ หรือหัวเสียกับมัน นอกจากจะทำให้จิตใจย่ำแย่แล้วก็อาจทำให้มีศักยภาพในการแก้ปัญหาได้ต่ำลงด้วย

5.มีความเป็นธรรม : ผู้บริหารควรมีความเป็นธรรมในการบริหารงานบุคคล ไม่โอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ควรให้ความสำคัญต่อสมาชิกทุกคนในทีมเท่าๆ กัน และมีความยุติธรรมในการตัดสิน ประเมินผล ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่างๆ

6.รับฟังความคิดเห็น : การเปิดรับฟังผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์ใจ ไม่มีอคติ รับฟังทุกมิติ ก่อนที่จะนำมาตัดสินเรื่องใดๆ นั้น เป็นสิ่งที่ผู้นำทีมควรมีอย่างยิ่ง ควรรับฟังสมาชิกในทีมอย่างเปิดใจในทุกๆ เรื่อง ตั้งแต่การเสนอแนะของทุกคน ไปจนถึงการรายงานปัญหาของแต่ละคนด้วย

7.สื่อสารสมาชิกในทีมให้ถูกต้อง ชัดเจน และเข้าใจตรงกัน : การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญต่อการะบวนการทำงานเป็นทีม และต้องสื่อสารอย่างชัดเจน ถูกต้อง เข้าใจตรงกันด้วย หากผู้นำขาดการสื่อสารแล้วบางครั้งก็อาจทำให้เกิดความไม่เข้าใจ ทำงานผิดพลาดได้ หรือการสื่อสารไม่ครบถ้วนก็อาจทำให้เกิดการกระจายข้อมูลที่ผิด สิ่งสำคัญคือเมื่อสื่อสารไปแล้วก็ควรเช็คความเข้าใจของทุกคนด้วยว่าเข้าใจตรงกันหรือเปล่า เพราะบางครั้งสารเดียวกันแต่เข้าใจไม่ตรงกันก็ทำให้เกิดปัญหาได้ ซึ่งการเข้าใจตรงกันนั้นจำเป็นต่อการทำงานระบบทีมอย่างยิ่ง

8.มีทักษะในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว : ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นต้องการการแก้ไขที่รวดเร็วที่สุดเสมอ แต่การแก้ไขที่รวดเร็วโดยทำแบบลวกๆ อยากให้จบไวๆ ไม่มีการหาข้อมูลที่ถูกต้อง ขาดการวิเคราะห์ที่ถ้วนถี่ ก็ทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน ผู้นำที่ดีควรวิเคราะห์ได้อย่างถี่ถ้วน และบริหารจัดการเวลาในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็วที่สุด

9.รู้จักวิธีส่งเสริมกำลังใจทีม และกระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นอยู่เสมอ : ผู้นำทีมที่ดีควรรู้จักวิธีส่งเสริมกำลังใจทีม ทั้งในส่วนบุคคลและภาพรวมของทีม สร้างเสริมให้ทุกคนมีกำลังใจที่จะสู้ต่อไปในยามท้อ หรือยามที่ถดถอย ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างความมุ่งมั่น กระตุ้นให้เกิดความฮึกเฮิมในการเอาชนะเป้าหมายเพื่อบรรลุความสำเร็จ

CHECK!!

อุปสรรคของการ สื่อสาร ที่เกิดขึ้นในองค์กร

แนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation Concept)

บทสรุป

ปัญหาและอุปสรรค์มักเกิดขึ้นกับการทำงานเสมอไม่ว่าจะเป็นการทำงานประเภทใดก็ตาม การทำงานเป็นระบบทีมนั้นประกอบไปด้วยคนหลายคนที่มีความแตกต่างกัน เป็นธรรมดาที่จะเกิดปัญหาขึ้นอยู่แล้ว ดังนั้นทีมควรตั้งมือในการรับปัญหาและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาร่วมกันด้วย ทำความเข้าใจเรื่องความแตกต่าง และเคารพความคิดเห็นของคนอื่นอย่างเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันก็มีทัศนคติที่ดีกับปัญหาและอุปสรรค์ที่เข้ามา คิดวิเคราะห์อย่างถ้วนถี่เพื่อหาทางออกที่เหมาะสม และจัดการอย่างรวดเร็วรอบคอบที่สุด เมื่อทีมสามารถจัดการกับความขัดแย้งหรือปัญหาได้ดี การทำงานก็จะราบรื่น ทีมก็จะมีศักยภาพขึ้น และโอกาสในการบรรลุเป้าหมายสู่ความสำเร็จก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน

อะไรเป็นอุปสรรคของการสื่อสาร

อุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร คือ ตัวการที่คอยรบกวนการติดต่อสื่อสารให้ติดขัด ชะงัก หรือไม่มีประสิทธิภาพ (Communication Breakdown) แบ่งออกเป็น 3 ด้าน 1. ด้านเทคนิคหรือกลไก (Technical or Mechanical) เกิดจากช่องทางการสื่อสารที่น าเสนอ ตัวอย่างเช่น โทรทัศน์ภาพล้ม, การพูดคุยในที่เสียงดัง

ปัญหาการสื่อสารทางธุรกิจ มีอะไรบ้าง

3. ปัญหาการสื่อสารทางธุรกิจ 3.1 ทัศนคติและความต้องการของลูกค้าได้เปลี่ยนแปลงไป 3.2 ธุรกิจมีการเจริญเติบโตและขยายตัวมากขึ้น 3.3 ความซับซ้อนทางธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้น 3.4 ความต้องการข้อมูลและข่าวสาร 3.6 การแข่งขันทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้น 3. ความต้องการของสังคมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3.7 ข้อกําหนดของรัฐบาล

การสื่อสารในองค์กรมีความสําคัญอย่างไร

การสื่อสารภายในช่วยให้ผู้คนรู้สึกเชื่อมโยงกับองค์กรของคุณ และเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายและค่านิยมทางธุรกิจ การสื่อสารภายในที่ดีสามารถช่วยให้การมีส่วนร่วมของพนักงานและความภักดีที่มีต่อบริษัทเพิ่มขึ้น และเมื่อเป็นเช่นนั้น โอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งกันก็ลดลง ส่งผลให้ทีมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ด้วย ...

อุปสรรคการสื่อสารสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง

อุปสรรคในการสื่อสาร.
ผู้ส่งสารขาดความรู้ในเรื่องที่จะส่งสาร.
ผู้ส่งสารขาดประสบการณ์ในการส่งสาร.
ผู้ส่งสารมีอคติต่อผู้รับสารหรือตัวสาร.
ผู้ส่งสารขาดการชำนาญในการใช้ภาษา.
ผู้ส่งสารขาดการชำนาญในการใช้สื่อ.